พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา พุทธศักราช 2470

ตราราชโองการ
ตราราชโองการ
พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา
พุทธศักราช ๒๔๗๐

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศจงทราบทั่วกันว่า

โดยที่เปนการสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางบทแห่งกฎหมายลักษณอาญา

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตราให้เรียกพระราชบัญญัตินี้ว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา พุทธศักราช ๒๔๗๐”

มาตราให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปนต้นไป

มาตราให้ยกเลิกบทบัญญัติเดิมแห่งมาตรา ๑๐๓ ในกฎหมายลักษณอาญาเสีย และให้ใช้บทบัญญัติต่อไปนี้แทนบทบัญญัตินั้นสืบไป

“ผู้ใดยุยงผู้ซึ่งรับราชการทหาร ตำรวจนครบาล ฤๅตำรวจภูธร ให้ขาดหนีก็ดี ให้กำเริบขึ้นก็ดี ให้ละเลยไม่กระทำการตามน่าที่ก็ดี ท่านว่า มันมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าห้าปี และให้ปรับไม่เกินกว่าพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง

ถ้าความผิดดังระบุไว้ในวรรคก่อนนี้ได้กระทำลงโดยประสงค์จะบ่อนให้วินัยและสมรรถภาพของกรมกองทหาร ฤๅตำรวจนครบาล ฤๅตำรวจภูธร เสื่อมทรามลงไซร้ ท่านว่า มันผู้กระทำมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าสิบปี และให้ปรับไม่เกินกว่าห้าพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง

และถ้าหากว่า การกระทำผิดดังกล่าวมาแล้วนั้นเปนส่วนหนึ่งของแผนการที่จะล้างล้มรัฐบาล ฤๅจะให้เปลี่ยนแปลงประเพณีการเมืองฤๅเศรษฐกิจ ด้วยใช้กำลังบังคับฤๅกระทำร้ายไซร้ ท่านว่า มันผู้กระทำมีความผิด ต้องระวางโทษถึงประหารชีวิตร์ ฤๅจำคุกมันไว้จนตลอดชีวิตร์”

มาตราให้ยกเลิกบทบัญญัติเดิมแห่งมาตรา ๑๐๔ ในกฎหมายลักษณอาญาเสีย และให้ใช้บทบัญญัติต่อไปนี้แทนบทบัญญัตินั้นสืบไป

“๑)ผู้ใดกระทำการอย่างใดใดก็ตาม สนับสนุนฤๅสั่งสอนลัทธิฤๅวิธีการเมืองฤๅเศรษฐกิจ ด้วยวาจา ฤๅลายลักษณ์อักษร ฤๅเอกสารตีพิมพ์ ฤๅด้วยอุบายใด ๆ ก็ตาม ด้วยเจตนาฤๅคำนวณว่า จะให้เกิดผลอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ คือ

ก)เพื่อจะให้บังเกิดความเกลียดชังฤๅดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฤๅรัฐบาล ฤๅราชการแผ่นดินก็ดี

ข)เพื่อจะให้เกิดการเปลี่ยนในรัฐบาลฤๅพระราชกำหนดกฎหมาย ด้วยใช้กำลังบังคับฤๅกระทำร้ายก็ดี

ค)เพื่อให้เกิดความไม่พอใจและกระด้างกระเดื่องในหมู่คนทั้งหลาย ถึงอาจเกิดเหตุร้ายขึ้นในแผ่นดินของท่านก็ดี

ง)เพื่อจะกวนให้เกิดขึ้นซึ่งความเกลียดชังระวางคนต่างชั้นก็ดี

จ)เพื่อยุยงให้คนทั้งหลายกระทำการล่วงลเมิดพระราชกำหนดกฎหมายก็ดี

ท่านว่า มันมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าสิบปี และให้ปรับไม่เกินกว่าห้าพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง

๒)ผู้ใดเปนหัวหน้า เปนผู้จัดการ ฤๅเปนพนักงานของสมาคมใด ๆ จะเปนสมาคมลับฤๅมิใช่ก็ตาม หากว่า เปนสมาคมอันมีความประสงค์ที่จะสนับสนุนฤๅสั่งสอนลิทธิฤๅวิธีการเมืองฤๅเศรษฐกิจตามความที่ได้ว่าไว้ในวรรคที่หนึ่งแห่งมาตรานี้ ท่านว่า มันมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าสิบปี และให้ประบไม่เกินกว่าห้าพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง

ผู้ใดเปนสมาชิกของสมาคมดังกล่าวนั้น ท่านว่า มันมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าห้าปี และให้ปรับไม่เกินกว่าพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง และท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บันดาผู้ที่ได้ไปในการประชุมอย่างใด ๆ ของสมาคมดังกล่าวนั้นเปนสมาชิกของสมาคมนั้นด้วยทุกคน

๓)ผู้ใดยุยง เสี้ยมสอน ฤๅแนะนำให้เกิดการนัดหยุดงาร ฤๅการปิดงารงดจ้าง ฤๅการนัดหยุดการค้าขายใดใดก็ดี เพื่อความประสงค์อย่างอื่นนอกจากที่ระงับข้อโต้เถียงภายในขอบการค้าขาย ฤๅอุตสาหกรรม ฤากิจอาชีพอันเกี่ยวข้องอยู่นั้น ท่านว่า มันมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าสามปี และให้ปรับไม้เกินกว่าพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง

ถ้าหากเปนความประสงค์ที่จะให้มีการเปลี่ยนในรัฐบาล ฤๅพระราชกำหนดกฎหมาย ฤๅประเพณีของบ้านเมือง ฤๅจะบังคับใจรัฐบาล ฤๅจะข่มขู่ประชาชนก็ดี ท่านว่า มันมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าสิบปี และให้ปรับไม่เกินกว่าห้าพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง

ผู้ใดทราบความประสงค์ดังกล่าวแล้วข้างต้นนี้ และบังอาจเข้ามีส่วนด้วยในการนัดหยุดงาร ฤๅการปิดงารงดจ้าง ฤๅการหยุดการค้าขายดังกล่าวแล้วนั้น ท่านว่า มันมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าห้าปี และให้ปรับไม่เกินกว่าพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง

๔)ผู้ใดบังคับฤๅพยายามบังคับด้วยทำให้กลัว ฤๅขู่ว่าจะทำร้าย ฤๅใช้กำลังกระทำร้ายด้วยประการใดใด ให้บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเปนสมาชิกในสมาคมใดใดก็ดี ฤๅให้เข้ามีส่วนในการนัดหยุดงาร ฤๅการปิดงารงดจ้าง ฤๅการนัดหยุดการค้าขาย ดังที่ได้กล่าวไว้ในวรรคก่อนนี้ก็ดี ฤๅให้ช่วยเหลือสมาคมฤๅช่วยเหลือในการนัดหยุดงาร ฤๅการปิดงารงดจ้าง ฤๅการนัดหยุดการค้าขาย ดังว่านั้นก็ดี ท่านว่า มันมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่าสิบปี และให้ปรับไม่เกินกว่าห้าพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง

๕)ผู้ใดกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้ระบุไว้ในมาตรานี้ และการกระทำผิดนั้นเปนส่วนหนึ่งของแผนการที่จะล้างล้มรัฐบาลก็ดี จะให้เปลี่ยนแปลงประเพณีการเมืองฤๅเศรษฐกิจด้วยใช้กำลังบังคับฤๅกระทำร้ายก็ดี ท่านว่า มันมีความผิด ต้องระวางโทษถึงประหารชีวิตร์ ฤๅจำคุกมันไว้จนตลอดชีวิตร์”

ประกาศมาณวันที่ ๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๐ เปนปีที่ ๔ ในรัชกาลปัตยุบัน

บรรณานุกรม

แก้ไข
 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"