มงคลสูตรคำฉันท์
- นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺสฯ
ต้นมงคลสูตร
แก้ไข(๑) ยญฺจ ทฺวาทส วสฺสานิ | จินฺตยึสฺ สเทวกา | |
สิบสองฉนำเหล่า | นรอีกสุเทวา | |
รวมกันและตริหา | สิริมังคะลาใด | |
(๒) จิรสฺสํ จินฺตยนฺตาปิ | เนว ชานิสุ มํคลํ | |
จกฺกวาฬสหสฺเสสุ | ทสสุ เยน ตตฺตกํ | |
กาลํ โกลาหลํ ชาตํ | ยาว พฺรหฺมเวสนา | |
เทวามนุษทั่ว | พหุภพประเทศใน | |
หมื่นจักรวาฬได้ | ดำริห์สิ้นจิรังกาล | |
แล้วยังบ่รู้มง - | คะละสมมโนมาลย์ | |
ด้วยกาละล่วงนาน | บ่มิได้ประสงค์สม | |
ได้เกิดซึ่งโกลา - | หะละยิ่งมโหดม | |
ก้องถึง ณ ชั้นพรหม | ธสถิตสเทือนไป | |
(๓) ยํ โลกนาโถ เทเสสิ | ||
องค์โลกนาถเทศน์ | วรมังคลาใด | |
(๔) สพฺพปาปวินาสนํ | ||
ยังปาปะปวงให้ | ทุษะเสื่อมวินาศมล | |
(๕) ยํ สุตฺวา สพฺพทุกฺเขหิ | มุจฺจนฺตาสํขิยา นรา | |
ชนหลายบ่พึงนับ | ผิสดับสุมงคล | |
ใดแล้วและรอดพ้น | พหุทกขะยายี | |
(๖) เอวมาทิคุณูเปตํ | มํคลนฺตมฺภฌาม เส. | |
เราควรจะกล่าวมง - | คะละอันประเสริฐที่ | |
ประกอบด้วยคุณามี | วรอัตถะเฉิดเฉลา |
มงคลสูตร
แก้ไข(๑) เอวมฺเม สุตํ. | |
องค์พระอานนท์ท่านเล่า | ว่าข้าพเจ้า |
ได้ฟังมาแล้วดังนี้ | |
(๒) เอกํ สมยํ ภควา | |
สมัยหนึ่งพระผู้มี | พระภาคชินสีห์ |
ผู้โลกนาถจอมธรรม์ | |
(๓) สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม. | |
ประทับ ณ เชตะวัน | วิหาระอัน |
อนาถบิณฑิกไซร้ | |
จัดสร้างอย่างดีที่ใน | สาวัตถีให้ |
เป็นที่สถิตสุขา | |
(๔) อถ โข อญฺญตรา เทวตา | |
ครั้งนั้นแลเทวะดา | องค์หนึ่งมหา - |
นุภาพมหิทธิ์ฤทธี | |
(๕) อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา | |
ล่วงประถมยามราตรี | เธอเปล่งรัสมี |
อันเรืองระยับจับเนตร์ | |
(๖) เกวลกปฺปํ เชตวนํ โอภาเสตฺวา | |
แสงประกายเธอปลั่งยังเขต | สวนแห่งเจ้าเชต |
สว่างกระจ่างทั่วไป | |
(๗) เยน ภควา เตนุปสํกมิ | |
องค์ภควันนั้นไซร์ | ประทับแห่งใด |
ก็เข้าไปถึงที่นั้น | |
(๘) อุปสํกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา | |
ครั้นเข้าใกล้แล้วจึ่งพลัน | ถวายอภิวันท์- |
แด่องค์สมเด็จทศพล | |
(๙) เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ. | |
แล้วยืนที่ควรดำกล | เสงี่ยมเจียมตน |
แสดงเคารพนบศีร์ | |
(๑๐) เอกมนฺตํ ฐิตา โข สา เทวตา | |
เมื่อเทวดายืนดี | สมควร ณ ที่ |
ข้างหนึ่งดังกล่าวแล้วนั้น | |
(๑๑) ภควนฺตํ คาถาย อชฺฌภาสิ ฯ | |
จึ่งได้ทูลถามภควัน | ด้วยถ้อยประพันธ์ |
เป็นพระคาถาบรรจง |
พหู เทวา มนุสฺสา จ | มํคลานิ อจินฺตยุํ | |
อากํขมานา โสตฺถานํ | พฺรูหิ มํคลมุตฺตมํฯ | |
เทพอีกมนุษหวัง | คติโสตถิจำนง | |
โปรดเทศะนามง | คะละเอกอุดมดี |
(ฝ่ายองค์สมเด็จชินสีห์ | ตรัสตอบวาที | |
ด้วยพระคาถาไพจิตร์) |
๑. อเสวนา จ พาลานํ | ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา | |
ปูชา จ ปูชนียานํ | เอตมฺมํคลมุตฺตมํ | |
หนึ่งคือบ่คบพาล | เพราะจะพาประพฤติผิด | |
หนึ่งคบกะบัณฑิต | เพราะจะพาประสพผล | |
หนึ่งกราบและบูชา | อภิบูชะนีย์ชน | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี | |
๒. ปฏิรูปเทสวาโส จ | ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา | |
อตฺตสมฺมาปณิธิ จ | เอตมฺมํคลมุตฺตมํ | |
ความอยู่ประเทศซึ่ง | เหมาะและควรจะสุขี | |
อีกบุญญะการที่ | ณ อดีตะมาดล | |
อีกหมั่นประพฤติควร | ณ สะภาวะแห่งตน | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี | |
๓. พาหุสจฺจญฺะ สิปฺปญฺจ | วินฺโย จ สุสิกฺขิโต | |
สุภาสิตา จ ยา วาจา | เอตมฺมํคลมุตฺตมํ | |
ความได้สดับมาก | และกำหนดสุวาที | |
อีกศิลปะศาสตร์มี | จะประกอบมนุญการ | |
อีกหนึ่งวินัยอัน | นรเรียนและเชี่ยวชาญ | |
อีกคำเพราะบรรสาน | ฤดิแห่งประชาชน | |
ทั้งสี่ประการล้วน | จะประสิทธิ์มนุญผล | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี | |
๔. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ | ปุตฺต ทารสฺส สํคโห | |
อนากุลา จ กมฺมนฺตา | เอตมฺมํคลมุตฺตมํ | |
บำรุงบิดามา- | ตุระด้วยหทัยปรีย์ | |
หากลูกและเมียมี | ก็ถนอมประหนึ่งตน | |
การงานกระทำไป | บ่มิยุ่งและสับสน | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี | |
๕. ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ | ญาตกานญฺจ สํคโห | |
อนวชฺชานิ กมฺมานิ | เอตมฺมํคลมุตฺตมํ | |
ให้ทาน ณ กาลควร | และประพฤติสุธรรมศรี | |
อีกสงเคราะห์ญาติที่ | ปฏิบัติบำเรอตน | |
กอบกรรมะอันไร้ | ทุษะกลั้วและมัวมล | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี | |
๖. อารตี วิรติ ปาปา | มชฺชปานา จ สํยโม | |
อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ | เอตมฺมํคลมุตฺตมํ | |
ความงดประพฤติบาป | อกุศลบ่ให้มี | |
สำรวมวรินทรีย์ | และสุราบ่เมามล | |
ความไม่ประมาทใน | พหุธรรมะโกศล | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี | |
๗. คารโว จ นิวาโต จ | สนฺตุฏฺฐิ จ กตญฺญุตา | |
กาเลนฺน ธมฺมสฺสวนํ | เอตมฺมํคลมุตฺตมํ | |
เคารพ ณ ผู้ควร | จะประณตและน้อมศีร์ | |
อีกหนึ่งมิได้มี | จะกระด้างและจองหอง | |
ยินดี ณ ของตน | บ่มิโลภทยานปอง | |
อีกรู้คุณาของ | นรผู้ประคองตน | |
ฟังธรรมะโดยกา- | ละเจริญคุณานนท์ | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี | |
๘. ขฺนตี จ โสวจสฺสตา | สมณานญฺะ ทสฺสนํ | |
กาเลนฺน ธมฺมสากจฺฉา | เอตมฺมํคลมุตฺตมํ | |
มีจิตตะอดทน | และสถิต ณ ขันตี | |
อีกหนึ่งบ่พึงมี | ฤดิดื้อทนงหาญ | |
หนึ่งเห็นคณาเลิด | สมณาวราจารย์ | |
กล่าวธรรมะโดยกาล | วรกิจจะโกศล | |
ทั้งสี่ประการล้วน | จะประสิทธิ์มนุญผล | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี | |
๙. ตโป จ พฺรหฺมจริยญฺจ | อริยสจฺจาน ทสฺสนํ | |
นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ | เอตมฺมํคลมุตฺตมํ | |
เพียรเผากิเลสล้าง | มละโทษะยายี | |
อีกประการหนึ่งประพฤติดี | ดุจะพรหมพิสุทธ์สรรพ์ | |
เห็นแจ้ง ณ สี่องค์ | พระอะรียะสัจอัน | |
อาจนำมนุษผัน | ติระข้ามทเลวน | |
อีกทำพระนิพพา- | นะประจักษะแก่ชน | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี | |
๑๐. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ | จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ | |
อโสกํ วิรชํ เขมํ | เอตมฺมํคลมุตฺตมํ | |
จิตใครผิได้ต้อง | วรโลกะธรรมศรี | |
แล้วย่อมบ่พึงมี | จะประหวั่นฤกังวล | |
ไร้โศกธุลีสูญ | และสบายบ่มั่วมล | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี | |
๑๑. เอตาทิสานิ กตฺวาน | สพฺพตฺถมปราชิตา | |
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ | ตนฺเตสํ มํคลมุตฺตมนฺติ | |
เทวามนุษทำ | วรมงคะลาฉนี้ | |
เป็นผู้ประเสริฐที่ | บ่มิแพ้ ณ แห่งหน | |
ย่อมถึงสวัสดี | สิริทุกประเทศดล | |
ข้อนี้แหละมงคล | อดิเรกอุดมดี |
คำอนุโมทนา
แก้ไขคำฉันท์ประพันธะอธิบาย | วรสูตระอันมี | |
นามว่าพระมังคะละฉนี้ | ฤก็จบบรีบูรณ์ | |
ตูข้ามิใช่วรปะริญ | ณะผิแต่งบ่ถูกมูล | |
ขอผู้ปะริญญะอนุกูล | และประดิษฐะแก้ไข | |
ข้ามุ่งประพันธ์พจนะเพื่อ | จะจำแนกกำนัลให้ | |
แด่ญาติและมิตระสหทัย | ดุจะของสนองคุณ | |
ที่ท่านประกอบกรุณะให้ | วรวัตถุเพื่อจุน | |
เจือสุขดะนูณวรสุน- | ทะระวารเฉลิมชนม์ | |
ขอบใจสุมิตร์และวรญาติ | และประสาทพระพรดล | |
สมจิตรสะมิทธิศุภะผล | พหุแม้นมโนหมาย |
เต อทฺธลทฺธา สุขิตา | วิรุฬหา พุทฺธสาสเน | |
อโรคา สุขิตา โหถ | สห สพฺเพหิ ญาติภิ | |
ขอท่านบุรุษนา- | ริสุมิตระทั้งหลาย | |
จงรับประโยชน์กาย | ฤดิสุขและหรรษา | |
อีกทั้งเจริญใน | วรพุทธะศาสนา | |
ไร้โรคะบีฑา | ฤดิสุขและเปรมปรีด์ | |
พร้อมทั้งคณาญา- | ติก็จงเจริญศรี | |
สมดังพระพรที่ | ดนุมุ่งอำนวยสรรพ์ |
ภวตุ สพฺพมํคลํ | รกฺขนฺตุ สพฺเพเทวตา | |
รตนตฺตยานุภาเวน | สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต | |
ขอสรรพะมงคล | สิริมี ณ ท่านพลัน | |
ขอเทวะเทวัน | บริรักษะท่านไว้ | |
ด้วยอานุภาพแห่ง | วรรัตน์วิเศษไตรย์ | |
ทุกเมื่อเจริญใน | สิริโสตถิถ้วนเทอญ |