วิกิซอร์ซ:ศาลาชุมชน/อภิปราย/ลิขสิทธิ์และความโดดเด่นของงานจากรัฐบาลไทย

ลิขสิทธิ์และความโดดเด่น

แก้ไข

อยากขอความชัดเจนเกี่ยวกับสถานภาพ ลิขสิทธิ์ (copyright) และ ความโดดเด่น (notability) ของเอกสารจากรัฐบาลไทยหลายประเภทต่อไปนี้ครับ

  1. ฝ่ายนิติบัญญัติ
    • พระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่น
    • เอกสารในการพิจารณาของสภาทั้งที่เกี่ยวกับกฎหมายและไม่เกี่ยวกับกฎหมาย โดยมีกรรมาธิการของสภาหรือสำนักเลขาธิการสภาเป็นผู้แต่ง
  2. ฝ่ายบริหาร
    • มติคณะรัฐมนตรี
    • หนังสือราชการ ทั้งบันทึกข้อความภายใน หนังสือระหว่างหน่วยงานราชการเอง และจากหน่วยงานราชการถึงเอกชน เช่น w:คำสั่งที่ 66/2523
    • คำสั่ง คำวินิจฉัย เอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานข้าราชการพลเรือน กรมสรรพากร กรมที่ดิน กรมการปกครอง หรือหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะผู้พันธ์รัฐต่อรัฐ รัฐต่อเอกชน หรือเอกชนต่อเอกชน (เอกชน=ประชาชนในหลายกรณี) ถือเป็นการตีความกฎหมาย หรือถือเป็นคำสั่งทางปกครอง เช่น การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน คำสั่งเกี่ยวกับการเสียภาษีของสามีภริยาแยกกัน คำสั่งเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการทำใบเหลืองแทนบัตรประชาชนในช่วงที่ขาดแคลน ฯลฯ
  3. ฝ่ายตุลาการ
    • คำพิพากษา คำสั่งของศาลฏีกา หรือศาลยุติธรรมชั้นต้นในกรณีสำคัญ
    • คำพิพากษาศาลพิเศษ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลแรงงาน ฯลฯ
    • คำสั่งอื่นอันเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเช่น หมายค้น หมายจับ ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งอาจเกี่ยวกับ กรมบังคับคดี กรมราชทัณฑ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  4. หลายฝ่ายรวมกัน
    • ประกาศคณะปฏิวัติ (ผู้รัฐประหารสำเร็จไม่ว่าจะเรียกตนว่าอะไร)
    • พระบรมราชโองการ พระบรมราชวินิจฉัย (ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชที่สถาบันกษัตริย์=รัฐบาลไทย)

ในประเด็นลิขสิทธิ์ขอให้พิจารณาประเด็นของ "ข้อความ" และ "ภาพ" แยกกัน (เพราะในส่วนของภาพนั้น มีการจัดรูปแบบด้วย) ประกอบกับ วิกิซอร์ซ:ศาลาชุมชน/อภิปราย/Proofread Page และข้อมูลต่อไปนี้

มีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ในการนำข้อมูลภาพและข้อความจากหนังสือที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดพิมพ์ไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต
จึงขอแจ้งให้เจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ทราบว่า การนำข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่
ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก่อน หากไม่ได้รับอนุญาต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
จะดำเนินคดีตามกฎหมายกับเจ้าของเว็บไซต์ที่นำไปเผยแพร่

http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-1.jsp?menu=1

  • ประมวลกฎหมายต่างๆ ที่ผู้พิพากษารวบรวมขึ้นไปเขียนขายเป็นหนังสือก็สงวนลิขสิทธิ์ได้
  • การที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการวมกฎหมายและกฎกระทรวงต่างๆ ไว้ จัดทำเป็น pdf แล้วใส่ลายน้ำเป็นของตน
  • ว14/2555 ปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัตลิขสิทธิ์ พ.ศ. 3537 [sic]โดยสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

--Taweetham (พูดคุย) 14:49, 27 พฤษภาคม 2556 (ICT)

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗/หมวด ๑#มาตรา ๗ (งานอันไม่มีลิขสิทธิ์)

==== มาตรา ๗ (งานอันไม่มีลิขสิทธิ์) ====
สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(๑) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(๒) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(๓) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(๔) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(๕) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง  ๆ ตาม (๑) ถึง (๔) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

--Ans (พูดคุย) 01:47, 22 กุมภาพันธ์ 2557 (ICT)

  • เราต้องดูว่าเนื้อหาที่เอามาเข้าข่ายไหน "หนังสือ" ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ยกมา ไม่ได้ระบุว่าเป็นหนังสืออะไรอย่างไร สิ่งตีพิมพ์โดยหน่วยงานรัฐบาลไม่ได้หมายความว่าจะต้องเข้ามาตรา 7 ทั้งหมด (เช่นตำรา งานวิจัย)
  • หนังสือรวมกฎหมาย ถึงจะเขียนไว้ว่าสงวนลิขสิทธิ์ แต่ความเป็นจริงไม่สามารถสงวนไว้ได้ ในส่วนที่เป็นเนื้อหากฎหมาย เพราะเขาก็ลอกมาอีกทีเหมือนกัน หากมีส่วนที่เขาเขียนเพิ่มเติมเอาเอง ก็สงวนเฉพาะส่วนนั้น (ในทางปฏิบัติก็ควรเขียนแต่กฎหมาย เพื่อไม่ให้ผู้รวบรวมอ้างสิทธิ์)
  • ความโดดเด่นคงไม่ต้องพิจารณา ถ้าเข้าข่ายมาตรา 7 แล้ว (ยกเว้นข่าว) ก็สามารถเขียนได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นอะไร ผลงานของรัฐนั้นโดดเด่นโดยพฤตินัย
  • สุดท้ายนี้ขอให้พิจารณาว่า สิ่งตีพิมพ์นั้นเก่ากว่า 50 ปีหรือยัง ตามมาตรา 19 ถ้าใช่สามารถเขียนได้ เพราะลิขสิทธิ์หมดอายุเรียบร้อย ไม่ต้องดูว่าเข้ามาตรา 7 หรือเปล่า (เช่นประกาศคณะราษฎร)

--Octahedron80 (พูดคุย) 09:24, 28 กุมภาพันธ์ 2557 (ICT)

ผลที่ตามมา

แก้ไข

เนื่องจากเว็บราชกิจจานุเบกษา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี ศาลฎีกาฯลฯ เป็นเว็บที่เข้าถึงและค้นหาได้ยาก ไม่สะดวกแก่การเข้าถึงข้อมูล อย่างไรก็ดีข้อมูลในเว็บเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่จัดรูปแบบแล้ว (structured data) ย่อมสามารถดูดออกมาได้ด้วยบอต หากได้ไฟเขียนในห้วข้อข้างต้นแล้ว เราน่าจะทำการดูดและสร้างข้อมูลอัตโนมัติได้จำนวนมาก ทั้งนี้ยังจำเป็นต้องพิจารณาต่อไปว่าข้อมูลเหล่านี้ควรจะอยู่ใน

  1. Wikisource
  2. Wikibook หรือ
  3. Wikidata

สำหรับการเขียนโปรแกรมและดำเนินการก็น่าจะมีลำดับความสำคัญและความยากง่ายดังต่อไปนี้

  1. กฎหมายจากกฤษฎีกา และ/หรือ ราชกิจจานุเบกษา - สำคัญมากที่สุด/ระดับความยากอยู่ที่ปานกลาง
  2. ...
  3. ...

(แปลงเป็นตารางสองมิติต่อไป) --Taweetham (พูดคุย) 14:25, 27 พฤษภาคม 2556 (ICT)