วิกิซอร์ซ:หลักเกณฑ์การตั้งชื่อ
(เปลี่ยนทางจาก วิกิซอร์ซ:หลักการตั้งชื่อบทความ)
← รวมนโยบายและแนวปฏิบัติ | หลักเกณฑ์การตั้งชื่อ |
หลักการ
แก้ไขหน้าต่าง ๆ ควรมีชื่อ เพื่อให้เจาะจงหน้าหรือกะเกณฑ์เนื้อหาของหน้าได้ ทั้งทำให้ค้นหาและเชื่อมโยงสะดวก
เพื่อให้เป็นไปตามนี้ จึงควรใช้ชื่อที่บุคคลทั่วไปเข้าใจได้
หน้าหลายหน้าในงานชุดเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกันเป็นต้น ควรใช้ชื่อที่สอดคล้องหรือเป็นระเบียบเดียวกัน
หลักเกณฑ์
แก้ไขเนมสเปซหลัก
แก้ไข- เนมสเปซหลัก (หน้างาน) ควรตั้งชื่อหน้าตามชื่องานนั้นเอง
- ถ้ามีหลายหน้าใช้หรืออาจใช้ชื่อเดียวกัน ให้ปฏิบัติตามวิธีแก้ความกำกวม
- ถ้างานค่อนข้างยาว ควรแบ่งออกเป็นหน้าย่อย
- ข้อจำกัดทางเทคนิค
- ชื่อที่ใช้อักษรพิเศษ ให้ถอดเป็นอักษรธรรมดา เช่น ชื่อที่ใช้ "ญ" หรือ "ฐ" แบบไม่มีเชิง ให้ถอดเป็น "ญ" หรือ "ฐ" แบบธรรมดา (คือ แบบมีเชิง)
- ชื่อที่ยาวมาก จะไม่สามารถใช้ได้ ให้พิจารณาตัดทอนลงด้วยเครื่องหมายไปยาลน้อย ("ฯ") เช่น
"พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการห้ามนำเข้าและจำหน่ายและการผ่อนผันให้จำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตหรือมีกำเนิดในสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2518"
- อาจตัดทอนเป็น
"พระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการห้ามนำเข้าฯ สินค้าฯ สาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ. 2518"
เนมสเปซ "ผู้สร้างสรรค์"
แก้ไข- หน้าผู้สร้างสรรค์ ควรตั้งชื่อหน้าตามชื่อผู้สร้างสรรค์นั้นเอง ซึ่งควรเป็นชื่อเต็ม ไม่ใช่ชื่อย่อ (เช่น "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ไม่ใช่ "รัชกาลที่ 5" หรือ "ร. 5")
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์หลายคนใช้ชื่อเดียวกัน ให้ปฏิบัติตามวิธีแก้ความกำกวม
- ถ้าผู้สร้างสรรค์มีหลายชื่อ หรือเขียนชื่อหลายแบบ เป็นต้น ให้ใช้หน้าเปลี่ยนทาง
เนมสเปซ "หน้า", "ไฟล์", และ "ดัชนี"
แก้ไข- ควรใช้ชื่อเดียวกับตัวงาน เช่น งานชื่อ "เรียงความเรื่องโลก" ไฟล์พีดีเอฟควรชื่อ "เรียงความเรื่องโลก.pdf" เป็นต้น ทั้งนี้ ถ้าอัปโหลดไฟล์ขึ้นที่วิกิมีเดียคอมมอนส์ ให้คำนึงถึงหลักเกณฑ์การตั้งชื่อไฟล์ของวิกิมีเดียคอมมอนส์ด้วย
- หน้าในเนมสเปซเหล่านี้ ถ้ามีหลายหน้า แต่เป็นชุดหรือกลุ่มเดียวกัน ควรตั้งชื่อให้สอดคล้องหรือเป็นระเบียบเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบและเชื่อมโยง
เนมสเปซ "แม่แบบ"
แก้ไข- หน้าแม่แบบ ควรตั้งชื่อที่สื่อถึงความมุ่งหมายหรือการใช้งานแม่แบบนั้น
- ชื่อย่อ ควรทำเป็นหน้าเปลี่ยนทาง
เนมสเปซ "วิกิซอร์ซ" และ "วิธีใช้"
แก้ไข- ชื่อหน้าในเนมสเปซเหล่านี้ ควรสั้น และบ่งบอกความมุ่งหมายของหน้านั้น ๆ