หนังสือจดหมายเหตุ/เล่มที่ 1 (แรก)/ใบที่ 3

๏หนังสือจดหมายเหตุ๚


Bangkok Recorder.

Vol. 1. เล่ม ๑. บังกอก เดือนเก้า ปีมโรง จุลศักราช ๑๒๐๖. September, 1844.
ใบ ๓. No. 3.
คริศศักราช ๑๘๔๔.



อันว่าอากาษนั้นลอ้มรอบแผ่นดินทุกทิศ, เปรียบเหมือนน้ำอยู่บนแผ่นดินทุกทิศ, แต่ลมนั้นเบากว่าน้ำหลายเท่า. แลสิ่งของทั้งหมดอยู่บนแผ่นดิน, เปนหนักมากนอ้ยตามกำลังแผ่นดินจะชักเข้าไป. ทองคำหนักกวาเหลก, เหลกหนักกว่าไม้, ไม้หนักกว่ากระดาด, เพราะเหตุแผ่นดินได้ชักตามของหนักแลเบา. ถ้าแผ่นดินมิได้ชักของทั้งปวงนั้น, ๆ ก็จะมีน้ำหนักนอ้ยจะเบาเท่ากันทุกสี่ง. ฝ่ายว่าอากาษนั้นแผ่นดินได้ชักแรงเท่าไร, นักปราชได้คิดกำหนฏไว้แล้ว. แลอากาษนั้นอยู่บนแผ่นดินก็ดี, อยู่บนซะเลก็ดี, นิ้วแลนิ้วทั่วไปหนักได้สิบชั่ง, เปรียบเหมือนน้ำอยู่บนแผ่นดินฦกได้ห้าวากับเจดนิ้ว, อากาษนั้นก็หนักเท่ากับน้ำนั้นทุกทิศ. ถ้าผู้ใดมีวิมุติสงไสย, จะใค่รลองดูว่า, จะจริงเหมือนว่าแล้วนั้นหฤๅไม่, ถ้าจะลองจงทำท่อสี่เหลี่ยม, ข้างในนั้นกว้างเหลี่ยมละนิ้ว, สูงหกวาให้ตันไว้ข้างหนึ่ง. แล้วใส่น้ำให้เตมจึ่งกลับท่อนั้น, เอาก้นขึ้นเอาปากข้างเปิดไว้นั้น, ลงจุ่มไว้ในขันน้ำก็ได้ในชามน้ำก็ได้, น้ำในท่อนั้นก็จะทรุดลงมาคงยู่แต่ห้าวากับเจดนี้วเท่านั้น, ไม่ได้ทรุดลงมาอีกเลย, เพราะเหตุลมอากาษนั้นดันน้ำในขันแลในชามนั้นไว้ทุก. นี้วเท่ากันกับน้ำในท่อนั้น. แล้วจงเทที่อยู่ในท่อนั้นขึ้นชั่งดู, ก็จะเหนว่าหนักสิบชั่งเหมือนที่ว่าแล้ว.

อีกประการหนึ่ง, อากาษอยู่บนแผ่นดินก็ดี, อยู่บนชะเลก็ดี, แลนี้วแลนี้วทั่วไป, หนักเท่ากับปรอดสูงสามสิบเจดนี้วทุกที. ถ้าจะรู้เปนสำคัญแน่, จงเอาท่อสี่เหลี่ยมข้างในเหลี่ยมละนี้ว, ยาวสามสิบแปดนี้ว, ให้ก้นหันข้างหนึ่ง, จึ่งเอาปรอดใส่ให้เตมแล้ว, จึ่งกลับท่อนั้นเอาก้นขึ้นเอาปากลงในขันในชามเปล่าก็ได้, ปรอดนั้นก็จะทรุดลงมาคงอยู่แต่สามสิบเจดนิ้วเท่านั้น, ไม่ได้ทรุดลงมาอีกเลย, เพราะเหตุลมอากาษนั้นดันปรอดที่ปากท่อนั้นไว้ทุกนี้วทุกนึ้ว, เท่ากันกับปรอดในท่อนั้น, ไม่ให้ปรอดในท่อนั้นไหลออกได้. แล้วจงเทปรอดในท่อนั้นออกชั่งดู, ก็จะเหนว่าหนักสิบชั่งเท่ากัน, เปนสำคัญว่า, อากาษหนักเท่ากับปรอดในท่อสามสิบเจดนี้ว, แลหนักเท่ากับน้ำในท่อห้าวากับเจดนี้วเหมือนกัน.

อีกประการหนึ่ง, ถ้าจะเอาท่อทำดว้ยเหลกก็ดี, แลทองแดงก็ดี, สี่เหลี่ยมข้างในเหลี่ยมละนิ้ว, ยาวสั้นตามชอบใจ, ให้ตันข้างหนึ่งแล้ว, จึ่งเอาปากข้างเปิดนั้นคว่ำลงกับกอ้นตะกั่วแลกอ้นทองแดง, หนักสิบชั่งให้อัดลมไว้, แลทำรูข้างก้นเปิดหนีดหนึ่ง, ภอจะชักสูบลมให้ออกหมดแล้ว, ก็ปิดรูนั้นเสีย, ท่อนั้นก็จะยกกอ้นตะกั่วแลของทั้งปวงหนักได้สิบชั่ง, เปนเพราะเหตุว่าไม่มีลมข้างใน, แลลมอากาศข้างนอกนั้นมันจึ่งดันไว้ให้ติดหนักสิบชั่งได้, เปนสำคัญว่า, ลมอากาษอยู่ทุกนิ้ว ๆ ยกหนักได้สิบชั่งสิ้นตำราแต่เท่านี้. แลเดือนภายหน้าจะว่าดว้ยเครื่องสูบน้ำ, แลเครื่องต่าง ๆ ตามวิชาที่เราว่ามาแล้ว.

แต่กอ่นเมืองตูระเกียเมืองเประเซียใช้นกพิราบถือหนังสือบอกข่าวต่าง ๆ, เปนทำเนียม. แลนกพิราบนั้นไม่เหมือนนกพิราบในเมืองนี้, แต่ว่าคล้ายกัน. ถ้าเขาจะเอานกพิราบนั้นไปจากที่มันเกิด, แลเอาไปปล่อยในอื่น ๆ, มันก็จะกลับมาสู่ที่ที่มันเกิดนั้นได้โดยเรว, ดว้ยใจมันผูกอยู่ในที่นั้น. อีกประการหนึ่ง, เขาหัดมันใว้, เมึ่อมันเปนเลก ๆ แลมีปีกบินได้, แลเขาก็เอาตัวนกนั้น, ไปสู่หนทางไกลได้รอ้ยเส้นสองรอ้ยเส้น, แล้วก็ปล่อยนกนั้นนกนั้นก็บินมาสู่ที่ของตนได้. แล้วเขาก็เอานกนั้นไปปล่อยให้ไกลไปทุกที ๆ, นกนั้นก็กลับมาสู่ที่ของตนได้ทุกที ๆ. เขาฝึกหัดมันให้มันเคยอย่างนี้. เมื่อมันเคยแล้ว, ถึงจะเอามันไปทางไกลหลายวันแล้วจะปล่อยมัน, มันก็จะกลับมาสู่ที่ของมันได้. แต่กอ่นนั้นมีพ่อค้าอังกฤษพวกหนึ่งอยู่ในเมืองอเลโปเปนประเทษตูระเกีย, เขาเคยไช้นกพิราบให้บอกข่าวกำปั่นว่ากำปั่นนั้นเข้ามาถึงเมืองซะกันดะรูนเมื่อไร. แลเมืองซะกันดะรูนนั้นอยู่ริมชะเล, เมืองอเลโปนั้นอยู่ที่ดอน, เมืองสองเมืองนี้หนทางไกลกันศักสองสามวัน. แลพ่อค้าในเมืองอเลโปนั้นก็สังเกดว่า, อีกศักสองวันสามวัน, จะมีกำปั่นเข้ามาถึงเมืองซะกันดะรูนแล้ว, เขาก็ฝากนกพิราบนั้นไปถึงพ่อค้าซึ่งอยู่ในเมืองซะกันดะรูน. ถ้ากำปั่นเข้ามาถึงเมืองซะกันดะรูนเมื่อใด, พ่อค้าในเมืองนั้นก็เฃียนหนังสือผูกในนกพิราบ, แล้วก็ปล่อยนกพิราบให้มันไปหาพ่อค้าที่อยู่ในเมืองอเลโปนั้น. เมื่อนกพิราบมันมานั้นเรวนัก, หนทางไกลกันสองวันสามวัน, มันมานั้นสองโมงสามโมงก็ถึง. ถ้าเขาจะไช้การเรว, เขาก็เอาแม่นกที่มีลูกออ่นยังบินไม่ได้ฝากไป, ถ้ามิฉนั้นก็เอาแม่นกที่ยังฟักไข่อยู่ฝากไป. แม่นกเหล่านี้แลมันจะกลับมาเรวกว่านกอื่น ๆ, ดว้ยมันคิดถึงลูกนัก. อนึ่งเขาก็ฝากนกอื่นให้สืบข่าว. แลมีเรื่องในบูราณนั้น, ว่ามีกระษัตรในเมืองอายฆุบโตองค์หนึ่ง, มีนกกาตัวหนึ่งเปนที่สำหรับไช้, ๆ ได้ง่าย, ไช้เปนผลเปนประโยชน์มากนัก. กระษัตรนั้นรักษนกกาตัวนั้นมาก, ครั้นนกกาตัวนั้นตายกระษัตรนั้นก็เอานกกานั้นไปฝังไว้ในอุโมง, เหมือนกับฝังลูกของตนนั้น. แลเราคิดในใจของเราว่า, เหนจะไช้นกพิราบในเมืองนี้ให้ไปเอาข่าวในเมืองปากน้ำก็จะได้ดอกกระมัง.

ในประเทษอเมริกามีเมืองหนึ่งชื่อว่าโลเวล, เขาทำผ้าฟ่ายฃายมาก. ผ้าฃาวพับที่เขาฃายที่แพในเมืองนี้, ลางทีก็เปนผ้าที่มาแต่เมืองโลเวล, ดว้ยเหตุว่าเราได้เหนหนังสือที่เขาเฃียนติดอยู่กับพับผ้าฃาวนั้น. แลในเมืองโลเวลนั้นวันหนึ่งเขาธอผ้าฃาวยาวได้ประมาณศักสองแสนห้าหมื่นศอก. คนที่ทำผ้าทั้งปั่นทั้งธอนั้นประมาณได้ศักเก้าพันคน. วันหนึ่งเขาไช้ฟ่ายทำผ้านั้นสิ้นฟ่ายวันละห้ารอ้ยสี่สิบสี่หาบ, ปีหนึ่งคิดเปนฟ่ายสิ้น ๑๖๙๖๘๔ หาบ. จะภอบันทุกกำปั่นได้ศักห้าสิบลำ, ลำหนึ่งคิดบันทุกประมาณได้ ๕๙๐๐ หาบ.

จะว่าดว้ยนกใหญ่ในเกาะเซลันดา, ๆ นั้นขึ้นแก่เมืองอังกฤษ. เมื่อลว่งไปได้สองสามปีตั้งแต่ปีนี้ไปเจ้าเมืองเซลันดานั้นได้ยินว่าที่ปากน้ำแห่งหนึ่ง, มีกะดูกนกใหญ่ตายจมอยู่ที่แผ่นดินเปนอันมาก. เจ้าเมืองจึ่งสั่งชาวเกาะเซลันดาว่าจะซื้อซึ่งกระดูกนกนั้น, ให้พวกเกาะเซลันดาขุดมาขาย. พวกเกาะเซลันดาก็ขุดซึ่งกระดูกนกนั้น, ลางที่ก็พบแต่กระดูกฃาบ้าง, ลางทีก็พบแต่กระดูกอื่น ๆ บ้าง, ลางทีก็พบกระดูกบริบูรรณ์อยู่ทั้งตัว. ได้แล้วก็เอาไปฃายแก่เจ้าเมือง, ๆ ก็เอากระดูกนกนั้นต่อกันเข้าตามที่ของมัน, แล้วก็วัดกระดูกนั้น, โดยสูงนั้นวัดได้เก้าศอก, เปนแต่กระดูกนกตาย. แลอยู่มามีลูกเรืออังกฤษคนหนึ่งว่าได้เหนซึ่งนกเปนสูงเท่านกตายนั้น. มันเที่ยวกินอยู่ที่ริมชะเลในเกาะเซลันดานั้น, ครั้นลูกเรือเข้าไปใก้ลนกนั้น, มันก็เดินหนีขึ้นภูเฃาเสียโดยเรว.

จะว่าดว้ยราคากำปั่นไฟอีกที่หนึ่ง. ในหนังสือจดหมายเหตุใบที่สอง, เราได้บอกราคาไว้ว่าเปนเงินห้าหมื่นสองพันแปดรอ้ยเจดสิบห้าบาท. ครั้นเราตรึกตรองดูใหม่ก็เหนว่าราคาผิดพลั้งไปบ้าง, ดว้ยหนังสือแบบที่มาแต่เมืองกาละกัตตานั้นเปนความมัวอยู่ไม่ชัด. ครั้นตรึกตรองดูใหม่ก็เหนว่า, พวกพ่อค้าที่สืบกำปั่นนั้นเขาสืบกำปั่นสองลำเปินคู่. สองลำนั้นเท่ากันแต่ลำหนึ่งมีเครื่องไฟแลมีหอ้งสำหรับคนจะเดินสารไป, แต่ลำหนึ่งไม่มีเครื่องไฟไม่มีหอ้งที่คนจะเดินสาร, เปนแต่กำปั่นบันทุกของ, ไม่มีใบ, กำปั่นไฟตอ้งลาก. เหตุฉนั้นราคากำปั่นทั้งสองนั้นจะไม่เสมอกัน, ลำที่มีเครื่องไฟจะมีราคามากกว่าลำที่ไม่มีเครื่องไฟ. เราคิดราคาใหม่, ว่าราคากำปั่นไฟนั้นจะมีราคาศัก ๗๕๓๓๕ บาท.

ในเมืองอังกฤษแลเมืองอเมริกาแลเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมือง, เฃาไช้ผ้าศักลาตมาก, ดว้ยว่าเมืองเหล่านั้นเปนเมืองหนาว. ผ้าศักลาตนั้นเขาทำด้วยขนแกะ. ขนแกะนั้นปีหนึ่งเขาตัดหนหนึ่ง, ตัดเมื่อสิ้นระดูหนาวแล้ว. แกะตัวหนึ่งนั้นเขาตัดได้ขนหนักได้สองชั่งจีนบ้างสามชั่งจีนบ้าง. แลแมืองอังกฤษนั้นมีตัวแกะอยู่ประมาณคักสามสิบสองล้านตัว, แลเมืองอเมริกานั้นมีตัวแกะอยู่ประมาณศัก ๒๐ ล้านตัว. แลแกะ ๒๐ ล้านนั้น, ถ้าจะคิดตัวแกะยาวสองศอกทุกตัว ๆ, แลเอาแกะนั้นมาเรียงตามยาวให้ชิดกันติดกันเข้าทั้งหมด, แกะ ๒๐ ล้านตัวนั้นก็จะไปไกลตั้งแต่เมืองนี้ไปก็จะไปถึงเมืองกาลาป๋า.

จะว่าดว้ยม้าในเมืองอารับ. ม้าในเมืองนั้นงามดีนัก, พวกอารับนั้นเคยเอาไปฃายในเมืองบัมเบนั้นมากทุกปี. ลางปีก็ฃายมากประมาณสามพันตัว. เจ้าเมืองบัมเบนั้นเคยซื้อปีละพันตัวสำหรับจะให้พวกทหารขี่, แต่ปีกลายนี้เจ้าเมืองบัมเบนั้นก็ชื้อแต่รอ้ยห้าสิบตัว. ถ้าจะนับปีที่ลว่งกอ่นปีกลายนี้ไปห้าปีนั้น, ราคาที่ซื้อม้าในเมืองบัมเบนั้น, ก็คิดได้ปนราคาซื้อปีละรอ้ยหาบ ๆ.

ที่นี้ จะสำแดงให้ผู้อ่านผู้ฟังทั้งปวงแจ้งว่า, โรคธอระพิศม์ในเมืองไทนี้ทำประการใด, จึ่งจะตัดเสียให้ฃาดได้, อย่าให้บังเกิดต่อไปเลย.

ถ้ามีเสือทวีขึ้นนัก, กำเริบก้ลาหารไม่กลัวผู้ใด, เข้ามาอยู่ทั่วทั้งแผ่นดิน, มาลอ้มรอบอยู่ทุกบ้านทุกตำบล, กัดมนุษนั้นทุกคน, คือบิดามารดาแลลูกหลานญาติพี่นอ้งนั้น, ตายมากหนักหนาปีละหลาย ๆ พันมี, คนจะปราถนาฆ่าเสือเหล่านั้นเสียมากศักเทาใด. ถ้ามีผู้ใดผู้หนึ่งประกอบไปดว้ยวิที, อาจจับเสือร้ายทั้งหลายนั้น, ฆ่าเสียได้, ไม่ตอ้งเสียศักหนิดหนึ่ง, ไม่เจบไม่ปวดไม่ตาย, ถ้าจับได้ดั่งนั้นจริง, คนทั้งปวงจะมาออ้นวอนผู้นั้นให้ช่วยจับประหารเสียมากศักเท่าใด. เสือนั้นมีอุปมาฉันใด, มีอุปไมเหมือนฝีดาษที่ร้ายกาจกระทำให้คนตายเสียมากกว่ามากนั้น. คนที่เปนฝีดาษ, ให้เจบปวดตายหน้ากลัวนักในเมืองไทนี้, จะมีใครอาจนับได้, ว่าปีละเท่าไร. ที่ไม่ตายดว้ยฝีดาษนั้นก็มี, แต่ให้เปนโรคต่าง ๆ ดว้ยพิศม์ฝีดาษนั้นบ้าง, ที่ให้แฃนเสียฃาลีบ, ตาบอด, เปนฝีในอกในท้องนั้น, ก็มากนักใครอาจนับได้. ฝีดาษนั้นบังเกิดขึ้นทุกบ้านทุกเรือนทั้งลาวทั้งมอนทั้งจีนทั้งยวนทั้งทวาย, มีพวกไทเปนต้น, รอดบ้างตายบ้าง. แท้จริงคนชาวเมืองนี้เปนอันตรายดว้ยโรคฝีดาษนั้นมากกว่ามากนักไม่มีใครอาจพรรณนาได้.

จึ่งมีคำบุฉาว่า, ไม่มีวิทีสิ่งใดที่จะกันอันตรายดว้ยโรคอย่างนี้บ้างแล้วหฤๅ. วีสัชนาว่าวิทีมีอยู่, ที่มีฤทธิมีเดชมากนัก, ที่ไม่ตอ้งเสียทรัพย์, แลไม่เจบไม่ปวดไม่เปนอันตราย. ทั้งชายทั้งหญิงแลเดกเลกทั้งปวง, ก็ขอได้โดยง่าย, เอาแต่ครั้งเดียว. ของสิ่งนั้นใช้ได้จนตลอดอายุศม์. วิทีอันนี้พวกอังกฤษ, แลพวกอเมริกาเปนหลายโกติคน, ก็ได้ทดลองวิทีนี้ดูมากว่า ๔๖ ปีแล้ว. ทำเนียมประเทษอังกฦษแลทั่วประเทษยุรบแลอเมริกาใช้แต่วิทีนี้. เหตุดั่งนี้โรคธระพิศม์ในประเทษเหล่านั้น, จึ่งไม่ใค่รจะมีเชื้อ, เหลืออยู่บ้างเลกนอ้ย. แต่คนที่ไม่เอาวิทีนี้ใช้, จึ่งเปนโรคธระพิศม์นั้นบ้าง.

บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวโดยพิษดารตรง ๆ ว่าดว้ยวิทีที่จะกันฝีดาษนั้นเปนยังไร. อันวิทีนั้น, คือ บุพโพฝีพันอย่างหนึ่ง, แต่เดิมเกิดขึ้นที่นมแม่โค, จึ่งเอาบุพโพฝีที่นมโคนั้น, มาปลูกที่คนที่ยังไม่เปนฝีดาษ. เมื่อจะปลูกนั้นเอามีดสกิดเข้าหนิดหนึ่ง, เอาบุพโพโคใส่ที่ใต้ผิวหนังตามรอยมีดนั้น. เมื่อขณะปลูกนั้นก็เจบเท่ายุงกัดเท่านั้น. ได้สองวันสามวันก็แดงขึ้น. ครั้นถึงแปดวัน, ก็เปนเมดฝี, มีน้ำบุพโพใส ๆ. ครั้นถึง ๑๑ วัน ๑๓ วัน, ก็ยุบลงแห้งไปเอง. ไม่ตอ้งกินยุกยาแลปิดยาเลย. ปลูกคราวหนึ่ง ๑๙ คน ๒๐ คนก็จะมีตัวรอ้นบ้างเลกนอ้ยศักคนหนึ่ง, ถึงกระนั้น, ก็ไม่ตอ้งกินยาไม่ตอ้งอดของแสลง. ฝีจะออกเท่าแผลปลูกเท่านั้นเอง. วิทีนี้แลเปนที่กันฝีดาษได้มั่นคงนัก. ถ้าจะปลูกต่อไป, ก็ให้เอาบุพโพที่ปลูกขึ้นแล้วแต่ใส ๆ อยู่, เอามาปลูกลงที่คนอื่น, ก็เปนต่อไป, ใช้ไปได้อีกหลายพันชั่ว, ไม่กลับกลายเปนฝีดาษฝีร้าษเลย. เรียกว่าพันฝีโคอยู่อย่างนั้น. ผู้ใดมาฃอให้เราปลูก, เราก็จะปลูกให้, ไม่เอาวัถุสิ่งใดเลย.

ถ้าเหนแผลนั้นมีหนองฃาวเหลืองปนกันอยู่, แต่หนองนั้นไหลไม่เหนียวติดอยู่ที่แผล, เนื้อแผลนั้นงอกแดงขึ้นเปนเมดมะระ, ก็พึ่งเข้าใจเถิดว่า, แผลนั้นคอ่ยยังชั่วเข้าแล้ว. เมื่อเมดนั้นงอกขึ้นเสมอกับเนื้อที่ดี, ริมเนื้อที่ดีนั้นก็เปนผิวหนังขาว ๆ ขึ้นออ่น ๆ กอ่น, แล้วกลับหนาขึ้นกว้างออกไปทุกวันจนเตมทั้งแผล. แผลเช่นนี้ตอ้งชำระดว้ยน้ำฃ่าบู่วันละสองหน, แล้วจึ่งเอาน้ำฌะที่๑ที่๒ก็ได้, ในจดหมายเหตุใบที่สองทำฌะไปเถิด. แล้วเอาขี้ผึ้งแฃงส่วน ๑, น้ำมันมะพร้าว๒ส่วนหุงละลายให้เข้ากัน, แล้วเอาขี้ผึ้งนั้นทากระดาดหนังก็ได้, ทาผ้าขาวบางก็ได้, ปิดแผลเข้า. ถ้าไม่ชอบ ก็เอาขี้ผึ้งที่หนึ่งในจดหมายเหตุใบที่หนึ่งนั้นทำปิดไปเถิด, แล้วฉีกผ้าออกพันทับกระดาดที่ปิดแผลนั้นผูกรัดไว้ให้ตึง, อย่าให้เนื้อแยกดิ้นได้, จึ่งจะหายโดยเรว.

อนึ่ง ถ้าเนื้อแดงนั้นเปนเมดมะระสูงกว่าเนื้อที่ปรกติดีแล้ว, แผลนั้นจะไม่หาย เว้นแต่ให้เนื้อแดงนั้นราบเสมอเนื้อที่ดีเสียกอ่น จึ่งจะหาย. ถ้าแผลเลก ๆ เปนดั่งว่ามานี้, ก็ให้เอาจุลษรีกอ้นที่มีสันถานราบอยู่หน้าหนึ่งเหมือนหน้าหินนั้น, เอามาจุ่มน้ำลงภอเปียก, แล้วเอาถูถูลงเบา ๆ ที่เมดแผลที่งอกขึ้นสูงกว่าเนื้อดีนั้นศักประเดี๋ยวหนึ่ง, แล้วเอาน้ำท่าล้างแผลนั้นเสีย, ให้ทำดั่งนี้วันละสองเวลา, แล้วเอาขี้ผึ้งเช่นว่ามาแล้วนั้นปิดไปเถิด, แล้วเปิดออกเอาจุลษรีถูลงทุกวัน จนเหนเนื้อแดงราบลงเสมอเนื้อที่ดีแล้ว จึ่งจะหาย. ถ้าแผลที่ใหญ่กว้างเปนเมดดั่งว่ามานั้นเล่า, ก็ให้เอาสำลีประชีออกแต่บาง ๆ วางปิดลงไว้ที่กลางแผล, อย่าให้สำลีชิดปิดเนื้อดีเสีย, เอาปิดลงจำเพาะที่ตรงกลาง, แล้วจึ่งเอาขี้ผึ้งทากระดาดให้เปนวงตามช่องแผลที่เว้นสำลีไว้นั้น, แล้วเอาผ้าพันไว้ให้แน่น, จึ่งจะเกิดผิวหนังขึ้นยืดออกไปปิดแผลที่ท่ากลางนั้น. ตอ้งฌะดว้ยน้ำท่าเสียกอ่นวันละสองหนตามขอบแผล, แล้วจึ่งฌะดว้ยน้ำยาที่ฝาด ๆ ในที่ ๑ ที่ ๒ ที่ว่าไว้แล้วนั้น. ถ้ารักษาดั่งนี้ไม่ชอบ, ก็ให้เอาขี้ผึ้งเหนีอวที่สองในจดหมายเหตุใบที่ ๑ นั้นทาผ้าให้บาง ๆ, ปิดเหนี่ยวแผลให้ตึง, แล้วจึ่งฉีกผ้าออกเอาพันทับลงที่ตรงแผลนั้น, อย่าให้เนื้อแยกออกจากกันได้, อย่าให้สูงขึ้นได้. รักษาดั่งนี้หายมาโดยมากแล้ว. ถ้าไม่หาย, ก็เอาขี้ผึ้งแขงกับน้ำมันมะพร้าวที่ว่าไว้นั้น, ทาสำลีเข้าแต่บาง ๆ ปิดลงที่แผล, แล้วเอาตะกั่วท่ำชามาแต่จีนนั้น, ตัดออกปิดทับสำลีลงไว้, แล้วเอาผ้าพันเข้าให้ตึง, ก็หายโดยมากแล. เมื่อกำลังรักษาแผลอยู่ดั่งนี้. ก็ตอ้งอดของแสลงตามที่ห้ามไว้ในจดหมายเหตุใบที่สองนั้น. แต่ซ่มทั้งปวงนั้นมิได้ห้าม สาระพัดจะกินได้, ดว้ยซ่มนั้นเปนที่บำรุงโลหิตให้เอย๊นเปนปรกติอยู่. ที่คนทั้งหลายถือว่า ซ่มนั้นให้บังเกิดหนองหนักนั้น. แต่ข้าพเจ้าไม่เหนดว้ย เพราะได้รักษาบาดแผลทั้งเมืองนอกเมืองนี้มานานแล้ว, พิจรณาดูซ่มนั้นเหนไม่แสลงกับบาดแผลทั้งปวงนั้นเลย, ที่กลัวว่า ซ่มจะเปนแสลงนั้น, ก็กลัวเปล่า ๆ.

Price Current. บาด เฟื้อง บาด เฟื้อง
แผ่นทองแดงแลตะปูทองแดง หาบละ ๕๐ ๕๓
ผ้าใบ พับละ ๑๓ ๑๕
ขี้ผึ้ง หาบละ ๕๐ ๕๓
กำญานอย่างกลาง หาบละ ๕๘ ๖๑
หมากแห้ง หาบละ
เข้าแฟมาแต่ยะกะตรา หาบละ
ฝ้ายดีห่อหนักสองหาบยี่สิบสี่ชั่ง ห่อละ ๒๕ ๒๖
ฝ้ายอื่นมาแต่บำเบ ห่อละ ๑๓ ๒๖
งาช้างใหญ่ หาบละ ๑๖๗ ๑๘๓
งาช้างเลก หาบละ ๑๐๐ ๑๓๓
หนังควายดี หาบละ
ครามไท หาบละ
น้ำมันมะพร้าวไท หาบละ ๑๐
พริกไท หาบละ
พริกลอ่น หาบละ ๑๔
พริกเทด หาบละ
เข้าสารดีเกียนหนึ่งหนีก ๔๐ หาบ เกียนละ ๙๗
น้ำตายซายเมืองไท หาบละ
เกลือเมืองไท หาบละ ๓๖
ฝางเมืองไท หาบละ
ครั่งเมืองไท หาบละ ๑๑
ตะกั่วเกรียบ หาบละ ๒๕ ๒๗
รง หาบละ ๑๑๗
ด้ายดิบ หาบละ ๓๐ ๕๕

หนังสือฃ่าวนี้ตีภิมหน้าวัดเจ้าคุณพระคลัง, ที่บ้านพวกครูอเมริกาอาไศรย. ตีเดือนละแผ่น, คือ ปีหนึ่งสิบสองแผ่น. ราคา, ถ้าซื้อเปนปี, ก็เปนบาทหนึ่ง, ถ้าซื้อเปนแผ่น, ก็เปนแผ่นละเฟื้อง.

The recorder is published on the first Thursday of every month, at the press of the mission of the A. B. C. F. M. in Siam. Price, one tical, or sixty cents, a year.