นั้นให้หามาแลใช้ผู้อื่นไปแทน ฝ่ายตัวผู้ทนงนั้นให้ใส่ตรุไว้กว่าผู้ไปราชการจะกลับคืนมาถึงจึง[1] เอาออก
อนึ่ง ท้าวพญาสามลราชแลท้าวพญาประเทษราชพระหลวงขุนหมื่นท่านให้ไปรั้งเมืองแลไปการณรงสงครามก็ดี แลทำหนังสือบอกศุขทุกขมามิได้แลมาเองก็ดี แลเอาทรัพยมาทอดแพละโลมเอาไพร่พลในราชธานีของท่านไปก็ดี ท่านว่า ธี่นั่งน้อยจะใคร่ฝ่ายที่นั่ง[2] อันใหญ่ ท่านให้ฟันฅอริบเรือน ถ้าธรงพระกรุณาบให้ฆ่าตีเสียไซ้ ให้ริบทรัพยพัทธยากรจงสิ้น ให้ศักถ้าดาบ เอาตัวลงเปนไพร่เกี่ยวหญ้าช้าง อนึ่ง มีหนังสือบอกศุขทุกขมา ยังมิได้มีหนังสือไปให้หา แลมาก่อนหนังสือ ให้มัดไว้หน้าศาลาลูกขุนสามวัน แล้วให้ไหม จตุรคูน[3]
ทวีคูน
ลาหนึ่ง แลถอดจากราชการ ใส่ตรุะไว้เดือนหนึ่ง ถ้าธรงพระกรุณาจะให้คงที่ไซ้ ให้ใส่ตรุะไว้ ๑๕ วัน ถ้าหนังสือหาภบแต่กลางทาง ท่านว่า ให้ถ่ายธี่นั่ง ถ้านา ๑๐๐๐๐ ให้ถอยลงนา ๕๐๐๐ ถ้านา ๕๐๐๐ ให้ถอยลงมานั่งหลังนา ๓๐๐๐ นา เปนลำดับลงมา ให้ถอยเปนลำดับลงมาจนถึงนา ๔๐๐ แล้วให้ไหมตามบันดาศักดิ์ จตุรคูน[3]
ทวีคูน
ลาหนึ่ง จำ ๑๕ วัน อย่าให้ดูเยี่ยงกัน
อนึ่ง ผู้อยู[4] ในราชการอันบันดาจำบำเรอห์ประดิทินจะ
- ↑ มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "จึง" เป็น "จึ่ง" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
- ↑ มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ที่นั่ง" เป็น "ธีนั่ง" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
- ↑ 3.0 3.1 มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "จตุรคูน" เป็น "จัตุรคูน " (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
- ↑ มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "อยู" เป็น "อยู่" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)