ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร/เอกสาร 2

พระบรมราชปฏิญญา
เรื่อง พระหรราชดนัยไกรแก้วฟ้า

สมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎพระจอมเกล้า เจ้ากรุงสยาม เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๔ ในพระบรมราชวงศ์อันนี้ ครอบครองเป็นเจ้าของแดนดินซึ่งเป็นเขตแขวงถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั้งปวง แลเป็นที่พึ่งแก่เมืองประเทศราชต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง คือ เมืองลาว เมืองกัมพูชา แลมลายูประเทศ แลอื่น ๆ ขอประกาศบรมราชปฏิญญาอันนี้มาแก่ชนทั้งปวง ฤๅผู้หนึ่งแลพวกหนึ่ง บรรดาซึ่งจะได้อ่านแลฟังคำประกาศนี้ องค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราชธิบดี เจ้ากรุงกัมพูชา แต่ก่อนปรากฏนามว่า น้กพระองค์ด้วง ต้องได้มีความหม่นหมองกับสมเด็จพระอุทัยราชาธิราช จัน ผู้เป็นสมเด็จพระเรียม แล้วได้เข้าไปพึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ นานถึง ๒๙ ปี จนชนมายุใต้ ๔๕ ปี ภายหลังเมื่อผู้ครองแผ่นดินคิดอ่านจะมาครอบงำเอาเมืองเขมรให้เป็นเมืองของญวนเสียให้สิ้น ไม่ให้มีเจ้านายฝ่ายเขมรต่อไป พระยาพระเขมรผู้ใหญ่ผู้น้อยกับราษฎรเป็นอันมากได้ความเดือดร้อน เพราะญวนคิดอ่านดังนี้ ไม่เห็นชอบด้วย จึงไต้พร้อมใจกันมาขออำนาจฝ่ายกรุงเทพฯ เป็นที่พึ่ง แลขอให้ตั้งนักองค์ด้วงออกไปให้เป็นเจ้ากรุงกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริพร้อมกับความคิดทางเสนาบดีในกรุงเทพฯ มีความเมตตากรุณาแก่พระยาพระเขมรแลราษฎรเป็นอันมาก จึงได้แต่งตั้งให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ที่สมุหนายกในพระบรมมหาราชวัง เบ็นแม่ทัพคุมกองทัพออกไปป้องกันอำนาจญวนให้ห่างไปเสีย แล้วจึงได้ตั้งนักองค์ด้วงให้เป็นเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี มีนามบัญญัติว่า องค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี แลมีสร้อยนามยาวไปกว่านี้ประการใด ๆ นั้น ให้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ครอบครองแผ่นดินเขมรทั้งปวง ตั้งเมืองหลวงอยู่ ณ เมืองอุดงมีไชย ได้อภิเศกในปีมะแมนักษัตร นพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ศักราช ๑๒๐๙[1] นั้น องค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี เมื่อได้เป็นเจ้ากรุงกัมพูชาแล้ว ก็ได้รักษาแผ่นดินเมืองเขมรทั้งปวงให้ร้อยเรียบราบคาบอยู่เย็นเป็นสุขมาถึง ๑๓ ปี แลได้ให้ราชดไนยทั้งสาม คือ นักองค์ราชาวดี ๑ นักองค์ศรีสวัสดิ์ ๑ นักองค์วัตถา ๑ เข้ามาอยู่ทำราชการในกรุงเทพฯ ครั้นเมื่อ ณ ปีมะเส็ง นพศก ศักราช ๑๒๑๙[2] องค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีมีศุภอักษรบอกเข้าไปยังกรุงเทพฯว่า ตัวองค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีชราแล้ว แต่ผู้เดียวจะเอาใจใส่รักษาแผ่นดินเมืองเขมรให้รอบคอบราบคาบทั่วไปเป็นอันยาก ขอให้ตั้งนักองค์ราชาวดีเป็นที่สมเด็จพระมหาอุปราช แลตั้งให้นักองค์ศรีสวัสดิ์เป็นที่พระแก้วฟ้า ตามอย่างธรรมเนียมตำแหน่งซึ่งเคยมีมาในเมืองเขมรแต่ก่อน แต่นักองค์วัตถานั้นให้อยู่ทำราชการในกรุงเทพฯ แต่ผู้เดียว เรา ผู้เป็นเจ้าแผ่นดินในกรุงเทพฯ จึงได้ยินดีทำตามขอขององค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี แลตั้งนักองค์ราชาวดีเป็นองค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราช นักองค์ศรีสวัสดิ์เป็นที่องค์พระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้า ออกมาช่วยราชการรักษาแผ่นดินเมืองเขมรกับองค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี ผู้พระบิดา ครั้นเมื่อปีมะเมีย สัมฤทธิ[3] ต่วนหลี แขกมลายูซึ่งเป็นที่สมเด็จประเทศ กับครอบครัวแขก พากันกำเริบรุ่นวายขึ้น แล้วหนีเข้าไปอยู่พึ่งแผ่นดินญวน ก่อการล้วนเป็นเหตุให้ผู้ครองแผ่นดินเป็นใหญ่ในเมืองเขมร คิดอ่านการกะเกณฑ์กองทัพจะไปรบกับญวนในปีวอก โท[4] นั้น พอองค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีป่วยหนักถึงแก่พิราลัยลงในเดือนสิบสอง ปีวอก โท ก็การตามอย่างธรรมเนียมซึ่งเป็นปกติทุกบ้านทุกเมืองนั้น ถ้าเมืองใดเจ้าเมืองไม่มีตัวลง อำนาจสิทธิ์ขาดในที่จะว่าการแผ่นดินก็คงเลื่อนลดส่วงลงมาอยู่ในที่ผู้ที่มีฐานันดรเป็นที่สองรองเจ้าเมืองมาแต่ก่อน ถ้าการเป็นไปดังนี้ก็เป็นดีเป็นงาม เป็นอันเห็นว่า การบ้านเมืองเป็นปกติ แลความดำริของเมืองใหญ่ซึ่งได้แต่งตั้งมาแต่เดิม ก็ปรากฏว่า เป็นอันคิดชอบ แต่การจะเอาเป็นอย่างเยี่ยงเที่ยงดังนั้นทุกคราวทุกครั้งทุกบ้านทุกเมืองก็ไม่ได้ การก็คงลงแต่ตามน้ำใจผู้ใหญ่ผู้น้อยในผู้ครองเมืองนั้นเป็นอันมาก ตลอดลงไปจนราษฎรจะพร้อมใจกันทำบอกปันร้องขอให้ผู้ใดเป็นใหญ่ต่อไปนั้น ให้เป็นประมาณ

ก็การครั้งนี้ ตั้งแต่องค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีถึงแก่พิราลัยลงแล้วในเตือน ๑๒ บีวอก โท ผู้ครองฝ่ายกรุงเทพฯ ได้ส่งถึงแลรับตอบศุภอักษรว่าด้วยราชการเมืองอุดงมีไชย กับองค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราช แลองค์พระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้าซึ่งมีฐานนดรเป็นที่ ๒ ที่ ๓ นั้น แทนการที่เคยส่งถึงแลรับตอบกับองค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีมาแต่ก่อน แต่ยังหาได้เลื่อนที่แต่งตั้งให้เป็นทรงราชเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดีไม่ ด้วยเหตุสองประการ ประการหนึ่ง คือ การศพองค์สมเด็จพระหริระกษรามมหาอิศราธิบดียังไม่เสร็จ อีกประการหนึ่ง จะรอฟังความปรารถนาและความชอบใจของพระยาพระเขมรใหญ่น้อย จะชอบใจให้เลื่อนโดยลำดับหรือจะคิดแปรผันหันเหไปประการใด ก็องค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราช แลองค์พระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้าไกรแก้วฟ้า ตั้งแต่ออกไปอยู่ในตำแหน่งช่วยราชการกับพระ บิดามาจนบัดนี้ จะได้มีความขุ่นข้องหมองหมางขัดเดืองกับผู้ครองแผ่นดินในกรุงเทพฯ หามิได้ แต่นักองค์วัตถานั้น เมื่ออยู่ในกรุงเทพฯ ก่อนแต่องค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดียังไม่ถึงแก่พิราลัยในกรุง ทราบความอยู่ว่า องค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี ผู้พระบิดา ขัดเคือง ห้ามพระยาพระเขมรที่ใช้เข้าไปในกรุงเทพฯ ด้วยกิจราชการนั้น ๆ ไม่ให้ไปหามาสู่นักองค์วัตถาเลย แต่การนั้นเห็นว่า เป็นแต่บิดาขุ่นข้องขัดเคืองกับบุตร ไม่ได้เกี่ยวข้องอันใดกับผู้ครองแผ่นดินฝ่ายกรุงเทพ แล้ว ก็นิ่งอยู่ หาได้ซักไซ้ไล่เลียงไต่ถาม ครั้นมีศุภอักษรบอกเข้าไปแต่เมืองอุดงมีไชยว่า องค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีป่วยหนัก ผู้ครองแผ่นดินกรุงเทพฯ จึงคิดเห็นว่า องค์นักวัตถาเป็นราชดนัยขององค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี เมื่อเวลาพระบิดาไข้หนักอย่างนี้ ไม่ควรจะอยู่แยกย้ายจนไม่ได้ปรนนิบัติ กักขังไว้ให้สนองคุณพระบิดาในปลายมือ ถ้าองค์สมเด็จพระหรีรักษรามมหาอิศราธิบดี พระบิดา ถึงแก่พราลัย จะเป็นที่เสียใจแก่นักองค์วัตถาแลญาติทั้งปวง เพราะไม่ได้พร้อมหน้ากันในเวลาพิราลัยของพระบิดาตามเยี่ยงอย่าง ธรรมเนียมธรรมดาของชนในโลกเป็นอันมาก จึงได้ส่งองค์วัตถาออกมากับข้าหลวงซึ่งให้ออกมาฟังอาการองค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดี นักองค์วัตถา เมื่อจะมาจากกรุงเทพฯ ก็ได้ให้ปฏิญาณแก่ผู้ครองแผ่นดินฝ่าย ณ กรุงเทพฯ ว่า ถ้าองค์สมเด็จพระหริรักษรามมหาอิศราธิบดีถึงแก่พิราลัยแล้ว จะอยู่ในเมืองอุดงมีไชยแต่พอการปลงศพ เสร็จแล้วจะขอพานักมารดากับยายออกจากเมืองอุดงมีไชยกลับไปอยู่ในกรุงเทพฯ ตามเดิม การนี้เป็นความจริง ผู้ครองแผ่นดินฝ่ายกรุงเทพฯ จะได้นัดแนะรู้เห็นเป็นใจกับนักองค์วัตถาให้ออกมาเกลี้ยกล่อมซ่องสุมผู้คนก่อการกำเริบวิวาทกับองค์พระเรียมทั้ง ๒ องค์ คือ องค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราช แลองค์พระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้า ให้บ้านให้เมืองเป็นจลาจลต่าง ๆ นั้นหามิได้เลยทีเดียว ครั้นเมือนักองค์วัตถามาถึงเมืองอุดงมีไชยแล้ว องค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราช แลองค์พระหริราชดนัยไกรแกัวฟ้า ก็ได้มีศุภอักษรบอกเข้าไปว่า นักองค์วัตถาจนนัก อยู่ทำราชการด้วยที่เมืองอุดงมีไชย ขอให้ผู้ครองแผ่นดินฝ่ายกรุงเทพฯ ส่งบุตรภรรยานักองค์วัตถา และพระยาภักดีอิศรา กับพรรคพวกนักองค์วัตถา ออกมาเมืองอุดงมีไชยโดยเร็ว ฝ่ายผู้ครองแผ่นดินกรุงเทพฯ ได้ฟังใบบอกดังนี้ ยังมีความสงสัยอยู่ เพราะที่ปฏิญาณของนักองค์วัตถาให้ไว้กับคำในศุภอักษรที่บอกเข้าไปนั้นหาต้องกันไม่ จึงได้รอรั้งบุตรภรรยานักองค์วัตถา กับพระยาภักดีอิศรา และเขมรสมัครพรรคพวกองค์วัตถาที่อยู ณ กรุงเทพฯ ไว้จนทุกวันนี้ ก็ยังหาได้ส่งออกมาไม่[5]… … …

เลขที่ ๒๐๓
หมู่ จดหมายเหตุ ร. ๔ จ.ศ. ไม่มี
ประวัติ ได้มาจากกรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

  1. พุทธศักราช ๒๓๙๐
  2. พุทธศักราช ๒๔๐๐
  3. พุทธศักราช ๒๔๐๑
  4. พุทธศักราช ๒๔๐๓
  5. หมดฉบับพระราชหัตถเลขาเพียงเท่านี้