ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร/เอกสาร 25
สมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏ พระเจ้ากรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยาเป็นมหาราชธานีใหญ่ในพระราชอาณาจักรฝ่ายสยาม คือ แผ่นดินสยามเหนือใต้ แลดินแดนต่าง ๆ อยู่เคียงใกล้ ๆ บ้าง เป็นที่อาศัยของชนชาวประเทศมีเพศภาษาต่าง ๆ แลซึ่งรับราชนามตามตำแหน่งยศสมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสประดิษฐานว่า แครนกรอส ดำรงลำดับสิงหราช คือ ยศแต่สมเด็จพระเจ้าราชาธิราชกรุงฝรั่งเศส และได้ใช้สำคัญ คือ ราชลัญจกรสำหรับตำแหน่งอย่างนี้[1] แลราชลัญจกรพิเศษโดยเฉพาะดังนี้[1] ขอประกาศความราชปฏิญญาอันนี้แก่ผู้อ่านทั้งปวงหรือผู้เดียวซึ่งจะได้พบแลอ่านหนังสือสัญญานี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม แลพระบาทสมเด็จพระเจ้าแอมเปเรอกรุงฝรั่งเศส มีความปรารถนาให้ตกลงกันว่าด้วยเมืองไทยเมืองเขมร เพราะผู้ปกครองแผ่นดินฝรั่งเศส ผู้ครองแผ่นดินเขมร ได้ทำหนังสือสัญญาที่เมืองอุดงมีไชย วันที่ ๑๑ เดือนออคุสต์ คริสตศักราช ๑๘๖๓ ตรงกับวันที่ ๒๗ เดือนอาชักปีเกอร์ จุลศักราช ๑๒๒๕ ปี ไม่ให้มีเกิดข้อขัดขวางทางพระราชไมตรีหมองหมางทั้งสองฝ่าย ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามได้ตั้งให้พระยาสุรวงษ์วัยวัฒน์เป็นราชทูต พระราชเสนาเป็นอุปทูตเต็มอำนาจ ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าแอมเปเรอกรุงฝรั่งเศสได้ตั้งให้มองซิเออเลมาร์กิมาร์ควิสเลอเวลเดอมุศดิเยร์ มินิเตอผู้ว่าการต่างประเทศเต็มอำนาจ ได้ตรวจหนังสือเกรเตนแฉล[2] ถูกต้องพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว ได้ตกลงทำหนังสือสัญญากันตามว่ามานี้
ข้อ๑.ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามยอมความป้องกันซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าแอมเปเรได้ป้องกันเมืองเขมร
ข้อ๒.ว่า หนังสือสัญญาซึ่งไทยและเขมรทำไว้ในเดือนเดเซมเบอร์ ในปีคริสตศักราช ๑๘๖๓ ใช้ไม่ได้ ไปเบื้องหน้า ผู้ครองฝ่ายสยามจะอ้างข้อหนึ่งข้อใดในหนังสือนั้นไม่ได้
ข้อ๓.ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม แลพระเจ้าแผ่นดินจะสืบพระราชอิศริยยศ จะไม่ขอส่วย อากร เครื่องบรรณาการ หรือของอื่น ๆ… … …[3]
- ↑ กระโดดขึ้นไป: 1.0 1.1 มีรูปเครื่องหมายสี่เหลี่ยม
- ↑ Credentials
- ↑ สัญญาฉบับนี้ไม่ได้ลงนาม เพราะไม่ตกลงกัน จึงได้แต่งทูตออกไปประเทศฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ พระยาสุรวงศวัยวัฒน์เป็นราชทูต พระราชเสนาเป็นอุปทูต บาทหลวงหลุยเป็นล่าม