กฎหมายไทยฯ/เล่ม 1/เรื่อง 17

ประกาศ
ว่าด้วยตั้งเคาซิลแลพระราชบัญญัติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุศรัตนราชรวิวงษ วรุตพงษบริพัต วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปนพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ในรัชการที่ ๕ ในพระบรมราชวงษซึ่งได้ประดิษฐานแลดำรงค์รัตนราไชยมหัยสวรรยาธิปัตณกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทรมหินทรายุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบูรีรมอุดมราชนิเวศน์มหาสฐาน เสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยมหัยสวรรยพิมานโดยสฐานอุตราภิมุกข พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษแลอัคมหาเสนาธิบดีมุขมนตรีกระวีชาติราชปโรหิตาจาริย์ฝ่ายทหารพลเรือนถวายคำนับโดยอันดับเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาสพร้อมกัน จึงมีพระบรมราชโองการมารพระบันทูลสุรสิงหนาทให้ประกาศแก่พระบรมวงษานุวงษข้าทูลลอองธุลีพระบาทให้ทราบทั่วกันว่า ตั้งแต่เสด็จบรมราชาภิเศกเถลิงถวัลยราชสมบัติ ตั้งพะะราชหฤไทยจะดำรงค์รักษาพระนครขอบขันธสีมาทั้งพระบรมวงษานุวงษข้าราชการแลราษฎรให้ถาวรวัฒนายิ่งขึ้นไป จึงไดทรงพระราชอุสาหเสด็จพระราชดำเนินทางทเลฝ่าคลื่นฝืนลมไปประพาศเมืองต่างประเทศ เพราะจะได้ทรงทอตพระเนตรบ้านเมืองแลการธรรมเนียมต่าง ๆ สิ่งใดดีจะได้เปนแบบอย่างแก่บ้านเมืองสยามต่อไป ก็เพราะทรงหวังตั้งพระราชหฤไทยประสงค์จะทรงจัตการทำนุบำรุงพระนคร จึงได้เสดจพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรบ้านเมืองซึ่งได้มีความเจริญแล้วนั้น ก็ได้ทรงเหนการดีหลายอย่างที่จะเปนคุณเปนประโยชนแก่แผ่นดิน เปนต้นว่ากดขี่แก่กัน ถ้าเมืองใดประเทศใดยังถือตามที่เปนการกดขี่แก่กันนั้นอยู่แล้ว ก็เหนว่าประเทศนั้นเมืองนั้นยังไม่มีความเจริญเปนแน่ จึงได้ทรงลดหย่อนผ่อนพระราชอิศริยศลงหลายอย่าง โปรดให้ขุนนางยืนเฝ้าและนั่งเก้าอี่ที่เสมอกัน ก็มิได้ทรงถือพระองค์ เพราะจะให้ท่านทั้งหลายเหนเปนแน่ว่าจะทรงปลดเปลื้องการกดขี่ที่มีอยู่ในบ้านเมืองนั้นให้ลดน้อยถอยไปทุกครั้งทุกคราว ครั้งนี้ทรงพระราชดำริห์เหนว่า ราชการผลประโยชนบ้านเมืองสิ่งใดที่จะเกิดขึ้นแลการที่ยังรกร้างมาแต่เดิมมากนั้น ถ้าจะทรงจัดการแต่พระองค์เดียวก็จะไม่ใคร่สำเร็จไปได้ ถ้ามีผู้ที่ช่วยกันคิดหลายปัญญาแล้ว การซึ่งรกร้างมาแต่เดิมก็จะได้ปลดเปลื้องไปได้ที่ละน้อย ๆ ความดีความเจริญก็คงจะบังเกิดแก่บ้านเมือง จึงได้ทรงจัดสันข้าทูลลอองธุลีพระบาทซึ่งมีสติปัญญาโปรดเกล้าตั้งไว้เปนที่ปฤกษาห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อมีราชการวันใดกำหนตให้มาประชุมพร้อมกัน จะเสด็จออกในพระที่นั่งแห่งใดแห่งหนึ่งนั้น ให้ผู้เปนที่ปฤกษาใหญ่มาประชุมเฝ้าในที่นั้นให้พร้อมกันในวันตามที่กำหนด เมื่อยังไม่แล้วการ จะประชุมติดกันไปสองวันสามวันก็ได้ เมื่อทรงพระราชดำริห์การสิ่งใดซึ่งเปนข้อราชการที่สำคัญ แลจะตั้งเปนกฎหมาย แลเปนแบบฉบับเปนธรรมเนียมในแผ่นดิน จะพระราชทานคำซึ่งทรงพระราชดำริห์นั้นให้ที่ปฤกษาทั้งปวงดำริห์ตริตรองดู การจะเปนคุณฤๅเปนโทษก็ให้กราบทูลขึ้นตามความที่เหน ถ้าเหนว่าสิ่งไระจเปนคุณฤๅคิดการซึ่งจะให้เปนคุณดีกว่าที่ทรงพระราชดำรีห์นั้น ก็ให้กราบทูลขึ้น ถ้าเหนว่าจะเปนการไม่มีคุณเปนโทษอย่างใร ก็ให้กราบทูลได้ ไม่เปนคนล้นคนทลึ่งไป ถ้าหากว่าคำที่ว่าขึ้นมานั้นดี ควรจะเอาเปนแบบฉบับได้ ก็จะเอาคำนั้นใช้ ถ้าเหนว่าไม่มีประโยชน ก็จะให้ยกเสีย แต่ผู้ซึ่งพูดขึ้นนั้นไม่มีโทษไม่มีความผิดสิ่งไรในตัว หนึ่ง ที่ปฤกษาทั้งปวงจะคิดการสิ่งไรขึ้นได้ ลงเนื้อเหนกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ก็ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลฤๅทำเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายเปนไปรเวตก่อน จะได้ไม่เปนที่ขัดขวางแก่ผู้ใด เมื่อทรงเหนชอบ จะได้ทรงปฤกษาที่ปฤกษาทั้งปวง เมื่อเหนว่าชอบดีพร้อมกันปล้ว คำนั้นก็จะเปนใช้ได้ ถ้าการสิ่งไรซึ่งปฤกษากันในวันประชุมนั้นจะยังไม่ตกลงแล้วกันได้ ก็จะระราชทานพระราชดำริห์แลคำผู้ซึ่งกล่าวขึ้นนั้นให้ไปตริตรองดูกอน เมื่อถึงคราวประชุมน่า ให้ที่ปฤกษาทั้งปวงทำจดหมายรายความคิดฃองตัวที่เหนนั้นมาถวายในที่ประชุมจงทุกคน จะได้ทรงเทียบเคียงดูเหนว่าคำของผู้ใดดี จะได้เอาคำของผู้นั้นเปนใช้ได้ ถ้าฝ่ายหนึ่งเหนความว่าไมดี ฝ่ายหนึ่งเหนความว่าดี เปนคำเถียงแก่งแย่งกันอยู่ดังนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงตัดสินเปนกลาง ไม่ทรงเหนว่าเปนผู้ใหญ่ผู้น้อย สุดแล้วแต่ความยุติธรรมเปนประมาณ แล้วจะทรงเลือกคำที่ที่ปฤกษาว่ามาเหนว่าจะใช้ได้นั้นเรียงลงให้เปนเรื่องจนตลอดการ ฤๅจะทรงพระราชดำริห์พิเสศกว่าคำของขุนนางเหล่านั้นขึ้นไปอิก ก็จะเพิ่มเติมลงด้วย แล้วปฤกษาที่ปฤกษาทั้งปวงต่อไป เมื่อเหนว่าดีพร้อมกันแล้ว จะเอาคำนั้นเปนใช้ได้ เมื่อที่ปฤกษายังจะเหนการดีจะมีคุณต่อไปอิก ก็จะโปรดให้ไปเรียงถ้อยคำตามความคิดของตัวมาว่าได้อิกกว่าจะเหนชอบพร้อมกันลงชื่อพร้อมกันแล้ว จึงจะมอบให้ผู้ใดผู้หนึ่งรับเอาความนั้นไปเรียงเปนพระราชบัญญัติ แล้วให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อถึงวันประชุมน่า จึงจะให้เอาคำพระราชบัญญัตินั้นออกอ่านให้ที่ปฤกษาทั้งปวงฟัง เมื่อเหนว่าถูกต้องพร้อมกันแล้ว ถ้าเปนการใหญ่ต้องปฤกษาท่านเสนาบดีเหนชอบพร้อมกันแล้ว จึงจะลงพระนามประทับพระราชลัญจกรในพระราชบัญญัตินั้นเปนใช้ได้ หนึ่ง จะทรงตั้งพระบรมวงษานุวงษแลข้าราชการอีกพวกหนึ่งให้เปนที่ปฤกษาในพระองค์ เพราะไม่ได้ทอดพระเนตรการสิ่งไร ไม่ได้ทรงฟังการสิ่งไรทั่วไป ไม่มีสิ่งไรที่จะเปนทางปัญญาซึ่งจะทรงพระราชดำริห์การบ้านเมืองและจะทรงตัดสินคำของที่ปฤกษาทั้งปวงให้เด็จขาดไปได้ เพราะฉนั้น จึงจะต้องตั้งไว้สำหรับทรงไต่ถามการงานให้กราบทูลได้ทุกอย่างไม่มีการขัดขวาง แลปฤกษาการซึ่งทรงพระราชดำริห์ขึ้นบางสิ่งกอ่นที่ปฤกษาใหญ่ผู้ที่ได้มาเปนที่ปฤกษาในพระองค์ จึงจะเอาใจใส่ในราชการอุสาหสืบเสาะแลคิดการที่ดี เหมือนหนึ่งฝึกหัดคนขึ้นไว้ จะได้หนุนที่ปฤกษาใหญ่ต่อไป แต่ที่ปฤกษาในพระองค์นี้ไม่มีกำหนดว่าเท่าไร แล้วแต่จะทรงเหนว่าผู้ใดควรจะใช้ได้ ก็จะตั้งขึ้นไว้มาก ๆ เมื่อมีการสิ่งไรที่จะทรงปฤกษา จะให้หาแต่สองคนสามคนฤๅมากเท่าไรก็ได้ เมื่อทรงถามการงานสิ่งไร ก็ให้กราบทูลได้โดยการที่จริง ไมระแวงกลัวความผิดร้ายสิ่งใด ฤๅถ้าจะคิดการสิ่งไรขึ้น ก็ให้กราบทูลได้โดยความที่ตัวคิดเหน จะทรงปฤกษาการสิ่งไร ก็ให้กราบทูลได้ทุกอย่างเหมือนที่ปฤกษาใหญ่ แต่การนั้นยังไม่สำเร็จ ต้องทรงปฤกษาที่ปฤกษาใหญ่ก่อน ต่อเหนชอบพร้อมกันแล้ว การนั้นจึงจะเปนสำเรจได้ ให้ที่ปฤกษาใหญ่แลที่ปฤกษาในพระองค์จงมีความสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้มีความอุสาห์หมั่นฟังหมั่นคิดตรึกตรองในกิจราชการแผ่นดินโดยสุจริจธรรมทุกประการ ประกาศมาณวันศุกร์ แรมแปดค่ำ เดือนหก ปีจอ ฉอศก จุลศักราชพันสองร้อยสามสิบหก เปนปีที่หกในรัชการปัตยุบันนี้ ๚ะ

ที่ปฤกษาซึ่งโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นในครั้งนี้นั้น

พระยาราชสุภาวดี จ ม พ จ ว
พระยาศรีพิพัฒน์ ท จ ว
พระยาราชวรานุกูล ท จ ว น ช ภ ม
พระยากระสาปน์กิจโกศล ท จ ว ม ม
พระยาภาษกรวงษ ท จ ว ภ ช ช ม ม
พระยามหาอำมาตย ท จ
พระยาอภัยรณฤทธิ์ ท จ
พระยาราไชย ท จ
พระยาเจริญราชไมตรี ช น
พระยาพิพิธโภไคย ม ม
พระยากระลาโหมราชเสนา
พระยาราชโยธา

รวม ๑๒ นายก่อน ถ้าต่อไปทรงเหนว่าผู้ใดควรจะยกมาเปนที่ปฤกษาได้ ก็จะทรงตั้งเพิ่มเติมแลจะผลัดเปลียนได้ตามแต่จะทรงเหนสมควร ให้ท่านทั้งปวงซึ่งมีชื่อมาในที่ปฤกษานี้จงตั้งใจรับราชการของตนตามพระราชบัญญัติประกาศนี้ทุกประการเทอญ ๚ะ