กฎหมายไทย
คือ

พระราชบัญญัติและประกาศซึ่งตั้งขึ้นไว้ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลกฎเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ซึ่งออกใช้เปนกฎหมายโดยพระบรมราชานุญาต

พระราชบัญญัติเครื่องราชอิศิริยาภรณ์
อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฏสยาม

ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาลเปนอดีดภาคล่วงแล้ว ๒๔๓๖ พรรษา ปัตยุบันกาล รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ตุลาคมมาศ ปฐมาศาห์คุณปวัตติ รวิวาร ปัญจมรัชกาล ฉัปนีสติมะสังวัดชรเฃตร ปริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงษ์ วรุตมพงษ์บริพัฒ วรขัดติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามทั้งฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ แลดินแดนทั้งหลายที่ใกล้เคียง คือ ลาวเฉียง ลาวกาว มลายู กะเหรี่ยง แลอื่น ๆ เสด็จออกณพระที่นั่งอนันตสมาคมอุดมพานโดยสฐานบุรภาพิมุข พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์แลท่านเสนาบดีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายทหารพลเรือนเฝ้าทูลอองธุลีพระบาทในการพระราชพิธีสมโภชศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี

มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า เมื่อแรกได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริห์จัดชื่อชั้นสำหรับดวงตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ช้างเผือกซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างขึ้นไว้นั้น ทรงทำนุบำรุงเพิ่มเติมให้บริบูรณขึ้น เปนการเชิดชูเฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระบรมชนถนารถให้เจริญรุ่งเรืองไปสิ้นกาลนาน แล้วจึงทรงพระราชดำริห์ว่า ในกาลทุกวันนี้ กรุงสยามเปนพระนครเกษมศุขสมบูรณเจริญขึ้นดีกว่าแต่ก่อนหลายประการ ควรจะมีเครื่องประดับสำหรับเชิดชูอิศิริยยศแก่ผู้ซึ่งมีความชอบให้เจริญยิ่งขึ้นไป จะได้เปนที่เฉลิมพระเกียรติยศแลงามแก่บ้านเมือง จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างดวงตราเครื่อราชอิศีริยาภรณ์ขึ้นอิกอย่างหนึ่งชื่อว่า มงกุฎสยาม ในวันพุฒ เดือนอ้าย แรมสิบเอ็จค่ำ ปีมเสง เอกศก จุลศักราช ๑๒๓๑ อนุวัตรตามดวงตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ช้างเผือกสำหรับพระราชทานผู้มีความชอบในราชการมากแลน้อยโดยสมควร ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ ลงวัน ๔ เดือน ๑ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมเสง เอกศก จุลศักราช ๑๒๓๑ นั้นครั้งหนึ่ง ภายหลังได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดีศรีสุวิรมหามัตย์วงษ์ ราชพงษ์นิกรานุรักษ์ มหาสวามิภักดิ์บรมราชโปการาภิรมย์ สรรโพดมกิจวิจารณ์ มหามณเฑียรบาลบดินทร์ ราชนิเวศนินทรามาตย์ วันเตบุริกนาฎเสนาบดี อภัยพิริยปรากรมภาหุ ตราพระราชบัญญัติ ลงวัน ๕ เดือน ๙ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีรกา เบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ เปนส่วนเพิ่มเติมแก้พระราชบัญญัติเก่านั้น คงเปนพระราชบัญญัติสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ช้างเผือกสยามแลมงกุฎสยามรวมกัน ๗ มาตรา ครั้นณวันอังการที่ ๑๙ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิศิรยาภรณ์แก้ไขเพิ่มเติมอีก ๘ มาตรา

บัดนี้ ทรงพระราชดำริห์ว่า พระราชบัญญัติที่ได้ออกมาแล้วดังกล่าวมานั้นยังกระจัตพลัดพราย หาเปนหมวดหมู่กันไม่ แลกล่าวปะปนด้วยเครื่องราชอิศิริยาภรณ์จำพวกอื่นอยู่ด้วย ไม่เปนการสมควร แลเพื่อจะให้เครื่องราชอิศิริยาภรณ์อันนี้มีเกียรติคุณไพศาลพิเศษยิ่งขึ้น แลทรงพระปรารภมหามงคลสมัยอันอุดมในการสมโภชศิริราชสมบัติอันได้เสด็จดำรงค์สยามรัฐมณฑลสกลอาณาจักรมาบรรจบครบ ๒๕ ปีเต็มบริบูรณ สมควรที่จะรวบรวมพระราชบัญญัติที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ออกเปนคราว ๆ มานั้นให้เปนหมวดหมู่เดียวกันแลแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นอีกให้สมบูรณยิ่งขึ้นไป

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทั้งปวงที่กล่าวมาทั้งข้างต้นนี้เสีย แล้วมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ เฉพาะพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ให้ตราพระราชบัญญัติใหม่นี้ไว้เปนแบบฉบับสำหรับปกครองเครื่องราชอิศิริยาภรณ์มงกุฎสยาม จัดเปนหมวดมาตราไว้ดังจะว่าต่อไปนี้

มาตรา  เครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า เครื่องราชอิศิริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม

มาตรา  เครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้แบ่งเปน ๕ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑ สำหรับพระผู้เปนเจ้าเปนใหญ่ซึ่งเปนเจ้าของตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ดวง ๑ สำหรับคะณาธิบดีดวง ๑ สำหรับพระราชทาน ๖๐ ดวง รวมเปน ๖๒ ดวง ชื่อ มหาสุราภรณ์

ชั้นที่ มีอัตรากำหนด ๑๐๐ ดวง ชื่อ จุลสุราภรณ์
ชั้นที่ มีอัตรา ๒๐๐ ดวง ชื่อ มัณฑนาภรณ์
ชั้นที่ มีอัตรา ๔๐๐ ดวง ชื่อ ภัทราภรณ์
ชั้นที่ มีอัตรา ๘๐๐ ดวง ชื่อ วิจิตราภรณ์

รวมเปนดวงตรา ๑๕๖๒ ดวงเท่านั้น

มาตรา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แลรัชทายาทฤๅผู้ที่ได้สืบอายติกราชสันตติวงษ์ดำรงค์ราชอิศิริยยศเปนพระเจ้าแผ่นดินสืบไปในพระบรมราชวงษนี้ จะเปนเจ้าเปนใหญ่เปนประธานฃองตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้อยู่เสมอเปนนิตย์

มาตรา  จะทรงตั้งพระบรมราชวงษผู้มีพระเกียรติยศอย่างสูงซึ่งเปนที่เต็มพระราชหฤไทยให้ว่าการเปนคะณาธิบดี มีพนักงานที่จะตรวจตรารักษาเกียรติยศข้อพระราชบัญญัติแลคำประกาศสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้พวกสมาชิกแลเจ้าพนักงานประพฤติให้ต้องตามข้อพระราชบัญญัติทั้งสิ้น แลเปนผู้เชิญดวงตราถวายในการตั้งสมาชิกใหม่ด้วย

มาตรา  ดวงตราชั้นที่ ๑ สำหรับพระราชทานพระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการผู้ใหญ่เจ้าประเทศราชซึ่งมีความชอบในราชการแผ่นดิน แลได้รับราชการใหญ่เปนคุณต่อแผ่นดินมาก ตามแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระราชดำริห์เหนควร

มาตรา  ดวงตราชั้นที่ ๒ ที่ ๓ สำหรับพระราชทานพระบรมวงษานุวงษ์แลข้าราชการเจ้าประเทศราชซึ่งมีความชอบในราชการแลได้รับราชการเปนคุณต่อแผ่นดิน ตามแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระราชดำริห์เหนสมควร

มาตรา  ดวงตราชั้นที่ ๔ ที่ ๕ สำหรับพระราชทานพระราชวงษานุวงษ์แลข้าราชการเจ้าประเทศราชซึ่งมีความชอบแลได้รับราชการมาด้วยดี ตามแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระราชดำริห์เหนสมควร

มาตรา  พระบรมวงษซึ่งเปนอุภัยปักษ์ คือ สมเด็จพระราชโอรสนัดาสืบสันตติเปนบันทัดเนื่องตรงลงมาจากพระองค์ในพระบาทสมด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ปฐมบรมกษัตริย์ในพระบรมราชวงษ์ปัตยุบันนี้ อันดำรงค์พระยศเปนสมเด็จเจ้าฟ้าแล้ว เมื่อได้รับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้ทรงเปนกิตติมศักดิ์สมาชิกนอกจำนวนในอัตราที่กำหนดไว้ แลพระบรมวงษ์ซึ่งดำรงค์พระยศเปนสมเด็จเจ้าฟ้าได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศิรยาภรณ์นี้อยู่แล้วก็ดี แต่นี้ไปให้ถือว่าเปนกิตติมศักดิ์สมาชิก แลกิตติมศักดิ์สมาชิกนี้สูงกว่าสามัญสมาชิก นับเปนรองคะณาธิบดีลงมา

มาตรา  สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลพระราชวงษานุวงษ์ แลบันดาเจ้าแลผู้มีบันดาศักดิ์ต่างประเทศ ฤๅคนต่างประเทศกนใด เมื่อทรงพระราชดำริห์เหนสมควรแล้วณเวลาหนึ่งเวลาใด จะพระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้เปนวิสามัญสมาชิกตามลำดับชั้นของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้เปนจำนวนเพิ่มเติมต่างหากนอกจากที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ มีอำนาจแลประโยชนเสมอกับสามัญสมาชิกนั้น

มาตรา ๑๐ ดวงตราเครื่องราชอิศิรยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยามนี้ ชั้นที่ ๑ มีดวงตราใหญ่ พื้นกลางลงยาราชาวดีสีฃาบ มีรูปจุลมงกุฎ มีพานรอง มีเครื่องสูง ๒ ข้าง สลักโปร่งทับอิกชั้นหนึ่ง มีเนื่องเงินฉลักเปนเพ็ชร์โสร่งรอบขอบเปนกลีบบัวสีเขียวสีแดงสลับรอบดวงหนึ่ง มีแพรแถบสพายพื้นน้ำเงินขอบเขียวริ้วแดง ๑ ริ้วเหลือง ๑ กว้าง ๔ นิ้ว แลมีดวงตราเล็กข้างน่าเปนแฉกกลีบบัว ๒ ชั้นลงยาราชาวดีสีเขียวสีแดง กลางพื้นทองไม่ได้ลงยา มีรูปจุลมงกุฎ มีพานรอง มีเครื่องสูงสองข้าง ด้านหลังที่กลางมีดวงตรา มีตัวอักษร จ,ป,ร, ไคว่กัน เปนอักษรพระนามย่อในแผ่นดินปัตยุบันนี้ ข้างบนกลีบบัวเปนกิ่งใบไม้ทองสามใบติดห่วงห้อยแพรแถบสพาย รวมทั้งสิ้นนี้ชื่อ มหาสุราภรณ์ เปนชั้นที่ ๑ เปนส่วนสามัญ แต่ดวงตราสำหรับพระผู้เปนเจ้าเปนใหญ่นั้น เวงตราประดับเนื่องเพ็ชร์แลมีสายสร้อยพระสังวาลทองคำลงยาราชาวดี กลางเปนรูปจุลมงกุฎ มีมหามงกุฎอยู่ข้างบน แลมีฉัตร ๒ ข้าง แลพระแสงขรรค์กับธารพระกรไคว่กัน มีผ้าแถบลงยาพาดห้อยลงมา มีอักษรในผ้านั้นว่า “สัพเพสํ สังฆภูตานํ สามัคคี วุฑฒิสาธิกา” ที่กลางผ้าใต้จุลมงกุฎลงมามีรูปจักรี มีมาไลยใบไชยพฤกษแลพุทธรักษาซ้อนอยู่ ฃ้างล่างสายสังวาลมีอักษร จ,ป,ร, ไคว่กัน แสดงพระนามาภิธัยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปัตยุบันนี้ คือ “จุฬาลงกรณ์บรมราชาธิราช” มีจุลมงกุฎวางบนเบาะ แลมีจักรกรีไคว่กับสรรพาวุธแลมาไลยไชยพฤกษพุทธรักษา ทั้งสามอย่างนี้คั่นสลับกันไปโดยรอบ พระสังวาลมีสำหรับแขวนดวงตราเล็กสรวมพาดบนพระอังษาทั้ง ๒ ข้าง ดวงดาราสำหรับคะนาธิบดีมีเนื่องประดับเพ็ชร์ด้วย ดวงดาราประดับเพ็ชร์แลสายสร้อยนี้ ถ้าทรงพระราชดำริห์เหนสมควร จะพระราชทานเพิ่มเปนส่วนพิเสศแก่สมาชิกชั้นที่ ๑ นี้ผู้ใดก็ได้

มาตรา ๑๑ ดวงตราชั้นที่ ๒ ชื่อ จุลสุราภรณ์ มีดวงตราใหญ่คล้ายกับดารามหาสุราภรณ์ แลมีดวงตราเล็ก ด้านข้างน่าเปนแฉกกลีบบัวสองชั้นลงยาราชาวดีสีแดงสีเขียว กลางพื้นทองไม่ได้ลงยา มีรูปจุลมงกุฎ มีพานรอง ด้านหลังมีอักษร จ,ป,ร, ไคว่กันอยู่ที่กลางดวงตรา ขอบเปนกลีบบัวลงยาราชาวดีเหมือนกับด้านน่า บนกลีบบัวเปนกิ่งไม้ทองสามใบติดกับห่วงห้อยแพรแถบขนาดกลางสำหรับสวมฅอดวงใหญ่ติดแนบกับเสื้อชั้นนอกที่อกข้างซ้าย รวมทั้ง ๒ ดวงเปนชั้นที่ ๒ แลดวงตราชั้นที่ ๒ นี้ ถ้าทรงพระราชดำริห์เหนสมควร จะพระราชทานดวงตราประดับเพ็ชร์เปนพิเศษก็ได้

มาตรา ๑๒ ดวงตราชั้นที่ ๓ ชื่อ มัณทนาภรณ์ รูปดวงตราเหมือนอย่างดวงตราเล็ก ห้อยแพรแถบสพายของมหาสุราภรณ์ ฤๅดวงตราเล็กของจุลสุราภรณ์นั้น มีห่วงห้อยแพรแถบขนาดกลาง ร้อยสวมฅอเปนชั้นที่ ๓ ถ้าทรงพระราชดำริห์เหนสมควร จะพระราชทานดวงตราชั้นที่ ๓ นี้ประดับเพ็ชร์แก่ผู้ใดก็ได้

มาตรา ๑๓ ดวงตราชั้นที่ ๔ ชื่อ ภัทราภรณ์ มีดวงตราสัณฐานเหมือนดวงตรามัณฑนาภรณ์แลเล็กกว่า มีสายแถบขนาดเล็กผูกดอกไม้ ข้างบนติดแนบกับเสื้อชั้นนอกที่อกข้างซ้าย เปนชั้นที่ ๔

มาตรา ๑๔ ดวงตราชั้นที่ ๕ ชื่อ วิจิตราภรณ์ มีดวงตราเหมือนอย่างดวงตราชั้นที่ ๔ แต่ใบไม้ข้างบนแลด้านหลังเปนเงิน มีสายแถบขนาดเล็ก แต่ไม่มีดอกไม้ติดแนบกับเสื้อชั้นนอกที่อกข้างซ้าย เปนชั้นที่ ๕

มาตรา ๑๕ ผู้ที่รับพระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ที่กล่าวมานี้ไปแล้ว จงแต่งเมื่อการประชุมใหญ่ ๆ คือ การพระราชพิธีแลการอื่น ๆ เวลาใด ๆ ต้องใช้สวมเสื้อเยียรบับเข้มฃาบเปนคราวแต่งตัวเต็มตามยศก็ดี ฤๅเวลาสรวมเสื้อครึ่งยศฤๅเสื้อแต่งเวลาเย็นแลเวลาอื่นซึ่งเปนการหลวงนั้น ๆ ก็ดี ก็ควรจะแต่งเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นั้นด้วยทุกครั้ง ฤๅเป็นการพิเศษนอกจากการหลวง แลการรับแขกมีบันดาศักดิ์ในกรุงนี้ฤาวต่างประเทศ แลเวลาประชุมเลี้ยงณที่ใด ๆ ก็ควรใช้แต่งให้เปนเกียรติยศ

มาตรา ๑๖ เมื่อผู้ใดได้รับตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้แล้ว จะจำลองดวงตราให้เล็กลง จะประดับเพ็ชรืประดับพลอยให้งามดีสำหรับใช้ฤๅจะไว้ให้เปนที่รฦกแก่บุตรหลานต่อไปก็ได้

มาตรา ๑๗ ผู้ซึ่งได้รับดวงตราทั้ง ๕ ชั้นนี้ มีประกาศนิยบัตรเซ็นพระราชหัถเลขาประทับพระราชลัญจกรด้วย

มาตรา ๑๘ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ซึ่งเปนวันมูลพระบรมราชาภิเศกครั้งแรกนั้น ให้ถือว่า เปนวันของเครื่องอิศิริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งนี้ ถ้าจะตั้งสมาชิกใหม่ ก็จะทรงตั้งในการพระราชพิธีฉัตรมงคลในวันนั้น แต่นอกจากมงคลสมัยอันนี้ จะทรงตั้งในสมัยอื่นขะณะใดสมัยใดก็ได้

มาตรา ๑๙ บันดาผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้มีลำดับเกียรติยศอยู่น่าหลังเทียบกับผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์อื่นตามลำดับชั้นดังนี้ คือ มหาสุราภรณ์สูงกว่าทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ แต่อนุวัตรตามหลังมหาวราภรณ์ จุลสุราภรณ์สูงกว่าทุติยจุลจอมเกล้าฯ แต่นุวัตรตามหลังจุลวราภรณ์ มัณฑนาภรณ์สูงกว่าตติจุลจอมเกล้าฯ แต่ต่ำกว่านิภาภรณ์ ภัทราภรณ์สูงกว่าตติยานุจุลจอมเกล้า แต่ต่ำกว่าภูษนาภรณ์ วิจิตราภรร์ต่ำต่อทิพยาภรณ์ลงไปเปนชั้นที่สุด ดังนี้ แลในผู้ที่ได้รับพระราชทานตราชั้นเดียวกันมีลำดับน่าหลังกันตามที่ได้รับพระราชทานก่อนแลหลัง

มาตรา ๒๐ ถ้าผู้ใดซึ่งได้รับตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ทั้ง ๕ ชั้นนี้ ให้ใช้หมายตัวอักษรท้ายชื่อบอกยศแทนเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ดังนี้ ที่ ๑ ม,ส,ม, แทนมหาสุราภรณ์ ที่ ๒ จ,ม, แทน จุลสุราภรณ์ ที่ ๓ ม,ม, แทน มัณฑนาภรณ์ ที่ ๔ ภ,ม, แทน ภัทราภรณ์ ที่ ๕ ว,ม, แทน วิจิตราภรณ์ ตามลำดับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์

มาตรา ๒๑ บันดาผู้ที่เปนสมาชิกของเครื่องราชอีศิริยาภรณ์นี้มีคะดีเกี่ยวข้องในตัวเองประการใด ๆ ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบฝ่าลอองธุลีพระบาท จะโปรดเกล้าฯ ให้มีตระลาการชำระเปนความรับสั่ง ฤๅให้ศาลพิจารณา แล้วแต่จะทรงพระราชดำริห์เหนสมควร ฤๅผู้นั้นไม่อยากจะกราบบังคมทูลพระกรุณาให้เปนที่ขุ่นเคืองไต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทไปร้องฟ้องตามโรงศาลตามธรรมเนียมก็ดี ฤๅมีผู้ทำฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายฤๅฟ้องร้องกล่าวโทษณโรงศาลก็ดี ผู้ที่เปนสมาชิกของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ต้องคะดีอันใด เมื่อพิจารณความนั้นปรากฎว่า ผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ชะนะแก่ความ จะได้ค่าปรับไหมมากน้อยเท่าใด ส่วนพินัยหลวงนั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เปนบำเหน็จแก่ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นั้นด้วย ถ้าผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์แพ้แก่ความ จะต้องเสียค่าปรับไหมเปนสินไหมพินัยมากน้อยเท่าใด ต้องให้เสียเต็ม ไม่มียกเว้นสิ่งใด เหมือนกับผู้ซึ่งไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ทั้งปวงเหมือนกัน

มาตรา ๒๒ เพื่อว่าจะให้เปนเกียรติยศอันยิ่งใหญ่แก่สมาชิกทั้งปวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมาชิกมีอำนาจที่จะใช้ดวงตราตามชั้นที่ได้รับพระราชทานประดับในตราอาร์มสำหรับตนได้

มาตรา ๒๓ จะโปรดเกล้าฯ ทรงตั้งเจ้าพนักงานไว้สำหรับรักษาเครื่องราชอีศิริยาภรณ์นี้ มีตำแหน่งลัญจกราภิบาล ๑ เลฃานุการ ๑ มุทรานุการ ๑ เจ้าพนักงานเหล่านี้มีตำแหน่งยศตามระเบียบชื่อดังข้างบนนี้ ต้องประพฤติให้ถูกต้องตามข้อพระราชบัญญัติดังกำหนดในมาตราทั้งหลายต่อไปนี้

มาตรา ๒๔ ลัญจกราภิบาลของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์เหล่านี้ จะทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดตามแต่พระราชอัทธยาไศรย์จะทรงเหนชอบเหนควรให้รับตำแหน่งยศนี้ มีพนักงานสำหรับรักษาพระราชลัญจกรสำหรับเครื่องราชอีศิริยาภรณ์นี้ แลเปนผู้ประทับฤๅสั่งให้ประทับพระราชลัญจกรในบันดาข้อพระราชบัญญัติแลประกาศนิยบัตรตราตั้งแลหนังสือสำคัญซึ่งเกี่ยวด้วยเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ที่จะต้องประทับพระราชลัญจกรนี้ทั้งสิ้น ในเมื่อเวลาทรงตั้งสมาชิกใหม่ จะเปนผู้เชิญดวงตราถวายคะณาธิบดีส่งทูลเกล้าฯ ถวาย แลเปนผู้รับพระบรมราชโองการทุกสิ่งทุกอย่างในการที่เกี่ยวด้วยเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ แลเปนผู้ทำตราตั้งแลเรียบเรียงข้อพระราชบัญญัติแลคำประกาศต่าง ๆ รับ ๆ สั่งของผู้เปนเจ้าเปนใหญ่ฤๅคะณาธิบดีสั่งแก่เจ้าพนักงานต่าง ๆ เมื่อทรงตั้งสมาชิกใหม่ จะได้สั่งเลขานุการให้มีหนังสือแจ้งความแก่สมาชิกให้รู้ล่วงน่า แลเปนพนักงานดูผิดดูชอบให้สมาชีกแลเจ้าพนักงานประพฤติให้ต้องตามข้อพระราชบัญญัติซึ่งมีอยู่แล้วแลจะมีต่อไป แล้วแต่น้ำพระไทยของผู้เปนเจ้าเปนใหญ่แลคะณาธิบดีจะทรงเหนชอบเหนควรในการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เกี่ยวด้วยเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ที่นอกจากน่าที่ซึ่งกำหนดไว้ฤๅการใด ๆ ก็ดี แล้วแต่จะทรงสั่ง

มาตรา ๒๕ เลขานุการสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ จะทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดแล้วแต่พระราชอัทธยาไศรย์จะทรงเหนชอบเหนควรให้เปนเลขานุการ มีพนักงานเปนผู้ช่วยลัญจกราภิบาลในการหนังสือทุกอย่างที่เกี่ยวด้วยเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ แลมีน่าที่เปนพนักงานที่จะเรียกดวงตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์จากสมาชิกซึ่งล่วงลับไป ฤๅสมาชิกที่เปนโทษต้องไล่ต้องถอดในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ มีพนักงานจะเก็บแลจดบาญชีพวกที่ได้รับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้เต็มจำนวนทั้งอดีตประจุบัน แลจตหมายเหตุความดีความชอบของสมาชิกในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ แลจดหมายเหตุต่าง ๆ ในการซึ่งเปนไปแล้วฤๅจะเกิดขึ้นลงในสมุดสารบบของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ไว้สำหรับแผ่นดินทุกประการ แลเลขานุการต้องรู้จักตำบลบ้านแลชื่อตัวชื่อตั้งของพวกในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ซึ่งมีตัวอยู่ทั้งปวง ในเวลาวันประชุมตั้งสมาชิกใหม่ เลขานุการจะเปนผู้นำสมุดข้อพระราชบัญญัติให้แก่พวกสมาชิกแลรับราชการอื่น ๆ ตามแต่ลัญจกราภิบาลจะสั่ง

มาตรา ๒๖ มุทรานุการสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ จะทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดแล้วแต่น้ำพระไทยจะทรงเหนชอบเหนควรให้เปนมุทรานุการ มีน่าที่เปนพนักงานสำหรับเก็บรักษาตัวอย่างแลดวงตรา แลทำบาญชีตระกูลวงษฃองสมาชิกที่เรียกว่า วงษานุจริต แลรับราชการต่าง ๆ ตามผู้เปนเจ้าเปนใหญ่แลคะณาธิบดีจะรับสั่ง ถ้าเวลาทรงตั้งพวกสมาชิก มุทรานุการจะเปนผู้จัดที่นั้นทั้งสิ้น

มาตรา ๒๗ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศีริยาภรณ์นี้ต้องจัดการเผื่อที่จะส่งดวงตราเครื่องประดับที่ได้รับพระราชทานนั้นคืนแก่เลขานุการเมื่อสิ้นชนมชีพล่วงลับไปแล้ว ฤๅจะลาออกก็ต้องคืนดวงตราแก่เลขานุการโดยเร็ว ถ้าสิ้นชนมชีพแล้ว ต้องให้ผู้รับฤๅผู้จัดการมรฎกส่งคืนในกำหนดอย่าให้เกินเดือน ๑ แต่ประกาศนิยบัตรสำหรับดวงตรานั้น โปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ให้เปนที่รฦกแก่บุตรหลานสืบไป

มาตรา ๒๘ ถ้าผู้ใดที่ได้รับพระราชทานตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นต่ำแล้วเลื่อนเปนชั้นสูงขึ้นไปในมงกุฎสยามนั้น ต้องส่งดวงตราชั้นต่ำที่ประดับอยู่เดิมนั้นคืนแก่เลขานุการ

มาตรา ๒๙ บันดาพวกสมาชิกแลเจ้าพนักงานของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ ถ้ามีความผิดเปนมหันตะโทษก็ดี เปนมัทยมโทษก็ดี ที่เสื่อมเสียชาติตระกูลแลเสียเกียรติยศไม่สมควรที่จะเปนสมาชีกแลเปนผู้ดีได้ ฤๅทรงพระราชดำริห์เหนไม่สมควรจะดำรงค์ตำแหน่งนั้น ก็จะทรงถอดทรงไล่ผู้ที่มีความผิดนั้นเสียจากสมาชิกฤๅเจ้าพนักงานแล้ว เจ้าพนักงานจะเรียกดวงตราเครื่องประดับสำหรับอิศิริยศคืนในทันใด แลลบชื่อจากในบาญชีสารบบสำหรับแผ่นดิน การจะถอดไล่เสียจากสมาชิกฤๅเจ้าพนักงานในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ พระผู้เปนเจ้าเปนใหญ่พระองค์เดียวจะทรงวินิจฉัยพิจารณาพิพากษากิริยาอาการของผู้ที่จะทำผิดซึ่งจะถอดไล่เสียจากสมาชิกฤๅพนักงานในเครื่องราชอิศิริยาภรณนี้ แลพระผู้เปนเจ้าเปนใหญ่ทรงอำนาจไว้ว่า เวลาหนึ่งเวลาใด ทรงพระราชดำริห์เหนสมควรว่า จะตั้งผู้หนึ่งผู้ใดที่ให้ถอดให้ไล่เสียจากพวกฤๅเจ้าพนักงานในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้อีกก็ได้ ตามแต่เหตุการที่ชอบที่ควรแล้วแต่จะทรงตั้ง

มาตรา ๓๐ เพื่อว่าจะมิให้มีข้อผิดที่เปนความไม่เข้าใจเกิดขึ้นด้วยเรื่องดวงตราเครื่องประดับสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนแบบเครื่องราชอิศิริยาภรณ์แลสายสร้อยดวงตราเครื่องยศแลแพรแถบให้ได้สีแลขนาดทุกอย่างซึ่งจะประดับด้วยเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ แลห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างหนึ่งอย่างใดที่นอกจากตัวอย่างซึ่งเขียนไว้ให้นอกจากนี้ไปเปนอันขาด เว้นแต่พระราชทานพระบรมราชานุญาตโดยออกประกาศเซ็นพระราชหัถเลขาประทับพระราชลัญจกรสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้เปนสำคัญ จึงให้แก้ไขแปลงเปลี่ยนรูปที่เขียนไว้ได้

มาตรา ๓๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เก็บบาญชีจตหมายเหตุต่าง ๆ ตามพนักงานรวมไว้แห่งเดียวกันที่กระทรวงมุรธาธรในพระบรมมหาราชวัง กับทั้งดวงตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ด้วย

มาตรา ๓๒ พระราชบัญญัติซึ่งตั้งมานี้ทุก ๆ มาตรา แลข้อพระราชบัญญัติแลคำประกาศที่จะมีต่อไป ให้รักษาไว้โดยกวดขัน อย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดละเลยได้เปนอันขาด ยกไว้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แลรัชทายาทฤๅผู้จะสืบอายติกราชสันตติวงษดำรงค์ราชอิศิริยศเปนพระเจ้าแผ่นดินสืบไป จึงจะมีอำนาจที่จะแก้ไขฤๅเลิกถอนฤๅเพิ่มเติมข้อหนึ่งข้อใดในข้อพระราชบัญญัตินี้ได้ แลถ้าจะมีข้อสำคัญที่ไม่เข้าใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นก็ดี จะทรงอธิบายชี้แจงทุกข้อทุกประการโดยออกประกาศประทับพระราชลัญกรสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้เปนสำคัญ ข้อที่แก้ไขอธิบายเหล่านี้ต้องนับเข้าเปนส่วนพระราชบัญญัตินี้ด้วย

พระราชบัญญัติประกาศตั้งไว้แต่ณวันอาทิตย์ที่ ๑ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ เปนปีที่ ๒๖ ฤๅวันที่ ๙๐๙๑ ในรัชกาลปัตยุบันนี้

พระราชบัญญัตินี้ เดิมจะโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมณะพระที่นั่งอนันตสมาคมในวันที่ ๑ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ครั้นต่อมา ได้โปรดเกล้าฯ บำเพ็ญพระราชกุศลเพื่อทรงพระอุทิศถวายแต่สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินในกรุงทวาราวดี กรุงธนบุรี แลกรุงรัตนโกสินทร์ อันได้เสด็จดำรงค์ศิริราชสมบัติมาตั้งแต่ก่อนทุก ๆ พระองค์ในวันที่ ๑ ตุลาคม อันเปนวันบันจบครบ ๒๕ ปีตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตินั้น การพระราชกุศลนี้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ทำที่พระราชวังบางปอิน จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนวันประชุมมาต่อวันที่ ๕ ธันวาคม อันมีดิถีตามจันทรคติคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเศกทั้ง ๒ คราวมา แต่ส่วนพระราชบัญญัตินี้ โปรดเกล้าฯ ให้ออกไปแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ตามกำหนดในพระราชบัญญัตินี้