กฎหมายไทยฯ/เล่ม 5/เรื่อง 306

พระราชบัญญัติ
เครื่องราชอิศิริยาภรณ์
อันเปนโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

ศุภมัสดุ พระพุทธสาสนกาลเปนอดีดภาคล่วงแล้ว ๒๔๓๖ พรรษา ปัตยุบันกาล รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ตุลาคมมาศ ปฐมาศาห์คุณปวัตติรวิวาร ปัญจมรัชกาล ฉัปนีสติมะสังวัดชรเฃตร ปริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรษรัตนราชรวิวงษ์ วรุตมพงษ์บริพัฒน วรขัดติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกณพระที่นั่งอนันตสมาคมอุดมพิมานโดยสถานบูรพาภิมุข พร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์แลข้าทูลลอองธุลีพระบาทในการพระราชพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี

มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า เครื่องราชอิศิริยาภรณ์อันเปนโบรานมงคลนพรัตนราชวราภรณ์นี้แต่เดีมมีมาแต่ครั้งกรุงทวาราวดีศรีอยุทธยาเก่าเปนสายสร้อยพระสังวารประดับเนาวรัตน์สายสร้อยอ่อนสายหนึ่ง เปนเครื่องสำหรับพิไชยสงคราม แลสำหรับมหากษัตริยทรงเมื่อเวลาบรมราชาภิเศกเสด็จขึ้นพระที่นั่งภัทรบิฐ พราหมณได้ทูลถวายรับมาสรวมพระองค์ก่อน แล้วจึงได้รับเครื่องบรมราชอิศิริยศราชกกุภัณฑ์ต่อไป เปนฃองสำหรับแผ่นดินสืบมาดังนี้ ไม่ทราบชัดว่าผู้ใดเปนผู้สร้างแลเปนผู้ตั้ง พระราชประเพณีอันนี้แต่ครั้งกรุงทวาราวดีศรีอยุทยาโบราณดำรงค์อยู่นั้นก็มีสืบมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์มหินทรายุทธยาณประเทศบางกอก

ในปีขาน จัตวาศก ศักราช ๑๑๔๔ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ซึ่งเปนปฐมพระบรมราชวงษปัตยุบันนี้ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติปราบดาภิเศก ก็ได้ทรงรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์อันนี้สืบมา แล้วจึงได้ทรงสร้างพระสังวาลนพรัตน์เปนสังวาลแฝดประดับเนาวรัตน์เปนดอก ๆ คือ เพ็ชร์ ดอก ๑ ทับทิม ดอก ๑ มรกฎ ดอก ๑ บุศราคำ ดอก ๑ โกเมนทร์ ดอก ๑ นิล ดอก ๑ มุกดา ดอก ๑ เพทาย ดอก ๑ ไพฑูลย์ ดอก ๑ สลับกันดังนี้จนตลอดสายเดิมขึ้นเปนสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์อิกสายหนึ่ง

ครั้นจุลศักราช ๑๒๑๓ ปีกุน ตรีศก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเศกแล้ว ทรงพระราชดำริห์ปรารภที่จะทรงสร้างเครื่องราชอิศิริยาภรณ์อันนี้มีปรากฎเปนพระบรมราชกระแสว่า “ธรรมเนียมเดิมฝ่ายสยามมีเครื่องประดับสำหรับยศอย่างใหญ่ในพระเจ้าแผ่นดินที่ยิ่งแลที่ ๒ ที่ ๓ แลพระราชวงษานุวงษ์ผู้ใหญ่บางองค์แลเสนาบดีผู้ใหญ่บางนายอยู่อย่างหนึ่ง เหนชอบกนอยู่ที่ว่าพอละเมียดสมควรอันนี้ มีธรรมเนียมในสยามมาแต่เดิมว่า ให้มีวงแหวนทองคำเปนทองเนื้อสูงอย่างเอก คือ ทองแร่บางตพานก็ดี ฤๅทองที่หุงชำระจนสิ้นมือก็ดี เปนอย่างเอกก็ดี หนักกึ่งตำลึงบ้าง สิบสลึงบ้าง สามบาทบ้าง ทำทั้งแท่งไม่โพร่งใน ตีให้แน่นดี แล้วขุดหลุมพลอย ๙ แห่ง แล้วจึงฝังพลอย ๙ อย่าง ที่ ๑ เพ็ชร์ ที่ ๒ ทับทิม ที่ ๓ มรกฎ ที่ ๔ เพทาย ที่ ๕ บุศ ที่ ๖ นิล ที่ ๗ มุกดา ที่ ๘ โกเมนทร์ ที่ ๙ ไพฑูรย์ แล้วประดับเพ็ชร์เล็กเนื่องสองข้างบ้าง เปนลายต่าง ๆ สองข้างบ้าง ทำให้งามดี แล้วสอดไว้ในประคดที่คาดกับเอว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรง แลพระราชทานให้ผู้มีบันดาศักดิ์ใหญ่ ๆ ตั้งแต่ผู้เปนที่ ๒ พระเจ้าแผ่นดินลงไปจนเสนาบดี เมื่อเวลาการพิธีซึ่งสมมตว่าเปนมงคลผู้ใหญ่จะได้ทำ คือ ตัดจุกเด็ก แลเจิมจุณเครื่องหอม แลรดน้ำอวยไชยให้พร ในที่แต่งตั้งฐานันดอน แลการบ่าวสาว แลวางศิลาแรกในที่ก่อตึกก่อกำแพงแลป้อมได ๆ ที่พระเจ้าแผ่นดิน ฤๅผู้ใหญ่แทนพระเจ้าแผ่นดิน จะได้ลงมือเปนฤกษ ผู้ลงมือทำการมงคลนั้นย่อมเอาแหวนวงนั้นสอดในนิ้วชี้มือขวาแล้วทำการมงคลนั้น ๆ ก็การที่คาดแหวนสอดในประคดนั้นเปนที่สำแดงยศของผู้ใหญ่ในสยามแต่โบราณมา

ในทุกวันนี้มีผู้ยังได้ใช้เครื่องยศแหวนอย่างนั้นอยู่แต่ ๑๒ นับทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามซึ่งได้ทรงรับเครื่องราชอิศิริยยศอย่างนี้แต่สมเด็จพระบรมชนกนารถซึ่งเปนพระเจ้าแผ่นดินดินใหญ่ที่สองในพระบรมราชวงษ์นี้แต่ปีมโรง โทศก จุลศักราชสยาม ๑๑๘๒ เปนปีที่ ๑๒ ในรัชกาลนั้นมาแล้ว เมื่อได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงได้พระราชทานเครื่องยศอย่างนี้แก่พระราชวงษานุวงษ์หลายพระองค์แลเสนาบดีหลายนาย นับได้ ๒๐ แลแหวนพลอย ๙ อย่างนี้ ฝ่ายสยามนับถือว่าเปนมงคลใหญ่หลวง

ครั้นมาบัดนี้ พระเจ้าแผ่นดินสยามในรัชกาลปัตยุบันนี้ เมื่อส้องเสพยกับชาวต่างประเทศ ได้สืบทราบว่า ในประเทศต่าง ๆ มีเครื่องยศสำหรับสำแดงลำดับยศอย่างสูงแลลำดับนั้นลงมาด้วยทำเปนดาวแลเปนดอกจันแลรูปต่าง ๆ ตามบัญญัติในเมืองนั้น ๆ จึงได้คิดตั้งพระราชบัญญัติให้ทำดอกจันประดับด้วยพลอย ๙ อย่างนั้นขึ้น เพื่อจะให้ประดับในน่าเสื้อเปนสำคัญยศอย่างสูง ครั้นทำขึ้นแล้ว ก็ได้ไว้ทรงด้วยพระองค์ดอกหนึ่ง พระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอแลพระเจ้าลูกยาเธอต่อมาบ้าง ยังทรงพระราชดำริห์จะทำพระราชทานต่อไปให้ท่านผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศแหวนประดับพลอย ๙ อย่างนั้นให้ทั่ว” มีข้อความที่เปนพระบรมราชกระแสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการที่จะทรงสร้างตรานพรัตนราชวราภรณ์ดังนี้

ครั้นมาในรัชกาลปัตยุบันนี้ ทรงพระอนุสรตามกระแสพระบรมราชดำริห์แห่งสมเด็จพระบรมชนกนารถ แลทรงพระปรารภพระสังวาลนพรัตนอันเปนโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ประเภทเดียวกัน จึงทรงพระราชดำริห์ว่า พระบรมวงษผู้ซึ่งได้รับดวงตรานพรัตนราชวราภรณ์นั้นมีแต่ดวงตรา ไม่มีสายสังวาล เพราะสายสังวาลผู้อื่นจะมีไม่ได้ เฉพาะทรงได้แต่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียว จึงได้ทรงสร้างดวงตราเล็กประดับเนาวรัตนเหมือนอย่างดอกประจำยามที่พระสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ ด้านข้างหลังลงยาราชาวดีมีอุณาโลกอยู่กลาง มีจุลมงกุฎข้างบนประดับเพ็ชร์ห้อยติดกับแพรแถบสพายสีเหลืองขอบเขียวริ้วแดงรี้วน้ำเงีนสพายบ่าขวามาซ้ายแทนสายพระสังวาล แลได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้รวมกับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ช้างเผือกมงกุฎสยาม แลเหรียญจักรมาลา เหรียญบุษปมาลา เหรียญรัตนาภรณ์ ลงวันพฤหัศบดี เดือนเก้า ขึ้นหกค่ำ ปีรกา เบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ แก้ไขประกาศที่ลงวันพุฒ เดือนอ้าย แรม ๑๑ ค่ำ ปีมเสง เอกศก จุลศักราช ๑๒๓๑ แลภายหลังมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ลงวันอังคารที่ ๑๙ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๘

บัดนี้ ทรงพระราชดำริห์ว่า พระราชบัญญัติที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นเปนครั้งคราว ข้อความกระจัดพลัดพราย หาเปนหมวดหมู่กันไม่ แลพระราชบัญญัติสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ แลช้างเผือก กับทั้งมงกุฎสยาม แลเหรียญจักรมาลา บุษปมาลา รัตนาภรณ์ ทั้ง ๖ จำพวกนี้ รวมอยู่ในพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน แลในพระราชบัญญัติเพิมเติม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ ก็กล่าวความตลอดทั่วไปทุกเครื่องราชอิศิริยาภรณ์จนถึงเครื่องราชอิศิริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงษแลจุลจอมเกล้าฯ ข้อความระคนปนกันอยู่ดังนี้ ยังหาเปนหลักฐานสมควรไม่

อีกประการหนึ่ง สิ่งที่ควรแก้ไขเพิ่มเติมตามการสมัยก็มีหลายประการ แลทรงพระปรารภมหามงคลสมัยอันอุดมในการฉลองศิริราชสมบัติอันได้เสด็จดำรงค์สยามรัฐมลฑลสกลอาณาจักรมาบรรจบครบ ๒๕ ปีเต็มบริบูรณ สมควรที่จะชำระแก้ไขพระราชบัญญัตินั้นให้เรียบร้อยเปนหมวดหมู่ให้เปนหลักฐานมั่นคงเปนแบบฉบับสำหรับแผ่นดินสืบไป

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ นพรัตนราชวราภรณ์ ช้างเผือก มงกุฎสยาม แลเหรียญจักรมาลา เหรียญบุษปมาลา เหรียญรัตนาภรณ์ ปีรกา เบญจศก ๑๒๓๕ แลพระราชบัญญัติเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ แก้ไขเพิ่มเติม รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ นั้นเสีย แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ดำรัสสั่งเฉพาะพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร ให้ตราพระราชบัญญัติสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์อันเปนโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์นี้ขึ้น แลให้ใช้เปนแบบฉบับสำหรับแผ่นดินสืบไปดังนี้

มาตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เรียกว่า เครื่องราชอิศิรยาภรณ์อันเปนโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

มาตราเครื่องราชอิศิรยาภรณนี้มีสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน องค์ ๑ สำหรับพระราชทาน ๑๙ ดวง รวมเปน ๒๐ ดวง เท่ากับจำนวนแหวนนพเก้าซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนารถทรงพระราชดำริห์ไว้นั้น

มาตราพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แลรัชทายาทฤๅผู้ซึ่งจะสืบอายติกราชสันตติวงษ์ดำรงค์ราชอิศิริยศเปนพระเจ้าแผ่นดินสืบไปในพระบรมราชจักรกรีวงษ์นี้ จะเปนเจ้าเปนใหญ่เปนประธานของตราเครื่องราชอิศิรยาภรณ์นี้อยู่เสมอเปนนิตย์

มาตราพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะดำรงค์ที่มหาสวามิศราธิบดี เพื่อจะได้ปกครองเกียรติยศของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปให้ต้องตามข้อพระราชบัญญัติแลคำประกาศสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ทุกข้อทุกประการ ถ้าแลจะมีราชกิจการพระนครมาก ก็จะทรงตั้งพระบรมราชวงษ์ผู้มีเกีรยติยศอย่างสูงยิ่งซึ่งเปนที่เต็มพระราชหฤไทยให้ว่าการในที่คณาธิบดี มีพนักงานที่จะตรวจตรารักษาเกีรยติยศข้อพระราชบัญญัติแลคำประกาศสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้พวกสมาชิกแลเจ้าพนักงานประพฤติให้ต้องตามข้อพระราชบัญญัติทั้งสิ้น เมื่อจะทรงตั้งพระบรมราชวงษ์พระองค์ใดให้ว่าการในที่คณาธิบดี ก็จะให้มีคำประกาศตราตั้งเซ็นพระราชหัถเลขาสัญญานามประทับพระราชลัญจกรเปนสำคัญ พระบรมราชวงษ์ซึ่งได้รับตราตั้งนี้จะได้เปนปฐมคณาธิบดีในพวกสมาชิกต่อไป ดวงตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์สำหรับคณาธิบดีซึ่งจะประดับพระองค์แลเครื่องทรงนั้นเหมือนอย่างสมาชิกทั้งปวงซึ่งจะกำหนดไว้ต่อไปภายน่า

มาตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้สำหรับพระราชทานพระบรมวงษ์ซึ่งเปนผู้ใหญ่ในราชตระกูลฤๅข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งมีเกีรยติยศสมควรที่จะได้รับพระราชทานแหวนนพเก้าซึ่งเปนเครื่องยศอย่างเก่าโบราณมานั้น แต่ผู้ที่ไม่ได้ถือพระพุทธสาสนาจะรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ไม่ได้

มาตราจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้แก่พระบรมราชวงษานุวงษ์ฝ่ายในที่มีพระเกีรยติยศใหญ่ มีสมเด็จพระบรมราชเทวีเปนต้น เปนให้เปนสมาชีกาพิเศษฝ่ายในก็ได้ ไม่เกี่ยวกับจำนวนที่กำหนด ๒๐ ดวงนี้ ต้องนับเปนนอกจำนวนทุกพระองค์

มาตราดวงตราซึ่งเปนที่หมายของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นั้นดังนี้

พระสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ เปนพระสังวาลแฝด มีดอกประจำยามประดับเพ็ชร์ ดอก ๑ ทับทิม ดอก ๑ มรกฎ ดอก ๑ บุศราคำ ดอก ๑ โกเมนทร์ ดอก ๑ นิล ดอก ๑ มุกดา ดอก ๑ เพทาย ดอก ๑ ไพรฑูรย์ ดอก ๑ คั่นสลักกันไปอย่างละดอกสำหรับผู้เปนเจ้าเปนใหญ่ทรงพระองค์เดียว ผู้อื่นจะใช้ไม่ได้ สำหรับทรงเหนือพระอังษาข้างขวาผ่านมาข้างซ้าย

ดวงตรามหานพรัตน์ ด้านน่าเปนดอกประจำยาม ๘ แฉกเหมือนดอกประจำยามที่พระสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ ประดับพลอย ๘ อย่าง คือ ทับทิม ๑ มรกฎ ๑ บุศราคำ ๑ โกเมนทร์ ๑ นิล ๑ มุกดา ๑ เพทาย ๑ ไพฑูรย์ ๑ ใจกลางเปนเพ็ชร์ รวมเปนพลอย ๙ อย่าง ด้านหลังลงยาราชารดี มีอุณาโลมอยู่กลาง มีรูปจุลมงกุฎประดับเพ็ชร์อยู่ข้างบน สำหรับติดห้อยแพรแถบกว้าง ๔ นิ้ว สีเหลืองฃอบเขียว มีริ้วแดงริ้วน้ำเงินคั่นสพายบ่าขวามาห้อยข้างซ้าย แต่ถ้าสมาชิกาฝ่ายในจะทรงใช้สพายก็ได้ แต่ไห้สพายบ่าซ้ายห้อยมาข้างขวาให้แปลกกัน ฤๅจะใช้ห้อยแพรแถบสีเหลืองริมเขียว มีริ้วแดงริ้วน้ำเงินที่ผูกเปนรูปแมงปอ ติดพระอังษาข้างซ้ายแทนสายสพายก็ได้

ดวงตรานพรัตนดารา เปนรูปดวงดาราแปดแฉกทำด้วยเงินจำหลักเปนเพ็ชรโสร่ง กลางเปนดอกประจำยามฝังพลอย ๘ อย่าง ใจกลางเปนเพ็ชร เหมือนดวงมหานพรัตนนั้น สำหรับตีดอกเสื้อข้างซ้าย ๔ แหวนประดับเนาวรัตนทำด้วยทองคำเนื้อสูง

มาตราบันดาท่านที่เปนสมาชิกในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้จะต้องหาเครื่องแต่งตน คือ เสื้อครุยพื้นเหลืองปัดทองเปนลายก้านแย่ง มีรูปนพรัตนดาราปักเงินทองแลไหมสีเหมือนดวงดารานั้น โตสูญไส้ ๖ นิ้ว ติดที่อกเบื้องซ้ย

มาตราเมื่อผู้ใดได้รับตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้แล้ว จะจำลองดวงตราให้เล็กลง จะประดับเพ็ชรประดับพลอยให้งามดี สำหรับไว้ใช้ฤๅจะไว้ให้เปนที่รฦกแก่บุตรหลานต่อไปก็ได้

มาตรา๑๐ผู้ซึ่งได้รับดวงตรานี้มีประกาศนิยบัตรเซ็นพระราชหัถเลขาประทับพระราชลัญจกรกำกับด้วย

มาตรา๑๑เครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้สำหรับใช้ในการมงคลราชพิธี เปนต้นว่าโสกันต์แลสมโภชนซึ่งมีการสรงแลเวียนเทียน ผู้ที่ประดับดวงตรานี้มาได้ถวายน้ำแลถวายจุลเจิมเหมือนได้สรวมแหวนนพเก้ามาพระราชพิธีอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณคล้ายดังนี้ เปนสมัยที่ควรใช้ตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์อันนี้ ฤๅจะใช้ใน้การพระราชพิธีอื่นก็ได้ ฤๅจะใช้ไปในการมงคลพิธี มีการตัดจุกฤๅรดน้ำบ่าวสาว นอกจากพระราชพิธีหลวงก็ได้ คงถือว่าเปนเครื่องหมายมงคลและเกียรติยศอย่างแหวนนพกเก้าที่พระราชทานแก่ท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ใหญ่นั้น

มาตรา๑๒ให้ถือวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในการพระราชพิธิตรุศซึ่งนับนิยมตามวันทร์คติมาศอย่างเกา คงในวันเดอน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำนั้น เปนวันสำคัญของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ ให้สมาชิกทั้งปวงประดับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้มาจงทั่วกัน

มาตรา๑๓บันดาท่านที่เปนสมาชิกเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้มีลำดับอยู่น่าหลังเครื่องราชอิศิริยภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าทั้งสิ้น แต่อนุวัตตามหลังท่านผู้ที่รับเครื่องขัตติยราชอิศิริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรกรีบรมราชวงษ แลในพวกสมาชิกเครื่องราชอิริศิยาภรณ์นี้ด้วยกัน มีลำดับน่าหลังกันตามที่ได้รับพระราชทานก่อนแลหลัง

มาตรา๑๔ท่านผู้ที่ได้รับเครืองราชอิศิริยาภรณ์นี้ ให้หมายตัวอักษรท้ายชื่อบอกเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ดังนี้ น,ร, แทนนพรัตนราชวราภรณ์

มาตรา๑๕บันดาผู้ที่เปนสมาชิกของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้มีคะดีเกี่ยวข้องในตัวเองประการใด ๆ ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบฝ่าลอองธุลีพระบาท จะโปรดเกล้าฯ ให้มีตระลาการชำระเปนความรับสั่ง ฤๅให้ศาลพิจารณา แล้วแต่จะทรงพระราชดำริห์เหนสมควร ฤๅผู้นั้นไม่อยากจะกราบบังคมทูลพระกรุณาให้เปนที่ขุ่นเคืองใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท จะไปร้องฟ้องตามโรงศาลตามธรรมเนียมก็ดี ฤๅมีผู้ทำฎีกาทูลเกล้าฯ ถวายฤๅฟ้องร้องกล่าวโทษณโรงศาลก็ดี เมื่อพิจารณาความนั้นปรากฎว่า ผู้ที่ได้รับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ชะนะความ จะได้ค่าปรับไหมมากน้อยเท่าใด ส่วนพินัยหลวงนั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เปนบำเหน็จแก่ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นั้นด้วย ถ้าผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์แพ้แก่ความ จะต้องเสียค่าปรับไหมเปนสินไหมพินัยมากน้อยเท่าใด ต้องให้เสียเต็ม ไม่มียกเว้นสิ่งใด เหมือนกับผู้ซึ่งไม่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ทั้งปวงเหมือนกัน

มาตรา๑๖เพื่อว่าจะให้เปนเกียรติยศอันยิ่งใหญ่แก่สมาชิกทั้งปวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมาชิกมีอำนาจที่จะใช้ดวงตรานพรัตนราชวราภรณ์ประดับในตราอาร์มสำหรับตนได้ ถ้าตราอาร์มนั้นยังไม่มีสิ่งที่ประคองดวงตรา ก็ให้สมาชิกนั้นแจ้งความต่อเจ้าพนักงานนพรัตนมุทรานุการ เจ้าพนักงานนพรัตนมุทรานุการ เจ้าพนักงานนพรัตนมุทรานุการจะคิดรูปสิ่งที่ประคองดวงตรานั้นให้แก่สมาชิกที่ได้รับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ทุก ๆ พระองค์ทุก ๆ คน

มาตรา๑๗จะโปรดเกล้าฯ ทรงตั้งเจ้าพนักงานไว้สำหรับรักษาเครื่องราชอิศิริยาภรณ์ มีตำแหน่งลัญจกราภิบาล ๑ เลขานุการ ๑ มุทรานุการ ๑ เจ้าพนักงานเหล่านี้จะมีตำแหน่งยศตามระเบียบชื่อซึ่งลำดับมานี้ ผู้ที่เปนพนักงานสำหนับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้มีน่าที่จะต้องกระทำอยู่ในมาตราต่อไปนี้

มาตรา๑๘ลัญจกราภิบาลของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์เหล่านี้ จะทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดตามแต่พระราชอัทธยาไศรย์จะทรงเหนชอบเหนควรให้รับตำแหน่งยศนี้ เปนพนักงานสำหรับรักษาพระราชลัญจกรสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ แลเปนผู้ประทับฤๅสั่งให้ประทับพระราชลัญจกรในบันดาข้อพระราชบัญญัติแลประกาศนิยบัตรตราตั้งบันดาหนังสือสำคัญซึ่งเกี่ยวด้วยเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ที่จะต้องประทับพระราชลัญจกรนี้ทั้งสิ้น ในเมื่อเวลาทรงตั้งพวกสมาชิกใหม่ จะเปนผู้เชิญดวงตราทูลเกล้าฯ ถวาย แลเปนผู้รับพระบรมราชโองการทุกสิ่งทุกอย่างในการที่เกี่ยวด้วยเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ แลเปนผู้ทำตราตั้งแลเรียบเรียงข้อพระราชบัญญัติแลคำประกาศต่าง ๆ รับรับสั่งของผู้เปนเจ้าเปนใหญ่ฤๅคณาธิบดีสั่งแก่เจ้าพนักงานต่าง ๆ เมื่อจะทรงตั้งสมาชิกใหม่ จะได้สั่งเลขานุการให้มีหนังสือแจ้งความแก่สมาชิกให้รู้ล่วงน่า แลเปนพนักงานดูผิดดูชอบให้สมาชิกแลเจ้าพนักงานประพฤติให้ต้องตามข้อพระราชบัญญัติซึ่งมีอยู่แล้วแลจะมีต่อไป แล้วแต่น้ำพระไทยของผู้เปนเจ้าเปนใหญ่แลคณาธิบดีจะทรงเหนชอบเหนควร ฤๅจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เกี่ยวด้วยเครื่องราชอีศิริยาภรณ์นี้ซึ่งออกจากน่าที่ซึ่งกำหนดไว้ฤๅการใด ๆ ก็ดี แล้วแต่จะทรงสั่ง

มาตรา๑๙เลขานุการสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ จะทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดแล้วแต่พระราชอัทธยาไศรย์จะทรงเหนชอบเหนควรให้เปนเลขานุการ มีพนักงานเปนผู้ช่วยลัญจกราภิบาลในการหนังสือทุกอย่างที่เกี่ยวด้วยเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ แลมีน่าที่เปนพนักงานที่จะเรียกดวงตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์จากสมาชิกซึ่งล่วงลับไป ฤๅที่เปนโทษต้องใล่ต้องถอดในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ มีพนักงานที่จะเก็บแลจดบาญชีพวกที่ได้รับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้เต็มจำนวนทั้งอดีตประจุบัน แลหมายเหตุความดีความชอบของพวกในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ แลจตหมายเหตุต่าง ๆ ในการซึ่งเปนไปแล้วฤๅจะเกิดขึ้นลงในสมุดสารบบของเครื่องราชอิศีริยาภรณ์นี้ไว้สำหรับแผ่นดินทุกประการ แลเลขานุการต้องรู้จักตำบลบ้านแลชื่อตัวชื่อตั้งของสมาชิกในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ซึ่งมีตัวอยู่ทั้งปวง ในเวลาวันประชุมตั้งสมาชิกใหม่ เลขานุการจะเปนผู้นำสมุดข้อพระราชบัญญัติให้แก่พวกสมาชิกแลรับราชการอื่น ๆ ตามแต่ลัญจกราภิบาลจะสั่ง

มาตรา๒๐มุทรานุการสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ จะทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดแล้วแต่จะทรงพระราชดำริห์เหนชอบเหนควรให้เปนมุทรานุการ มีน่าที่เปนพนักงานสำหรับเก็บรักษาตัวอย่างแลดวงตรา แลทำบาญชีตระกูลวงษ์ของสมาชิกที่เรียกว่า วงษานุจริต แลรับราชการต่าง ๆ ตามผู้เปนเจ้าเปนใหญ่แลคณาธิบดีจะรับสั่งซึ่งลัญจกราภิบาลจะแจ้งความมาให้ทราบตามรับสั่ง ถ้าเวลาทรงตั้งสมาชิก มุทรานุการจะเปนผู้จัดที่นั้นทั้งสิ้น แลมีน่าที่สำหรับคิดตราใหญ่ให้แก่สมาชิกด้วย

มาตรา๒๑ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ต้องจัดการเผื่อที่จะส่งดวงตราเครื่องประดับที่ได้รับพระราชทานนั้นคืนแก่เลขานุการเมื่อสิ้นชนม์ชีพล่วงลับไปแล้ว ฤๅจะลาออกก็ต้องคืนดวงตราแก่เลขานุการโดยเร็ว ถ้าสิ้นชนม์ชีพแล้ว ต้องให้ผู้รับฤๅผู้จัดการมรฎกส่งคืนในกำหนดอย่าให้เกินเดือน ๑ แต่ประกาศนิยบัตรสำหรับดวงตรานั้น โปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ให้เปนที่รฦกแก่บุตรหลานสืบต่อไป

มาตรา๒๒บันดาพวกสมาชิกแลเจ้าพนักงานของเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ ถ้ามีความผิดเปนมหันตะโทษก็ดี เปนมัทยมโทษก็ดี ที่เสื่อมเสียชาติตระกูลแลเสียเกียรติยศไม่สมควรที่จะเปนผู้ดีได้ ฤๅทรงพระราชดำริห์เหนไม่สมควรจะดำรงค์ตำแหน่งนั้น ก็จะทรงถอดทรงไล่ผู้ที่มีความผิดนั้นเสียจากสมาชิกฤๅเจ้าพนักงาน แล้วเจ้าพนักงานจะเรียกดวงตราเครื่องประดับสำหรับอิศิริยศคืนในทันใด แลลบชื่อจากบาญชีสารบบสำหรับแผ่นดิน การที่จะถอดไล่แลเสียจากพวกฤๅเจ้าพนักงานในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ พระผู้เปนเจ้าเปนใหญ่พระองค์เดียวจะทรงวินิจฉัยพิจาณาพิพากษากิริยาอาการของผู้ที่จะทำผิดซึ่งจะถอดไล่เสียจากพวกฤๅพนักงานในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ แลพระผู้เปนเจ้าเปนใหญ่ทรงอำนาจไว้ว่า เวลาหนึ่งเวลาใด ทรงพระราชดำริห์เหนสมควรว่า จะตั้งผู้หนึ่งผู้ใดที่ให้ถอดให้ไล่เสียจากพวกฤๅเจ้าพนักงานในเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้คงตำแหน่งอิกก็ได้ ตามแต่เหตุการที่ชอบที่ควรแล้วแต่จะทรงตั้ง

มาตรา๒๓เพื่อว่าจะมิให้มีข้อผิดที่เปนความไม่เข้าใจเกิดขึ้นด้วยเรื่องดวงตราเครื่องประดับสำหรับเครื่องราชอีศิริยาภรณ์นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนแบบเครื่องราชอิศิริยาภรณ์แลสายสร้อยดวงตราเครื่องยศแลแพรแถบให้ได้สีแลขนาดทุกอย่างซึ่งจะประดับด้วยเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ แลห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างหนึ่งอย่างใดที่นอกจากตัวอย่างซึ่งเขียนไว้นี้ไปเปนเปนอันขาด เว้นแต่พระราชทานพระบรมราชานุญาตโดยออกประกาศเซ็นพระราชหัถเลขาประทับพระราชลัญจกรสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้เปนสำคัญ จึงให้แก้ไขแปลงเปลี่ยนรูปที่เขียนไว้ได้

มาตรา๒๔ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เก็บบาญชีจตหมายเหตุต่าง ๆ ตามพนักงานรวมไว้แห่งเดียวกันที่กระทรวงมุรธาธรในพระบรมมหาราชวัง กับทั้งดวงตราเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้ด้วย

มาตรา๒๕พระราชบัญญัติซึ่งตั้งมานี้ทุก ๆ มาตรา แลข้อพระราชบัญญัติแลคำประกาศที่จะมีต่อไป ให้รักษาไว้โดยกวดขัน อย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดละเลยได้เปนอันขาด ยกไว้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แลรัชทายาทฤๅผู้จะสืบอายติกราชสันตะติวงษดำรงค์ราชอีศิริยศเปนพระเจ้าแผ่นดินสืบไป จึงจะมีอำนาจที่จะแก้ไขฤๅเลิกถอนฤๅเพิ่มเติมข้อหนึ่งข้อใดในฃ้อพระราชบัญญัตินี้ได้ แลถ้าจะมีข้อสำคัญที่ไม่เข้าใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นก็ดี จะทรงอธิบายชี้แจงทุกข้อทุกประการโดยออกประกาศประทับพระราชลัญจกรสำหรับเครื่องราชอิศิริยาภรณ์นี้เปนสำคัญ ข้อที่แก้ไขอธิบายเหล่านี้ต้องนับเข้าเปนส่วนพระราชบัญญัตินี้ด้วย

ประกาศมาณวันอาทิตย์ที่ ๑ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ เปนวันที่ ๙๐๙๑ ในรัชกาลปัตยุบันนี้