กนกวรรณราชชาดก
หน้านี้ขาดแหล่งที่มาของเนื้อหา ถ้าเป็นไปได้ ควรเป็นเอกสารต้นฉบับที่สแกนมาอัปโหลดไว้ที่วิกิมีเดียคอมมอนส์แล้วจัดทำแบบพิสูจน์อักษร หรือถ้าไม่สามารถอัปโหลดต้นฉบับเช่นนั้นได้ อย่างน้อยก็ควรระบุแหล่งที่มาที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเนื้อหาได้ |
เรื่องกนกราชชาดก พระเจ้ากนกราชได้ปกครองราชสมบัติอยู่ในนครกนกวดี ในชมพูทวีป อยู่มาสมัยหนึ่งเกิดฝนแล้งติดต่อกัน ประชาชนถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียนอดอยากอาหารล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นชมพูทวีปฟุ้งตระหลบไปด้วยกลิ่นซากศพของมนุาย์ประดุจดังว่าสุสานป่าช้าอั้นน่าสะพึงกลัว พระเจ้ากนกราชก็พระราชทานข้าวหลวงให้แก่พวกอำมาตย์และมหาชนทั้งหลายทุกวัน ประมาณได้ ๔ เดือน ข้าวเปลือกของหลวงก็หมด แม้ข้าวสารสำหรับเป็นพระกระยาหารของพระราชาก็หมดเหลืออยู่เพียงอาหารมื้อสุดท้าย พระองค์ได้ถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ ด้วยอานุภาพบุญที่พระราชาได้ถวายบิณฑบาตทำให้เกิดฝนตกลงมาชะล้างซากศพทั้งหลายบนภาคพื้นจนสะอาดแล้วฝนดอกไม้ก็ตกลงมาประพรมภาคพื้นให้มีกลิ่นหอม จากนั้นฝนโภชนาหารต่างๆ ก็ตกลงมา ถัดจากนั้นฝนเสื้อผ้าอาภรณ์ต่างๆ ก็ตกลง และฝนเงินฝนทองก็ตกลงมาตามลำดับทำให้นครกนกวดีอุดมสมบูรณ์ขึ้นเหมือนเดิม ชาวแว่นแคว้นก็มีความเป็นอยู่อย่างมีความสงบสุขตลอดมา ในที่สุดพระศาสดาจึงประกาศผลทานเป็นคาถาว่า การให้การบริจาค มีศรัทธาเป็นบุรพภาคเบื้องต้น ผู้ที่บำเพ็ญทานการกุศลนั้น เมื่อมีศรัทธาความเลื่อมใสในกาลทั้ง ๓ คือ กาลก่อนเมื่อจะบริจาค ขณะเมื่อจะบริจาคอยู่ ครั้นบริจาคให้แล้ว ผู้บำเพ็ญทานนั้นย่อมได้สุขสมบัติ ๓ ประการ คือสุขสมบัติในมนุษย์ สุขสมบัติในสวรรค์ สุขสมบัติอย่างยิ่งคือพระนิพพาน