ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9ฯ (ฉบับที่ 33) ลงวันที่ 10 กันยายน 2564
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๑๓ จนถึงวันที่ mo กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น
เพื่อเป็นการบังคับใช้บรรดามาตรการตามข้อกำหนดที่ได้ประกาศไว้แล้วต่อเนื่องไปให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รัฐบาลและพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้าควบคุมและบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินให้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ฝ่ายสาธารณสุขและหน่วยงานที่รับผิดชอบจึงได้ประเมินผลและความเหมาะสมของมาตรการต่าง ๆ เสนอต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) เพื่อพิจารณา โดยพนักงานเจ้าหน้าที่คงจำเป็นต้องติดตามกำกับดูแลทั้งบุคคล สถานที่ การดำเนินกิจการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ภายใต้เงื่อนไขของการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด การดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามแผนบริการวัคซีน รวมทั้งการสร้างความรับรู้และความเข้าใจให้ประชาชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่รับผิดชอบเตรียมความพร้อมเพื่อการปฏิบัติตนสำหรับการดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคในระยะยาว เช่น มาตรการควบคุมโรคโควิด - 19 แนวใหม่เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างปลอดภัย (Smart Control and Living with COVID - 19) มาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention for COVID - 19) หรือมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID-Free Setting) ที่จะบังคับใช้ในอนาคต
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของ ศบค. ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การกำหนดพื้นที่สถานการณ์จำแนกตามเขตพื้นที่จังหวัด ให้การกำหนดระดับของพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๑๑/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ยังคงบังคับใช้ต่อไป
ข้อ ๒ การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อการควบคุมสถานการณ์ของการระบาดให้อยู่ในวงจํากัดตามการประเมินของฝ่ายสาธารณสุข จึงให้บรรดามาตรการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดตามที่กําหนดที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้า ได้แก่ การห้ามออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๔.๐๐ นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพรโรค มาตรการควบคุมแบบบูรณาการสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด การใช้เส้นทางคมนาคมเพื่อการเดินทางข้ามจังหวัด การขนส่งสาธารณะ และการปฏิบัติงานนอกสถานที่ทําการของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและเอกชนอย่างเต็มความสามารถที่จะทําได้ รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบได้คําหนดขึ้นภายใต้ข้อคําหนดดังกล่าวยังคงใช้บังคับต่อไป จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
- ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ก้นยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- นายกรัฐมนตรี
บรรณานุกรม
แก้ไข- "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 33) ลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564". (2564, 10 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138, ตอน พิเศษ 215 ง. หน้า 36–37.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"