คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๗/๒๕๕๘
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้แถลงยุทธศาสตร์สําคัญ ๙ ด้าน เพื่อใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยในยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม จะผลักดันให้เกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้มีการกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการนี้จําเป็นต้องเร่งรัดกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งพื้นที่ที่จําเป็นต้องใช้ในการดําเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อันจะทําให้การดําเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๒/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ในกรณีที่ไม่มีคณะกรรมการดังกล่าวให้หมายถึงคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
“พื้นที่พัฒนา” หมายความว่า พื้นที่ภายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่คณะกรรมการกําหนดขึ้นเพื่อใช้พัฒนาอุตสาหกรรม การพาณิชย์ การท่องเที่ยว หรือการอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดให้มีหรือส่งเสริมให้เกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และหมายความรวมถึงพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่อยู่ภายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษด้วย
“เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ” หมายความว่า เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลาและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ฉบับที่ ๑/๒๕๕๘ เรื่อง กําหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ฉบับที่ ๒/๒๕๕๘ เรื่อง กําหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ ๒ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ให้ที่ดินดังต่อไปนี้ตกเป็นที่ราชพัสดุ โดยให้มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพที่ดินต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) ที่ดินในท้องที่ตําบลท่าสายลวด อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก เฉพาะภายในแนวเขตตามแผนที่หมายเลข ๑/๘ ท้ายคําสั่งนี้ โดยให้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙๔๕ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ และเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี และถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
(๒) ที่ดินในท้องที่ตําบลคําอาฮวน อําเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร เฉพาะภายในแนวเขตตามแผนที่หมายเลข ๒/๘ ท้ายคําสั่งนี้ โดยให้มีผลเป็นการเพิกถอนเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี และเขตปฏิรูปที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตําบลคําป่าหลาย ตําบลบ้านโคก ตําบลดงมอน ตําบลกุดแข้ ตําบลโพนทราย ตําบลคําอาฮวน อําเภอเมืองมุกดาหาร ตําบลคําชะอี อําเภอคําชะอี และตําบลหนองแวง อําเภอนิคมคําสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๖ และถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
(๓) ที่ดินในท้องที่ตําบลป่าไร่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เฉพาะภายในแนวเขตตามแผนที่หมายเลข ๓/๘ ท้ายคําสั่งน้ี โดยให้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ และเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี และถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
(๔) ที่ดินในท้องที่ตําบลไม้รูด อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เฉพาะภายในแนวเขตตามแผนที่หมายเลข ๔/๘ ท้ายคําสั่งนี้ โดยให้มีผลเป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
(๕) ที่ดินในท้องที่ตําบลสระใคร อําเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย เฉพาะภายในแนวเขตตามแผนที่หมายเลข ๕/๘ ท้ายคําสั่งนี้ โดยให้มีผลเป็นการถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
ข้อ ๓ ให้บรรดาที่ดินที่ตกเป็นที่ราชพัสดุตามคําสั่งนี้ และที่ดินอื่นที่คณะกรรมการกําหนดให้ใช้ประโยชน์ในการใช้เป็นพื้นที่พัฒนาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแผนที่หมายเลข ๖/๘แผนที่หมายเลข ๗/๘ และแผนที่หมายเลข ๘/๘ ท้ายคําสั่งนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับข้อกําหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการจัดทําผังเมืองรวมขึ้นใช้บังคับสําหรับที่ดินอันเป็นพื้นที่พัฒนาหลังจากมีการจัดตั้งพื้นที่พัฒนาแล้ว
การจัดตั้งพื้นที่พัฒนาตามวรรคหนึ่งให้หมายความถึงการจัดให้เช่าที่ดินตามข้อ ๖
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับแนวเขตตามแผนที่ตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัย คําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ ๕ ในกรณีที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินตามแผนที่ตามข้อ ๒ อันเป็นเหตุให้ที่ดินที่ตกเป็นที่ราชพัสดุตามข้อ ๒ มีพื้นที่ไม่ต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกันหรือมีลักษณะไม่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ คณะกรรมการมีอํานาจสั่งให้หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องดําเนินการนําที่ดินอันเป็นที่ราชพัสดุดังกล่าวแลกเปลี่ยนกับที่ดินของเอกชนรายนั้นได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด และในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการจะสั่งให้ชดใช้เงินให้แทนการแลกเปลี่ยนที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
เอกชนตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงวัดและรัฐวิสาหกิจด้วย
ที่ดินที่ได้มาตามวรรคหนึ่งให้ตกเป็นที่ราชพัสดุตามข้อ ๒
ข้อ ๖ ในการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อ ๒ หรือที่ราชพัสดุอื่นในพื้นที่พัฒนา ให้กรมธนารักษ์จัดให้หน่วยงานของรัฐใช้ประโยชน์ หรือจัดให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชนเช่าเพื่อใช้เป็นพ้ืนที่พัฒนา ตามระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งอัตราค่าเช่าที่คณะกรรมการกําหนด
ระยะเวลาการเช่าตามวรรคหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าคราวละห้าสิบปี และอาจต่อสัญญาอีกได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนดตามวรรคหนึ่ง โดยมิให้นํามาตรา ๕๔๐ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ
การให้เช่าตามวรรคหนึ่งไม่ถือเป็นการร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
ให้นําความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับที่ดินตามข้อ ๓ ที่มิใช่เป็นที่ราชพัสดุด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๗ ผู้เช่าที่ดินตามข้อ ๖ มีสิทธินําไปให้เช่าช่วงหรือนําไปหาประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ได้และบรรดาสิ่งปลูกสร้างใดๆ ที่ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงได้ปลูกสร้างขึ้น ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงเว้นแต่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ทําขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ข้อ ๘ ให้นํามาตรา ๖ และมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๒ มาใช้บังคับกับการเช่าหรือให้เช่าที่ดินในเขตพื้นที่พัฒนาด้วยโดยอนุโลม แต่ในการให้เช่าแม้จะเกินหนึ่งร้อยไร่ ก็ให้กระทําได้โดยไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดินตามกฎหมายดังกล่าว
ข้อ ๙ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาจากการแลกเปลี่ยนตามข้อ ๕ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทั้งปวง และในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดให้ต้องเสียภาษีจากการได้มาหรือจากการแลกเปลี่ยนซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ให้ได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษที่ ๑๑๒ ง/หน้า ๓-๕/๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"