ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่าง ๆ รัชกาลที่ 5/เล่ม 1/เรื่อง 8
มีพระบรมราชโองการให้ประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงบรรดาที่นับถือพระพุทธสาสนาแลธรรมเนียมปีเดือนวันคืนอย่างเช่นใช้ในสยามให้ทราบทั่วกันว่า ปีมแม สัปตศก ปรกติมาศวาร พระอาทิตย์จะขึ้นสู่ราษีเมศณวันศุกร์ที่ ๑๒ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ อธิกสุร์ทิน เวลาบ่าย ๑ โมงกับ ๑๒ นาที เปนวันมหาสงกรานต์ วันเสาร์ที่ ๑๓ เมษายน เปนวันเนา วันอาทิตย์ที่ ๑๔ เมษายน เปนวันเถลิงศกขึ้นจุลศักราชใหม่เปน ๑๒๕๗ เวลาบ่าย ๕ โมงกับ ๙ นาทีกับ ๓๖ วินาที เพราะฉนั้น ในปีนี้ การทำบุญแลเล่นนักขัตฤกษ์สงกรานต์เปน ๓ วัน ลักษณจดหมายวันคืนเดือนปีเช่นใช้ดังนี้ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๑ เมษายน ให้จดหมายลงชื่อปีในที่ทั้งปวงว่า รัตนโกสินทรก ๑๑๔ ให้ลงเลขบนศักนั้น ๒๘ ตามปีแผ่นดินไปกว่าจะเปลี่ยนศกใหม่เทอญ
วันพฤหัศบดีที่ ๒๘ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ วันหนึ่ง วันจันทร์ที่ ๑๖ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ วันหนึ่ง เปนวันประชุมถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
วันจันทร์ที่ ๖ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ เปนวันจะทำพระราชพิธีจรดพระนังคัล ห้ามอย่าให้ราษฎรลงมือทำนาก่อนวันนั้น ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๖ พฤษภาคม ให้ทำนายภายหลังพระราชพิธีต่อไปตลอดพระราชอาณาเขตร
วันวิศาขบูชาที่นิยมในคัมภีร์อรรถกถาว่า เปนวันพระสูตร แลตรัสรู้ แลพระปรินิพาน ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ปีนี้ นักขัตฤกษ์วิศาขบุรณมีตกในวันพุฒที่ ๘ พฤษภาคม รัตนโกสินทรกศก ๑๑๔ วันอาทิตย์ที่ ๗ กรกฎาคม เปนวันเข้าปุริมพรรษา วันอังคารที่ ๖ สิงหาคม เปนวันเข้าปัจฉิมพรรษา วันพฤหัศบดีที่ ๓ ตุลาคม เปนวันมหาปวารณาที่เรียกว่า ออกพรรษา
วันจันทร์ที่ ๒๘ ตุลาคม เปนวันพระราชพิธีจองเปรียงยกโคม วันอังคารที่ ๑๒ พฤศจิกายน เปนวันลดโคม ให้พระบรมวงษานุวงษ์แลข้าทูลลอองธุลีพระบาทแลราษฎรบรรดาซึ่งได้ยกโคมลดโคมนั้นจะได้ทราบแล้วทำตามกำหนดนี้เทอญ
วันอาทิคย์ที่ ๑ ธันวาคม เปนวันชีพ่อพราหมณ์จะได้ทำพระราชพิธีกฤติเกยาณหอเทวสถาน
ถ้าจะทำ มาฆบูชา จะตุรงคสันนิบาต ว่าเปนวันที่ชุมนุมพระสาวก ๑๒๕๐ พระองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ชุมนุมนั้น ควรทำวันพฤหัศบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ วันนี้ชีพ่อพราหมณ์จะได้ทำศิวาราตรีในหอเทวสถาน
พระราชพิธีคเชนทรัศวสนานสองครั้ง คงทำในวันที่ ๒๘ ที่ ๒๙ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ ครั้งหนึ่ง ทำในวันที่ ๒๒ ที่ ๒๓ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ ครั้งหนึ่ง
พระราชพิธีสารท คงทำใน⟨วัน⟩ที่ ๑๖ ที่ ๑๗ ที่ ๑๘ กันยายน สามราตรี ให้การเปนเสร็จในวันที่ ๑๙ กันยายน
พระราชพิธีฉัตรมงคล คงทำในวันที่ ๙ ที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๒ พฤศจิกายน
วันเสาร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน เปนวันประชุมถวายบังคมพระบรมรูป
พระราชพิธีตรียำพวาย เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ธันวาคม ไปถึงวันอังคารที่ ๓๑ ธันวาคม ๑๐ ราตรี
พระราชพิธีตรีปวาย เริ่มตั้งแต่วันอังคารที่ ๓๑ ธันวาคม ให้การเปนเสร็จในวันเสาร์ที่ ๔ มกราคม ๕ ราตรี
พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ คงทำตั้งแต่วันที่ ๙ ที่ ๑๐ ที่ ๑๑ ที่ ๑๒ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๔
ในปีนี้ วันอาทิตย์เปนวันธงไชย วันจันทร์เปนวันอธิบดี วันเสาร์เปนวันอุบาสน์ วันพุฒเปนวันโลกวินาศน์
อนึ่ง วันเฉลิมพระชนมพรรษาในรัตนโกสินทรศก ๑๑๔ นี้ ตกในวันเสาร์ที่ ๑ กันยายน เวลาบ่าย ๓ โมงกับ ๓๙ นาทีกับ ๓๖ วินาทีตามสุริยมาศ
วันฉลองพระชนมพรรษาตกในวันเสาร์ที่ ๗ กันยายน เวลาบ่าย ๔ โมงตามจันทรมาศ
วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชเทวี ตกในวันอังคารที่ ๑๐ กันยายน เวลา ๑ ทุ่มกับ ๑๕ นาทีกับ ๒๔ วินาทีตามสุริยคติกาล
วันเวลาพระอาทิตย์เปลี่ยนขึ้นราษีใหม่ซึ่งเรียกว่า สงกรานต์ เดือนแลพระอาทิตย์สถิตย์ราษีห้ามวันดฤถีมหาสูญนั้น พระอาทิตย์ขึ้นราษีเมศณวันศุกร์ที่ ๑๒ เมษายน เวลายบ่าย ๑ โมงกับ ๑๒ นาที อยู่จนวันจันทร์ที่ ๑๓ พฤษภาคม เวลาเช้า ๕ โมงกับ ๓๖ นาที
เดือน ๕ วันที่ ๒๗ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ วันที่ ๑๕ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีพฤศภ อยู่จนวันพฤหัศบดีที่ ๑๓ มิถุนายน เวลา ๒ ทุ่มกับ ๒๔ นาที
เดือนหก วันที่ ๒๙ เมษายน วันที่ ๑๓ พฤษภาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีเมถุน อยู่จนวันจันทร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม เวลาบ่าย ๑ โมงกับ ๑๒ นาที
เดือนเจ็ด วันที่ ๒๗ พฤษภาคม วันที่ ๑๑ มิถุนายน เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีกรกฎ อยู่จนวันพฤหัศบดีที่ ๑๕ สิงหาคม เวลา ๗ ทุ่มกับ ๑๒ นาที
เดือนแปด วันที่ ๒๙ มิถุนายน วันที่ ๑๔ กรกฎาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีสิงห์ อยู่จนวันอาทิตย์ที่ ๑๕ กันยายน เวลา ๘ ทุ่มกับ ๔๘ นาที
เดือนเก้า วันที่ ๒๗ กรกฎาคม วันที่ ๑๑ สิงหาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีกัญ อยู่จนวันพุฒที่ ๑๖ ตุลาคม เวลาบ่าย ๒ โมงกับ ๒๔ นาที
เดือนสิบ วันที่ ๒๙ สิงหาคม วันที่ ๑๓ กันยายน เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษี อยู่จนวันศุกร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน เวลาเที่ยงวัน
เดือนสิบเอ็จ วันที่ ๒๖ กันยายน วันที่ ๑๑ ตุลาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีพิจิก อยู่จนวันเสาร์ที่ ๑๔ ธันวาคม เวลา ๒ ยามกับ ๒๔ นาที
เดือนสิบสอง วันที่ ๒๙ ตุลาคม วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน เปนวันดฤดีมหาสูญ แล้วยกไปราษีธนู อยู่จนวันจันทร์ที่ ๑๓ มกราคม เวลาเช้า ๒ โมงกับ ๒๔ นาที
เดือนอ้าย วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน วันที่ ๑๑ ธันวาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีมังกร อยู่จนวันอังคารที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ เวลาย่ำค่ำแล้วกับ ๒๔ นาที
เดือนยี่ วันที่ ๑๗ ธันวาคม วันที่ ๑ มกราคม เปนวันดฤกีมหาสูญ แล้วยกไปราษีกุมภ์ อยู่จนวันพฤหัศบดีที่ ๑๒ มีนาคม เวลาเที่ยงวัน
เดือนสาม วันที่ ๒๖ มกราคม วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ เปนวันดฤถีมหาสูญ แล้วยกไปราษีมิน อยู่จนวันเสาร์ที่ ๑๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๕
เดือนสี่ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ วันที่ ๒ มีนาคม เปนวันดฤถีมหาสูญ วัน ๖ เดือน ๔ แรมค่ำ ๑ ปีมแม สัปตศก ตรงกับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๔ มีจันทรุปราคาครั้งหนึ่ง
อนึ่ง วันธรรมสวนะนิยมตามวิธีปักข์คณนา เปนวันที่รักษาอุโบสถแลประชุมฟังธรรม ซึ่งยักเยื้องกันกับวันพระตามเคยมีที่รู้กันในชาวสยามประเทศทั้งปวงนั้น ในปีมแม สัปตศกนี้ ๒๗ วัน คือ วัน ๔ ขึ้นค่ำ ๑ วัน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ วัน ๕ แรมค่ำ ๑ วัน ๖ แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๖ วัน ๗ ขึ้นค่ำ ๑ วัน ๑ ขึ้น ๙ ค่ำ วัน ๑ แรมค่ำ ๑ วัน ๒ แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๘ วัน ๓ ขึ้นค่ำ ๑ วัน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ วัน ๔ แรมค่ำ ๑ วัน ๕ แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๑๐ วัน ๖ ขึ้นค่ำ ๑ วัน ๗ ขึ้น ๙ ค่ำ วัน ๗ แรมค่ำ ๑ วัน ๑ แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๑๒ วัน ๒ ขึ้นค่ำ ๑ วัน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ วัน ๓ แรมค่ำ ๑ วัน ๔ แรม ๙ ค่ำ ในเดือนยี่ วัน ๔ ขึ้นค่ำ ๑ วัน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ในเดือน ๓ วัน ๕ ขึ้น ค่ำ ๑ วัน ๖ ขึ้น ๙ ค่ำ วัน ๖ แรมค่ำ ๑ วัน ๗ แรม ๙ ค่ำ ในเดือน ๔ วัน ๗ ขึ้นค่ำ ๑ ในเดือน ๕ ปีวอก รวม ๒๗ วันเท่านี้ นอกกว่า ๒๗ วันนี้ ก็คงต้องกันกับวันพระตามเคย