ประชุมจารึกสยาม/ภาคที่ 1/หลักที่ 12

ดูฉบับอื่นของงานนี้ที่ จารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ
คำจารึกหลักที่ ๑๒
(๑) เสฏฺฐสพฺพญฺญูตญาณาทิคุณคณาคณิตวิวิธรตนปติมณฺฑิตปรหิตกรวรสิริสากฺยมุนีโคตฺตมสมฺพุทฺธสฺส ปรินิพฺพานโต นวสตสตฺตาธิเก สหสฺสสกราเช ชยนาถิสฺสรวรธุมฺมิก (๒) ธมฺมราชาธิราชสฺส ชาติวสฺสวเสน ฉติงฺสปริปุรณหยสํวจฺฉเร คิมฺหนฺตอุตุมฺหิ เวสาขมาสสฺส สุกฺกปกฺเข จตุตฺถติตฺถิยํชิวทิวเส สาธิโยคฺยานุรูเป โรหิณินกฺขตฺตสํยุตฺเต สุริโยทเยกาทสปาทฉายายํ (๓) อติสยมลวิรหิตสิลาทิคุณปติมณฺฑิตรตนากรวรญาณวนวาสีสิริสุเมธงฺกรสํฆราชสฺส อคฺคุปฏฺฐาโก ปวรสิลญาณาทิคุณสมลงฺกตวนวาสีสิริสุเมธงฺกโรยติสฺสวรสงฺฆนายโก (๔) สุรเตชพลธรวรธมฺมราชาธิราชตนุชวุฒิญาณวิสาลคุณสิริสุริยวงฺสปรมปาลมหาธมฺมราชาธิราชสฺส ราชพลํ นิสฺสาย สุวิจิตกมฺมกุสเลน วิทฺยาวงฺสมหาเถเรน ปรมปาลธมฺมราชนรปติโน วรชนกมหาธมฺม (๕) ราชรญฺญานุคฺคเหน สุโขทยปุรานีเต อิมมฺหิ วิสาลสิลาปตฺเต มหาภิราเม ลงฺกทีปสฺสรตนมกุเฏ สมนฺตกุฏสิขรวเร ปรมโลกนาเถน ทสฺสิตสฺส รตนปทเจติยสฺส ปมานานุรูปสทีเส อติวิยมโนหรกรล (๖) ฬิตวิวิธวิจิโตรุจกฺกลกฺขณวิราชิตฏฺฐุตตุรสตปรมมงฺคลปริปุณฺเณ กวิสฺสรวรสุคตยมกปทลญฺจเนจิตฺตกาเรติ ‖๐‖
มุนิราชสสิเม ปาท ลญฺจนา จกฺกลงฺกตา
โสตฺถิมงฺคลสมฺปุณฺณา ทสฺสนิยา มโนรมา
เมธงฺกราภิธาเนน สมณินฺเทน วิญฺญุนา
(๗) การิตานุคฺคเหเนว ธมฺมราชสฺส ธีมโต
ปญฺจวสฺสสหสฺสานิ โลกนาถสฺส สาสเน
กลฺยาเนสีนมตฺถาย จีรํ ติฏฺฐนฺตุ โสตฺถินา
อเนน ปุญฺญกมฺเมน สุขิตา โหนฺตุ ปาณิโน
ปาลยนฺตา มหีปลา ธมฺมโต สกลํ มหึ ‖

คำแปลจารึก (หลักที่ ๑๒)
นายป่วน อินทุวงศ์ เปรียญ แปล

ศักราช ๑๙๗๐ จำเดิมแต่พระปรินิพพานแห่งสมเด็จพระสากยมุนีโคดมสัมพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยสิริอันเลิศทรงกระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ประดับด้วยรัตนะมีประการต่าง ๆ อันบัณฑิตคำนวณนับโดยคุณมีญาณเป็นเครื่องรู้สรรพสิ่งทั้งปวงอันประเสริฐเป็นต้น ในเวลาฉายา ๑๑ บาท ตั้งแต่พระอาทิตย์อุทัย ประกอบด้วยโรหิณีนักษัตฤกษ์อันสมควรแก่สาธิโยค ในวันพฤหัสบดี ดิถีที่ ๔ ในสุกกปักษ์ แห่งเดือนไพสาขมาส คิมหันตฤดู ในปีมะเมีย อันเป็นปีที่ ๓๖ บริบูรณ์ด้วยสามารถพระราชสมภพแห่งพระเจ้าธรรมราชาธิราช ผู้ประกอบด้วยธรรมอันประเสริฐ พระสุเมธังกรคณะวนวาสี ผู้มีสิริประกอบด้วยคุณมีศีลแลญาณอันบวรเป็นต้น ผู้เป็นสังฆนายกอันเลิศ เป็นใหญ่กว่าพระสงฆ์ทั้งปวงซึ่งเป็นอุปัฏฐากอันเลิศของพระสุเมธังกรสังฆราช ผู้มีสิริคณะวันวาสี ประกอบด้วยญาณอันประเสริฐ ประดับด้วยคุณมีศีลอันดียิ่งแลปราศจากมลทินเป็นต้น อาศัยราชกำลังแห่งพระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราช ผู้มีญาณอันเจริญและมีสิริเป็นคุณอันไพศาล เป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้าธรรมราชาธิราชผู้ประเสริฐ ทรงไว้ซึ่งกำลังคือเดชอันกล้า ได้จารึกรอยพระบาททั้งคู่แห่งพระสุคต ผู้เป็นใหญ่กว่ากวีทั้งหลาย ลงบนแผ่นศิลาบัตรอันกว้างนี้ ซึ่งพระวิทยาวงศมหาเถร ผู้ฉลาดในจิตรกรรมอันดี นำมายังกรุงสุโขทัยบุรี โดยราชานุเคราะห์แห่งพระเจ้ามหาธรรมราช ผู้เป็นชนกนาถแห่งพระเจ้าบรมปาลาธิราช ผู้เป็นใหญ่กว่านรชน รอยพระบาททั้งคู่นี้บริบูรณ์ด้วยมงคลอันยิ่ง ๑๐๘ ประการ ประกอบด้วยลักษณะแห่งจักรอันงามวิจิตรต่าง ๆ เป็นที่ยังใจให้ยินดีเกินเปรียบ เสมือนหนึ่งรัตนบทเจดีย์ที่พระโลกนาถเจ้าทรงแสดงไว้ณยอดแห่งภูเขาสมันตกูฎอันเป็นมกุฎทองของลังกาทวีป เป็นที่อภิรมย์แห่งใจ

รอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมแห่งมุนี (จอมปราชญ์) อันงามวิจิตรไปด้วยจักร บริบูรณ์ด้วยมงคลอันจะให้ถึงซึ่งความสวัสดี ควรชมและเจริญใจเหล่านี้ พระมหาสมณเจ้า นามว่า สุเมธังกร ผู้ปราชญ์ ได้ให้จารึกขึ้นไว้ โดยพระราชานุเคราะห์แห่งพระเจ้าธรรมราช ผู้เปรื่องปราชญ์ เพื่อประโยชน์แก่ผู้แสวงหาคุณงามความดีในสาสนาของพระโลกนาถตลอด ๕๐๐๐ ปี ขอให้รอยพระบาทเหล่านี้จงตั้งอยู่โดยปราศจากอันตราย

ด้วยบุญกรรมนี้ ขอหมู่สัตว์ผู้มีปกติรักษาซึ่งแผ่นดิน จงมีความสุข รักษาแผ่นดินทั้งสิ้นโดยธรรมเถิด