ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 10/ราชวงษปกรณ์/ภาคที่ 1

เรื่องราชวงษ์ปกรณ์

พงษาวดารลานนาไทย
พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช พระเจ้านครเมืองน่าน
ให้แสนหลวงราชสมภาร แต่งไว้
ตอนที่ ๑
อารัมภกถา

"สุรณมหินิยํ พุท์ธเสฏ์ฐํ นมิต๎วา สุคตภวธัม์มํ สังฆัญ์จ นมิต๎วา อหํราชา ทายาทรัฏ์ฐาธิปตึ วัก์ขามิ สัพ์พทุก์ขา พยาธิโรคา วินาสสัน์ตุ"

อหํ อันว่าเราเปนเจ้า เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดี ได้เปนเจ้าครองสมบัติในวันที่ ๑ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ เมงวัน ๕ ไทย เมืองเม็ด เดือนยี่ ขึ้นสี่ค่ำ จุลศักราช ๑๒๖๕ ตัว ปีกาบซะง้า มเมีย เอกศก ฤกษ์ ๒๐ ตัว ชื่อปุพพาสาธ มหาธนฤกษ์ลูกถ้วน ๓ ยามแถนั้นแล้ว จึงมาคิดรำพึงพิจารณาดูในพื้นวงษาพระมหากษัตริย์เจ้าแลเจ้านายซึ่งอันได้เปนเจ้าเปนใหญ่ได้เสวยราชสมบัติสืบ ๆ มาตั้งแต่สันตานุสันตติโน้นมาแล คือ ตั้งแต่พระโพธิสัตวแห่งเราปางเมื่อเปนพระยาสามันตราช ตั้งแต่ปฐมกัลปอันนี้มาด้วยลำดับมหาขัติยราชวงษาสืบ ๆ มาตราบถึงในสมัยนี้ ก็เปนที่สาบสูญตกหายไปสิ้น ก็พอได้รู้เห็นแต่เล็กน้อย หาเนื้อแนวมิได้ฉนั้น เราเปนเจ้าจึงมีอาชญาบังคับสั่งให้แสนหลวงราชสมภารเปนผู้พิจารณาเสาะสืบตรวจหาริบรวมได้แล้ว ก็ให้แสนหลวงราชสมภารเปนผู้เรียบเรียงเขียนไว้ให้เปนหลักฐานมั่นคงสืบไปภายน่า ให้ได้รู้เช่นชั่วลูกหลานหลิดหลี้ มีดังจะแจ้งต่อไปภายน่านี้แล ฯ

ตอนที่ ๒
ว่าด้วยสักยวงษ์

สาธโว ดูกร สัปปุริษทั้งหลาย อาจารย์เจ้าจักแปลนิทานศุภกถาจารีตติดด้วยราชวงษาเเห่งท้าวพระยามหากษัตริย์แลมหากษัตริย์เจ้าตนอันได้เปนเจ้าเปนใหญ่ในนพบุรีศรีพิงไชยเชียงใหม่ อันเปนใหญ่แก่สัตตปัญญาสลานนาไทยห้าสิบเจ็ดเมือง คือ ตั้งแต่เจ้าลาวจังกราชเจ้า ตราบถึงมังรายนะเอกราช ลำดับมาตราบต่อเท่ากาลบัดนี้แล ๚

จึงนมัสการไหว้ยังพระติรตนะแก้วทั้งสามประการ ด้วยคาถาบาทต้นว่า "สุรณมหินิยํ พุท์ธเสฏ์ฐํ" นี้แล อหํ อันว่าข้า นมิต๎วา เมาะว่า นมามิ ก็นบน้อมไหว้ พุท์ธเสฏ์ฐํ ยังพระพุทธเจ้าตนประเสริฐกว่าโลกทั้งสาม อหํ อันว่าข้า นมามิ ก็น้อมไหว้ ธัม์มํ ยังพระสัทธรรมเจ้า สุคตภว อันเปนไม้ไต้ส่องให้สรรพสัตวทั้งหลายไปสู่สุคติภว คือ นิพพาน นมิต๎วา ข้าก็ไหว้ สังฆัญ์จ คือพระสงฆเจ้าสองหมู่ คือ พระอริยสงฆ์แลสมมุติสงฆ์ ทัก์ขิเณย์โย อันรับเอาทานแห่งบุคคลทั้งหลาย อหํ อันว่าข้า วัก์ขามิ ก็จักกล่าวบัดนี้แล ทายาทรัฏ์ฐาธิปตึ ยังราชวงษาแห่งท้าวพระยาทั้งหลายอันเปนเจ้าเปนใหญ่เสวยเมืองสืบสายมา สัพ์พทุก์ขา พ๎ยาธิโรคา อัน์ตรายา อันว่าทุกข์แลไภยพยาธิกังวลอันตรายทั้งปวง วินาส์สัน์ตุ จงให้ฉิบหายมักว่า ขออย่าให้มีแก่ข้าเถิด กถายมานุปุพ์พิกถา จำด้วยลำดับแต่ต้นมา นักปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงรู้ในราชวงษาปกรณ์ด้วยดังจะกล่าวตั้งแต่โบราณสันตติมาดังนี้. ๚

หิ ด้วยมีแท้แล ในเมื่อพระพุทธเจ้าโคดมแห่งเรายังสร้างโพธิสมภารได้เกิดมาเปนพระยาเสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสี ประกอบด้วยบุญแลปัญญากายพลรูปสมบัติอิศริยปุริสลักษณยิ่งกว่าคนทั้งหลายฝูงอื่น ปรากฎได้ชื่อว่า มหาสมันตราช มีอายุยืนได้อสงไขยปี ถัดนั้น ลูกมหาสมันตราชชื่อว่า วรราช เปนพระยาแทนพ่อ ลูกวรราชชื่อ วโรชราช ลูกวโรชราชชื่อ กัลยาณ ลูกกัลยาณชื่อ วรกัลยาณ ลูกวรกัลยาณชื่อ อุโบสถ ลูกอุโบสถชื่อ วรอุโบสถ ลูกวรอุโบสถชื่อ มันธาตุ ลูกมันธาตุชื่อ วรมันธาตุ ลูกวรมันธาตุชื่อ เจติย ลูกเจติยชื่อ มุจละ ลูกมุจละชื่อ มหามุจละ ลูกมหามุจละชื่อ มุจลินท ลูกมุจลินทชื่อ สาคละ ลูกสาคละชื่อ สาระเทวะ ลูกสาระเทวะชื่อ รัต ลูกรัตชื่อ พติลโส ลูกพติลโสชื่อ รุจิยะ ลูกรุจิยะชื่อ ปัณฐ ลูกปัณฐชื่อ มหาปัณฐ ลูกมหาปัณฐชื่อ ปัตตาป ลูกปัตตาปชื่อ มหาปัตตาป ลูกมหาปัตตาปชื่อ สุทัศนะ ลูกสุทัศนะชื่อ มหาเมรุ ลูกมหาเมรุชื่อ อจิมะ ลูกอจิมะชื่อ มหาอจิมะราช ท้าวพระยาตั้งแต่มหาสมันตราชเจ้ามาถึงอจิมะราชนั้นได้ ๒๘ เช่นราชวงษ์ มีอายุยืนได้อสงไขยปีทุกตน เทียรย่อมเปนพระยาอยู่ในเมืองพาราณสี แลราชคห แลกุสาวัติมิถิลาแล แลถัดนั้น พระยาร้อยตนเปนพระยาด้วยลำดับสืบกันไป ถัดนั้น พระยาห้าสิบเจ็ดตนสืบกันไป ถัดนั้น พระยาแปดพันห้าร้อยตนสืบราชวงษ์ไป ถัดนั้น พระยาสามสิบเจ็ดตนสืบไป ถัดนั้น พระยายี่สิบสองตนสืบกันไป ถัดนั้น พระยาสิบสองตนสืบกันไป ถัดนั้น พระยาแปดหมื่นสี่พันสืบกันไป ถัดนั้นซ้ ำมีพระยาแปดหมื่นสี่พันตนสืบไป มีพระยามฆเทวจักรวัติเปนต้นสืบ ถัดนั้น พระยาสิบหกตนสืบ มีกวาฬจักรวัติเปนต้นสืบ ถึงโอกากะราช ลูกโอกากะราชชื่อ โอกากะมุข แล ๚

เมื่อนั้น พระโอกากะมุขราชตั้งลูกเมียน้อยให้เปนมหาอุปราช เมื่อนั้น โอกากะมุขตนเปนลูกอรรคมเหษีรวดเคียดแก่พ่อตน จึงเอาแต่ปาวผู้คนของตนกับน้องสาวแห่งตนหนีไปตั้งอยู่เมืองกปิลวัตถุ แล้วก็เอาน้องสาวแห่งตนเปนราชเทวี เพื่อไม่ให้ตระกูลอื่นอั่วสูญ จึงชื่อว่า สากยราช ตั้งแต่นั้นมาแล ลูกพระยาโอกากะมุขชื่อ บุญนะ ลูกบุญนะชื่อ จันทมุข ลูกจันทมุขชื่อ จันทมุขสิวีราช ลูกจันทมุขสิวีราชชื่อ สญไชย ลูกสญไชยชื่อ เวสสันดรโพธิสัตว แล ๚

ลำดับพระยาสามันตราชโพธิสัตวสืบ ๆ มาถึงเจ้าเวสสันดรโพธิสัตวนั้นได้สองแสนเจ็ดหมื่นหกพันสองร้อยเจ็ดสิบห้าเช่นราชวงษ์แล ลูกเวสสันดรโพธิสัตวชื่อ ชาลี ลูกชาลีชื่อ สิวาหนะ ลูกสิวาหนะชื่อ สิหะสร แลถัดแต่นั้นไป ลูกหลานเหลนหลิดหลี้เสวยราชสมบัติสืบไป ตั้งแต่เจ้าชาลีมาตราบถึงพระยาไชยเสนนั้นได้เก้าพันเก้าร้อยสิบเก้าราชวงษ์แล๚

แลพระยาไชยเสนเสวยราชสมบัติในเมืองกบิลวัตถุ มีลูกชายหนึ่ง ชื่อสีหหนุ มีลูกหญิงหนึ่ง ชื่ออมิตตา พระยาตนหนึ่งชื่อเทวทหะสกะ หากเปนเชื้อสากิยราชอันเดียวกันเสวยเมืองเทวทหะนคร มีลูกชายสองคน หญิงหนึ่ง ชื่อกจายนา พระยาเทวทหะสกะ ก็ส่งลูกสาวตนชื่อกจายนา ให้เปนลูกสใภ้แห่งพระยาไชยเสน คือให้เปนเทวีสีหหนุนั้นแล

เมื่อนั้นพระยาไชยเสน ก็ส่งลูกสาวตนชื่อ อมิตตา ให้ไปเปนเทวีแห่งสญไชยสกะ ตนเปนลูกแห่งพระยาเทวทหะสกะนั้นแล ดังกาลเทวิละผู้เปนน้องแห่งสญไชยนะสกะนั้น ไม่ยินดีในราชสมบัติสักอัน ก็หนีไปบวชเปนฤๅษีนั้นแล พระยาสีหหนุมีลูกชายห้าตน พี่ชื่อสุปพุทธ ตนถ้วนสองชื่อสุทโธทนะ ตนถ้วนสามชื่อสุกโกทนะ ตนถ้วนสี่ชื่อโธโตทนะ ตนถ้วนห้าชื่ออมิตโตทนะ พระอัญชนะสักกะมีลูกหญิงสองตน ผู้พี่ชื่อศรีมหามายา ผู้ถ้วนสองชื่อปชาปติโคตมี พระยาอัญชนะสักกะ ก็ส่งลูกสาวสองคนนั้นไปเปนราชเทวีแก่ศรีสุทโธทนะราชแล

ยามนั้นพระยาสีหหนุ แลพระยาอัญชนะสักกะ แลกาลเทวิลฤๅษี ก็พร้อมกันตัดยังโบราณศักราชอันเก่าชื่ออชิตะสกิงนวสันตินั้นเสียแล้ว ตั้งศักราชใหม่ขึ้นหนึ่งตัว ลำดับมาได้ ๖๗ ตัว ปีดับไส้เดือนหกเพ็ง เมงวันพฤหัศบดี บรมโพธิสัตวเจ้าแห่งเราลงมาเอาปฏิสนธิในท้องแห่งนางศรีมหามายา ถึงศักราชหกสิบแปดตัว ปีรวายซะง้า เดือนสี่เพ็งเมงวันศุกร เจ้าประสูตรออกจากท้องแม่ ราชตระกูลทั้งหลายจึงใส่นามว่า สิทธัตถราชกุมารว่าฉนั้นแล ตั้งแต่เจ้าเวสสันดรโพธิสัตว ลำดับมาถึงเจ้าสิทธัตถโพธิสัตว แสนปลายสามตนราชวงษ์ นับตั้งแต่สิทธัตถโพธิสัตวนั้นแล ถ้าจะนับตั้งแต่พระยาสามันตราชลำดับมาถึงเจ้าสิทธัตถกุมารโพธิสัตวนั้น ได้สามแสนเจ็ดหมื่นหกพันสองร้อยเจ็ดสิบแปดตนราชวงษ์แล อายุเจ้าสิทธัตถได้สิบหกปี ตระกูลทั้งหลายนำเอาลูกสาวพระยาสุปพุทธ ผู้ชื่อนางยโสธราพิมพา เปนอรรคมเหษีแห่งเจ้าสิทธัตถ กระทำมงคลรดหล่อด้วยน้ำมุทธาภิเศกให้เปนพระยานานอยู่ได้ ๑๓ ปี อายุเจ้ายี่สิบเก้าปี ออกบวชวันจันทร์ยามเที่ยงคืน เจ้าออกบวชที่เกาะแห่งเนรัญชรา กระทำเพียรได้หกพรรษาจึงได้ตรัสมรรคญาณ ในเดือนหกเพ็ง เมงวันพุฒยามรุ่งแจ้ง อายุพระเจ้าได้สามสิบห้า แดนแต่พระเจ้าตรัสมรรคญาณแล้ว อยู่เมตตาโปรดสัตวโลกได้สี่สิบห้าปี อายุพระเจ้าได้แปดสิบปีเข้าสู่พระนิพพาน ในปีเมืองไส้เดือนหกเพ็ง เมงวันอังคาร ยามก่อนไก่ เตโชธาตุออกไหม้วันหนึ่งแล เจ้าสิทธัตถเกิดก่อนพระยาพิมพิสาร บุคคลทั้งสองเปนสหายกัน เหตุว่าพระยาทั้งสองอันเปนพ่อแห่งคนทั้งสองก็เปนสหายกัน พระยาพิมพิสารเสวยเมืองราชคหะได้ห้าสิบสองปี มีลูกผู้หนึ่งชื่อว่าอชาตสัตรู ก็ฆ่าพิมพิสารตนเปนพ่อเสีย กินเมืองแทนได้แปดปี พระเจ้านิพพาน อชาตสัตรูกินเมืองได้ยี่สิบสี่ปี มีลูกตนหนึ่งชื่อว่าอุปทายะ ก็ฆ่าอชาตสัตรูตนพ่อเสียกินเมืองแทนได้สิบหกปี มีลูกตนหนึ่งชื่อว่าอนุรุทธ ๆ ฆ่าพ่อเสียเปนพระยาแทน อนุรุทธมีลูกตนหนึ่งชื่อมุขๆ ก็ฆ่าพ่อเสียเปนพระยาแทนได้แปดปี มีลูกชื่อว่านาคทาสกะๆ ก็ฆ่าพ่อเสียเปนพระยาแทนได้ยี่สิบแปดปี ปิตุฆาฏกวงษสิ้นเท่านี้แล ๚

เมื่อนั้นชาวเมืองทั้งหลายเคียดรวดพร้อมกัน ขับพระยานาคทาสกะหนีเสียจากเมืองแล้ว จึงพร้อมกันอภิเศกอำมาตย์แห่งพระยานาคทาสกะ ผู้ชื่อสุสูนาค ให้เปนพระยาแทนได้สิบแปดปี ลูกพระยาสุสูนาคชื่อกาลาโศกเปนพระยาแทนได้ยี่สิบแปดปี ตั้งแต่พระเจ้านิพพานมาถึงพระยากาลาโศกได้ร้อยปี อรหันตาเจ้าทั้งหลายเจ็ดร้อยตนสังคายนาธรรมเปนถ้วนสองแล ลูกแห่งกาลาโศกชื่ออรนันท เปนพระยาแทนได้ยี่สิบสองปี ลูกพระยาอรนันทชื่อจันทรคุตร ๚

เมื่อนั้นวสาจานกะพราหมณ์ฆ่าอรนันทเสียแล้ว อภิเศกจันทคุตรให้ได้เปนพระยาทั่วชมพูทวีปได้ยี่สิบสี่ปี ลูกพระยาจันทคุตรชื่อพินธุสารเปนพระยาแทนได้ยี่สิบแปดปี พระยาพินธุสารมีลูกชายร้อยคน ผู้พี่เค้าชื่ออโศกธรรมราช ได้เปนจักรวัติปราบชมพูทวีป มีลูกชายผู้หนึ่งชื่อมหินท เข้าไปบวชในสาสนา ปรากฎได้ชื่อว่ามหินทเถร เปนสังฆนายกแล ตั้งแต่พระเจ้านิพพานไปแล้วมาถึงอโศกธรรมราชได้สองร้อยสิบแปดปี อรหันตาเจ้าพันตนมาสังคายนาธรรมเปนถ้วนสามแล กล่าวด้วยวงษ์แล้วเท่านี้

ตระกูลท้าวพระสากิยในเมืองกบิลพัสดุ์นั้น ลูกพระยาโกไลยผู้ชื่อมิตทุพภีฆ่าเสียสิ้นแล ดังตัวมิตทุพภีนั้นก็น้ำท่วมตายเสียรอดสุดไปวันนั้นแล ๚

ตอนที่ ๓
เรื่อง ตั้งวงษ์ลาวจังกรราช

ทีนี้จักจาด้วยท้าวพระยาอันตัดศักราชมาด้วยลำดับก่อนแลตั้งแต่กาลเทวิลฤๅษี แลพระยาอัญชนะสกะ แลพระยาสีหหนุตัดศักราชอันชื่อกิงนวะสันติเสียแล้ว ตั้งศักราชใหม่ตัวหนึ่ง ลำดับได้ ๖๗ ตัว พระเจ้าลงมาเอาปฏิสนธิ ศักราชได้ ๖๘ ตัว พระเจ้าเกิดมาแล ศักราช ๑๔๗ ตัวพระเจ้านิพพานไป วันเดือน ๖ เพ็ง ถึงเดือน ๑๒ เพ็งมหาอานันทเถรเจ้าได้ถึงอรหันตาแล้วสังคายนาธรรมเปนปฐมอรหันตาเจ้าทั้งหลายห้าร้อยตน มีมหากัสสปเถรเจ้าเปนประธาน ภายนอกมีอชาตศัตรูเปนต้นแล้ว ก็ตัดศักราช ๑๔๘ ตัวนั้นเสีย ตั้งศักราชใหม่ขึ้นตัวหนึ่ง ลำดับมาได้ร้อยปี ถึงเช่นพระเจ้ากาลาโศก อรหันตาเจ้าทั้งหลายเจ็ดร้อยตนสังคายนาธรรมเปนถ้วนสองแล ฯ

ตั้งแต่พระเจ้ากาลาโศกลำดับมาได้สิบแปดปี พระยาอโศกธรรมราชได้ปราบชมพูทวีปแล้ว สังคายนาธรรมเปนถ้วนสาม ภายในมีอรหันตาพันตนเปนประธาน ศักราชได้สองร้อยสิบแปดตัวแล ลำดับถัดนั้นมาได้สองร้อยปี ศักราชได้สี่ร้อยยี่สิบแปดตัว นางจามเทวีเกิด ศักราชสี่ร้อยห้าสิบหกตัว ก่อเวียงลำพูน ศักราชได้ ๔๕๘ ตัว นางจามเทวีลุกแต่เมืองตะบองละโวขึ้นมากินเมืองลำพูน อินทวรยศ มหันตยศ เกิดปีนั้น นางจามเทวีกินเมืองลำพูน ๕๓ ปี อายุได้ ๙๒ ปี ตาย ศักราชได้ ๕๕๐ มหันตยศได้กินเมืองแทน ลำดับมาถึงศักราชได้ ๕๗๐ ตัว พระยาพันธุมัติธรรมิกราชเมืองลังกา ตัดศักราช ๕๗๐ ตัวนั้นเสียแล้ว ก็ตั้งศักราชใหม่ขึ้นตัว หนึ่ง ลำดับมาได้สามร้อยสี่สิบสามปี พระยาอาทิตย์เปนพระยากินเมืองลำพูนได้สามปี ก่อเจดีย์ลำพูนแล ฯ

นับแต่ศักราชใหม่เข้ากันได้ ๙๐๓ ตัว ว่าตั้งแต่พระเจ้าของเรานิพพานมาแล ลำดับตั้งแต่พันธุมัติ ศักราชมาได้ ๖๒๒ ตัว พระพุทธเจ้าเรานิพพานไปได้ ๑๑๘๒ ตัว ในขณะยามนั้นยังมีพระยาตนหนึ่ง ชื่ออนุรุทธธรรมิกราช ได้เปนเจ้าเปนใหญ่ในมลราชแล้ว ได้ปราบทั่วไปในชมพูทวีปทั้งมวญแล้ว พระยาอนุรุทธธรรมิกราชตนนั้น ก็เรียกหามายังท้าวพระยามหากระษัตริย์ทั้งหลายในสกลชมพูทวีปทั้งมวญ ให้เข้ามาพร้อมในสำนักแห่งตนนั้นแล เมื่อนั้นท้าวพระยามหากระษัตริย์ทั้งหลาย ก็มาพร้อมกับพระยาอนุรุทธธรรมิกราชสิ้นนั้นแล ยังแต่ฝ่ายเมืองลานนาไทย หาใครจักไปพร้อมไม่ได้เหตุไม่มีกระษัตริย์ เมื่อนั้นพระยาอนุรุทธได้รู้สภาว ว่าเมืองลานนาไทยหาเจ้าไม่ได้ฉันนั้น อนุรุทธธรรมิกราชจึงมีความโอกาศขอกับด้วยอินทาธิราชเจ้าว่า ขออินทาธิราชเจ้ามีเมตตากรุณาเอาใจใส่เมือง

ลานนาไทยด้วยแด่ ในเมืองลานนาไทยนั้นเปนที่ตั้งสาสนา หาเจ้ากระษัตริย์ไม่ได้ ว่าฉันนั้น เมื่อนั้นอินทาธิราชเจ้า ก็ รับเอาปฏิญาณแห่งอนุรุทธธรรมิกราชแล้ว เมื่อนั้นอินทาธิราชเจ้า ก็พิจารณาดูก็เห็นเทวบุตรตนหนึ่งอันมีบุญสมภารหากได้ สร้างมา ได้เสวยสมบัติในชั้นฟ้าดาวดึงษ์ มีอายุจักใกล้สิ้นแล้ว พระยาอินทร์ก็เข้าไปสู่สำนักเทวบุตรเจ้าตนนั้นแล้ว กล่าวว่า มาริส ดูกรเจ้าตนมีบุญ หาทุกข์ไม่ได้ ท่านจงลงไปเกิดในมนุษโลกเมืองคน ในที่เมืองเชียงลาวที่นั้นเทอญ แล้วกระทำราชภา วอันเปนท้าวพระยามหากระษัตริย์เปนใหญ่แก่ท้าวพระยาทั้งหลายในเมืองลานนาไทยแล้ว รักษายังวรพุทธสาสนาให้รุ่งเรือง เถิดว่าดังนั้นแล้ว เมื่อนั้นจังกรเทวบุตรก็รับเอาคำพระอินทร์เจ้าว่า สาธุ สาธุ ดี ดี แล ว่าฉันนั้นแล้ว เมื่อนั้นจังกรเทวบุตรก็ เรียกหามายังเทวบุตรทั้งหลายอันเปนบริวารแห่งตน มีอายุใกล้สิ้นนั้น มีประมาณพันหนึ่ง ก็จุติจากชั้นฟ้าดาวดึงษ์สวรรค์ เทวโลกลงมาสู่มนุษโลกแล้ว ก็พาดพะโองเงินทิพแต่ชั้นฟ้าลงมา นัยหนึ่งพาดแต่ปลายภูเขาทุง ลงมาปฏิสนธิอุปปาติกก็มีแล

โสฬสวัส์สุเทสิโก ราชกุมาโรวิย เกิดมาเปนปุริสภาวเปนดังราชกุมารได้สิบหกขวบเข้า ทรงวัตถาภรณ์เครื่อง อลังการนั่งเหนืออาศนะใต้ร่มไม้พุดทราควรสนุกใจ มีที่ใกล้ริมน้ำแม่สายในเมืองชยะลวะนคร คือเมืองเชียงลาว ส่วนบริวารพันนั้น เปนผู้หญิงผู้ชาย ก็ลงมาเอาอุปปาติกะในร่มไม้พุดทราต้นนั้น พร้อมกับด้วยจังกรกุมารเจ้าตนนั้น ด้วยนิยม ครั้นเกิดมาเปนดังกุมารกุมารีอันได้ ๑๖ ปีนั้น ทุกคนมีโฉมโนมพรรณอันงามล้วนถ้วนทุกแห่ง คนทั้งหลายมาเห็นจึงพูดจากันว่า คนทั้งหลายฝูงนี้ จากทางใดมาจา ว่าดังนั้นแล้ว คนทั้งหลายซึ่งได้มาเห็นก็เล็งขึ้นเมือภายบน ก็เห็นพะโองเงินอันนั้นแล้ว ก็เรียกกันมาดู พะโอ งอันนั้นก็รุดหยุดขึ้นเมืออากาศ บางคนร้องบอกกันว่า พะโองเงินยัง พะโองเงินยัง ว่าดังนั้นแล้ว ภายหลังก็เรียกว่าเปนเมือง เงินยัง นัยหนึ่งว่าไม้พุดทราต้นนั้น มีเปลือกอันขาวเหมือนเงินตั้งอยู่กลางยาง จึงเรียกว่าเมืองยางเงินก็ว่าแล ฯ

เมื่อนั้นชาวเมืองทั้งหลายเห็นอัศจรรย์แห่งลาวะจะกะระกุมารตนนั้นมากนักฉันนั้นแล้ว ก็พร้อมกันตบแต่งเอาราชรถ แล้วก็เชิญท่านขึ้นทรงราชรถ แล้วก็อุสาราชาภิเศกให้เปนเจ้าเปนใหญ่แก่ลานนาไทยทั้งหลายนั้นแล ครั้นว่าได้เปน เจ้าเปนใหญ่แล้ว ก็บอกกล่าวท้าวพระยาทั้งหลายเก้าร้อยเก้าสิบแปดเมือง เว้นแต่เมืองหริภุญไชย กับเมืองศุโข ไทยเท่านั้น นอกกว่านั้นไปพร้อมด้วยพระยาลาวะจะกะระราชเจ้าแล้ว เจ้านำเอาท้าวพระยาทั้งหลายไปพร้อมกับ ด้วยพระยาอนุรุทธรรมิกราชนับสิ้นนั้นแล ฯ

เมื่อนั้นพระยาอนุรุทธเจ้า ก็พร้อมด้วยพระยาทั้งหลาย ตัดศักราช ๖๒๒ ตัว อันพระยาพันธุมติตั้งไว้นั้นเสีย ในปีจอ สัมฤทธิศกคือกลางคืน คือเดือนหกขึ้นหนึ่งค่ำ เพ็งวันอาทิตย์ ยามใกล้รุ่งแล้ว จึงตั้งศักราชใหม่ขึ้นหนึ่งตัว ยามรุ่ง แจ้งวันจันทร์ ตกใหม่แล้ว เปนปีกุญเอกศกนั้นแล เมื่อนั้นพระยาอนุรุทธธรรมิกราชก็มีอาชญาบอกกล่าวท้าวพระยาทั้งหลายเก้าร้อยเก้าสิบแปดเมือง ให้รับเอาอาชญาพระยาลาวะจะกะระราชนั้นแล ท้าวพระยาทั้งหลายเก้าร้อยเก้าสิบแปดเมือง ครั้นว่ารับเอาบังคับแห่งพระยาอนุรุทธธรรมิกราชเจ้าแล้ว ท้าวพระยาทั้งหลายก็ พร้อมกัน กระทำอุสาราชาภิเศกเจ้าจังกรราชให้เปนเจ้าเปนใหญ่ในชยะละวะนคร ปรากฎพระนามว่า ลาวจังกรเอกราชกระษัตริย์ ในปีกุญเอกศกศักราชได้หนึ่งตัวนั้นแล พระยาลาวจังกรราชเกิดปีนั้น ได้เสวยเมืองปีนั้น คำกิติฦๅชาก็ปรากฎไปทั่ว บ้านน้อยเมืองใหญ่ทั้งหลายว่าพระยาเทวราชเจ้า ลุกแต่ชั้นฟ้าลงมาเกิดเปนพระยาในชยะลวะนครฉันนี้ ก็พากันนำเอาเครื่อง บรรณาการมาถวายเปนอันมากแล้ว ก็ขอเปนราชเสวกแห่งพระยาลาวจังกรราชเจ้าทุกตนทุกคนนั้นแล้ว ก็พากันลาไปสู่บ้าน ใครเมืองมันก่อนนั้นแล ฯ

ตอนที่ ๔
เรื่องพระยาลาวจังกรราชสร้างเมือง

พระยาลาวจังกรราชเจ้า ได้เปนเจ้าเสวยราชสมบัติเปนเอกราชกระษัตริย์แก่ลานนาไทยทั้งหลายแล้ว ก็บอกป่าวท้าวพระยาทั้งหลายแลเสนาไพร่พลคนเมือง พิจารณาสร้างแปลงเวียง ขุดคูก่อเสาระเนียดกว้างพันห้าวา ยาวพันห้าวา ก่อเมฆกรวมแท่นเงินยาวไปตามริมน้ำแม่ของนั้นแล เมืองอันนั้นเรียกว่าเหรัญญนคร เมืองเงินยังเชียงแสน ว่าดังนั้นแล ที่แท่นเงินแลต้นหมากทันคือต้นพุดทรา ที่ท่านเอาอุปปาติกะนั้น ท่านก็สร้างให้เปนวัด แล้วก็เรียกว่าวัดกาแก้วดอนพัน คือ พุดทรา ว่าดังนั้นแล แต่นั้นภายน่าเมืองลานนาไทยทั้งมวญ ก็เรียกชื่อว่าลาวแต่นั้นมาแล ฯ

แต่นั้นไปน่า ท่านก็พิจารณาสร้างเวียงอิกลูก ๑ กรวมแม่น้ำไหลไปตวันตกที่นั้น คดทรงสัณฐานดังฝักฝาง คือ ฝักเพกา จึงเรียกนามว่าเมืองฝางดังนี้ ภายหลังแต่นั้นช้างแก้วที่นั่งท่านหายไป ท่านก็ไปเสาะหาช้างๆ ก็หายรอยเสีย คนผู้ใช้ไปภายน่าก็เห็นรอยช้างใหญ่สามศอกเที่ยวไปไกลได้ประมาณห้าร้อยวา ก็หายรอยเสีย มันก็เที่ยวไปภายน่า ก็พบชายพรานผู้หนึ่งร้อยเต่ามา มันก็ถามว่าแคว้นนี้ มีช้างป่ามีบมิจา พรานผู้นั้นกล่าวว่าไม่มี ว่าดังนั้น ทีนั้นภายหลังก็เรียกชื่อว่าบ้านร้อยเต่า ว่าดังนั้นแล เมื่อนั้นชายควาญช้างผู้นั้นมันก็คืนมา ก็เห็นรอยช้างมันดังเก่า มันได้ช้างแล้วก็เข้าไปทูลพระยาลาวจังกรราชเจ้า ตามดังมันได้ไปเห็นนั้นทุกประการ

เมื่อนั้นพระยาลาวจังกรราชเจ้า ก็มีอาชญาบอกป่าวเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย แลไพร่พลเมืองทั้งหลาย ให้สร้างเวียงที่ นั้นลูกหนึ่ง จึงใส่นามว่าเวียงรอย ว่าดังนั้นแล เมื่อภายหลังแผ่ชื่อไปว่าเชียงราย ว่าฉนั้นแล ที่บ้านร้อยเต่านั้น ภาย หลังแปรนามไปว่าเชียงของ ว่าฉนั้นแล
ตอนที่ ๕
เรื่องลูกหลานพระยาลาวจังกรราช

ส่วนว่าพระยาลาวจังกรราชเจ้า ก็อยู่เสวยเมืองเงินยางเชียงแสน แลเมืองฝางเชียงรายที่นั้นทั้งมวญ แล้วท่านมี ราชบุตรสามตน ตนพี่ชื่อว่าลาวกอ นัยหนึ่งลาวกอบก็ว่า ตนกลางชื่อว่าลาวเกลือ นัยหนึ่งลาวจ๋างก็ว่า ตนน้องสุด ท้องชื่อลาวเกา นัยหนึ่งลาวเกาแก้วแล ยังมีในวันหนึ่ง ราชบุตรทั้งสามพระองค์ก็ชวนกันไปเที่ยวห้วย ก็ไปเห็นรอย ปูตัวหนึ่งใหญ่นัก กุมารทั้งสามก็ล่วงห้วยด้วยตามรอยปูตัวนั้น ก็ไปถึงที่สุดแห่งภูเขาแห่งหนึ่ง ก็เห็นรอยปูเข้าไปใน เงื้อมผาก้อนใหญ่แล้ว เมื่อนั้นกุมารทั้งสามจึงจากันว่า เราจะพิจารณาเอาปูตัวนี้เมือถวายพ่อพระยาเจ้าเถิด ปูตัวนี้ ใหญ่ควรอัศจรรย์ไม่เคยเห็นในเมื่อก่อนสักทีเลย เจ้าลาวเกาแก้ว ท่านจงเอาหน่างข่ายไปกีดกางไว้ที่ใต้น้ำโน้นแล้ว ถือค้อนไว้เถิด ครั้นปูตัวนี้ล่องน้ำไปถูกข่ายเจ้าเข้า เจ้าจงเอาค้อนทุบตีเอาปูตัวนี้เถิด เมื่อนั้นลาวเกาผู้น้องจึงเอา ข่ายไปกีดกางไว้ที่ใต้น้ำโน้นแท้นั้นแล เมื่อนั้นเจ้าคนพี่ทั้งสองนั้น ก็พากันขุดรูปูตัวนั้น ๆ ก็เข้าไปในเงื้อมหินผาก้อน ใหญ่ ไม่อาจขุดเข้าไปเอาปูตัวนั้นได้ ยิ่งเหลือกำลังเสียแล้ว ก็พากัน เอาก้อนผาก้อนหนึ่งติดรูปูตัวนั้นไว้แล้ว ก็พา กันหนีเมือ ไม่บอกแก่เจ้าลาวเกาแก้วผู้น้องสักคำแล เจ้าลาวเกาผู้น้องก็อยู่เฝ้าหน่าง ตราบตวันตกใกล้ค่ำแล้ว ลาวเกาก็ร้องหาพี่ทั้งสองถึงสองครั้งสามครั้งก็ไม่ได้ยินเสียงขานตอบสักคำ เจ้าก็กลับคืนมาหาพี่ทั้งสอง ก็ไม่เห็นเท่า เห็นแต่ก้อนผาติดรูปูไว้ฉันนั้น เจ้าลาวเกาโกรธก็บ่นว่าพี่น้องกันแท้ชวนกันมาหากิน พี่ทั้งสองจะหนีเมือ แม้นได้ปูก็ดีบ่ได้ก็ดี ก็ไม่บอกแก่กู พลอยพากันหนีทิ้งกูฉันนี้หนอ เมื่อนั้นลาวเกาหนีเมือไหว้พระยาตนพ่อ ดังพี่ทั้งสองหากกระทำให้แก่ตนทุกประการแล้วจึงไหว้พระยาตนพ่อว่าฝูงข้าทั้ง สามนี้จะอยู่ด้วยกันไม่ได้แล้ว ขอพ่อพระยาเจ้าจงปลูกแปลงให้แก่ฝูงข้าทั้งสามนี้ ให้ได้อยู่คนละแห่งเทอญ ว่าดังนั้น เมื่อนั้น พระยาลาวจังกรราชตนพ่อ ก็พิจารณาดูก็ตรัสรู้ด้วยพระปัญญาแห่งพระองค์แจ้งแล้ว ควรแต่งให้ลูกสามคนได้อยู่เสวยเมือง คนละแห่งแล้ว ก็ปลูกเจ้าราชบุตรตนพี่เค้า ชื่อลาวกอนั้น ให้ไปกินเมืองแคว้นกาว คือว่าเมืองน่าน แล้วก็ปลูกแปลงเจ้าลาวเกลือตนถ้วนสอง ให้ไปกินเมืองผาลาวผาพวงนั้นแล พลันดังเจ้าราชบุตรตนถ้วนสามนั้น ท่านให้อยู่ไชยนันทบุรี เมืองเงินยังเชียงแสนกับด้วยตนนั้นแล เจ้าพระยาจังกรราชกระษัตริย์อยู่เสวยราชสมบัติบ้านเมืองก็เปนที่ชุ่มเย็นเปนศุข พืชเข้ากล้าทั้ง มวญก็บริบูรณ์อ้วนเต็มดีนัก พุทธสาสนาก็รุ่งเรืองขึ้นมากนัก ท่านอยู่เสวยราชย์ในไชยบุรี เมืองเงินยังเชียงแสนที่นั้นนานได้ ร้อยยี่สิบปี ศักราชได้ร้อยยี่สิบตัว ปีเปิกเส็ด คือปีจอสัมฤทธิศก ก็สิ้นกรรมแห่งท่าน ไปสู่ปรโลกวันนั้นแล เรียกชื่อได้ชั่วราชวงษ์หนึ่งแล ฯ

ถัดนั้นเจ้าลาวเกาแก้วบุตรท่านตนถ้วนสามนั้น ก็ได้เสวยเมืองแทนพ่อตนไปแล เจ้าลาวเกาแก้วได้กินเมืองแทนพ่อ ในปีเปิกเส็ดคือปีจอสัมฤทธิศก ศักราชได้ ๑๒๐ ตัว ท่านเสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองเงินยางเชียงแสน แทนพ่อตนอายุได้ ๑๔ ปี ท่านเสวยเมืองนานได้ ๔๕ ปี อายุได้ ๘๖ ปีไปสู่ปรโลก มีในปีกัดเป้า คือปีฉลูเอกศกศักราชได้ ๑๗๒ ตัว ได้สองเช่นราชวงษ์แล ดังเจ้าราชบุตรอันเปนพี่เจ้าลาวเกาแก้ว คือ เจ้าลาวกอแล เจ้าลาวเกลือนั้น ได้เปนกระษัตริย์แทนพ่อตน จนได้เปนเจ้าต่าง ประเทศ แลมีลูกหลานสืบตระกูลต่อไปแล ไม่สมกับด้วยราชวงษ์ใดแล ฯ

เจ้าราชบุตรลาวเกาแก้ว ชื่อว่าเจ้าลาวเสา อายุได้ ๓๕ เสวยเมืองแทนพ่อ ท่านอยู่เสวยราชสมบัติได้ ๔๓ ปี อายุได้ ๗๗ ปี สิ้นกรรมไปสู่ปรโลกภายน่า ในปีซะง้า คือปีมเมีย ศักราชได้ ๒๔๓ ตัว ได้ ๕ ชั่วเช่นราชวงษ์แล ฯ

ลูกลาวหลวงชื่อลาวแหลว อายุได้ ๔๐ ปี ได้เปนพระยาแทนพ่อ ในปีเปิกสี คือปีมโรงสัมฤทธิศก ท่านเสวยราช สมบัติได้ ๒๗ ปี อายุท่านได้ ๖๗ ปี ก็สิ้นกรรมไปสู่ปรโลกภายน่า ในปีกาบซะง้า คือปีมเมียฉศก ศักราชได้ ๒๙๔ ตัวนั้นแล ได้ ๖ ชั่วเช่นราชวงษ์แล ฯ

ลูกเจ้าลาวแหลวชื่อเจ้าลาวกัด อายุได้ ๓๙ ปี ได้เสวยเมืองแทนพ่อ ก็ในปีกาบซะง้า คือปีมเมียฉศก ท่านอยู่เสวย ราชสมบัติได้ ๑๙ ปี อายุได้ ๕๗ ปี ไปสู่ปรโลกภายน่า ในปีเต่าไจ้ คือปีชวดจัตวาศก ศักราชได้ ๓๑๖ ตัว ได้ ๗ ชั่ว เช่น ราชวงษ์แล ฯลูกเจ้าลาวกัดชื่อลาวกืน อายุได้ ๔๕ ปี ได้เสวยเมืองแทนพ่อ ในปีเต่าไจ้ ท่านอยู่เสวยราชสมบัตินานได้ ๑๗ ปี อายุ ได้ ๖๑ ปี สิ้นแก่กรรมสู่โลกน่า ในปีเปิกสี คือปีมโรงสัมฤทธิศกศักราชได้ ๓๓๒ ตัว ได้ ๘ ชั่วราชวงษ์แล ฯ

ลูกเจ้าลาวกืนชื่อเจ้าลาวต้น อายุได้ ๓๗ ปี ได้เสวยเมืองแทนพ่อ ในปีเปิกสี เจ้าตนนี้มีใจกว้างขวางนัก แต่งบ้าน แปลงเมืองฉลาดนัก ยังมีในวันหนึ่งเจ้าไปเที่ยวดูประเทศบ้านเมืองทั้งหลาย ก็เห็นยังไม้โพธิศรีต้นหนึ่ง ขาวเผือกดัง รอดเงินทั้งมวญ ในบ้านยางเสี้ยว บ้านนั้นมีในที่ใกล้แก่น้ำลวา บัดนี้เรียกว่าแม่น้ำสายแล บ้านอันนั้นเปนที่จำเริญ ใจนัก ท่านจึงให้ตั้งเวียงตั้งบ้านที่นั้น เอานิมิตรอันนั้นเรียกชื่อว่าเวียงยางเงิน ว่าดังนั้นก็ว่าแล ท่านอยู่เสวยราช สมบัติได้ ๑๘ ปี อายุได้ ๕๔ ปี ก็ถึงแก่กรรมไปสู่โลกน่า ปีดับเล้า ศักราชได้ ๓๔๙ ตัว ได้ ๙ ชั่วเช่นราชวงษ์แล ฯ

ลูกลาวต้นชื่อลาวจอม อายุได้ ๓๖ ปี ได้เปนพระยาแทนพ่อในปีดับเล้า ท่านอยู่เสวยราชสมบัตินานได้ ๒๐ ปี อายุ ได้ ๕๑ ปี ก็ถึงแก่กรรมไปสู่โลกน่า ในปีกัดไค้ คือปีกุญเอกศก ศักราชได้ ๓๖๓ ตัว ได้ ๑๐ ชั่วเช่นราชวงษ์แล ฯ

ลูกเจ้าลาวจอมชื่อลาวกวัด อายุได้ ๒๔ ปี ได้เปนพระยาแทนพ่อ ปีกัดไค้ ท่านอยู่เสวยราชสมบัติได้ ๓๐ ปี อายุได้ ๕๓ ปี

ก็ถึงแก่กรรมไปสู่โลกน่า ในปีเปิกสี ศักราชได้ ๓๙๒ ปี ได้ ๑๑ ชั่วเช่นราชวงษ์แล ฯ

ลูกเจ้าลาวกวัดชื่อเจ้าลาวจะกวาเรือนคำ อายุได้ ๒๔ ปี ได้เสวยเมืองแทนพ่อตน ในปีเปิกสี ท่านอยู่เสวยราชสมบัติ นานได้ ๓๒ ปี อายุได้ ๕๓ ปีเลยกว่า พระยาตรีลานคำเมืองน่าน ตนเปนเหลนหลี้แห่งพระยาลาวกอนั้น ยกรี้พลมา รวบรบแล้ว รวดได้ฆ่าพระยาจะกวาเรือนคำตายที่ทุ่งเชียงรายนั้นแล พระยาจะกวาเรือนคำสิ้นกรรมไปสู่โลกน่า ในปีเมิงเล้า คือปีรกานพศกศักราชได้ ๔๒๓ ตัว ได้ ๑๒ ชั่วเช่นราชวงษ์แล

พระยาจะกวาเรือนคำนั้น ท่านก็มีราชบุตรตนหนึ่งชื่อว่าเจ้าลาวครัวกาว ยามนั้นพระยาจะกวาเรือนคำ ก็ให้เจ้าลาวครัวกาวตนเปนลูกไปกินเมืองฝาง ในเวลาพระยาตรีลานคำยกรี้พลมารบนั้น ท่านก็ใช้ไปหาตน ที่เมืองพระยาตนเปนลูก ได้รู้อาการแล้วก็รีบเกณฑ์เอากำลังเมืองฝางมาไม่ทันถึงเชียงราย พระยาตรีลานคำฆ่าพ่อท่านตายเสียก่อน เจ้าตนลูกมาถึงเชียงรายแล้ว ก็ยกรี้พลออกรบพระยาตรีลานคำ ท่านก็ได้ฆ่าพระยาตรีลานคำตายเสียแล้ว ท่านก็ได้เสวยเมืองแทนพ่อต่อไป ในปีเมิงเล้า คือปีรกานพศกแล

เมื่อท่านได้เสวยเมืองแทนพ่อตนนั้น อายุท่านได้ ๕๘ ปี ท่านอยู่เสวยราชสมบัติได้ ๑๖ ปี อายุได้ ๗๓ ปี ก็ถึงแก่กรรมไปปรโลกน่า ในปีเต่าไจ้ ศักราชได้ ๔๓๘ ตัว ได้ ๑๓ ชั่วเช่นราชวงษ์แล ฯลูกลาวครัวกาวชื่อเจ้าขุนเทิง อายุได้ ๔๕ ปี ได้กินเมืองแทนบิดาปีเต่าไจ้ ท่านอยู่เสวยราชสมบัตินานได้ ๑๖ ปี ก็ถึงแก่กรรมไปสู่โลกน่า ในปีเมิงเม้า ศักราชได้ ๔๕๓ ตัว ได้ ๑๔ ชั่วเช่นราชวงษ์ อายุท่านได้ ๖๑ ปี เจ้าลาวขุนเทิง นั้นท่านมีราชบุตร ๒ ตน ตนพี่มีนามว่าเจ้าขุนทึง ตนน้องมีนามว่าเจ้าขุนเลงกว่า ว่าดังนั้นแล ดังเจ้าขุนทึงนั้น แม่เปนเชื้อผีเสื้อ เจ้าขุนเลงกว่าตนน้อง แม่เปนเชื้อในตระกูล

ดังเจ้าขุนทึงตนพี่นั้น อายุได้ ๑๕ ปี ได้เสวยเมืองแทนพ่อตน ในปีเมิงเม้านั้นแล เจ้าตนนี้ท่านได้เสวยราชสมบัติ แล้วก็ปรากฎด้วยเดชานุภาพ ทั่วนานาประเทศทั้งมวญมากนักแล

มีบุคคลผู้โจทย์ว่า ดังเจ้าลาวขุนเทิง ตนเปนพ่อขุนทึงนี้เปนอย่างใด เอานางผีเสื้อมาเปนเมียนั้น ผู้แก้ว่าเจ้าขุนเทิง ตนนั้นกับนางผีเสื้อผู้นั้น เขาเจ้าหากจักได้เปนผัวเปนเมียกันมาแต่ชาติอันก่อนมาแล เจ้าขุนเทิงตนนั้นเมื่อท่านได้ เสวยราชสมบัติแทนพ่อตนแล้ว ก็ชอบไปไล่เนื้อ ยังมีในวันหนึ่ง พระยาขุนเทิงตนนั้น ก็พาเอารี้พลไปไล่เนื้อ ก็ไปถ่ายปัสสาวะไว้ที่แจ่งน่าลูกผาแห่งหนึ่ง ครั้นพระยาเอารี้พลกลับคืนมาแล้ว ยังมีลูกผีเสื้อผู้หนึ่งชื่อนางแอกมันก็ นฤมิตรเปนสาวลิงก็ว่า สุนักข์ก็ว่า ตัวหนึ่งไปเที่ยวเล่น ก็ไปกินน้ำมูตรพระยาลาวขุนเทิง ที่เเจ่งน่าผาแลครั้นมาไม่ นานเท่าใด นางผีเสื้อผู้นั้นก็มีครรภ์ นางรำพึงดูรู้ว่าชรอยไปกินน้ำมูตรแห่งพระยาขุนเทิง ที่แจ่งน่าผานั้นมา ก็จึงมามีครรภ์ฉันนี้ นางก็มาพิจารณาดูก็รู้ด้วยปัญญา รฦกชาติก่อนนั้นได้เปนผัวนางแล ครั้นในวันหนึ่งพระยาลาวขุนเทิง ก็พาเอารี้พลโยธาไปไล่เนื้อ ในด้านป่าที่ไม่ไกลที่อยู่แห่งผีเสื้อผู้นั้น เมื่อนั้นนางผีเสื้อผู้นั้นรู้ว่า พระยาเอารี้พลมาไล่เนื้อฉันนั้น นางก็เพทุบายนฤมิตรเปนนางผู้หนึ่งงามนัก เปนดังนางเทวดานั้นแล้ว ก็ขึ้นอยู่เหนือค่าไม้ต้นหนึ่ง ก็กระทำเสียงเปนดังคนกล่อมลูกอันเพราะนัก เสียงอันนั้นก็ เข้ามาต้องหูแห่งพระยาแลคนทั้งหลาย ครั้นพระยาได้ยินแล้วก็พาเอารี้พลไปดู ก็เห็นนางผีเสื้อผู้นั้นงามนัก เปนที่ชอบใจแห่งพระยา พระยาก็เข้าไปใกล้ว่าจักสร้วมกอดเอานางผู้นั้น นางก็กลับหายไปกลายเปนกวางทองตัวหนึ่ง มีปรากฎอยู่ตรงหน้าแห่งพระยา เปนอันงามนัก พระยาครั้นได้เห็นกวางทองตัวนั้นแล้ว ก็ไล่กวางทองตัวนั้นๆ ก็แล่นไปไกลนัก พระยาก็เล็งแลตาม กวางตัวนั้นด้วยกำลังแห่งตนพลันนัก ดังหมู่รี้พลคนทั้งหลายตามด้วยพระยานั้น ก็ไม่ทันพระยา ตราบถึงใกล้ค่ำแล้ว เขาก็ไม่รู้ ทางที่จะไปตามหาพระยาแลกวางทองตัวนั้น ก็พากันกลับคืนมาสู่บ้านแห่งตน ๆ ดังพระยาอันไล่กวางทองตัวนั้นก็ไปเปนอันไกลนัก ดังกวางทองตัวนั้น ครั้นว่ากระทำอุบายจะเอาพระยาไปถึงที่ใกล้วิมานปราสาทแห่งตนแล้ว ก็ละเพศอันเปนกวางคำ นั้นเสียแล้ว ก็กระทำเปนดังนางผู้หนึ่งงามนักแล้ว พระยาก็มีใจชมชื่นยินดีมากนักแล นางผีเสื้อก็สร้วมหอบอุ้มเอาพระยาแล้ว ก็พาขึ้นสู่วิมานปราสาทแห่งตน แล้วก็เจรจาปราไสไปมาด้วยคำอันควรรักซึ่งกันไปมาแล้ว ก็สนุกยินดีซึ่งกัน คือดังผัวเมียนั้นแล นางผู้นั้นครั้นว่าได้สนุกยินดีกับด้วยพระยาแล้ว ก็ใคร่ เล่นสนุกตามภาษาของเขา มันก็สัญญากับด้วยพระยาว่า เจ้าจงอยู่ในปราสาทแห่งเราที่นี้ก่อนเถิด ว่าดังนั้นแล้วมันก็เอาผ้ามา กั้งบังล้อมปราสาทแล้ว ก็เย็บติดพื้นปราสาทไว้แล้ว ก็เล่นมโหรศพตามต้นไม้แลเหนือดินคือนฤมิตรตามภาษาของเขานั้น พระยาก็พิจารณาดูว่านางผู้นี้เปนฉันใดสั่งกูแล้ว เปนอย่างใดเอาผ้ามากั้งแวดล้อมกูไว้แล้ว เย็บติดพื้นปราสาทแล้วหนีไปนั้น จารำพึงฉันนี้แล้ว พระยาก็ไปดูห้องขันหมาก ก็เห็นมีดน้อยเล่มหนึ่ง พระยาก็กำเอามีดเล่มนั้นแทงผ้ากั้น โผล่หน้าไปใน แนวป่าที่นั้นทั้งมวญ ก็เห็นเปนลิงค่างชนีเสือหมีงูทั้งหลายมีงูเห่าจวัก งูเหลือมลายเปนต้นเต็มไปในป่าที่นั้น พระยาครั้นได้เห็นฉันนั้นแล้ว ก็มีใจหน่ายนักสา ส่วนว่านางผีเสื้อผู้นั้น ครั้นว่าเล่นสนุกแล้ว ก็มาสู่ปราสาทแห่งตนแล แล้วก็มาเห็นรอยปล่องผ้า อันพระยาเอามีดแทงนั้น นางก็รฦกรู้ว่าพระยาเอามีดน้อยห้องขันหมากนั้นแทงผ้าโผล่หน้าดูฉันนั้น นางก็แกล้งถามพระยาว่า มหาราชเจ้าเห็นข้าแล้ว พึงหน่ายนักแลน้อว่าฉันนั้น เมื่อนั้นพระยาตอบคำนางว่า กูพี่เห็นฉันนั้นแล้วก็มีความหน่ายนักหนาแล นางผีเสื้อกล่าวว่า ถ้ามหาราชเจ้ามีความหน่ายฉันนั้น ข้าก็จักส่งมหาราชเจ้าเมือสู่บ้านเมืองของมหาราชเจ้าด้วยสวัสดีแล เมื่อนั้นพระยากล่าวว่านางจะส่งกูพี่เมือสู่บ้านเมืองแห่งกูพี่นั้น ก็จงส่งกูพี่เมือด้วยสวัสดีเถิด ว่าฉันนั้นแล้วนางผีเสื้อผู้นั้น ก็เอามือกดท้องแห่งตนแล้ว ก็พลันประสูตรได้แท่งชิ้นอันหนึ่งงามเปนดังแท่งคำนั้น นางก็เอาใบตองพลวงมาห่อให้ดีแล้ว ก็ไปเอากระบอกไม้อ้อสามกระบอกมาแล้ว นางก็เอามือบีบนม เอาน้ำนมใส่กระบอกไม้อ้อสามกระบอกนั้นให้เต็มแล้วปิดให้ดีแล้วก็เอายื่นให้พระยาแล นางก็กล่าวว่ามหาราชเจ้าจงเอาห่ออันนี้ เมือรักษาไว้ให้ครบสามเดือน คือตั้งแต่วันนี้เปนต้นไป ครั้นครบสามเดือนแล้วให้มหาราชเจ้าไขห่ออันนี้ดู ถ้าเห็นเด็กน้อยดังนั้นจงเอาน้ำนมในกระบอกไม้อ้ออันนี้ให้กินเดือนละกระบอกเถิด ครั้นถึงสามเดือนสิ้นน้ำนมสามกระบอกนี้แล้ว เด็กยังร้องไห้อยู่ ให้มหาราชเจ้าเอามาไว้ในตีนป่านั้นเถิด ว่าฉันนั้นแล้วนางก็ส่งพระยามาสู่เมืองโดยสวัสดีแล พระเจ้าขุนเทิงครั้นมาถึงบ้านเมือง ก็บอกเล่ายังอาการอันตนไปรู้ไปเห็นเหตุทั้งหลาย ตั้งแต่ต้นถึงปลายแก่ราชเทวี แลเสนาอำมาตย์แห่งตน แล้วพระยาก็รักษาห่ออันนั้นไว้ตามนางผีเสื้อหากสั่งทุกประการแล ฯ

ครั้นถึงสามเดือนแล้ว พระยาก็ไขดูห่ออันนั้น ก็เห็นกุมารน้อยผู้หนึ่งรูปงามนัก พระยาก็มีความยินดีมากนักแล้ว ก็แต่งให้แม่นมทั้งหลายเอาผ้าอันอ่อนบริสุทธิ มาผูกพันหุ้มห่อแล้ว ก็เอาน้ำนมที่กระบอกไม้อ้อนั้นให้ทารกกิน ก็ซ้ำมีรูปอันงาม มีลักษณอันล้วนถ้วนทุกประการแล ครั้นถึง ๓ เดือนแล้ว น้ำนมที่กระบอกไม้อ้อนั้นก็หมด เจ้ากุมารน้อยผู้ นั้นก็ยังร้องไห้อยู่ เมื่อนั้นพระยาก็แต่งให้คนทั้งหลายเอากุมารผู้นั้นไปไว้ที่ตีนป่า แล้วก็รักษาถนอมดูนั้นแล เมื่อนั้นคนทั้งหลายก็ได้เห็นกวางทองตัวหนึ่งมาให้กุมารน้อยผู้นั้นดูดกินนมอยู่ทุกวันแล คนทั้งหลายได้เห็นฉันนั้นแล้ว ก็มาไหว้แก่พระยาตามได้รู้ได้เห็นนั้นแล พระยาก็มีความโสมนัศชมชื่นยินดี แล้วก็มีอาชญาบอกแก่คนทั้งหลาย ไม่ให้กระทำร้ายแก่กวางทองตัวนั้นแล เจ้ากุมารผู้นั้นก็เจริญขึ้นใหญ่มาแล้ว เจ้าพระยาขุนเทิงก็พร้อมด้วย เสนาอำมาตย์ทั้งหลาย กระทำบอกกล่าวใส่นามเจ้าว่าเจ้าขุนทึง ว่าดังนั้นแล แต่นั้นภายน่าราชเทวีผู้เปนเชื้อในตระกูลนั้นก็ประสูตรได้ลูกชายผู้หนึ่งแล้ว พระยาตนพ่อก็พร้อมกับด้วยเสนาอำมาตย์ กระทำบอกกล่าวใส่นามว่า เจ้าขุนเลง ว่าดังนั้นแล ครั้นเจ้าขุนทึงเจริญขึ้นใหญ่มาแล้ว พระยาขุนเทิงผู้เปนบิดา ก็ใช้ไปเอานางผู้หนึ่งชื่อศรีโสภา อันเปนลูกเชื้อในตระกูลมาให้เปนเมียแล ครั้นเจ้าขุนเทิงตนพ่อสิ้นกรรมไปแล้ว เจ้าขุนทึงท่านก็ได้ครองเมืองแทนต่อไปแล จาด้วยราชวงษ์แห่งท้าวพระยาทั้งหลายตั้งแต่มหาสามันตราชสืบมา ตราบถึงพระยาโอกากะมุขตั้ง ลำดับแต่นั้นมา ตราบถึงเจ้าพระยาขุนทึงได้ครองราชสมบัติ เปนมหากระษัตริย์ในเมืองเงินยังเชียงแสน.

ปฐมกัณ์ฑํ เปนกัณฑ์ถ้วนต้น ก็จบลงแต่เพียงนี้แล ฯ

ตอนที่ ๖
เรื่องขุนเจืองธรรมิกราช

ศิริสวัสดี ทีนี้จักจาด้วยราชวงษาแห่งท้าวพระยาทั้งหลายไปภายน่า บุคคลผู้มีปัญญาพึงรู้ดังนี้เทอญ หิ ด้วยมีแท้แล เจ้าพระยาขุนทึงตนนั้น ครั้นท่านได้เสวยราชสมบัติแทนพ่อแห่งตนแล้วก็ชอบไปไล่เนื้อ ยังมีในวันหนึ่งท่านก็บอก ป่าวรี้พลโยธาทั้งหลายไปไล่เนื้อก็ไปเห็นกวางทองตัวหนึ่ง พระยาก็ยิงกวางทองตัวนั้นก็ถูกแล้ว กวางทองตัวนั้นก็ไม่ตาย พระยาก็ไล่กวางทองตัวนั้น ตามกวางทองตัวนั้นไปทางข้างเขาทุ่งริมเมืองเงินยังเชียงแสนฝ่ายข้างตวันตก นั้นแล เมื่อนั้นนางแอกผีเสื้อผู้นั้นก็อยู่ในวิมานปราสาทแห่งตนที่นั้นแล นางผีเสื้อผู้นั้นครั้นได้ทราบว่าลูกตน ไล่กวางทองมาที่ใกล้ตนแล้ว ก็ไปนำเอาลูกตนมาสู่วิมานปราสาทแห่งตนแล้ว ก็เจรจาปราไสไปมาด้วยคำอันรักซึ่งลูกแห่งตนแล้ว จาร่ำไรด้วยพ่อคือเจ้าขุนเทิง อันได้มาเที่ยวป่าไล่เนื้อแล้ว ได้มาพบเห็นแม่แล้ว ได้มาอยู่กินกับด้วยแม่แต่ก่อน ตั้งแต่ต้นถึงปลายนั้นให้เจ้าขุนทึงตนเปนบุตรได้รู้แจ้งทุกประการแล้ว นางตนเปนแม่ก็ให้บุตรแห่งตนอิ่ม ด้วยเข้าน้ำโภชนาอาหารอันเปนทิพแล้ว ดังรี้พลโยธาทั้งหลายทั้งปวงตามไม่ทันพระยาก็พากันกลับคืนเมือนั้นแล ส่วนว่านางแอกผีเสื้อผู้นั้น ก็คิดในใจมักใคร่ให้ลูกตนได้ของมงคลอันวิเศษฉันนั้น ก็พูดกับด้วยลูกแห่งตนว่าแม่จะพาเอาเจ้าไปหาปู่ย่าตายายแห่งเจ้า แม่จักส่งเจ้าเข้าไปในถ้ำแล้ว ครั้นเจ้าเข้าไปแล้ว เห็นอันใดเจ้าอย่าได้กลัวเถิด ครั้นเจ้าเข้าไปแล้วจงขอเอาของอันวิเศษคือหม้อแกงทอง ของไม่จ่าย กับขอกวัดแกว่งให้เปนเมืองอันนี้เถิด เจ้าว่าดังนั้นแล้ว ก็พาเอาลูกตนไปนั้นแล ครั้นไปถึงปากถ้ำแล้ว นางก็ส่งให้ ลูกตนเข้าไปในถ้ำนั้นแล้ว เจ้าขุนทึงครั้นเข้าไปแล้ว ก็เห็นไส้งูหลวงตัวใหญ่มีเกล็ดอันเลื่อมเหลืองเหมือนดังทองนั้นแล้ว เจ้าก็ ขอเอาของวิเศษสองอันนั้น ตามแม่ตนหากสั่งบังคับมานั้นทุกอันแล้ว เมื่อนั้นปู่ย่าตายายก็เอาของดีวิเศษนั้น ให้เจ้าขุนทึงตน เปนหลาน ตามดังเจ้าหากขอเอานั้นแล้ว เจ้าขุนทึงครั้นได้ของวิเศษสองอันนั้นแล้ว ก็บอกอำลาปู่ย่าแห่งตนออกมาหาแม่แห่ง ตนที่ปากถ้ำนั้นแล เมื่อนั้นนางแอกตนเปนแม่ ครั้นได้เห็นลูกตนได้ของวิเศษสองอันนั้นมาแล้ว นางก็บอกฤทธีของวิเศษให้แก่ ลูกตนว่า หม้อแกงทองของไม่จ่ายนี้ แม้นว่าเจ้าจักเลี้ยงแขกรี้พลตั้งหมื่นตั้งแสนก็ดีเถิด ให้เจ้าเอาหม้อนี้ตั้งไว้ที่ควรแล้วกล่าว ว่าเข้าแลชิ้นปลาอาหารขอให้บริบูรณ์เต็มอยู่ทุกเมื่อเถิด ว่าดังนั้นเข้าแลชิ้นปลาอาหารก็หากบริบูรณ์เต็มอยู่ทุกเมื่อ ไม่รู้สิ้นรู้ หมดเลย ด้วยขอกวัดแกว่งให้เปนเมืองนั้น แม้นเจ้าจักมักสนุกยินดีพึงใจในสถานที่ใด เจ้าจงเอาขอนี้แกว่งไปมา ครั้นว่าขอนี้ ข้องอยู่ที่ใด เจ้าจงอยู่นอนในที่นั้นเถิด ว่าฉันนั้นแล้ว ก็ส่งลูกตนกลับเมือนั้นแล ฯ

ครั้นเจ้าขุนทึงได้ของวิเศษสองอันนั้นแล้ว ก็อำลาแม่แห่งตนแล้ว ก็กลับคืนมาสู่บ้านเมืองแห่งตนนั้นแล ครั้นท่านกลับคืนมาแล้วมาถึงที่หนึ่งเปนที่ราบเสมองามนัก ท่านก็รำพึงว่าสถานที่นี้ ภายน่ากูมาสร้างให้เปนเวียง ตั้งบ้านแปลงเมืองอยู่ ที่นี้ดีแท้แลหนอ ว่าดังนั้นแล้วเจ้าก็เอาขออันนั้นกวัดแกว่งไปมาถ้วนสามทีแล้ว ขออันนั้นก็เกี่ยวต้นไม้ไว้แล้ว เจ้าก็เลยนอนใน ที่นั้นหลับไปนั้นแล ครั้นถึงกลางคืนในสถานที่นั้น บังเกิดเปนบ้านเปนเมืองมีรั้วเวียงเชียงแช่เย่าเรือน มีข้าคนพลเมืองช้างม้าโคกระบือมากนักนั้นแล ฯ

พระยาเจ้าขุนทึง ครั้นตื่นรุ่งเช้ามาแล้ว ก็เห็นเปนบ้านเปนเมืองรุ่งเรืองงาม เปนดังแผ่นเงินนั้นแล เจ้าขุนทึงครั้นท่าน ได้รู้เห็นยังอัศจรรย์ทั้งหลายฉันนั้นแล้ว ก็มีความชื่นชมยินดีมากนักนั้นแล เจ้าก็กลับมาถึงเมืองเงินยังเชียงแสนแล้ว ก็มาบอกกิริยาภาวอาการทั้งปวงแก่ราชเทวีแลเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย โดยดังตนหากได้ไล่เนื้อไปแล้ว ได้ไปประสบพบแม่แห่งตนแล้ว แลได้ไปขอเอายังของอันวิเศษซึ่งปู่ย่าตายายได้แล้วกลับคืนมาหาแม่ๆ ก็บอกด้วยของอันมีฤทธิ วิเศษแก่ตนแล้ว ก็กลับคืนมาถึงที่หนึ่งราบเสมองามนักก็เอาขอวิเศษกวัดแกว่งที่นั้นแล้ว สถานที่นั้นก็บังเกิดเปนรั้ว เวียงบ้านเมือง เปนอันรุ่งเรืองงามควรสนุกยินดีนักฉันนั้น แก่ราชเทวีแลเสนาอำมาตย์ทั้งหลายแห่งตนแล เมื่อนั้น ราชเทวีแลเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย ได้รู้ได้ยินแล้วก็มีความชื่นชมยินดีควรอัศจรรย์มากนักนั้นแล เมื่อนั้นคำฦๅชา ปรากฎไปทั่วบ้านใหญ่เมืองน้อยทั้งหลาย ว่าเวียงทิพปรากฎที่เจ้าขุนทึง ตนเปนเจ้าเมืองยางเชียงแสน ตนเปนเจ้าเปนใหญ่แก่เมืองลานนาไทย ว่าดังนั้นแล ฯเมื่อนั้นเจ้าพระยาขุนทึงท่านก็พร้อมกับด้วยเสนาอำมาตย์แห่งตนปลงเมืองเงินยังเชียงแสนนั้นให้น้องแห่งตน ชื่อเจ้าขุนเลงกว่านั้นให้อยู่เสวยนั้นแล ส่วนเจ้าพระยาขุนทึงเจ้าก็พาเอาอรรคมเหษีเทวีแลเสนาอำมาตย์ทั้งหลายแล ไพร่พลคนเมืองตามสมควรแล้ว ก็ไปอยู่เสวยราชสมบัติในเมืองทิพที่นั้นแล้ว เจ้าเรียกชื่อขึ้นตามเทพนิมิตรว่า เวียงเชียงเรือง ว่าดังนั้นแล ครั้นเจ้าขุนทึงท่านอยู่เสวยราชสมบัติในเวียงเชียงเรืองที่นั้น ก็ฦๅชาปรากฎทั่วไปในสกลชมพูทวีปทั้งหลายทั้งปวง รวดได้เปนจักรราชปราบชมพูทวีป ท้าวพระยามหากระษัตริย์ทั้งหลายต่างตนก็ต่างพา กันนำมายังเครื่องราชบรรณาการน้อมเข้ามาสู่สมภารท่านสิ้นทั้งนั้นแล ใช่แต่เท่านั้น "สัพ์เพสัต์ตา" อันว่าสัตวป่า ทั้งหลายทั้งปวง ก็บอกกล่าวร้องเรียกกันมาตามภาษาของเขาว่าลูกหลานเราได้เปนเจ้าเปนใหญ่ปราบปถพีแล้ว แลว่าฉันนั้นแล้วก็พากันเข้ามาสู่บ้านสู่เมืองมากนักนั้นแล ด้วยท้าวพระยาทั้งหลายซึ่งนำเอามายังเครื่องบรรณาการ มาถวายเปนข้าสู่สมภารแห่งเจ้าขุนทึงนั้น ส่วนชาวเมืองเชียงเรืองทั้งปวง ก็ไม่ได้ทุกข์ร้อนด้วยอันต้มเข้าหุงแกง เลี้ยงแขกบ้านแขกเมือง ก็เท่าแต่ได้ให้ได้รับประทานเข้าแลอาหารอันบังเกิดมีในหม้อทอง อันเปนของทิพแห่งพระยาเจ้าขุนทึงนั้นสิ้นในกาลทุกเมื่อนั้นแล อนึ่งด้วยสัตวป่าทั้งหลายอันเข้ามาสู่บ้านสู่เมืองนั้น เจ้าพระยาขุนทึง ท่านก็มีอาชญา บอกกล่าวแก่ชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลาย ว่าไม่ให้บุคคลผู้ใดกระทำร้ายแก่สัตวทั้งหลายฝูงนั้น เพราะสัตวป่าทั้งหลายทั้งปวงฝูงนั้น ก็หากเปนยศบริวารแห่งปู่ย่าเราทั้งมวญดาย ใครอย่าได้กระทำร้ายแก่เขาเถิด ว่าดังนั้นแล ฯ

แต่นั้นไปน่าสุกรแลกวางเถื่อนทั้งหลายก็ไปกินเข้าไร่เข้านาคนทั้งหลายมากนักนั้นแล คนทั้งหลายก็เข้าไปกราบทูล พระยาขุนทึง ๆ ก็ให้คนทั้งหลายเฝ้ารักษาไร่นาล้อมรั้วให้ดีแล้ว ภายหลังก็ยังมาปล้นเข้ากินอยู่เสมอ คนทั้งหลายก็ พากันไปกราบทูลพระยา ๆ ก็แต่งให้คนทั้งหลายเอาไม้คันยาวไปแขวนไว้ทุกที่ สัตวทั้งหลายก็ไม่มากินเข้านั้นแล ภายหลังครั้นไม้นั้นล้มไปยามใด สัตวทั้งหลายก็ซ้ำมากินอีกเหมือนเก่า คนทั้งหลายก็พากันไปกราบทูลพระยาอิกนั้นแล พระยาก็มีอาชญาบอกกล่าวแก่เหยี่ยวน้อยเหยี่ยวหลวงทั้งหลายว่า แต่นี้ไปเหยี่ยวทั้งหลายจงเฝ้าไร่เฝ้านาเถิด เหยี่ยวน้อยให้เฝ้านาน้อย เหยี่ยวหลวงให้เฝ้านาหลวงเถิด ว่าดังนั้นแล้ว แต่นั้นไปสัตวป่าทั้งหลายจะเข้ากวน ดื้อสู่กินเข้าไร่เข้านาดังนั้น เหยี่ยวทั้งหลายก็จับอยู่ปลายไม้สูง ๆ ร้องห้ามสัตวทั้งหลายฝูงนั้น ๆ ก็พากันพ่ายหนีไป สิ้นนั้นแล แต่นั้นภายน่าสัตวทั้งหลายก็เข้ามากินอยู่ที่ข้างบ้านริมเมือง ก็มาเสียดสีถูกต้องตูบเถียง ผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง ทลุพังไปฉันนั้น ผีปิศาจสหายบ้านสหายเมืองทั้งหลายก็โกรธ พลันกระทำให้เปนอันตรายแก่เหยี่ยวทั้งหลาย ตายไปสิ้นนั้นแล แต่นั้นไปภายน่าสุกรกวางเถื่อนทั้งหลาย ก็มากินเข้าไร่เข้านาทั้งหลายเหมือนเก่านั้นแล เมื่อนั้นคน ทั้งหลายเมือกราบทูลว่าบัดนี้เหยี่ยวทั้งหลายอันเฝ้าไร่นาทั้งปวงนั้น ก็ฉิบหายตายไปสิ้นแล้ว สัตวป่าทั้งหลายก็มากินเข้าไร่เข้านาเหมือนเก่า ว่าฉันนั้นแล พระยาก็มีอาชญาบอกกล่าวแก่คนทั้งหลายให้เอาไม้มาจักสานเปนตาไขว่ ให้เปนสามตาเรียงกัน เอาตาขดขึ้นเมือบนแล้ว ให้เอาเหน็บไว้ปลายไม้ที่ในไร่นานั้นแล้ว ให้กล่าวว่าแหลวจงอยู่เฝ้าไร่นาเถิด ว่าดังนั้น เมื่อนั้นคนทั้งหลายก็รับเอาอาชญาพระยาพากันมากระทำเหมือนว่าแท้นั้นแล แต่ภายน่าสัตวทั้งหลายก็ไม่มากวนกิน กระทำร้ายแก่ไร่นาสักทีนั้นแล ด้วยธรรมเนียมแหลวหมายนานั้น ก็ติดต่อสืบ ๆ มาถึงกาลบัดนี้แล

ส่วนเจ้าพระยาขุนทึง ท่านก็อยู่เสวยราชสมบัติประกอบชอบทศราชธรรม ๑๐ ประการ กระทำบุญให้ทานมากนัก นั้นแล เมื่อท่านได้เสวยราชสมบัติแทนพ่อแห่งตนนั้น อายุได้ ๑๕ ปี ศักราช ๔๕๓ ตัวปีเมิงเม้า คือปีเถาะนพศก ท่านอยู่เสวยเมืองนานได้ ๔๑ ปี อายุท่านได้ ๕๕ ปี ก็ถึงแก่กรรมไปสู่โลกภายน่า ในปีเมิงเม็ดคือปีมแมนพศก ศักราช ๔๙๓ ตัว เรียกว่าได้ ๑๕ เช่นชั่วราชวงษ์แล ฯ

พระยาขุนทึงไม่มีลูกชาย มีแต่ลูกหญิงผู้หนึ่ง ชื่อว่านางมนุสาอานุญญา ว่าฉันนั้นแล

ดังพระยาขุนเลงผู้เปนน้องนั้น มีลูกชายสองชาย ผู้พี่ชื่อว่าเจ้าชิน ผู้น้องชื่อว่าเจ้าจอมผาเรืองแล ดังเจ้าลาวชินผู้พี่นั้น เจ้าพระยาขุนเลงตนพ่อ ก็หาเอานางพระติสะในตระกูลให้เปนภรรยา แล้วให้อยู่กับด้วยตนในเวียงเงินยังเชียงแสนนั้นแล ดังเจ้าจอมผาเรืองผู้น้องนั้น เจ้าขุนเลงตนเปนพ่อ ก็นำให้ไปเอานางมนุสาอานุญญาผู้เปนบุตรเจ้าขุนทึงนั้นแล เจ้าขุนทึงท่านก็มีความยินดีแล้ว ก็ให้อยู่กับตนในเวียงเชียงเรืองที่นั้นแล ครั้นเจ้าขุนทึงสิ้น แก่กรรมไปแล้ว เจ้าจอมผาเรืองท่านก็ได้เสวยราชสมบัติแทนลุงแห่งตนในปีเมิงเม็ด ศักราช ๔๙๓ ตัวนั้นแล

เจ้าจอมผาเรืองเมื่อท่านได้เสวยราชสมบัติแทนลุงแห่งตนนั้นอายุท่านได้ ๔๓ ปี ท่านมีราชบุตรสองตน ตนพี่ชื่อเจ้าลาวอ้ายเจือง ตนน้องชื่อเจ้าลาวขุนเจืองแล ดังเจ้าลาวชินตนพี่เจ้าจอมผาเรืองอันอยู่เสวยเมืองเงินยังเชียงแสนนั้น มีบุตรหญิงสองคน ผู้พี่ชื่อว่านางอานแฟงจันทน์ผง ผู้น้องชื่อว่านางโอคาแพงเมือง ว่าฉันนั้นแล นางทั้งสองครั้น จำเริญขึ้นใหญ่มา ก็มีรูปโฉมโนมพรรณอันงาม เปรียบเสมอดังนางทิพนั้นแล เจ้าจอมผาเรืองท่านก็ให้เจ้าลาวอ้าย เจืองตนเปนบุตรที่ ๑ อยู่กับด้วยตนในเวียงเชียงเรืองที่นั้นเเล้ว ก็ให้เจ้าลาวขุนเจืองตนเปนบุตรถ้วนสองไปกินเมืองฝางนั้นแล ภายหลังแต่นั้นมาเจ้าจอมผาเรืองท่านก็ใช้ไปขอนางทั้งสองพี่น้องเพื่อจะมาอุสาภิเศกให้เจ้าลาวอ้ายเจืองแลเจ้าขุนเจือง สองพี่น้องอันเปนบุตรแห่งตนนั้นแล เมื่อนั้นพระยาลาวชินจึงกล่าวว่าดีจริงแล แต่ทว่าบัดนี้ข้ายังน้อยไม่รู้อะไร นางผู้พี่มีอายุได้ ๑๒ ปี นางผู้น้องมีอายุ ๑๐ ปี ก็ยังไม่ฉลาดรู้แห่งการหญิงดาย ภายน่าเอาแต่บุญ แห่งชาวเจ้าเปนเถิด ว่าดังนั้นแล้ว คนใช้ก็กลับเมือทูลเจ้าจอมผาเรือง บอกเหตุการณ์ตามพระยาลาวชินตนพี่หาก กล่าวนั้นทุกประการนั้นแล เจ้าจอมผาเรืองครั้นได้ทราบ รู้ว่าพี่อ้ายตนยอมอนุญาตให้บุตรหญิงทั้งสองมาเปนบุต รสใภ้แห่งตนภายน่านั้น ก็มีความชมชื่นยินดีมากนักนั้นแล ในปีนั้นสิ่งเดียวเจ้าจอมผาเรืองท่านก็ได้เสวยราชสมบัติได้ ๑๘ ปี อายุท่านได้ ๖๐ ปี ก็ถึงแก่กรรมไปในปีกาบไจ้ ศักราช ๕๑๐ ตัวนั้นแล ได้ ๑๖ ชั่วเช่นราชวงษ์แล ฯ

บุตรท่านเจ้าลาวอ้ายเจืองตนพี่นั้น อายุได้ ๒๕ ปี ได้เปนพระยาแทนพ่อ ก็ในปีกาบไจ้นั้น แต่นั้นไปคำฦๅชาปรากฎ ทั่วไปในบ้านใหญ่เมืองน้อยทั้งหลายทั้งปวงว่า ยังมีนางทิพ ๒ คนเกิดมีในเมืองเชียงเรืองที่เวียงเงินยังเชียงแสน งามนักไม่มีใครจะเปรียบได้พอสอง เปนบุตรเจ้าเชียงเรือง ๆ ก็ถึงแก่กรรมตายไปแล้ว หาท้าวพระยาตนใดจักทรง ไม่ได้ มีแต่ท้าวตนบุญใหญ่ในมหานครจึงจะควรทรงนั้นแล เมื่อนั้นท้าวพระยามหากระษัตริย์ทั้งหลายมีเมืองโกสัม พี แลเมืองกลิงครัฐ หงษาวดี สาวัตถี อโยทธยา จันทบุรี แลจุลณีวิเทหราช ต่างคนก็ต่างแต่งรี้พลคนศึกมาเปนอัน มากหลายนั้นแล พระยาเมืองจันทบุรี แลพระยาแกวหลวง ก็แต่งรี้พลมาเปนอันมากกว่า จะฆ่าปราบประจญเอานาง ทิพทั้งสอง ว่าฉันนั้นแล ยามนั้นพระยาลาวชินตนเปนพ่อแห่งนางทั้งสองนั้นก็ใช้ไปหาเจ้าสององค์พี่น้อง ที่เมือง เชียงเรืองแลเมืองฝางแล้ว ดังเจ้าทั้งสองพี่น้องยังไม่ทันยกกำลังมาพร้อมกันพระยาอ้ายเจืองตนเปนพี่ ก็ยกกำลัง เมืองเชียงเรืองเชียงแสนเชียง รายออกรบพระยาแกวหลวง พระยาจันทบุรี ที่ทุ่งเชียงราย พระยาอ้ายเจืองก็ขึ้นขี่ ช้างชนช้างแกว ก็ไม่ชนะแกว เสียพระแก้วฟันกับหลังช้างนั้นแล เจ้าลาวพระยาอ้ายเจืองท่านได้เสวยเมืองได้ ๕ ปี อายุ ๒๙ ปีตาย พระยาแกวฆ่ากับหลังช้างที่ทุ่งเชียงรายนั้นแล ท่านตายในปีเปิกสี ศักราชได้ ๕๑๕ ตัว ได้ ๑๗ ชั่ว ราชวงษ์แล ฯเมื่อเวลาพระยาแกว ฆ่าพระยาอ้ายเจืองตนพี่นั้น เจ้าอุปราชาขุนเจืองผู้น้อง ก็หากยกกำลังรี้พลเมืองฝางมาถึง ครั้น เห็นเพื่อนฆ่าพี่ชายตนตายฉันนั้นก็ยิ่งโกรธนัก ก็ขึ้นขี่ช้างแก้วชื่อว่าสพานคำ ไสเข้าต่อพระยาจันทบุรี พระยาจันทบุรี ก็ขึ้นทรงช้างตัวชื่อสุรสงคราม เข้าต่ออุปราชาขุนเจือง ๆ กวัดง้าวฟันจับหัวพระยาจันทบุรี ๆ ตายกับหัวช้างนั้นแล้ว พระแกวเห็นพระยาจันทบุรีตายก็เร่งโกรธยิ่งนัก ก็ขึ้นทรงช้างตัวชื่อแก้วคุณเมือง ไสเข้าต่ออุปราชาขุนเจืองช้างแก้ว สพานคำ เจ้าอุปราชาขุนเจือง ก็ง้วยงาสู้รบจับเอาเค้าฅอช้างพระยาแกวซวนไป พระยาแกวก็ซ้ำขึ้นช้างแก้วปราบ เมือง ไสเข้าต่อช้างสพานคำ ๆ ก็กระทำฉันเดียวนั้น ช้างพระยาแกวก็เซซวนไปฉันเดียวนั้นแล พระยาแกวก็เร่งซ้ำ โกรธยิ่งนัก ก็ขึ้นขี่ทรงช้างแก้วบุญเรือง ไสเข้าต่อช้างแก้วสพานคำ ๆ ก็ยกงารับจับเค้าฅอช้างแก้วบุญเรือง ช้างแก้วบุญเรืองก็เซไป เจ้าอุปราชาขุนเจืองก็กวัดง้าวฟันศีศะพระยาแกวตายกับฅอช้างนั้นแล เมื่อนั้นพวกหมู่รี้พลพระยาแกว แลรี้พลพระยาจันทบุรีก็แตกตื่นพ่ายหนีไป ไม่อาจทนต่อได้ เมื่อนั้นชาวเชียงเรืองเมืองฝางเชียงแสนเชียงรายทั้งปวง ก็พากันไล่โคบเอาแกวเอาลาวได้สามหมื่นคน กับทั้งช้างม้ามากนักแล้วก็เอาเข้าไว้ในเวียงเชียงแสนทั้งสิ้นนั้นแล ฯ

เมื่อนั้นเจ้าลาวชินตนเปนลุง ก็มีความโสมนัศชมชื่นยินดีมากนักแล้ว ก็ประดับลูกหญิงสาวทั้งสองพี่น้องแล้ว ก็เอา ไปถวายแก่เจ้าอุปราชาขุนเจืองตนเปนหลาน ให้เปนอรรคมเหษีเทวีข้างซ้ายข้างขวานั้นแล พระยาลาวชินก็อุสาราชาภิเศกให้เสวยเมืองเงินยังเชียงแสนแล้ว ก็อุสาราชาภิเศกชื่อขึ้นเรียกว่า เจ้าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราชาขุนเจืองว่าดังนั้นแล ส่วนว่าท้าวพระยาทั้งหลายนานาประเทศทั้งปวงมีความกลัว ด้วย เดชานุภาพแห่งท่านแล้ว ก็พากันน้อมเข้ามาสู่สมภารท่านสิ้นนั้นแล้ว ก็เปลี่ยนกันอุสาราชาภิเศกแล้วก็เรียกชื่อขึ้นว่าเจ้าพระ ยาเจืองฟ้าธรรมิกราชานั้นแล แล้วก็ปลูกหออุทุมพรไม้มะเดื่อขึ้นสูงได้ร้อยศอกนั้นแล ฯ

เจ้าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราช อายุได้ ๒๗ ปี เสวยเมืองแทนพี่แทนลุงแห่งตน ในปีเปิกสี ศักราช ๕๑๕ ตัว ท่านได้เสวยราชสมบัติแล้ว ก็ปรากฎด้วยฤทธิเดชานุภาพทั่วมหานานาประเทศทั้งปวง ท้าวพระยามหากระษัตริย์ทั้งหลายก็เข้ามาพร้อมน้อมสู่สมภาร ถวายเครื่องราชบรรณาการทั้งหลายมากนักนั้นแล ฯ

ถัดนั้นพระยาลุ่มฟ้าเก้าพิมาน ตนเปนเจ้าเมืองวิเทหราชกับพระยาจุลณีสองตนพี่น้อง ก็เอารี้พลมาเปนอันมาก ว่าจะพากันมาปราบประจญเอานางทั้งสองพี่น้อง ครั้นมาถึงกลางทางก็ได้รู้ข่าวสารว่าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราชาปราบได้นางแล้วฉนี้ เมื่อนั้นพระยาลุ่มฟ้าเก้าพิมาน แลพระจุลณี ก็มีความเข็ดขามเกรงอำนาจแล้ว ก็พลันพร้อมกัน แต่งยังเครื่องราชบรรณาการแต่ละอย่างแลร้อยแปดทั้งปวงคือหอยสังข์ปรกติแลอ่างเงินสองลูก มาถวายแก่เจ้าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราชนั้นแล ทั้งหออุทุมพรก็สร้างเติมอันเก่าขึ้นสูงได้ร้อยยี่สิบศอกนั้นแล พระยาวิเทหราชแลพระยาจุลณีสองตนพี่น้องก็พร้อมกันอุสาราชาภิเศกขึ้น เรียกชื่อว่าไชยนารายน์ธรรมิกราช ว่าดังนั้นแล แต่นั้นไปภายน่าฮ่อแลแกวแลเมืองโกสัมพี กลิงคราฐ หงษาวดี สาวัตถี อโยทธยา จันทบุรี ก็ได้มาส่วยเข้าพระยาเจือง ไชยนารายน์ธรรมิกราชต่อๆ ไปนั้นแล ฯ

ในเมื่อท่านได้ปราบนานาประเทศทั้งปวงนั้น อายุท่านได้ ๒๗ ปี มีความกล้าหาญนัก ท่านได้มีอาชญาบอกป่าวแก่ ลูกค้าทั้งหลายต่างประเทศว่า เราพระองค์ก็ชนช้าง ก็มีความสนุกมากนัก เราพระองค์ก็มีใจใคร่ชนช้างอยู่เสมอแล ถ้าแลว่าสูท่านทั้งหลายยังรู้ว่ามีท้าวพระยาตนหนึ่งตนใดยังจักอาจมาสู้ชนช้างต่อเราพระองค์ได้นั้น ก็ให้สูท่านได้ ใช้เอาข่าวสารพระยาเจ้าตนนั้นมาบอกแก่เราพระองค์เถิด เราพระองค์จักได้ไปต่อสู้ชนช้างต่อเจ้าพระยาตนนั้น แล ว่าฉันนั้นแล้ว แต่นั้นไปก็ไม่มีท้าวพระยาตนหนึ่งตนใดจะมาต่อสู้ได้สักตน ท้าวพระยาทั้งหลายก็เท่ามีแต่เครื่องราช บรรณาการมาถวายแก่ท่านทุกเมืองนั้นแล เจ้าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราช ท่านได้เสวยราชสมบัติเปนเอกราชาปราบ นานาประเทศทั้งหลายแล้ว ก็วางเมืองไว้แก่ลุงแลบุตรแห่งตนชื่อเจ้าเงินเรืองผู้เปนพี่ต้น คือลูกนางแฟงจันทน์ผง ให้อยู่รักษาเมืองเงินยังเชียงแสนแล้ว ก็บอกป่าวเสนาโยธาทั้งหลายมาเปนอันมากแล้ว ก็ยกเอาหมู่รี้พลโยธาไปเมืองแกว ๆ ทั้งหลายก็นบน้อมเข้าสู่สมภารท่านทั้งสิ้นแล้ว ท่านก็เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองแกวที่นั้นก็เอาบุตรีพระยาแกวผู้ชื่อนางอูบแก้วเปนภรรยาอยู่ในเมืองที่นั้น ก็ซ้ำเปนที่ฦๅชาปรากฎ มีเดชานุภาพมากนักนั้นแล ฯ

เมื่อนั้นพระยาลุ่มฟ้าเก้าพิมานแลแกวพระกันทั้งหลาย ก็มาประชุมกันที่ภูเขาเหมือด อันมีในเขตรแดนเมืองแกว คือ ที่เมืองพระกัน ดังภูเหมือดที่นั้น เปนอันราบเสมองาม กว้างได้ ๑๒๐๐ วา ท้าวพระยาทั้งหลายก็ให้คนทั้งหลายแต่ง แปลงทำเนียบพนักปรำเต็มภูเหมือดที่นั้นทั้งหมด แล้วก็สร้างปราสาทที่ท่ามกลางภูเหมือด สูงได้ ๑๓๕ วา กว้างได้ ๙๓ วา มีเสวตฉั ตร ๗๗๐ ดวง แลมีอ่างคำใส่น้ำหอม สูงได้ ๓ ศอกกว้างได้ ๖ ศอก คำหนักล้านสี่แสน ให้ถวาย เปนอ่างอาบน้ำเจ้าพระยาเจือง ครั้นตกแต่งเสร็จแล้วก็เชิญเอาเจ้าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราชขึ้นสู่หอสรงแล้ว ท้าว พระยาทั้งหลายมีพระยาลุ่มฟ้าเก้าพิมานเปนประธาน ก็พร้อมกันรดสรงด้วยน้ำสังข์ ๗๗๐ ลูก คือสังข์อันเปนทักขิณ าวัฏทุกดวงเหนือกองแก้ว ๗ ประการ แล้วก็สถิตย์สำราญในปราสาทราชมณเฑียร มีนางทั้งหลายได้สี่แสนสี่หมื่น มีนางอัมราอันพามาแต่เมืองลาวนั้น กับนางอูบแก้วอันเปนบุตรีแห่งพระยาแกวเปนประธาน หากมาแวดล้อมเปนบริ วารก็มีแล ท้าวพระยาทั้งหลายมีพระยาลุ่มฟ้าเก้าพิมานเปนประธาน ก็พร้อมกันแต่งรายงานจุ้มเจี้ยไว้กับเจ้าพระยา เจืองนั้นแล กระทำเจ้า พระยาเจืองให้เปนเอกราชาที่เมืองแกวในปีกาบสี ศักราช ๕๕๑ ตัว เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ วัน อังคารยามกองงาย เจ้าอยู่สำราญในปราสาทได้ ๗ วันแล้ว ก็เสด็จลงมาสู่โรงหลวง ท้าวพระยาทั้งหลายมีพระยาลุ่มฟ้าเก้าพิมานเปนประธาน แลเสนาโยธาทั้งหลายนับได้โกฏิปลายหกล้านหกแสนหกหมื่นหกพันคนก็มีแล เจ้าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราชา ท่านก็ให้พระราชทานรางวัลเลี้ยงดู แก่ท้าวพระยาแลเสนาอำมาตย์รี้พลทั้งหลาย ให้อิ่มเต็ม ด้วยเข้าเหล้าชิ้นปลาอาหารมากนัก นานได้ ๕ เดือนแล้ว เจ้าก็ส่งท้าวพระยาทั้งหลายเมือหาบ้านเมืองแห่งเขานั้นแล อยู่ไม่ นานเท่าใดเจ้าก็พาเอานางอัมราเทวีกับบริวารทั้งปวงเสด็จเมือสู่เมืองเงินยังเชียงแสนนั้นแล ฯ

ในกาลนั้นไม่นานเท่าใด ยังมีพ่อค้าแกวหมู่หนึ่ง ไปค้าเมืองตาตอกขอกฟ้าตายืน แล้วเขาก็เข้าไปไหว้ไขบอก ข่าวสารด้วยเจ้าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราช ใคร่ชนช้างต่อท้าวพระยาตนหนึ่งตนใด ตั้งแต่ต้นถึงปลายให้พระยา แมนตาตอกขอกฟ้าตายืนได้รู้ทุกประการนั้นแล เมื่อนั้นพระยาแมนตาตอก ครั้นได้รู้ข่าวสารฉันนั้นแล้ว ก็มีอาชญา ปลงคำลงว่า เราก็ใคร่ชนช้างต่อพระยาธรรมิกราชตนนั้นแท้แล ว่าฉันนั้นแล้ว พระยาแมนตาตอกตนนั้นก็สั่งบอก แก่พ่อค้าแกวทั้งหลายว่า สูท่านทั้งหลายจงนำเอาข่าวสารกูไปบอกแก่เจ้าพระยาธรรมตนนั้นจงมาชนช้างต่อเราเถิด ว่าดังนั้นแล้ว เมื่อนั้นพ่อค้าแกวหมู่นั้นก็รับเอาข่าวสารพระยาแมนตาตอกแล้ว พากันนำเอาข่าวสารอันนั้นมา ด้วย วันเดือนทั้งหลายก็เปนอันไกลนัก ไม่นานเท่าใดก็มาถึงเมืองเงินยังเชียงแสนแล้ว เขาก็เข้าไปกราบทูลข่าวสารทั้ง ปวง อันพระยาแมนตาตอกหากสั่งมา ใคร่ชนช้างต่อพระยาตนนั้นทุกประการแล ฯเมื่อนั้นพระยาธรรมิกราชขุนเจือง ครั้นได้รู้ข่าวสารฉันนั้นแล้วจักว่าเราเถ้าแก่เสียแล้วไม่ไปก็ว่าไม่ได้ เหตุว่าได้ ออกปากไปเสียแล้ว เมื่อนั้นเจ้าพระยาธรรมิกราช ท่านก็ร้องเรียกเอาราชบุตร ๕ ตนมาแล้วพิจารณาตกแต่ง คือ ปลูกแปลงให้บุตรแห่งตนได้อยู่เสวยเมืองคนละแห่ง คือให้เจ้าลาวเงินเรืองผู้เปนพี่ที่ ๑ บุตรนางแฟงจันทน์ผงนั้น ให้เปนเจ้าอยู่เมืองเงินยังเชียงแสนรักษาบ้านเมืองทั้งปวง แต่งให้เจ้าลาวเจืองตนที่ ๒ กับบริวารพันหนึ่ง ให้ไปกิน เมืองแกวหลวง แล้วคนทั้งหลายก็ปลูกหอสรงที่ภูเหมือดที่เมืองแกวหลวงสูงได้ร้อยศอกแล้ว ก็กระทำอุสาราชา ภิเศกให้เปนเจ้าแก่แกวทั้งหลาย แล้วก็แต่งให้เจ้าลาวพาวตนที่ ๓ กับบริวารพันหนึ่งให้ไปกินเมืองจันทบุรี แล้วก็ แต่งให้เจ้าขุนคำร้อย บุตรนางโองคาแพงเมือง ให้ไปกินเชียงรายเมืองผลู ให้ใจรู้คนภายตวันออกทิศใต้ทั้งปวง แล้วแต่งให้เจ้าสร้อยเบี้ยตนเปนน้องเปนมหาอุปราชาให้อยู่เวียงเชียงเรือง ให้ใจรู้คนภายตวันตกทั้งปวงนั้นแล เจ้า พระยาเจืองฟ้าธรรมิกราช ในเมื่อท่านเสด็จไปเสวยราชย์ในเมืองแกวนั้นเอาบุตรีพระยาแกวหลวงเปนภรรยา ก็มี บุตรชาย ๒ ชาย ตนที่ ๑ ชื่อเจ้ายี่คำ ตนที่ ๒ ชื่อเจ้าชุมแสง ดังเจ้ายี่คำตนพี่นั้น ท่านก็แต่งให้ไปกินเมืองลานช้าง เมืองหลวง เจ้าชุมแสงตนถ้วนสอง ท่านก็แต่งให้ไปกินเมืองนันทบุรี คือเมืองน่านนั้นแล เจ้าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราช ครั้นว่าจัดแต่งให้บุตรแห่งตนไปเสวยเมืองคนละแห่งแล้ว ก็มีอาชญาบอกป่าวชุมนุมมายังท้าวพระยาทั้งหลาย ทั้งปวงแลเสนาอำมาตย์รี้พลคนหาญทั้งหลาย นับว่าได้เก้าล้านเก้าแสนแล้วก็เสด็จยาตราออกจากเวียงเหรัญญนครเงินยัง เชียงแสน ไปภายตวันออกเปนอันไกลนัก ไม่นานเท่าใดก็ไปถึงเมืองแมนตาตอกขอกฟ้าตายืนนั้นแล ฯ

ด้วยพระยาแมนตาตอกนั้น ครั้นให้พ่อค้าแกวนำเอาข่าวสารแห่งตนไปกราบทูลแก่พระยาเจืองฟ้าธรรมิกราชแล้ว ก็ บอกป่าวเสนาโยธาให้แต่งสพานหินสพานผา ชานหินชานผาก่ายหวีดไว้ท่าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราชนั้นแล พระยา เจืองฟ้าธรรมิกราช ครั้นไปถึงเมืองแมนตาตอกแล้ว ก็พิจารณาโผล่เล็งดูยังเมืองที่นั้นก็เห็นเปนแต่หินซาผาคมนัก ทางจักเข้าหาเวียงหลวงนั้นก็มีแต่เส้นเดียว ที่เข้าหาก็ร้ายนัก เวียงก็อยู่ที่สูงนัก ไม่หวังจะมีไชยชนะเพื่อนได้ อนึ่ง ช้างก็เถ้าโรยแรง ตนก็เถ้าแก่เสียแล้ว ก็จึงแก้เอาเสื้อแลผ้าคาดศีศะใส่ในกระอูบคำแล้ว ก็แต่งให้คนใช้เอาคืนมา หาบุตรแลภรรยาอันอยู่เมืองภายหลัง ว่าให้สูบดมเสื้อผ้านี้ต่างพระองค์เราเถิด ว่าดังนั้นแล้วแล ฯ

เมื่อนั้นนางเทวีอันเปนต้น แลนางนาฎสนมทั้งหลาย อันอยู่ภายหลังพระยาเจ้านั้น ก็เห็นยังนิมิตรเหตุใหญ่ ๑๒ ประการดังนี้ ๑ คือกี่อยู่ยังเรือนเต้นตกล่างกลายเปนกระบือชนกัน ๒ ถ้วยชามอยู่ยังเรือนเต้นตกล่างกลายเปน ปลาฝา ๓ เรือนกลายเปนหลิ่มแล่นไปลี้อยู่แต่ตีนผา ๔ ชายคากลายเปนต่อแตนบินคืนเค้า ๕ ผึ้งฉาบติดหมอนข วานหมอนอิงพระยา ๖ ฝนพรำเดือนยี่สิบวันไม่สิ้น๗ ภูเขาโปรดพังลง ๘ ก้อนหินผากลายเปนเงือกดิ้นดุกเดือกไปมา ๙ เนื้อมิคาสัตวป่าแล่นเข้าผ่าบ้าน กบเขียดห่าน เข้ามาเมือง ๑๐ ละมั่งคำตัวเท่าเรือปากเก้า ออกเที่ยวเล่นกลิ้งเกลือกเต้นไปมา ๑๑ เสือโคร่งเถ้าเข้ามาเวียงใหญ่ ๑๒ ไข่ลูก เดียวมีสองตัว มี ๑๒ ประการดังนี้แล ฯ

เมื่อนั้นนางราชเทวี แลนางนาฎสนมทั้งหลาย อันอยู่ฟังร้ายฟังดีนั้น ไม่นานเท่าใดคนใช้ก็นำเอากระอูบคำอันใส่ เสื้อผ้ามาถวายแก่นางราชเทวีแล เมื่อนั้นนางเทวีแลนางนาฎสนมทั้งหลาย ครั้นได้เห็นเสื้อผ้าพระยาเจ้าแล้ว ก็ พิจารณาดูเหตุการณ์ทั้งหลายอันได้เห็นนั้น ก็พากันร้องไห้ทั่วทั้งเมืองนั้นแล ฯ

ฝ่ายว่าพระยาแมนตาตอก ครั้นรู้ว่าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราช ยกรี้พลคนศึกมาสู่ตนฉันนั้น ท้าวก็แต่งรี้พลท่าต่ออยู่ นั้นแล เมื่อนั้นพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราช ก็ขึ้นทรงช้างสพานคำ ยกกำลังขึ้นรบต่อพระยาแมนตาตอกนั้นแล ส่วน พระยาแมนตาตอกก็ขึ้นทรงช้างตัวชื่อว่าไชยนารายน์ท่าต่อพระยาเจืองฟ้า ๆ ก็ไสยังช้างสพานคำเข้าต่อก็พอปลาย งาถึงกัน ส่วนหินลูกอันช้างสพานคำเหยียบนั้นก็พลาดหวิดตกไปในหลุม ส่วนว่าช้างแก้วสพานคำก็ซวนตกไปตาม นั้น งาก็ปักเข้าเงื้อมหินผา เมื่อนั้นพระยาแมนตาตอก ก็เอาดาบฟันถูกฅอพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราชขาดตกลงแล้ว พวกพลคนหาญทั้งหลายฝ่ายพระยาเจืองก็พากันรุมกลุ้มกรูเอาศีศะพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราชได้แล้ว ก็เอาใส่หีบหามมาใส่ช้างออกมาแล้ว ก็พร้อมกันเอาสริระทรากศีศะเจ้าพระยาเจืองกลับคืนมา ส่งสักการเผาเสียที่เมืองเชียงรายแล้วก็เอากระดูกมาก่อเปนเจดีย์ไว้ที่เมืองเหรัญญนครเงินยังเชียงแสนในเวียงนั้นแล ส่วนว่ารี้พลโยธาทั้งหลายก็พา กันแตกตื่นคืนมาสิ้นซ้ำนั้นแล ฯ

พระยาเจืองฟ้าธรรมิกราช สิ้นแก่กรรมไปสู่โลกภายน่าในปีกดสัน คือปีวอกโทศก ศักราช ๕๖๗ ตัว ท่านเสวยราช สมบัติในเมืองเงินยังเชียงแสนได้ ๓๖ ปี เสวยเมืองแกวได้ ๑๗ ปี อายุได้ ๗๙ ปี ก็สิ้นแก่กรรมไปนั้นแล ได้ ๑๘ ชั่ว เช่นราชวงษ์แล ฯ

เจ้าพระยาเจืองท่านได้ไปเสวยเมืองแกวเปนสองครั้งๆ ต้นเสวย ๓ ปี ครั้งถ้วนสองเสวย ๑๔ ปี รวมเปน ๑๗ ปีแล ฯ

ดังเจ้าพระยาลาวชินตนเปนลุงพระยาเจืองนั้น ท่านได้เสวยเมืองอยู่กับลูกหลานในเมืองเชียงแสนที่นั้นได้ ๑๗ ปี สิ้น แก่กรรมไปในปีกาเม็ด ศักราช ๕๒๗ ตัว อายุได้ ๗๐ ปี ตนนี้ไม่นับเข้าในราชวงษ์แล ฯ

เจ้าพระยาเจืองฟ้าธรรมิกราช สิ้นแก่กรรมไปแล้ว เจ้าลาวเงินเรืองตนเปนบุตร อายุ ๓๓ ปี เปนเอกราชได้ ๒๖ ปี อายุได้ ๕๙ ปี สิ้นแก่กรรมไปในปีดับเล้า คือปีรกาสัปตศก ศักราช ๕๙๑ ตัวนั้นแลได้ ๑๙ เช่นชั่วราชวงษ์แล ฯ

บุตรเจ้าลาวเงินเรือง ชื่อเจ้าลาวเคียง อายุได้ ๔๑ ปี ได้เปนพระยาแทนพ่อ ในปีดับเล้า ท่านเสวยราชสมบัติได้ ๒๑ ปี สิ้นแก่กรรมไปสู่โลกภายน่า ในปีดับไส้ คือปีมเสงสัปตศก ศักราช ๖๑๑ ตัว ได้ ๒๐ ชั่วเช่นราชวงษ์แล ฯลูกเจ้าลาวเคียง ฃื่อลาวเมง อายุได้ ๔๓ ปี ได้เปนพระยาแทนพ่อ ก็ในปีดับไส้ ท่านเสวยราชสมบัติแล้ว ก็มีเครื่อง ราชบรรณา การไปขอเอาบุตรหญิงสาวพระยาเมืองเชียงรุ่ง ชื่อเทพคำข่ายมาเปนราชเทวี แล้วครั้นมาไม่นานเท่าใด นางก็ทรงครรภ์ได้ ๑๐ เดือน แล้วก็คลอดได้บุตรชายหนึ่งคนนั้นแล ในเมื่อครรภ์จะลงมาตั้งอยู่ในท้องแห่งนางหัวที ดังนั้น นางเห็นนิมิตรว่าดาวประกายลงมาตั้งอยู่เหนือท้องแห่งนางแล้ว ก็เปล่งรัศมีไปทิศใต้แล้ว ก็แผ่ไปทั่วทิศทั้ง ปวงแล้วก็ลงมาสู่แผ่นดินกลับแตกเปนสองดวง แล้วนางก็สดุ้งตื่นเช้าแล้วก็กราบทูลแก่พระยาลาวเมงนั้นแล เมื่อนั้น พระยาหามายังหมอโหรทั้งหลาย มาทายดูนิมิตรแห่งนางนั้นแล หมอทั้งหลายก็ทายดูตามเหตุนิมิตรนางทุก ประการแล้ว กราบทูลพระยาว่า บุตรมหาราชเจ้าจักได้ปราบทั่วไปในทิศหนใต้แล้ว จักได้ปราบทั่วไปในทิศทั้ง หลายแท้แล หมอโหรทั้งหลายก็กราบถวายไชยมงคลแก่พระยาลาวเมงฉันนี้แล้ว ครั้นนางทรงครรภ์เต็ม ๑๐ เดือน แล้ว ก็คลอดบุตรชายองค์หนึ่งนั้นจริงแล ฯ

ในวันเจ้าราชบุตรเกิดมานั้น ยังมีฤๅษีตนหนึ่ง ชื่อปทะมังกร เดินเทศมาถึงเมืองเงินยังเชียงแสนแล้ว ก็มาถวาย พระพรพระยาลาวเมง ๆ ก็ไหว้ถามเจ้าฤๅษีว่ากุมารน้อยบุตรของข้าพเจ้านี้จักมีบุญฤๅไม่ เจ้าฤๅษีก็ส่องดูด้วยญาณ ปัญญาแห่งตนก็รู้แจ้งแล้ว จึงทูลว่าดูกรมหาราช กุมารองค์นี้มีบุญมากนัก ท่านจักได้อยู่ในเมืองมหาหน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/77หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/78หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/79หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/80หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/81หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/82หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/83หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/84หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/85หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/86หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/87หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/88หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/89หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/90หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/91หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/92หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/93หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/94หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/95หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/96หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/97หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/98หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/99หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/100หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/101หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/102หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/103หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/104หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/105หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/106หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/107หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๐) - ๒๔๖๑.pdf/108