ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 18/อธิบายประกอบ

คำนำ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ แก้ไข

ใน คำนำ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ มีถ้อยคำที่วิกิซอร์ซอธิบายประกอบ ดังนี้

รายงานการค้าขายในกรุงสยามครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์, ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์ แก้ไข

รายงานการค้าขายในกรุงสยามครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์ นี้ ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ เป็นบทที่ชื่อ "Report on the trade of Siam written in 1678" อยู่ในหนังสือ English intercourse with Siam in the seventeenth century ของ จอห์น แอนเดอร์สัน (John Anderson) พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1890[1] ผู้ใดแปลเป็นภาษาไทยไม่ปรากฏ

ในงานนี้ มีถ้อยคำที่วิกิซอร์ซอธิบายประกอบ ดังนี้

  • กบิลพัสดุ์ — เอกสารนี้ว่า เป็นอีกชื่อหนึ่งของเมืองเมกกะ, ดู เมกกะ
  • กฤษณา — ต้นฉบับว่า "Sandall"[2] ซึ่งหมายถึง ไม้จันทน์
  • กวาง — ต้นฉบับว่า "Anteloopes"[3] ซึ่งหมายถึง แอนทิโลป (สัตว์มีเขาในวงศ์โคกระบือ)
  • กึงตั๋ง, เมือง — ต้นฉบับว่า "Canton"[4] ซึ่งสามารถหมายถึง (1) มณฑลกว่างตง ประเทศจีน หรือ (2) เมืองกว่างโจว ในมณฑลกว่างตง ประเทศจีน ("กว่างตง" เป็นสำเนียงจีนกลาง, "กึงตั๋ง" ตามเอกสารนี้ เป็นสำเนียงจีนฮกเกี้ยน)
  • เกลือสินเธาว์ — ต้นฉบับว่า "Salt Peter"[5] ซึ่งหมายถึง ดินประสิว
  • แกนดี — ต้นฉบับว่า "Candy"[6] ซึ่งอาจหมายถึง กัณฑี หน่วยชั่งตวงวัด
  • โกแปง (ไม่รู้ว่าอะไร) ทองคำ — หมายความว่า ในถ้อยคำ "โกแปงทองคำ" นั้น ผู้แปลไม่ทราบว่า "โกแปง" คืออะไร, ทั้งนี้ ต้นฉบับว่า "Gold Copangs"[7] และ แพทริก เคลลี (Patrick Kelly) อธิบายว่า "The Gold Coins of Japan are Itchebos, Copangs or Cobans, and Obans; these are flat pieces of gold of an oblong shape, rounded at both ends, bearing various flowers and letters in relief."[8] ("เหรียญทองของญี่ปุ่น มี Itchebo, Copang หรือ Coban, และ Oban พวกนี้เป็นแผ่นทองแบนทรงรียาว หัวท้ายมน มีรูปดอกไม้และอักษรต่าง ๆ พิมพ์นูนอยู่"), เพราะฉะนั้น "Copang" จึงน่าจะหมายถึง เหรียญประเภทหนึ่งของญี่ปุ่น
  • เข้า — คือ "ข้าว" (เขียนแบบเก่า)
  • คอร์แมนเดล — ต้นฉบับว่า "Cormandell"[3] ซึ่งอาจหมายถึง (1) ชายฝั่งคอโรแมนเดล (Coromandel Coast) ในอนุทวีปอินเดีย หรือ (2) เขตคอโรแมนเดล (Coromendel Area) ในประเทศอินเดีย
  • เครื่องเหล็กเปนกะทะแลอื่น ๆ — ต้นฉบับว่า "Iron Panns called Jauches"[3] ("กระทะเหล็กที่เรียก Jauches")
  • เชรูน — อักษรโรมันว่า "Cheroon"[4]
  • ซีอาเรเบีย — ต้นฉบับว่า "C Arabia"[5] ซึ่งอาจหมายถึง (1) ประเทศซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia), (2) อาระเบียตอนกลาง (Central Arabia) คือ ตอนกลางของคาบสมุทรอาหรับ (Arabian Peninsula), หรือ (3) คาราเบีย (Carabia) เมืองโบราณในแมซีโดเนีย (Macedonia)
  • ญวน, เมือง — ได้แก่ ประเทศเวียดนาม, ส่วนต้นฉบับใช้ว่า "Cochin China"[4]
  • ตั้งเกีย, เมือง — ได้แก่ ภูมิภาคที่เวียดนามเรียกว่า "ดงกิญ" (Đông Kinh) แปลว่า "กรุงบูรพา", ส่วนต้นฉบับว่า "Tunqueene"[4]
  • ตาดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ว่า เป็น "ชื่อมองโกลเผ่าหนึ่งที่ชอบรบราฆ่าฟันและอพยพเร่ร่อนอยู่เสมอ",[9] ส่วนต้นฉบับใช้ว่า "Tartar"[4] ซึ่งหมายถึง คนที่อยู่ในภูมิภาคทาร์ทารี (Tartary) เป็นต้นว่า เติร์ก, มองโกล, แมนจู ฯลฯ
  • ตีมอร์, เมือง — ต้นฉบับว่า "Tymoor"[2]
  • เตอกี, เมือง — ต้นฉบับว่า "Turkey",[5] อาจได้แก่ ประเทศตุรกีในปัจจุบัน
  • นนทบุรี, เมือง — ต้นฉบับว่า "City Indicah"[5]
  • น้ำตาล — ต้นฉบับว่า "Jaggarah"[4] ซึ่ง ธีระวัฒน์ แสนคำ[10] ว่า หมายถึง น้ำตาลโตนด
  • เนื้อไม้ — ต้นฉบับว่า "Agulah wood" หรือ "Agula wood"[5] ซึ่งหมายถึง ไม้กฤษณา
  • บริษัทอินเดียทิศตวันออก — ได้แก่ บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company)
  • บันตัม, เมือง — ได้แก่ Banten เมืองในประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน
  • เบงคอล, เมือง — ต้นฉบับว่า "Bengall",[5] อาจได้แก่ ภูมิภาคเบงกอล (Bengal) ในปัจจุบัน
  • ปะโกดาส์, หน่วยเงิน — ต้นฉบับว่า "Pagodas"[6] ซึ่งอาจหมายถึง ปโกฏา หน่วยเงินอินเดีย
  • ผ้าต่าง ๆ (ใน หน้า 15) — ต้นฉบับว่า "Callicoes"[11] ซึ่งหมายถึง ผ้าดิบ
  • แฟรสเสล, หน่วยเงิน — ต้นฉบับว่า "ffrassell"[5]
  • มะเกา, เมือง — ต้นฉบับว่า "Macaw",[4] ได้แก่ มาเก๊า ปัจจุบันเป็นเขตในประเทศจีน
  • เมกกะ, เมือง — ต้นฉบับว่า "Meccah",[5] อาจได้แก่ มักกะฮ์ เมืองในประเทศซาอุดีอาระเบีย
  • เมดีนา, เมือง — ต้นฉบับว่า "Medina",[5] อาจได้แก่ มะดีนะฮ์ เมืองในประเทศซาอุดีอาระเบีย
  • เมตชเลปะตัน, เมือง — ต้นฉบับว่า "Metchlepatan"[2]
  • โมกา, เมือง — ต้นฉบับว่า "Mocah"[5]
  • ยอชไวต์, พ่อค้า — ได้แก่ จอร์จ ไวต์ (George White)
  • โรเบอตปาเกอ — อักษรโรมันว่า "Robert Parker"
  • วิชเยนทร — ได้แก่ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) ซึ่งได้บรรดาศักดิ์ไทยว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
  • สุรัต, เมือง — ต้นฉบับว่า "Suratt",[3] อาจได้แก่ สุรัต (Surat) เมืองในประเทศอินเดีย
  • เหล็ก น้ำตาล ไม้ซุง (ใน หน้า 6) — คงตก "ข้าว" ไปอย่างหนึ่ง เพราะต้นฉบับว่า "Iron: Rice: Jaggarah: Tymber"[4]
  • ออกพระศรีมโนราช, ขุนนางอยุธยาชาวเปอร์เซีย — ต้นฉบับว่า "Vphra Synnoratt"[5]
  • ออกยาพิชิต, ขุนนางนครศรีธรรมราช — ต้นฉบับว่า "Ocha Pecheet"[6]
  • ออกยาศรีพิพัฒน์, ขุนนางอยุธยา — ต้นฉบับว่า "Vphrah Sivepott"[7]
  • อังกฤษเกี่ยวข้องกับกรุงสยามครั้งโบราณ, ชื่อหนังสือ — ได้แก่ หนังสือ English intercourse with Siam in the seventeenth century ของ จอห์น แอนเดอร์สัน ดังระบุข้างต้น
  • เอ้หมึง, เมือง — ต้นฉบับว่า "Amoy",[4] ได้แก่ เซี่ยเหมิน (จีนฮกเกี้ยนเรียก "เอ้หมึง") เมืองในประเทศจีน
  • ฮินดูสตาน, เมือง — ต้นฉบับว่า "Indostan",[5] อาจได้แก่ "ฮินดูสตัน" (Hindustan) ซึ่งเป็นศัพท์ที่ชาวอิหร่านใช้เรียกประเทศอินเดียหรืออนุทวีปอินเดีย
  • ไฮโดรบัด, เมือง — ต้นฉบับว่า "Hydrobad",[5] อาจได้แก่ ไฮเดอราบาด (Hyderabad) เมืองในประเทศอินเดีย

เรื่องราวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์, ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์ แก้ไข

เรื่องราวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ นี้ ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ เป็นบทที่ชื่อ "Phaulkon chief minister of Siam" อยู่ในหนังสือ English intercourse with Siam in the seventeenth century ของ จอห์น แอนเดอร์สัน (John Anderson) พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1890[12] ผู้ใดแปลเป็นภาษาไทยไม่ปรากฏ

ในงานนี้ มีถ้อยคำที่วิกิซอร์ซอธิบายประกอบ ดังนี้

  • กิมป์เฟอ — ต้นฉบับว่า "Kæmfer"[13] ซึ่งอาจหมายถึง เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) แพทย์ชาวเยอรมัน
  • โกโรแมนเดล, แหลม — ต้นฉบับว่า "Coromandel Coast"[14] ซึ่งอาจหมายถึง ชายฝั่งคอโรแมนเดลในอนุทวีปอินเดีย
  • คอนสะแตนต์ฟอลกอน — ดู เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
  • คัสโตด, หมู่บ้าน — อักษรโรมันว่า "Custode"[15]
  • เจ้ากรมพระคลังสินค้าของพระมหากระษัตริย์ — ต้นฉบับว่า "chief merchant to the king"[16]
  • เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ — ได้แก่ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) ซึ่งได้บรรดาศักดิ์ไทยว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
  • เชฟโลเนียร, เกาะ — อักษรโรมันว่า "Cephalonia",[15] ได้แก่ เกาะเซฟาโลเนียในประเทศกรีซ
  • นายครัว — ต้นฉบับว่า "steward's mate"[13]
  • นายโรงเข้าแกง — ต้นฉบับว่า "innkeeper"[15] ซึ่งหมายถึง เจ้าของโรงแรม
  • นายห้าง — ต้นฉบับว่า "factor"[14] ซึ่งหมายถึง ตัวแทน (agent) โดยทั่วไป หรือตัวแทนค้าต่าง (commission agent) ก็ได้
  • ปากน้ำ — ต้นฉบับว่า "mouth of the Menam"[14] ซึ่งหมายถึง ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
  • เปอเซียน, อ่าว — ได้แก่ อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf)
  • พระเจ้าเยมส์ที่ 2 — ได้แก่ พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (James II of England)
  • พระเจ้าหลุยที่ 14 — ได้แก่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (Louis XIV of France)
  • ฟอลกอน — ดู เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
  • ฟรานซิสเดเวนปอต — ต้นฉบับว่า "Francis Davenport"[13] ซึ่งอาจหมายถึง คริสโตเฟอร์ แดเวินพอร์ต (Christopher Davenport) นักบวชชาวอังกฤษ ฉายา แฟรนซิสแห่งเซนต์แคลร์ (Francis of Saint Clare)
  • เมรี, เรือ — อักษรโรมันว่า "Mary"[14]
  • ยอชไวต์, พ่อค้า — ได้แก่ จอร์จ ไวต์ (George White)
  • เยนัว, ชาติ — ได้แก่ เชื้อชาติ "Genoese"[15] คือ เชื้อชาติของเมืองเจโนวา (Genoa) ประเทศอิตาลี
  • เวนิศ, เมือง — ได้แก่ เวนิส (Venice) เมืองในประเทศอิตาลี
  • อังกฤษมาเกี่ยวข้องกับกรุงสยามครั้งโบราณ, ชื่อหนังสือ — ได้แก่ หนังสือ English intercourse with Siam in the seventeenth century ของ จอห์น แอนเดอร์สัน ดังระบุข้างต้น
  • อิงแคลนด์ — ได้แก่ ประเทศอังกฤษ (England)
  • โฮปเวล — อักษรโรมันว่า "Hopewell"[13]

เรื่องทูตานุทูตของสมเด็จพระนารายน์ออกไปกรุงฝรั่งเศสครั้งสุดท้าย, พระสารสาสน์พลขันธ์ (เยโรลาโม เอมิลิโอ เยรินี) แก้ไข

เรื่องทูตานุทูตของสมเด็จพระนารายน์ออกไปกรุงฝรั่งเศสครั้งสุดท้าย นี้ พระสารสาสน์พลขันธ์ (เยโรลาโม เอมิลิโอ เยรินี) ระบุว่า เรียบเรียงขึ้นจากเอกสารหลายฉบับ คือ "ข้างต้นได้แปลออกจากจดหมายเหตุของบาดหลวงตาชารด์ แต่ในตอนปลายนั้นได้แปลออกจากจดหมายเหตุภาษาอิตาลีอันได้ตีพิมพ์ ณ กรุงโรมในปีคริสต์ศักราช 1689 เป็นเนื้อความเพียง 8 หน้าเท่านั้น เป็นเรื่องหายากที่สุด ครั้งนี้ นับว่า เป็นการแปลเรื่องนี้เป็นครั้งแรก แต่ก่อนยังหามีผู้แปลหรือเรียบเรียงเรื่องราชทูตสำรับนี้ไม่"[17]

ในงานนี้ มีถ้อยคำที่วิกิซอร์ซอธิบายประกอบ ดังนี้

  • จิวิตา เวกเกีย, เมือง — ได้แก่ ชีวีตาเวกเกีย (Civitavecchia) เมืองในประเทศอิตาลี
  • จีโบ, มหาสังฆราช — อาจได้แก่ อัลเดราโน ชีโบ (Alderano Cybo) ดำรงตำแหน่งสมณรัฐมนตรี (Cardinal Secretary of State) แห่งสันตะสำนัก
  • เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ — ดู โฟกอง
  • ชิโบ — อาจเป็นบุคคลเดียวกับ จีโบ
  • ชีวิตเวกวียะ — ดู จิวิตา เวกเกีย
  • ชีวิตะเวกกิยะ — ดู จิวิตา เวกเกีย
  • ตาชาต, บาทหลวงและล่าม — ได้แก่ กี ตาชาร์ (Guy Tachard)
  • นน เกวริด แกว ซูอา ซูนต์ แปลว่า ไม่ได้ไถ่ถามว่าผู้ใด — จาภาษาละตินว่า "non quærit quæ sua sunt" แปลว่า "ไม่แสวงหาเพื่อตนเอง" (does not seek for oneself; seeks nothing for oneself; seeks not one's own) ส่วน พระคัมภีร์ภาษาไทย ฉบับคิงเจมส์ฯ ให้คำแปลว่า "ไม่แสวงหาประโยชน์ของตนเอง"[18]
  • บเรศต์, เมือง — ได้แก่ แบร็สต์ (Brest) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • บิชอบออฟเอลิออโปลิส — จากภาษาอังกฤษ "bishop of Heliopolis" ซึ่งหมายถึง "มุขนายกแห่งฮีลิออพอลิส" เป็นตำแหน่งสงฆ์
  • โปป — จากภาษาอังกฤษ "pope" หมายถึง พระสันตะปาปา, ในที่นี้ ได้แก่ พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 (Pope Innocent XI)
  • โปปอินนอเซนต์ที่ 11 — ดู โปป
  • พระราชวังณเมืองเวอร์ไซล์ — ได้แก่ พระราชวังแวร์ซาย (Palace of Versailles) ที่เมืองแวร์ซาย (Versailles) ในประเทศฝรั่งเศส
  • พระราชวังโปป — อาจได้แก่ พระราชวังพระสันตะปาปา (Apostolic Palace)
  • ฟอนเตนโปล, เมือง — ได้แก่ ฟงแตนโบล (Fontainebleau) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • โฟกอง — ได้แก่ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) บรรดาศักดิ์ไทยว่า เจ้าพระยาวิชาเยนทร์
  • มหาสังฆราช — อาจได้แก่ ตำแหน่งอัครมุขนายก (archbishop)
  • มองสิเออลาลูแปร์, ราชทูตฝรั่งเศส — ได้แก่ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de la Loubère)
  • มองสิเออร์เสเบเร, ราชทูตฝรั่งเศส — ได้แก่ โกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล (Claude Céberet du Boullay)
  • ไม่ได้ไถ่ถามว่าผู้ใด — ดู นน เกวริด แกว ซูอา ซูนต์
  • เยนูวา, เมือง — ได้แก่ เจโนวา (Genoa) เมืองในประเทศอิตาลี
  • รุเอ็น, เมือง — ได้แก่ รูอ็อง (Rouen) เมืองในประเทศฝรั่งเศส
  • โรงเรียนพระเจ้าลูอิสมหาราช — ได้แก่ ลีเซ ลวี-เลอ-กร็อง (Lycée Louis-le-Grand; แปลตรงตัวว่า "โรงเรียนหลุยส์มหาราช")
  • สมเด็จพระเจ้ากรุงฝรั่งกาแลเนาวะรามหาราชาธิราช
  • สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยามหาขัติยราช — ได้แก่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • สังฆราช — อาจได้แก่ ตำแหน่งมุขนายก (bishop)
  • แหลมเข็ม — ได้แก่ แหลมอะกัลลัส (Cape Agulhas; แปลตรงตัวว่า "แหลมเข็ม")
  • แหลมเคปออฟกุดโฮป — ได้แก่ แหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope)
  • ออกยาวิชาเยนทร์ — ดู โฟกอง
  • อินนอเซนต์ที่ 11 — ดู โปป
  • เอลิออโปลิส — ดู เฮลิโยโปลิส์
  • เฮลิโยโปลิส์ — จากภาษาอังกฤษ "Heliopolis", ในที่นี้หมายถึง ตำแหน่งมุขนายกแห่งฮีลิออพอลิส (bishop of Heliopolis)

เชิงอรรถ แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

บรรณานุกรม แก้ไข