ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
เจ้าภาพพิมพ์ในงานปลงศพ
คุณหญิงปฏิภาณพิเศษ (ลมุน อมาตยกุล)
ณวัดประยูรวงศาวาส
วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙
พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

คำนำ

ในงานปลงศพคุณหญิงปฏิภานพิเศษ (ลมุน อมาตยกุล) เจ้าภาพมีความประสงค์จะพิมพ์หนังสือที่เกื้อกูลการศึกษาประวัติศาสตร์สักเรื่องหนึ่งเป็นของสำหรับแจกในงาน ขอให้กรมศิลปากรเป็นธุระหาต้นฉบับ

กรมศิลปากรเลือกได้พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเป็นหนังสือที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของผู้ใฝ่ใจในทางประวัติศาสตร์ เมื่อเจ้าภาพได้รับเรื่องไปพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว ก็แสดงความพอใจ และตกลงรับพิมพ์ ดังปรากฏอยู่ในเล่มนี้

บรรดาพระราชพงศาวดารสยามความเก่า จับเรื่องตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ที่กรมศิลปากรมีต้นฉบับอยู่เวลานี้ ทั้งที่พิมพ์แล้วและยังมิได้พิมพ์ คือ

(๑)พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ มีบานแผนกบอกไว้ดังนี้

"ศุภมัสดุ ๑๐๔๒ ศก วอกนักษัตร ณวันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ทรงพระกรุณาโปรดเหนือเกล้าเหนือกระหม่อนสั่งว่า ให้เอากฎหมายเหตุของพระโหราเขียนไว้แต่ก่อน และกฎหมายเหตุซึ่งหาได้แต่หอหนังสือ แลเหตุซึ่งมีในพระราชพงศาวดารนั้น ให้คัดเข้าด้วยกันเป็นแห่งเดียว ให้ระดับศักราชกันมาคุงเท่าบัดนี้"

ได้ความว่า เป็นพระราชพงศาวดารที่สมเด็จพระนารายน์มีพระราชโองการให้เรีบเรียงเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๓ ความขึ้นต้นแต่แรกสถาปนาพระพุทธรูปพระเจ้าพะแนงเชิงเมื่อปีชวด จุลศักราช ๖๘๖ (พ.ศ. ๑๘๖๗) และแรกสร้างกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยาเมื่อปีขาลจุลศักราช ๗๑๒ (พ.ศ. ๑๘๙๗) สืบมาจนถึงปีมะโรง จ.ศ. ๙๖๖ (พ.ศ. ๒๑๔๗) ตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑

(๒)พระราชพงศาวดาร ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๓๖ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๑๗ เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ได้ปลีกมาเล่มเดียว เป็นฉบับหลวง เขียนครั้งกรุงธนบุรี ว่าด้วยเรื่องราวตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช พิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔ สำนวนรัดกุมและเก่าไล่เลี่ยกับฉะบับหลวงประเสริฐ

(๓)พระราชพงศาวดาร ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๔๕ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๒๖ เป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑) มี ๒ เล่ม เป็นฉบับปลีก ว่าด้วยเรื่องราวในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเล่มหนึ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเล่มหนึ่ง เข้าใจว่ายังไม่มีการชำระแก้ไขต่อเติมในคราวนั้น เพราะบางแห่งบอกไว้ชัดว่า ต้นฉบับขาดที่ตรงนั้นเท่านั้น แล้วปล่อยให้ขาดอยู่ตามฉบับเดิม เมื่อนำสอบกับฉะบับพันจันทนุมาศปรากฏว่า ฉะบับพันจันทนุมาศแต่งเติมที่ขาดนั้นแล้ว ฉบับจำลอง จ.ศ. ๑๑๔๕ นี้ ถึงจะมีไม่ครบบริบูรณ์ ก็เป็นหนังสือที่ดีในทางรักษารูปสำนวนเก่า แต่ยังไม่มีโอกาสพิมพ์ออกให้แพร่หลาย

(๔)พระราชพงศาวดาร ฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฉบับหมอบรัดเล เริ่มความตั้งแต่แรกสร้างกรุงเทพทราวดีศรีอยุธยา ต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร สุดความลงเพียง จ.ศ ๑๑๕๕ (พ.ศ. ๒๓๓๕) อันเป็นปีที่ ๑๑ ในรัชกาลที่ ๑ ไม่มีบานแผนกบอกว่า ำระหรือเรียบเรียงเมื่อไร เป็นแต่บอกไว้ที่ปกในเล่มต้นว่า "พระศรีสุนทรโวหารได้ช่วยชำระดูสอบบ้าง เห็นว่าถูกต้องอยู่แล้ว" จึงเป็นอันรู้ได้ว่า พงศาวดารฉะบับนี้ได้มีการชำระกันมาแล้วอย่างน้อยก็ครั้งเมื่อรัชกาลที่ ๔ ก่อนที่หมอบรัดเลจะได้นำมาลงพิมพ์

(๕)พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เริ่มความตั้งแต่แรกสถาปนากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร สุดความลง จ.ศ. ๑๑๕๒ (พ.ศ. ๒๓๓๓) ได้ความในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งมีพระราชทานไปให้เซอร์ยอนเบาริงที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงชำระพระราชพงศาวดารร่วมกับกรมหลวงวงศาราชสนิทตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นต้นมา (ดูพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔ รวมครั้งที่ ๔ หน้า ๑๖ หรือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๒ หน้า ๒๓๗) เข้าใจว่า การชำระครั้งนั้นคงจะได้ทรงกระทำมาถึงปีสุดรัชกาลรัชกาลของพระองค์ ซึ่งสำเร็จเป็นฉบับพระราชหัตถเลขา พิมพ์เมื่อ พ. ศ. ๒๔๔๕ นั้นแล้ว ที่จะเข้าใจดังนี้ก็เพราะมีคำว่า ภูษามาลา เป็นที่สังเกตอยู่แห่งหนึ่ง แต่ก่อนมาเรียกคำนั้นว่า มาลาภูษา ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ปีสุดท้ายของรัชกาลที่ ๔ ปรากฏในหมายรับสั่งต้นปีว่า มีพระบรมราชโองการห้ามมิให้เรียก มาลาภูษา ให้เปลี่ยนเรียกเป็น ภูษามาลา พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ก็ใช้คำว่า ภูษามาลา จึงสันนิษฐานว่า คงจะทรงชำระมาถึงปีสุดรัชกาลของพระองค์ แต่เสียดายที่ไม่มีบานแผนกบอกไว้ ชะรอยว่าการทรงชำระจะยังไม่สมบูรณ์ตามพระราชประสงค์ก็อาจเป็นได้

(๖)พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ข้อความโดยมากยุติกับกับฉบับหมอบรัดเลพิมพ์ เว้นแต่เรื่องในรัชกาลสมเด็จพระนารายน์ตอนปลายติดต่อมามีแปลกออกไปหลายแห่ง พิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘

(๗)พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) มีจำนวนสมุดไทยตามลำดับเป็น ๒๒ เล่ม ขาดในระหว่างบ้างบางเล่ม เริ่มต้นแต่แรกสถาปนากรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ต่อมาจนสุดรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พอเริ่มความตอนต้นกรุงรัตนโกสินทรก็หมดฉบับ แต่สังเกตได้ว่ายังไม่สุดเรื่อง ที่พิมพ์ในเล่มนี้เพียงตอนกรุงศรีอยุธยา ส่วนตอนกรุงธนบุรีหวังว่าจะได้พิมพ์ในโอกาสต่อไป

พระราชพงศาวดารฉบับนี้มีบานแผนกบอกไว้ว่า "ศุภมัสดุ ศักราช ๑๑๕๗ ปีเถาะ สัปตศก สมเด็จพระบรมธรรมิกมหาราชาธิราชพระเจ้าอยู่หัวผ่านถวัลราชณกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา เถลิงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทรงชำระพระราชพงศาวดาร" ดังนี้ จุลศักราช ๑๑๕๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๓๘ อันเป็นปีที่รัชกาลที่ ๑ โปรดให้ชำระพระราชพงศาวดารนับเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร

ยังมีข้อความตอนท้ายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ (หน้า ๓๗๘) กล่าวเป็นบานแผนกเพิ่มเติมไว้อีกว่า "เพียงนี้เรื่องพระเพทราชากับพระเจ้าเสือทำไว้แต่ก่อน บัดนี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้เจ้าพระยาพิพิธพิชัยกระทำเรื่องพระนารายน์เป็นเจ้า กับพระเพทราชา พระเจ้าเสือ พระบรมโกศ พระเจ้าพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ทำศักราชถัดกันไป"

ข้อความตรงนี้น่าจะหมายความว่า เรื่องที่ชำระเรียบเรียงไว้แต่ก่อนฉะเพาะตอนกรุงศรีอยุธยาสุดลงเพียงสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ แล้วมีพระบรมราชโองการให้ท่านเจ้าพระยาพิพิธพิชัยร้อยกรองเพิ่มเติมขึ้นอีก แต่มิได้เอาข้อความปรับปรุงเข้ากับที่แต่งไว้ก่อนนั้น คงให้แยกอยู่ต่างหาก การทำเช่นนี้ให้ความรู้ในทางตำนานการชำระเรียบเรียงพระราชพงศาวดารเป็นอย่างดี จะได้ทราบถ่องแท้ว่า เรื่องแต่ก่อนมีอยู่เพียงไหน แต่งเติมต่อมาอีกเท่าไร มิฉะนั้น จะหาทางสันนิษฐานให้ทราบใกล้ความจริงได้ยาก

หนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ มีข้อความแตกต่างจากฉบับหมอบรัดเลและฉบับพระราชหัตถเลขาหลายแห่ง แม้เพียงเท่าที่พิมพ์ตอนกรุงศรีอยุธยาออกมาให้แพร่หลายก็เป็นประโยชน์มากในทางสอบสวนค้นคว้าประวัติศาสตร์สยาม ซึ่งผู้ได้รับคงยินดีอนุโมทนาทั่วกัน

ในการพิมพ์ครั้งนี้มีเวลาจำกัด เพราะกระชั้นงานมาก เพียงแต่คัดถ่ายจากต้นฉบับสมุดไทย บางฉบับต้องเสียเวลาอ่านทบทวน ด้วยเหตุว่าตัวหนังสือลบเลื่อนอยู่มากแห่ง ฉบับหลวงที่อาศัยสอบทานก็มีไม่บริบูรณ์ จึงน่าจะมีการขาดตกบกพร่องอยู่บ้าง แต่กระนั้น ก็ได้พยายามที่จะให้เรียบร้อยเป็นอย่างดีที่สุด ได้สอบเรื่องที่ตรงกับฉบับหลวงประเสริฐ แล้วจดศักราชเทียบไว้เห็นที่ต่างกันเป็นด้วย

กรมศิลปากรขออนุโมทนากุศลธรรมิกพลีอันอุดมที่เจ้าภาพสร้างสมบำเพ็ญเพื่ออุทิศมนุญญานิสงส์อันพึ่งสำเร็จโดยฐานะสมควรแก่คุณหญิงปฏิภาณพิเศษ (ลมุน อมาตยกุล) เพิ่มพูนความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นในสัปรายภพเบื้องหน้าต่อไป.

กรมศิลปากร
วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ. ศ. ๒๔๗๙

ประวัติสังเขปคุณหญิงปฏิภาณพิเศษ

คุณหญิงปฏิภาณพิเศษ (ลมุน อมาตยกุล) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๑๓ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๒๘ เป็นบุตรีหลวงฤทธิ์อัคเณย์ (เอม เอมทัศ) และทัศ เอมทัศ เป็นมารดา บ้านเดิมอยู่ปากคลองดาวคนอง ครั้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้มาอยู่กินกับพระยาปฏิภาณพิเศษที่บ้านตำบลไปรษณีย์ หน้าวัดราชบุรณะ จังหวัดพระนคร เกิดบุตรธิดาด้วยกัน เป็นชาย ๗ คน หญิง ๔ คน ยังคงมีชีวิตอยูทั้ง ๑๑ คน คือ

  1. นายเอก อมาตยกุล
  2. นางทวี อมาตยกุล
  3. นายดาบ ตรี อมาตยกุล
  4. นายจัตวา อมาตยกุล
  5. นายเบญจะ อมาตยกุล
  6. นางฉัฏฐ์ อมาตยกุล
  7. นายสัปดาห์ อมาตยกุล
  8. นายอัฏฐ์ อมาตยกุล
  9. นายนพ อมาตยกุล
  10. นางสาวทัศรี อมาตยกุล
  11. นางสาวภาณี อมาตยกุล

คุณหญิงปฏิภาณพิเศษได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ ๔ ธันวาคม ครั้นถึงวันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ เวลา ๑ นาฬิกา ๕ นาฑี ได้ถึงแก่กรรมณที่บ้านตำบลไปรษณีย์ หน้าวัดราชบุรณะ จังหวัดพระนคร คำณวนอายุได้ ๕๐ ปีกับ ๗ เดือน

พระยาปฏิภาณพิเศษ
วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๙

ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ อายุ ๒๖ ปี

ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ อายุ ๓๗ ปี

ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ อายุ ๔๔ ปี

ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ อายุ ๔๘ ปี

ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ อายุ ๕๐ ปี

สารบาญ
หน้า
(๑) รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง)
เมืองขึ้นกรุงศรีอยุธยา ๑๖ เมือง
โปรดให้พระราเมศวรยกทัพไปปราบขอม
โปรดให้พระบรมราชายกทัพไปช่วยพระราเมศวร
สถาปนาวัดพุทไธศวรรย์
เกิดม้าและไก่ประหลาด
สถาปนาวัดป่าแก้ว
(๒) รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ครั้งที่ ๑
พระบรมราชาชิงราชสมบัติ
(๓) รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑
เสด็จไปเอาเมืองฝ่ายเหนือ
เสด็จไปเอาเมืองนครพังคาและเมืองแซรงเซรา
เสด็จไปเอาเมืองชากังราว ครั้งที่ ๑
แรกสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ
เสด็จไปเอาเมืองพิษณุโลก
เสด็จไปเอาเมืองชากังราว ครั้งที่ ๒
เสด็จไปเอาเมืองชากังราว ครั้งที่ ๓
หน้า
เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่
(๔) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทองลัน
สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
(๒) รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ครั้งที่ ๒
เสด็จเลียบพลขึ้นไปเชียงใหม่
ได้เมืองเชียงใหม่
สถาปนาวัดมหาธาตุ
ทำพระราชพิธีประเวศพระนคร ครั้งที่ ๑
พระยาละแวกลอบยกกองเข้ามากวาดเอาเมืองชลบุรีและจันทบุรี
เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพระยาละแวก
โปรดให้พระยาชัยณรงค์รั้งเมืองละแวก
ทำพิธีประเวศพระนคร ครั้งที่ ๒
(๕) รัชกาลสมเด็จพระยาราม
เจ้ามหาเสนาบดีคิดกบฎ
(๖) รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราช
โปรดให้สมเด็จพระยารามไปกินเมืองปทาคูจาม
เสด็จยกทัพหลวงไปเมืองพิษณุโลก
เจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาแย่งราชสมบัติกัน
(๗) รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒
สถาปนาวัดราชบุรณะ
หน้า ๑๐
ก่อพระเจดีย์ ๒ องค์ไว้ที่เชิงสะพานป่าถ่าน
๑๐
เสด็จไปเอาเมืองนครหลวง
๑๐
โปรดให้พระนครอินท์ราชโอรสครองเมืองนครหลวง
๑๐
สร้างวัดมเหยงคณ์
๑๐
พระราเมศวรราชโอรสเสด็จไปเมืองพิษณุโลก
๑๐
เพลิงไหม้พระราชมนเทียรสถาน
๑๑
เพลิงไหม้พระที่นั่งตรีมุข
๑๑
เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๑
๑๑
เสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒
๑๑
(๘) รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ยกวังทำเป็นวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
๑๑
สร้างพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท
๑๑
พระราชทานชื่อขุนนางตามตำแหน่งนา
๑๑
สถาปนาวัดพระราม
๑๒
แต่งทัพไปเอาเมืองมะละกา
๑๒
แต่งทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน
๑๒
ข้าวแพง
๑๒
หล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๕๐ พระชาติ
๑๒
พระยาเชลียงคิดกบฎ
๑๓
พระอินทราชาทรงชนช้างกับหมื่นนคร
หน้า ๑๓
สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี
๑๓
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพระผนวช
๑๓
ท้าวมหาบุญชิงเมืองเชียงใหม่
๑๔
เสด็จไปเมืองเชลียง
๑๔
แรกตั้งนครไทย
๑๔
พระราชทานให้อภิเศกพระยาซ้ายขวาเป็นพระยาล้านช้าง
๑๔
พระบรมราชาราชโอรสทรงพระผนวช
๑๕
ประดิษสถานพระราชโอรสในที่พระมหาอุปราช
๑๕
มหาราชท้าวลูกพิราลัย
๑๕
สมเด็จพระมหาอุปราชไปตีเมืองทะวาย
๑๕
เกิดโค, ไก่, ข้าวสารประหลาด
๑๕
แรกก่อกำแพงเมืองพิชัย
๑๕
(๙) รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
พระราชพิธีการเบญจเพส
๑๖
พระราชพิธีประถมกรรม
๑๖
แรกสร้างพระวิหารวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
๑๖
แรกหล่อพระศรีสรรเพ็ชญ์
๑๖
แรกทำตำราพิชัยสงคราม
๑๗
แรกทำสารบัญชีพระราชพิธีทุกเมือง
หน้า ๑๗
ชำระคลองศรีษะจรเข้และคลองทับนาง
๑๗
ขุดได้รูปเทพารักษ์ชื่อพระยาแสนตาและชื่อบาทสังขกร
๑๗
คนทอดบัตรสนเท่ห์ ขุนนางถูกฆ่ามาก
๑๗
ข้าวแพง
๑๗
ประดิษฐานพระราชโอรสในที่พระมหาอุปราช
๑๘
พระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก
๑๘
(๑๐) รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
(๑๑) รัชกาลสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร
(๑๒) รัชกาลสมเด็จพระชัยราชาธิราช
เสด็จไปเชียงไตรเชียงตราน
๑๘
เสด็จยกทัพหลวงไปปราบเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๑
๑๙
เพลิงไหม้ในพระนคร
๑๙
เสด็จยกทัพหลวงไปปราบเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒
๑๙
พระเทียรราชาทรงผนวช
๒๐
(๑๓) รัชกาลสมเด็จพระยอดฟ้า
(๑๔) รัชกาลขุนวรวงศาธิราช
ขุนพิเรนทรเทพกับพวกคิดการกบฎ
๒๓
(๑๕) รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช
ครั้งที่ ๑
ตั้งขุนพิเรนทรเทพเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองเมืองพระพิษณุโลก
หน้า ๒๙
ตั้งขุนอินทรเทพเป็นเจ้าพระยาศรียาธรรมโศกราช
๒๙
ตั้งหลวงศรียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนาบดี
๓๐
ตั้งหมื่นราชเสน่หาเป็นเจ้าพระยามหาเทพ
๓๐
ตั้งหมื่นราชเสน่หานอกราชการเป็นเจ้าพระยาภักดีนุชิต
๓๐
ศึกหงสาวดี ครั้งที่ ๑ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาเหยียบชานพระนคร
๓๑
พระยาละแวกยกทัพมากวาดครัวเมืองปราจินบุรี
๓๒
ซ่อมแซมกำแพงพระนคร
๓๒
สถาปนาวัดวังชัย
๓๒
พระราชพิธีประถมกรรม
๓๓
เสด็จยกทัพหลวงไปปราบเขมร
๓๓
พระยาละแวกถวายนักพระสุโท นักพระสุทัน เป็นพระราชบุตรบุญธรรม
๓๔
นักพระสุทันครองเมืองสวรรคโลก
๓๔
แปลงเรือแซ่เป็นเรือชัยแลเรือศีรษะสัตว์ต่าง ๆ
๓๕
พระราชพิธีมัธยม
๓๕
เมืองละแวกเสียแก่ญวน
๓๕
พระองค์สวรรคโลกยกทัพไปกู้เมืองละแวก
หน้า ๓๖
เสียพระองค์สวรรคโลกกับคอช้าง
๓๖
พระราชพิธีอาจริยาภิเษก
๓๖
พระราชพิธีอินทราภิเษก
๓๖
ศึกหงสาวดี ครั้งที่ ๒ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาติดพระนคร
๓๗
มหาดาวัดภูเขาทองศึกออกรับขุดคูตั้งค่ายกันทัพเรือ
๓๘
สมเด็จพระศรีสุริโยทัยขาดคอช้าง
๔๒
พระเจ้าหงสาวดีเลิกทัพไปทางเมืองเหนือ
๔๙
สมเด็จพระมหาธรรมราชาหลีกพ้นทางทัพพะม่า
๕๐
พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชตัดท้ายพลทัพพระเจ้าหงสาวดี
๕๑
กองทัพพระเจ้าหงสาวดีจับได้พระราเมศวรแลพระมหินทราธิราช
๕๑
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิให้ข้าหลวงขึ้นไปขอพระราเมศวรแลพระมหินทราธิราช
๕๒
พระเจ้าหงสาวดีขอช้างพลาย ๒ ช้าง
๕๓
สถาปนาวัดศพสวรรค์
๕๔
ตั้งบ้านท่าจีนเป็นเมืองสาครบุรี
๕๕
ตั้งบ้านตลาดขวัญเป็นเมืองนนทบุรี
๕๕
ตั้งเมืองนครชัยศรี
๕๕
รื้อกำแพงเมืองลพบุรี, นครนายก, สุพรรณบุรี
หน้า ๕๕
พระศรีสินกบฎ
๕๕
ฆ่าขุนนางที่เข้ากับพระศรีสินเป็นอันมาก
๕๗
มีช้างเผือก ๗ ช้าง
๕๗
พระเจ้าหงสาวดีขอช้างเผือก ๒ ช้าง
๕๘
กรุงศรีอยุธยาไม่ให้ช้างเผือก
๕๙
ศึกหงสาวดี ครั้งที่ ๓ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาเมืองพระพิษณุโลก
๖๑
สมเด็จพระมหาธรรมราชาออกสวามิภักดิ์พระเจ้าหงสาวดี
๖๑
พระยาพิชัยรณฤทธิ พระยาวิชิตรณรงค์ ยกทัพไปช่วยเมืองเหนือไม่ทัน
๖๕
พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพเรือลงเรือลงมาบรรจบทัพพะม่า
ที่เมืองนครสวรรค์
๖๖
ทัพหงสาวดีติดพระนคร
๖๗
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยอมออกเป็นไมตรี
๖๙
ทัพหงสาวดีกลับทางเหนือ
๗๑
พระยาตานีกบฎ
๗๑
พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตแต่งทูตมาขอพระเทพกษัตรีย์ราชธิดา
๗๑
พระเจ้าหงสาวดีแต่งให้กองทหารมาสะกัดชิงพระเทพกษัตรีย์
๗๕
(๑๖) รัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราช ครั้งที่ ๑
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิประทับวังหลัง
หน้า ๗๕
บุรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเมืองลพบุรี
๗๖
เมืองเหนือทั้งปวงเป็นสิทธิแก่พระมหาธรรมราชา
๗๖
พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตยกทัพมารบเมืองพระพิษณุโลก
๗๗
ทัพกรุงศรีอยุธยายกขึ้นไปช่วยเมืองพระพิษณุโลก
๗๗
พระมหาธรรมราชาระแวงทัพกรุงศรีอยุธยา
๗๗
พระมหาธรรมราชาให้ปล่อยแพไฟเผากองทัพเรือกรุงศรีอยุธยา
๗๘
กรุงหงสาวดีให้พระยาภุกามและพระยาเสือหาญยกกองทัพมาช่วยเมืองพระพิษณุโลก
๗๙
ทัพกรุงศรีอยุธยาถอยกลับคืน
๗๙
ทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตล่าคืนไป
๗๙
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงพระผนวช
๘๐
พระมหาธรรมราชาขอให้พระยารามไปเป็นเจ้าเมืองพิชัย
๘๑
(๑๕) รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช
ครั้งที่ ๒
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิลาพระผนวช
หน้า ๘๒
พระมหาธรรมราชาพาพระนเศร์ไปกรุงหงสาวดี
๘๒
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จขึ้นไปรับพระวิสุทธิกษัตรีย์กับพระเอกาทศรฐลงมาณกรุง
๘๓
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิให้พระยารามแต่งการป้องกันพระนคร
๘๔
ศึกหงสาวดี ครั้งที่ ๔ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาติดพระนคร
๘๕
พระมหาธรรมราชาเข้าสมทบทัพพระเจ้าหงสาวดี
๘๖
กรุงศรีอยุธยาขอให้กรุงศรีสัตนาคนหุตยกทัพมาช่วย
๘๙
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคต
๙๐
(๑๖) รัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราช ครั้งที่ ๒
พระมหาธรรมราชาลวงให้ส่งพระยารามออกไป
๙๖
พระธรรมมาเป็นใส้ศึกอยู่ในกรุงฯ
๙๙
พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตยกทัพมาช่วยกรุงศรีอยุธยา
๑๐๑
พระมหาอุปราชราชายกกองไปซุ่มโจมตีทัพกรุงศรีสัตนาคนหุตแตก
หน้า ๑๐๒
พระมหาธรรมราชาให้พระยาจักรีไปเป็นใส้ศึกในกรุง
๑๐๓
พระยาจักรีทำการทรยศต่อชาติไทย
๑๐๔
เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พระเจ้าหงสาวดี
๑๐๕
พระเจ้าหงสาวดีราชาภิเษกพระมหาธรรมราชา
๑๐๗
(๑๗) รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
พระราชนามาภิไธย
๑๐๗
พระเจ้าหงสาวดียกทัพกลับไปทางเมืองกำแพงเพ็ชร
๑๐๘
สมเด็จพระมหินทราธิราชสวรรคต
๑๐๘
ศึกเขมร ครั้งที่ ๑ พระยาละแวกยกกองมาปล้นพระนคร
๑๐๙
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชป้องกันพระนคร
๑๑๑
พระยาละแวกปล้นกรุงไม่สำเร็จ ยกกองกลับคืนไป
๑๑๑
พระนเรศวรเสด็จขึ้นไปครองเมืองพระพิษณุโลก
๑๑๒
พระเจ้าหงสาวดียกทัพไปรบกรุงศรีสัตนาคนหุต เกณฑ์ให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชไปในกองทัพด้วย
๑๑๒
ศึกเขมร ครั้งที่ ๒ พระยาละแวกยกกองมาปล้นพระนคร
๑๑๓
พระยาละแวกปล้นกรุงไม่สำเร็จ ยกกองกลับคืนไป
๑๑๔
ศึกเขมร ครั้งที่ ๓ พระยาละแวกให้กองเรือมาปล้นเมืองเพ็ชรบุรี
หน้า ๑๑๔
พระยาจีนจันตุขุนนางเขมรมาสวามิภักดิ
๑๑๕
พระยาจีนจันตุคิดลอบหนีกลับออกไป
๑๑๕
พระเจ้าหงสาวดีสวรรคต มังเอิงราชบุตรได้เสวยราชสืบสันตติวงค์
๑๑๖
เมืองรุม เมืองคัง แข็งเมืองต่อกรุงหงสาวดี
๑๑๖
พระนเรศวรยกทัพไปช่วยปราบเมืองรุม เมืองคัง
๑๑๖
พระนเรศวรจับเจ้าเมืองรุม เมืองคัง ได้
๑๑๘
พระนเรศวรเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา
๑๑๙
ขยายกำแพงพระนคร แต่งป้อม และขุดคูขื่อหน้า
๑๒๐
เกิดกบฎญาณพิเชียร
๑๒๐
ศึกเขมร ครั้งที่ ๔ พระยาละแวกยกกองเรือมาปล้นเมืองเพ็ชรบุรี
๑๒๐
ศึกเขมร ครั้งที่ ๕ พระยาละแวกให้กองทหารลาดเข้ามาในภาคตะวันออก
๑๒๒
พระนเรศวรแต่งทัพขับไล่กองทหารเขมรแตกกลับไป
๑๒๓
พระเจ้าหงสาวดีให้นันทสูกับราชสงครามมาอพยพหัวเมืองฝ่ายเหนือเพื่อตัดกำลังกรุงศรีอยุธยา
๑๒๓
พระเจ้าหงสาวดีอ้างว่าเมืองอังวะเป็นกบฎ ขอให้พระนเรศวรยกทัพไปช่วย
๑๒๔
พระนเรศวรยกทัพไปช่วยกรุงหงสาวดี
หน้า ๑๒๔
ไทยใหญ่อพยพหนีพะม่าไปเมืองพระพิษณุโลก
๑๒๕
พระนเศวรเสด็จเมืองแครง
๑๒๖
พระมหหาเถรคันฉองพาพระยาเกียรติ พระยาพระราม มาเฝ้าพระนเรศวร แล้วทูลเล่าเปิดเผยราชการลับของกรุงหงสาวดี
๑๒๖
พระนเรศวรประกาศอิศระภาพของไทย
๑๒๗
พระนเรศวรทรงพระแสงปืนนกสับยิงข้ามแม่น้ำสะโตงถูกสุระกำมานายกกองพะม่าตาย
๑๒๙
นันทสูกับราชสงครามเลิกครัวเมืองกำแพงเพ็ชรอพยพไปกรุงหงสาวดี
๑๓๑
พระนเรศวรเสด็จยกทัพตามตีนันทสูกับราชสงคราม
๑๓๑
พระยาชัยบูรณ์ชนช้างกับนันทสู ขุนพศรีชนช้างกับราชสงคราม
๑๓๒
นันทสูกับราชสงครามแตกหนีไป
๑๓๒
พระยาพิชัยและพระยาสวรรคโลกแข็งเมือง
๑๓๒
พระนเรศวรเสด็จยกทัพจากเชียงทองไปเมืองสุโขทัยเพื่อปราบพระยาพิชัยและพระยาสวรรคโลก
๑๓๓
ประหารชีวิตพระยาพิชัยและพระยาสวรรคโลก
๑๓๕
พระนเรศวรเสด็จกลับเมืองพระพิษณุโลก
๑๓๕
พระเจ้าหงสาวดีเตรียมทัพ
๑๓๖
พระยาละแวกแต่งทูตมาขอเจริญพระราชไมตรี
หน้า ๑๓๖
เทครัวอพยพชาวเมืองเหนือลงมาณกรุง
๑๓๘
พระนเรศวรเสด็จจากเมืองพระพิษณุโลกลงมาประทับณกรุงฯ
๑๓๘
ศึกหุงสาวดี ครั้งที่ ๑ พระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาทางเมืองกำแพงเพ็ชร ให้พระยาพะสิมยกทัพมาทางเมืองกาญจนบุรี
๑๔๐
ทัพเรือพระยาจักรีไปเมืองสุพรรณบุรี ตีทัพพระยาพะสิมถอยไปตั้งมั่นณเขาพระยาแมน
๑๔๐
พระนเรศวรแลพระเอกาทศรฐเสด็จยกทัพไปถึงสามขนอน โปรดให้พระยาสุโขทัยเป็นนายกองยกไปตีทัพพระยาพะสิมแตกหนีกลับไปสิ้น
๑๔๐
พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมายังนครสวรรค์
๑๔๑
พระเทพมนูตีทัพหน้าเชียงใหม่ถอย ทัพเชียงใหม่เลิกกลับไป
๑๔๒
แต่งข้าหลวงไปกำหนดแดนกับเขมร
๑๔๓
ศึกหงสาวดี ครั้งที่ ๒ พระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาทางนครสวรรค์
๑๔๔
พระยาละแวกให้พระศรีสุพรรณมาธิราชยกทัพมาช่วย
๑๔๕
พระเจ้าเชียงใหม่เคลื่อนทัพลงมาตั้งมั่นที่ตำบลสระเกษ
๑๔๖
พระเจ้าหงสาวดีให้พระมหาอุปราชาคุมพลมาตั้งทำนาเมืองกำแพงเพ็ชร
หน้า ๑๔๖
พระนเรศวรกับพระเอกาทศรฐตีทัพพระเจ้าเชียงใหม่แตกกลับไป
๑๔๗
ศึกหงสาวดี ครั้งที่ ๓ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาทางเชียงทอง ตั้งมั่นที่ขนอนปากคู
๑๕๖
พระนเรศวรกับพระเอกาทศรฐออกตีทัพหงสาวดี
๑๕๘
พระเจ้าหงสาวดีถอยทัพไปตั้งปากโมกใหญ่
๑๖๐
พระนเรศวรกับพระเอกาทศรฐตามไปตีทัพหงสาวดีที่ปากโมกใหญ่
๑๖๐
พระเจ้าหงสาวดีเลิกทัพกลับไป
๑๖๑
ศึกเขมร ครั้งที่ ๖ พระเจ้าละแวกให้กองทัพจู่มาตีหัวเมืองตะวันออก
๑๖๑
พระยาศรีไสยณรงค์ยกไปตีทัพเขมรแตกยับเยิน
๑๖๒
ศึกหงสาวดี ครั้งที่ ๔ พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาทางกำแพงเพ็ชร ตั้งมั่นที่บางปะหัน
๑๖๒
พระนเรศวรปีนค่ายหงสาวดี
๑๖๔
พระเจ้าหงสาวดีเลิกทัพกลับไป
๑๖๕
สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสวรรคต
๑๖๕
(๑๘) รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ศึกพระเจ้าหงสาวดี ครั้งที่ ๑ พระเจ้าหงสาวดีให้พระมหาอุปราชยกทัพมาทางพระเจดีย์สามองค์
หน้า ๑๖๖
ทัพไทยกออกไปขัดรับหน้าศึกที่ทุ่งหนองสาหร่าย
๑๗๐
สมเด็จพระนเศวรมหาราชทรงชนช้างชะนะพระมหาอุปราชา
๑๗๘
ทัพหงสาวดีแตกยับเยิน
๑๘๐
โปรดให้ก่อพระเจดียฐานสวมศพพระมหาอุปราชาที่ตำบลตะพังตรุ
๑๘๑
ปรึกษาโทษนายทัพนายกองที่โดยเสด็จไม่ทันในงานพระราชสงคราม
๑๘๒
สมเด็จพระพนรัตนป่าแก้วขอพระราชทานโทษนายทัพนายกอง
๑๘๒
โปรดให้พระยาจักรียกทัพไปตีเมืองตะนาวศรี ให้พระยาพระคลังไปตีเมืองทะวาย
๑๘๕
กลับตั้งหัวเมืองฝ่ายเหนือ
๑๘๕
พระเจ้าเชียงใหม่แต่งทูตมาขอสวามิภักดิ์
๑๘๗
พระเจ้าเชียงใหม่ขอกำลังขึ้นไปช่วยป้องกันทัพล้านช้าง
๑๘๙
โปรดให้พระยาราชฤทธานนท์ยกทัพขึ้นไปช่วยเชียงใหม่
๑๘๙
พระยาจักรีตีเมืองตะนาวศรีแตก
หน้า ๑๙๐
พระยาพระคลังตีเมืองทะวายแตก
๑๙๑
โปรดให้พระยาศรีไสยณรงค์รั้งเมืองตะนาวศรี
๑๙๓
พระยาจักรีให้ก่อพระเจดีย์ที่พรมแดนระหว่างไทยกับทะวายต่อกัน
๑๙๔
เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพระเจ้าละแวก
๑๙๕
สำเร็จโทษพระยาละแวกผู้ต้นเหตุทำให้เขมรและไทยเดือดร้อน
๒๑๖
ทรงชุบเลี้ยงชาวเขมร
๒๑๘
พระยาศรีไสยณรงค์เจ้าเมืองตะนาวศรีแข็งเมือง
๒๑๘
โปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรฐเสด็จไปปราบพระยาศรีไสยณรงค์
๒๑๙
ประหารชีวิตพระยาศรีไสยณรงค์
๒๒๒
โปรดให้พระยาราชฤทธานนท์เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรี เมืองเมาะสำเลิงสวามิภักดิ์
๒๒๒
เจ้าฟ้าแสนหวีมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
๒๒๓
พระยาละแวก (ใหม่) สวามิภักดิ์
๒๒๓
โปรดให้เจ้าพระยาจักรียกทัพไปตั้งมั่นสะสมสะเบียง
ที่เมืองเมาะลำเลิง
๒๒๗
เมืองเมาะตะมะ, เมืองละเคิ่ง, เมืองขลิก, เมืองบัวเผื่อน, เมืองพะสิม, เมืองตองอู, สวามิภักดิ์
๒๒๗
พระมหาเถรเสียมเพรียมยุให้พระเจ้าตองอูคิดการใหญ่
หน้า ๒๒๘
พระเจ้าตองอูมีหนังสือขู่เมืองต่าง ๆ ที่สวามิภักดิ์ต่อไทย
๒๓๒
เมืองต่าง ๆ ที่ขอสวามิภักดิแล้วกลับเป็นปรปักษ์ต่อไทย
๒๓๒
พระยาพะโรอพยพชาวเมืองเมาะลำเลิงยกหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ
๒๓๓
เสด็จยกทัพหลวงไปเมืองเมาะเลิง
๒๓๖
พระเจ้าหงสาวดีประชวร ให้พระเจ้าตองอูยกทัพไปช่วยป้องกันกรุงหงสาวดี
๒๓๘
พระเจ้าตองอูยกทัพไปตั้งอยู่นอกกรุงหงสาวดี
๒๔๐
ทัพหลวงเสด็จจากเมืองเมาะลำเลิงไปปราบเมืองเมาะตะมะ
๒๔๒
ทัพหลวงเสด็จจากเมืองเมาะตะมะไปปราบกรุงหงสาวดี
๒๔๔
พระเจ้าตองอูเผากรุงหงสาวดี แล้วพาพระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอู
๒๔๔
ทัพหลวงเสด็จจากกรุงหงสาวดีไปเหยียบเมืองตองอู
๒๔๕
ขาดสะเบียงและเกิดความไข้ ทัพหลวงถอยจากเมืองตองอู
๒๕๒
โปรดให้สมเด็จพระเอกาทศรฐเสด็จขึ้นไประงับการวิวาทระหว่างหัวเมืองขึ้นกับพระเจ้าเชียงใหม่
หน้า ๒๕๒
โปรดให้เจ้าแสนหวีไปครองเมืองแสนหวี
๒๕๘
เขมรขอพระศรีสุพรรณมาธิราชออกไปครองเมือง
๒๖๗
พระยาออนคิดกบฎต่อกรุงกัมพูชา
๒๖๗
เขมรขอกำลังไปช่วยต่อสู้พระยาออน
๒๖๗
โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระมหาธรรมราชายกทัพไปช่วยเขมร
๒๖๘
ทัพพระยาออนแตกกระจาย
๒๖๘
สมเด็จพระเอกาทศรฐเสด็จประพาสเมืองพระพิษณุโลก
๒๖๘
เสือร้ายในเมืองพระพิษณุโลก
๒๖๘
สมโภชพระชินราช พระชินศรี
๒๖๙
เสด็จประพาสเมืองเพ็ชรบุรีถึงสามร้อยยอด
๒๗๐
เตรียมทัพหลวงจะไปปราบอังวะ
๒๗๑
เสด็จพระราชดำเนินทัพหลวงไปทางเชียงใหม่
๒๗๒
เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธสิหิงค์ในเมืองเชียงใหม่
๒๗๓
ทัพหลวงเสด็จไปทางเมืองหางหลวง
๒๗๓
สมเด็จพระเอกาทศรฐเสด็จไปเมืองฝาง
๒๗๓
สมเด็จพระนรศวรมหาราชทรงพระประชวรหนัก
๒๗๓
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวรรคต
๒๗๓
(๑๙) รัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรฐ
บรมราชาภิเษกสมเด็จพระเอกาทศรฐ
หน้า ๒๗๔
อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชลงมาณกรุง
๒๗๕
เมืองไทรบุรีให้ทูตนำเครื่องบรรณาการมาถวาย
๒๗๖
พระราชพิธีสงครามาภิเษก
๒๗๗
พระราชพิธีประเวสพระนคร
๒๗๘
ปราบดาภิเษก
๒๗๘
พระบรมนามาภิไชย
๒๗๙
สถานาวัดพระวรเชษฐารามมหาวิหาร
๒๘๐
สร้างพระไตรปิฎกและหอพระสัทธรรม
๒๘๐
ถวายเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๒๘๐
พระยาตองอูแต่งหนังสืออำพรางหัวเมืองขึ้นกรุงหงสาวดี
๒๘๑
พระเจ้าหงสาวดีถูกวางยาพิษสวรรคต
๒๘๓
พระยาตองอูแต่งราชทูตมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
๒๘๔
พระยาล้านช้างแต่งราชทูตมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
๒๘๖
สถาปนาพระที่นั่งอรรณพ
๒๘๖
พระราชพิธีอาศวยุช
๒๘๗
สถาปนาพระพุทธรูปฉลองพระองค์
๒๘๘
พระราชพิธีไล่เรือ
๒๘๙
ตั้งพระราชกำหนกฎหมายพระอัยการ
หน้า ๒๙๑
พระมหาอุปราชเสวยยาพิษทิวงคต
๒๙๑
(๒๐) รัชกาลสมเด็จพระศรีเสาวภาค
พระพิมลธรรม์อนันตปรีชาวัดระฆังเป็นกบฎ
๒๙๒
สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
๒๙๒
(๒๑) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
ยี่ปุ่นคุมพวกจะยกเข้าประทุษร้ายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
๒๙๓
พระมหาอำมาตย์คุมพลไร่รบยี่ปุ่นแตกหนีไป แล้วได้เลื่อนที่เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์
๒๙๓
ชักพระมงคลบพิตร์จากฝ่ายตะวันออกไปไว้ฝ่ายตะวันตก
๒๙๔
เมืองตะนาวศรีเสียแก่พะม่า
๒๙๔
พรานบุนพบรอยพระพุทธบาท
๒๙๔
โปรดให้สถาปนามณฑปสวมพระพุทธบาท
๒๙๕
แปลงปัถวีเรือชัยเป็นเรือกิ่ง
๒๙๕
ทรงพระราชนิพนธ์มหาชาติคำหลวง
๒๙๖
สร้างพระไตรปิฎก
๒๙๖
(๒๒) รัชกาลสมเด็จพระเชษฐาธิราช
พระพันปีศรีสินราชอนุชาต้องหาว่าจะกบฎ
๒๙๖
เจ้าพระยากลาโหสุริยวงศ์คิดกบฎ
๒๙๗
สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
๓๐๐
(๒๓) รัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์
มุขมนตรีเชิญให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ขึ้นครองราชย์
หน้า ๓๐๐
ลดต่ำสมเด็จพระอาทิตยวงศ์
๓๐๑
๓๐๑
สถาปนาพระอนุชาเป็นพระศรีสุธรรมราชา
๓๐๓
สถาปนาวัดชัยวัฒนาราม
๓๐๓
โปรดให้ช่างไปถ่ายอย่างพระนครหลวงมาสร้างที่ริมวัดเทพจันทร์
๓๐๓
สร้างพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนตมหาปราสาท
๓๐๔
สมภพพระนารายณ์ราชกุมาร
๓๐๕
สถาปนาวัดชุมพลนิกายาราม
๓๐๕
โสกันต์เจ้าฟ้าชัย
๓๐๕
สมภพพระราชบุตร ๓ องค์
๓๐๖
โปรดให้สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ไปประทับเรือนเสาไม้ไผ่ริมวัดท่าทราย
๓๐๖
เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาท
๓๐๖
คนตื่นเอาตำราคุณไสยทิ้งน้ำ
๓๑๐
โปรดให้ขยายกำแกงพระราชวัง
๓๑๐
สร้างพระมหาปราสาทพระวิหารสมเด็จ
๓๑๐
อสุนีลงต้องหลักชัย แต่ไม่ต้องพระนารายน์ราชกุมาร
หน้า ๓๑๐
สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ยกพวกเข้าปล้นพระราชวัง
๓๑๑
จับพวกสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ได้ ให้ประหารชีวิต
๓๑๑
พระราชพิธีลบศักราช
๓๑๑
อสุนีลงต้องหน้าบัน แต่ไม่ต้องพระนารายน์ราชกุมาร
๓๑๗
เกิดเพลิงในพระราชวัง
๓๑๘
(๒๕) รัชกาลสมเด็จเจ้าฟ้าชัย
พระนารายณ์ราชกุมารกับพระศรีสุธรรมราชาคิดกบฎ
๓๒๐
สำเร็จโทษสมเด็จพระจ้าแผ่นดิน
๓๒๐
(๒๖) รัชกาลสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาธิราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาอุปราชคิดกบฎ
๓๒๑
เกิดศึกกลางเมือง
๓๒๒
สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
๓๒๕
(๒๗) รัชกาลสมเด็จพระนารายน์
ปราบดาภิเษก
๓๒๖
พระบรมนามาภิไธย
๓๒๖
ลดส่วยษาอากร ๓ ปี
๓๒๗
กำจัดพระไตรภูวนาทิตยวงศ์และพระองค์ทอง
๓๒๘
หล่อเทวรูป
๓๔๐
พระราชพิธีเบญจาพิศ
๓๔๑
พระราชพิธีบัญชีพรหม
หน้า ๓๔๓
ได้ช้างพังเผือกเมืองศรีสวัสดิ์
๓๔๓
หล่อพระพุทธรูปและเทวรูป
๓๔๕
เขมรอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
๓๔๖
ต่างประเทศถวายบรรณาการ
๓๔๘
พระเจ้าเชียงใหม่ขอกำลังไปช่วยต่อสู้ฮ่อ
๓๔๙
เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองพิษณุโลก
๓๕๐
เสด็จพระราชดำเนินไปเมืองสุโขทัย
๓๕๓
ละว้าสวามิภักดิ์
๓๕๓
มอญอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
๓๕๗
พระเจ้าอังวะให้มังสุระราชเป็นแม่ทัพยกออกตามจับกองมอญอพยพ
๓๕๘
โปรดให้พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เป็นแม่ทัพยกไปขับไล่กองทัพพะม่า
๓๖๑
กองทัพพะม่าแตกยับเยิน
๓๖๒
ต้นฉบับขาด ๒ สมุด
๓๖๓
สมเด็จพระนารายน์สวรรคต
๓๖๔
(๒๘) รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา
พระบรมนามาภิไธย
๓๖๔
สถาปนาวัดบรมพุทธาราม
๓๖๖
พระยายมราช (สังข์) แข็งเมืองนครราชสีมา
หน้า ๓๖๗
โปรดให้พระยาเดโชยกทัพไปปราบนครราชสีมา
๓๖๗
พระยายมราช (สังข์) หนีไปซ่องสุมชาวเมืองนครศรีธรรมราชแข็งเมือง
๓๖๘
โปรดให้พระยาเดโชยกทัพไปปราบเมืองนครราชสีมา
๓๖๘
พระยายมราช (สังข์) ตายในที่รบ
๓๖๘
สถาปนาและฉลองวัดพระยาแมน
๓๖๘
ธรรมเถียรข้าหลวงเดิมเจ้าพระขวัญคิดกบฎ
๓๖๙
ปราบกบฎธรรมเถียร
๓๖๙
(๒๙) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ
ได้ช้างเนียม
๓๗๑
เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาท
๓๗๒
พระราชจริยาที่เป็นเหตุให้ถวายพระนามว่าพระเจ้าเสือ
๓๗๗
บานแผนกใหม่บอกเรื่องเจ้าพระยาพิพิธพิชัยแต่งพระราชพงศาวดารต่อตั้งแต่ปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายน์จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พะม่า
๓๗๘
(๒๗) รัชกาลสมเด็จพระนารายน์
พระเพทราชากับหลวงสรศักดิ์คิดกบฎ ลอบให้สำเร็จโทษเจ้าฟ้าอภัยทศราชอนุชา
๓๗๘
สมเด็จพระนารายน์สวรรคต
หน้า ๓๗๙
(๒๘) รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา
สำเร็จโทษกรมพระราชวังหลังและเจ้าพระยาสุรสงคราม
๓๘๑
สมภพเจ้าตรัสน้อย
๓๘๒
ราชทูตไทยกลับจากประเทศฝรั่งเศส
๓๘๓
ได้ช้างเผือกเมืองสวรรคตโลก
๓๘๓
สถาปนาวัดบรมพุทธาราม
๓๘๔
กรุงกัมพูชาธิบดีถวายช้างเผือก
๓๘๔
สถาปนาวัดพระยาแมน
๓๘๕
ธรรมเถียรคิดกบฎ
๓๘๕
ปราบพวกกบฎธรรมเถียร
๓๘๗
เกิดกบฎที่เมืองนครราชสีมา
๓๘๘
ทัพกรุงยกไปปราบพวกกบฎ
๓๘๘
พระเจ้ากรุงศรีสันตนาคนหุตขอกองทัพไปช่วยต่อสู้เมืองหลวงพระบาง
๓๘๙
โปรดให้พระยานครราชสีมาเป็นแม่ทัพยกไปช่วยกรุงศรีสัตนาคนหุต
๓๙๐
พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตถวายราชธิดา
๓๙๑
โสกันต์เจ้าฟ้าตรัสน้อย
๓๙๑
(๒๙) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเสือ
สถาปนาวัดโพทับช้าง
หน้า ๓๙๓
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์สมคบกับสำเร็จโทษเจ้าฟ้าตรัสน้อย
๓๙๔
เพลิงไหม้มณฑปพระวิหารสุมงคลบพิตร
๓๙๔
ทรงตั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
๓๙๕
(๓๐) รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ
สำเร็จโทษพระองค์ดำ
๓๙๕
สมเด็จพระอัยกีเจ้ากรมพระเทพามาตย์สวรรคต
๓๙๖
เขมรฝักฝ่ายข้างญวน ทัพกรุงยกไปปราบ
๓๙๗
ขุดตัดคลองโคกขามให้ตรง
๓๙๘
ต่อกำปั่นบรรทุกช้างออกไปขายต่างประเทศ ๔๐ ช้าง
๓๙๙
กรมหลวงโยธาทิพทิวงคต
๓๙๙
ชะลอพระพุทธไสยาศน์วัดป่าโมกเลื่อนเข้าไปวัดตลาด
๔๐๐
มีพระราชโองการให้เจ้าฟ้าอภัยเสวยราชสมบัติ
๔๐๓
(๓๑) รัชกาลสมเด็จเจ้าฟ้าอภัย
กรมพระราชวังบวรคิดกบฎ
๔๐๓
เกิดศึกกลางเมือง
๔๐๓
สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
๔๐๔
(๓๒) รัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ
ตั้งข้าราชการและพระราชวงศ์
หน้า ๔๐๔
ล้อมช้างแขวงเมืองลพบุรี
๔๐๖
จีนนายไก้ยกพวกเข้าปล้นพระราชวังหลวง
๔๐๗
กรุงกัมพูชาธิบดีถวายช้างพังเผือก
๔๐๘
กรมหลวงโยธาเทพทิวงคต
๔๐๙
สมโภชพระพุทธบาท
๔๑๐
สมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี
๔๑๐
สมโภชพระสารีริกบรมธาตุเมืองสวางคบุรี
๔๑๐
ทรงตั้งกรมขุนเสนาพิทักษ์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
๔๑๑
ปฏิสังขรณ์วัดพระราม
๔๑๑
ได้ช้างเนียมเมืองไชยา
๔๑๒
มอญหงสาวดีแข็งเมืองต่อพะม่า ยกสมิงทอขึ้นเป็นกษัตริย์
๔๑๒
กรุงรัตนบุระอังวะแต่งราชทูตมาเจริญทางพระราชไมตรี
๔๑๒
ปฏิสังขรณ์วัดภูเขาทอง
๔๑๓
พระยาพระรามและพระยากลางเมืองพรรคพวกสมิงทอแตกหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมพาร
๔๑๔
ตำบลบางสะพานเกิดที่ร่อนทอง
๔๑๕
สมโภชพระพุทธบาท
หน้า ๔๑๕
สมิงทอแตกหนีเข้ามาทางเมืองตาก
๔๑๕
เขมรฝักฝ่ายข้างญวน ทัพกรุงยกออกไปปราบ
๔๑๖
เจ้าพระยาชำนาญบุรีรักษ์ถึงอสัญญกรรม
๔๑๖
ล้อมช้างป่าแขวงเมืองลพบุรี
๔๑๖
กรมพระยาราชวังบวรต้องรับพระราชอาชญาจนทิวงคต
๔๑๗
ได้ช้างเนียมเมืองนครชัยศรี
๔๑๙
ทรงตั้งกรมขุนพรพินิจเป็นกรมพระราชวังบวร
๔๒๐
สมโภชพระพุทธบาท
๔๒๐
สำเร็จโทษเจ้าสามกรม
๔๒๒
(๓๓) รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
(๓๔) รัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
กรมพระเทพามาตย์สวรรคต
๔๒๓
เนรเทศกรมหมื่นเทพพิพิธออกไปไว้เกาะลังกา
๔๒๔
พะม่ายกทัพมาตีเมืองมฤท เมืองตะนาวศรี
๔๒๔
พะม่ายกทัพมาประชิดกรุง
๔๒๖
พะม่าถอยทัพ พระเจ้าอังวะสวรรคตกลางทาง
๔๒๗
มอญที่เขานางบวชคิดกบฎ
๔๒๘
ปราบมอญเขานางบวช
๔๒๘
เมืองเชียงใหม่ขอกองทัพไปช่วยต่อสู้พะม่า
๔๒๘
โปรดให้พระยาพิษณุโลกยกทัพขึ้นไปช่วยเชียงใหม่ พอกองทัพไปบ้านระแหงก็ได้ข่าวว่าเชียงใหม่เสียแก่พะม่าแล้ว
หน้า ๔๒๘
หุยตองจาแข็งเมืองทะวายต่อพะม่า
๔๒๙
กรมหมื่นเทพพิพิธออกจากลังกามาอยู่เมืองมฤท โปรดให้รับมาไว้เมืองตะนาวศรีมีข้าหลวงกำกับ
๔๒๙
สมโภชพระพุทธบาท
๔๒๙
เตรียมป้องกันพระนคร
๔๒๙
พะม่ายกทัพมาตีเมืองทะวาย เมืองมฤท เมืองตะนาวศรี เมืองเพ็ชรบุรี เมืองราชบุรี
๔๓๐
พระยาพิษณุโลกลาพักหน้าที่ขึ้นไปปลงศพมารดา
๔๓๑
โปสุพลาแม่ทัพพะม่ายกมาแต่เมืองเชียงใหม่ตีเข้ามาทางด่านสวรรคโลก
๔๓๑
ชาวเมืองลำพูนไม่ช่วยพะม่ารบกรุง
๔๓๒
พ่อค้าอังกฤษช่วยรบพะม่า
๔๓๒
บ้านระจันตั้งค่ายสู้พะม่า
๔๓๓
ค่ายบ้านระจันแตก
๔๓๔
กรมหมื่นเทพพิพิธอพยพชาวหัวเมืองตะวันออกเข้าตั้งมั่นในปราจินบุรี
๔๓๔
พะม่ายกทัพเรือไปตีปราจินบุรีแตก
๔๓๔
กรมหมื่นเทพพิพิธและพระยารัตนาธิเบศรหนีไปอยู่ในแขวงเมืองนครราชสีมา
หน้า ๔๓๔
กองทัพพะม่ายกเข้าล้อมกรุง
๔๓๕
กองทัพเมืองแพร่ไม่ช่วยพะม่ารบกรุง
๔๓๕
เกิดเพลิงไหม้ลุกลามในกรุง
๔๓๖
โจรผู้ร้ายชุกชุมและคนอดโซมาก
๔๓๖
กองทัพพะม่าเข้ากรุงได้
๔๓๗
กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พะม่าณวันอังคาร เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุร นพศก จ.ศ. ๑๑๒๙ พ.ศ. ๒๓๑๐
๔๓๗

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก