แม่แบบผิดพลาด: มีการลบช่องที่ไม่ได้ใช้ออก โปรดเติมกลับเข้าไป (โปรดดูเอกสารกำกับแม่แบบ)
หน้า ๗๘-๗๙

สารบัญโคลง



๑๑.

มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ
ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ ชิวฺหา สูปรสํ ยถา[ก]
โลกนีติ ร., ธรรมนีติ ร., สุตวัฑฒนนีติ ร.


ก. คนใดใจฉลาดด้วย ปัญญา
ฟังนักปราชญ์จรรจา ทั่วผู้
แจ้งธรรมบัดเดี๋ยวมา พลับซาบ ใจนา
ดุจดั่งลิ้นอันรู้ ทราบด้วยรสแกง
สำนวนเก่า


ข. กษณเดียวชนผู้ว่อง ไวญาณ ยอดแฮ
เสพปราชญ์ผู้อาจารย์ บอกสิ้น
เรียนธรรมะสืบสาร สรรพศาสตร์
เร็วยิ่งเร็วดุจลิ้น เร่งรู้รสแกง
สำนวนเก่า


ค. ผู้เชื้อชาติว่องไว ปรีชา
เสพปราชญ์ธรรมศึกษา รวดรู้
ใดโดยประสงค์อา รมณ์อื่น นะพ่อ
ชิวหะรับรสรู้ ทราบสิ้นดุจกัน
สำนวนเก่า


ง. ผู้ใดใจฉลาดล้ำ ปัญญา
ได้สดับปราชญ์เจรจา อาจรู้
ยินคำบัดเดี๋ยวมา ซับซาบ[ข] ใจนา
คือมลิ้นคนผู้ ทราบรู้รสแกง
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร



เชิงอรรถ

แก้ไข

คาถาหมายเลข ๑๑ เดิมไม่ปรากฏที่มา ได้อ้างตาม โลกนีติ ร., ธรรมนีติ ร., สุตวัฑฒนนีติ ร. ซึ่งมีคาถาตรงกัน แต่เขียนต่างไปบ้าง คือ

ขิปฺปํ – สุตวัฑฒนนีติ ร., กรมศิลปากร (๒๕๓๙) ใช้ โส เว

ซับซาบ – สอนอ่าน (ร.ศ. ๑๒๖, ๒๔๖๕, ๒๔๗๕) ใช้ ซับทราบ; วัดพระเชตุพน (๒๕๑๗), นิยะดา (๒๕๓๘) ใช้ ทรับทราบ; อักขราภิธานศรับท์ (ค.ศ. ๑๘๗๓) ให้ความหมายของคำ "ทราบ" ไว้ว่า "ซึม, รู้, อาการที่ซึมอาบไปไม่ค้างอยู่ได้นั้น" ในที่นี้ ใช้ตามปัจจุบันซึ่งแยก "ทราบ" หมายความว่า "รู้"และ "ซาบ" ใช้กับคำว่า ซึมซาบ ซาบซึ้ง ซาบซ่าน

บทอธิบายศัพท์

แก้ไข
  • กษณ – ชั่วครู่ ครั้ง คราว
  • มลิ้น – ลิ้น




๑๐. คนพาลยังไป่รู้ ชาญชิด ขึ้น ๑๒. หมูเห็นสีหราชร้อง ชวนรบ