ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166 พิมพ์ตามฉะบับหลวงตรา 3 ดวง/เล่ม 1/ส่วนที่ 1

ประกาศพระราชปรารภ[1]

ศุภมัสดุ ๑๑๖๖ มุสิกะสังวัจฉะระมาฆะมาศ ศุกะปักษยปาฎิบท[2] ดฤษถีคุรุวาระ บริเฉทะกาลกำหนด พระบาทสมเดจ์พระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทรธรนินทราธิราช รัตนากาศภาศกระวงษองคบรมาธิเบศ ตรีภูวเนศวรนารถนายกดิลกรัตนราชชาติอาชาวะไศรยสมุทยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยทราธิบดินทรหริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอักขนิตฤทธิฤทธีราเมศวรธรรม์มิกราชาธิราชเดโชไชยะพรหมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศโลกะเชษฐวิสุทธิมกุฎประเทศคะตามหาพุทธางกูร บรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว อันเสดจ์ปราบดาภิเศกผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย เสดจ์ออกพระธี่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราชสุริวงษพงษพฤฒาโหราจารย เฝ้าเบี้องบาทบงกชมาศ จึ่งเจ้าพญาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตรพิพิทวรวงษ[3] พงษภักตยาธิเบศวราธิบดี ศรีรัตนราชโกษาธิบดีอภัยพีรียบรากรมภาหุ กราบบังคมทูลพระกรรุณาด้วยข้อความนายบุญศรี[4] ช่างเหลกหลวงร้องทุกข[5] ราชกล่าวโทษ พระเกษม
นายราชาอรรถ
ใจความว่า อำแดงป้อม ภรรยานายบุญศรี ฟ้องหย่านายบุญศรี ๆ ให้การแก่พระเกษมว่าอำแดงป้อมนอกใจทำชู้ด้วยนายราชาอรรถแล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี ๆ ไม่หย่า พระเกษมหาพิจารณาตามคำให้การนายบุญศรีไม่พระเกษมพูดจาแพละโลมอำแดงป้อม แลพิจารณาไม่เปน สัจ
ธรรม
เข้าด้วยอำแดงป้อม แล้วคัดข้อความมาให้ลูกขุนสานหลวงปฤกษา ๆ ว่า เปนหญิงหย่าชาย ให้อำแดงป้อมกับนายบุญศรีขาดจากผัวเมียกันตามกฎหมาย จึ่งทรงพระกรรุณาตรัสว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่าชาย ลูกขุนปฤกษาให้หย่ากันนั้นหาเปน ยุติ
ธรรม
ไม่ จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่ง ให้เจ้าพญาพระคลังเอากฎหมายณสานหลวงมาสอบกับฉบับ หอหลวง
ข้างที่
ได้ความว่า ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่า เปนหญิงหย่าชาย หย่าได้ ถูกต้องกันทังสามฉบับ จึ่งมีพระราชโองการมานพระบันทูลสูรสิงหนาทดำรัสว่า ฝ่ายพุทธจักรนั้น พระไตรยปิฎกแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์อันสมเดจ์พระพุทธิเจ้าทรงพระมหากรรุณาประดิษฐานไว้ต่างพระองคได้เปนหลักโลกยสั่งสอนบรรพชิตบริษัษยแลฆราวาศบริษัษยได้ประฏิบัดิ[6] รู้ซึ่งทางศุคติภูมแลทุคติภูม แลพระไตรยปิฎกธรรมนั้นฟั่นเฟีอนวิปริตผิดเพี้ยนไปเปนอันมาก ยากที่จะเล่าเรียนเปนอายุศมพระพุทธสาศนาสืบไป ก็ได้อาราธนาประชุมเชีญพระราชาคณะทังปวง มีสมเดจ์พระสังฆราชแลพระธรรมอุดมพระพุทธโฆษาจารยเปนประธาน ฝ่ายราชบัณฑิตยนั้น พญาธรรมปรีชาเปนต้น ให้ทำสังคายนายชำระพระไตรยปิฎกสอบใส่ด้วยอรรฐกะถาฎีกาให้ถูกต้องตามพระพุทธบัญหญัติ พระไตรยปิฎกจึ่งค่อยถูกถ้วนผ่องใสขึ้นได้ เปนที่เล่าเรียนง่ายใจแก่กลบุตรสืบไปภายหน้า ก็เปนพุทธการกธรรมกองการกุศลอันประเสริฐแล้ว แลฝ่ายข้างอาณาจักรนี้ กระษัตรผู้จดำรงแผ่นดินนั้นอาไศรยซึ่งโบราณราชนิติกฎหมายพระอายการอันกระษัตรแต่ก่อนบัญหญัติไว้ได้เปนบันทัดถาน จึ่งพิภากษาตราสีนเนี้อความราษฎรทังปวงได้โดยยุติธรรม แลพระราชกำหนดบทพระอายการนั้นก็ฟั่นเฟีอนวิปริตผิดซ้ำต่างกันไปเปนอันมาก ด้วยคนอันโลภหลงหาความลอายแก่บาปมิได้ ดัดแปลงแต่งตามชอบใจไว้พิภากษาภาให้เสียยุติธรรมสำหรับแผ่นดินไปก็มีบ้าง จึ่งทรงพระกรรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดข้าทูลลอองทุลีพระบาทที่มีสะติปัญญา ได้

อาลักษณ ขุนสุนทรโวหารผู้ว่าที่พระอาลักษณ ๑๑ คน[7]
ขุนสาระประเสรีฐ
ขุนวิเชียรอักษร
ขุนวิจิตรอักษร
ลูกขุน ขุนหลวงพระไกรสี
พระราชพินิจใจราชบหลัด[8]
หลวงอัถยา
ราชบัณฑิตย พระมหาวิชาธรรม
ขุนศรีวรโวหาร
นายพิม
นายด่อนบาเรียน[9]

ชำระ[10] พระราชกำหนดบทพระอายการอันมีอยู่ในหอหลวงตั้งแต่พระธรรมสาตรไป ให้ถูกถ้วนตามบาฬี แลเนี้อความมิให้ผิดเพี้ยนซ้ำกันได้ จัดเปนหมวดเปนเหล่าเข้าไว้ แล้วทรงพระอุสาหทรงชำระดัดแปลงซึ่งบทอันวิปลาดนั้นให้ชอบโดยยุติธรรมไว้ ด้วยพระไทยทรงพระมหากรรุณาคุณจให้เปนประโยชน์แก่กระษัตรอันจดำรงแผ่นดินไปในภายหน้าครั้นชำระแล้ว ให้อาลักษณชุบเส้นมึก[11] สามฉบับ ไว้ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง ไว้หอหลวงฉบับหนึ่ง ไว้ณสานหลวงสำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง ปิดตรา พระราชสีห
พระคชสีห
บัวแก้ว
ทุกเล่มเปนสำคัญ ถ้าพระ เกษม
ไกรสี
เชีญพระสมุดพระราชกำหนดบทพระอายการออกมาพิภากษากิจคดีใดใด ลูกขุนทังปวงไม่เหนปิดตรา พระราชสีห
พระคชสีห
บัวแก้ว
สามดวงนี้ใซ้[12] อย่าให้เชื่อฟังเอาเปนอันขาดทีเดียว


  1. ประกาศพระราชปรารภนี้ปรากฎมีอยู่ในหน้าต้นแห่งฉะบับหลวงทุกฉะบับ เว้นแต่ฉะบับใดมีตัวบทกฎหมายยืดยาวซึ่งต้องเขียนเป็นหลายเล่มต่อ ๆ กันแล้ว ประกาศนี้จึ่งเขียนฉะเพาะในตอนต้นแห่งเล่มที่ ๑ แต่เล่มเดียว ณ ที่นี้พิมพ์ตามต้นฉะบับหลวง L1 คือ ตามฉะบับที่มีพระธรรมสาตรเขียนไว้ด้วย
  2. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ปาฎิบท" เป็น "ปาฏิบท" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  3. บางฉะบับว่า พิพิธวงษ หรือ พิพิทธวรวงษ
  4. บางฉะบับเขียนว่า บุญสี
  5. ต้นฉะบับเขียนว่า ทุคราช ฉะบับอื่นว่า ทุกขราช บ้าง ทุกคราช บ้าง
  6. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ประฏิบัดิ" เป็น "ประฏิบัดิ" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  7. บางฉะบับว่า เข้ากัน ๑๑ คน
  8. บางฉะบับว่า ราชรักษาบลัด
  9. บางฉะบับว่า บเรียน
  10. บางฉะบับว่า ให้ชำระ
  11. บางฉะบับว่า หมึก
  12. มีใบบอกแก้คำผิดให้แก้ "ใซ้" เป็น "ไซ้" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)