พระธรรมอิสยาห์ หรือ หนังสืออิสยาห์ (Book of Isaias)
หรือเรียกย่อว่า อิสยาห์ (Isaias) ใช้อักษรย่อว่า "อสย"
เป็นคัมภีร์ลำดับที่ 29 (โรมันคาทอลิก) หรือ 23 (โปรเตสแตนต์) ในพระคริสตธรรม ภาคพันธสัญญาเดิม
และเป็นลำดับแรก ในหมวดประกาศกใหญ่
พระธรรมอิสยาห์ มีทั้งหมด 66 บท เนื้อหาว่าด้วยคำพยากรณ์
อาจสรุปแบ่งเนื้อหาออกโดยมี 2 วิธี
วิธีแรก แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ การล่มสลาย กับ ฟื้นฟู และ
อีกวิธี แบ่งเป็น 3 ช่วง ตามโครงสร้างรูปศัพท์สำนวนที่บ่งชี้ (มุมมองฉันทามติทางวิชาการตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 20)
ในที่นี้ประยุกต์ดัดแปลงจากทั้ง 2 วิธี
- การลงโทษประชาชาติบาป (เพราะบาปที่ประพฤติผิดทรยศพระเจ้า ต้องรับความทุกข์ยากลำบาก ชาวยิวตีความถึง จุดจบยุครุ่งเรือง ถูกยึดแผ่นดิน ตกเป็นทาส, ชาวคริสต์ตีความนัยเพิ่มถึง ความไร้สันติสุขของประชาโลก)
- บทที่ 1 – 39 เรียกกันว่า อิสยาห์ส่วนดั้งเดิม (Proto-Isaiah หรือ First Isaiah) ประกอบด้วย ผลงานดั้งเดิมเขียนโดยอิสยาห์
- บทที่ 1 - 12 ว่าด้วย การตักเตือนและทำนายบทพิพากษาต่อชาวยิวเอง ส่วนใหญ่มาจากช่วงต้นของชีวิตอิสยาห์
- บทที่ 13 - 27 ว่าด้วย คำทำนายบทพิพากษาต่อดินแดนอื่นเป็นส่วนใหญ่
- บทที่ 13 - 23 ส่วนใหญ่มาจากช่วงวัยกลางคนของอิสยาห์
- บทที่ 24 - 27 เรียกกันว่า คำทำนายวันสิ้นโลกของอิสยาห์ (Isaiah Apocalypse) (อาจถูกเพิ่มเติมภายหลัง)
ว่าด้วย คำทำนายการมาถึงของพระเมสสิยาห์ ผู้ดำรงความยุติธรรมและความชอบธรรม (ชาวคริสต์ตีความถึงพระเยซู)
- บทที่ 28 - 39 ว่าด้วย คำทำนายสัพเพเหระ
- บทที่ 28 - 33 ส่วนใหญ่มาจากคณะสงฆ์รุ่นต่อมาของอิสยาห์
- บทที่ 34 - 35 นิมิตเกี่ยวกับศิโยน (อาจถูกเพิ่มเติมภายหลัง)
- บทที่ 36 - 39 ชีวประวัติของอิสยาห์ (บางส่วนมาจาก หนังสือพงศ์กษัตริย์)
- คัมภีร์แห่งการปลอบประโลม (พระเจ้าจะทรงฟื้นฟูภายหลังเพราะพันธสัญญา ชาวยิวตีความถึง การกอบกู้ประชาชาติยิว และการปลอบโยนผู้ชอบธรรม, ชาวคริสต์ตีความนัยเพิ่มถึง การเสด็จมาไถ่บาปของพระเยซู นำสันติสู่ประชาโลก)
- บทที่ 40 – 55 เรียกกันว่า อิสยาห์ส่วนที่สอง (Deutero-Isaiah หรือ Second Isaiah) ประกอบด้วย รวมผลงานของผู้แต่งนิรนาม
- บทที่ 40 - 54
- บทที่ 40 - 48 เน้น อิสราเอล
- บทที่ 49 - 54 เน้น ศิโยนและเยรูซาเล็ม
- บทที่ 55 – 66 เรียกกันว่า อิสยาห์ส่วนที่สาม (Trito-Isaiah หรือ Third Isaiah) ประกอบด้วย กวีนิพนธ์สิบสองตอน
- บทที่ 55 - 66
- รวมผลงานคำพยากรณ์ โดยผู้เผยพระวจนะนิรนาม ในช่วงไม่กี่ปีหลังจากชาวยิวได้เป็นไทจากบาบิโลน
- แนะนำบทที่มีอิทธิพลทางวัฒนธรรม
บทที่ 6 |
ทรงเรียกอิสยาห์ให้เป็นผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า
|
บทที่ 4 |
กล่าวถึง โลกแห่งสันติ ใช้เป็นคำขวัญพันธกิจอย่างไม่เป็นทางการของสหประชาชาติ และจารึกใต้อนุสาวรีย์ในเมืองนิวยอร์กใกล้สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ
|
บทที่ 24 - 26 |
อาณาจักรของพระเมสไซยาห์
|
บทที่ 36 - 39 |
กษัตริย์เฮเซคียาห์
|
บทที่ 40 - 47 |
ปลดปล่อยชาวยิวและฟื้นฟูชนอิสราเอลเป็นรัฐประชาชาติเดียวบนแผ่นดินพันธสัญญา *
|
บทที่ 42 |
(เพลงของผู้รับใช้ โคลงแรก) การเลือกผู้รับใช้จากพระเจ้าเพื่อเป็นผู้นำความยุติธรรมสู่โลก
|
บทที่ 44 - 46 |
อิสราเอลเป็นชนชาติที่ได้รับเลือก และพระเยโฮวาห์จะทรงแสดงฤทธานุภาพเหนือพระเจ้าอื่น
|
บทที่ 49 |
(เพลงของผู้รับใช้ โคลงที่สอง) ความรับผิดชอบของผู้รับใช้ต่อการทรงเรียกเพื่อนำประชาชาติ
|
บทที่ 50 |
(เพลงของผู้รับใช้ โคลงที่สาม) ผู้รับใช้ต้องผ่านการถูกกล่าวร้ายและทำร้าย
|
บทที่ 52 |
การเสด็จมาของพระเยซูคริสต์
|
บทที่ 53 |
(เพลงของผู้รับใช้ โคลงที่สี่) ผู้รับใช้ (พระเยซูคริสต์) รับการการทรมาน และได้รับการยกขึ้น *
|
บทที่ 52 - 56 |
ความรุ่งเรืองของอิสราเอล ในอนาคต
|
บทที่ 65 - 66 |
การพิพากษาผู้สักการะรูปเคารพ และข่าวแห่งความหวังของผู้ชอบธรรม
|