พระราชบัญญัติลักษณพยาน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๓/๒๔๓๗.๐๒.๑๗
สารบัญ
แก้ไข- ๔ คนชนิดใดเปนพยานได้แลไม่ได้
- ๕ อ้างคนใบ้เปนพยาน
- ๖ โจทย์จำเลยอ้างกันเปนพยานได้ ฤๅอ้างบิดามารดาสามีภรรยาบุตรญาติ แลคนอื่น ๆ เปนพยานได้
- ๗ ผู้พิพากษาฤๅตระลาการไม่จำเปนต้องให้การเปนพยานในบางเรื่อง
- ๘ ห้ามมิให้พยานให้การเกี่ยวข้องด้วยข้อราชการแผ่นดินซึ่งยังไม่ได้เปิดเผย
- ๙ โจทย์จำเลยจะอ้างพยานฝ่ายละมากน้อยเท่าใดได้ ไม่มีกำหนดห้าม
- ๑๐ วิธีสืบพยาน ๓ ประการ
- ๑๐ เดินผเชิญสืบ
- ๑๐ เรียกพยานสืบในศาล
- ๑๐ ส่งประเดนไปสืบ
- ๑๐ ศาลมีอำนาจเต็มในการเลือกสืบประการใดประการหนึ่ง
- ๑๑ พยานขัดขืนไม่ยอมสาบาลฤๅไม่ยอมเบิกความ ให้ปรับตามมาตรา ๕๑
- ๑๒ พยานหลบตัวเสียไม่ให้ สืบถึง ๓ ครั้ง จะออกหมายจับ ฤๅจะนำความขึ้นเสนอเสนาบดีก็ได้
- ๑๓ พยานคนใดรู้หมายเรียกให้มาเบิกความในศาล แล้วขัดขืนเสียไม่มาตามกำหนด ก็ให้ลงโทษโดยโทษานุโทษ
- ๑๔ อ้างพระสงฆ์สามเณร ให้ไปเดินผเชิญสืบ ถ้าไม่ยอมให้การ ก็ไม่ต้องสืบต่อไป
- ๑๕ อ้างนักบวชถือสาสนาต่าง ๆ ให้สืบเหมือนฆราวาศ
- ๑๖ ว่าด้วยนักการถือหมายไปให้พยาน ถ้าพยานไม่รับ ให้ทิ้งหมายให้ต่อหน้าอำเภอ ฤๅสารวัดแขวง นายพลตระเวร
- ๑๗ พยานไม่มาศาลตามนัด ให้ปรับตามมาตรา ๔๘
- ๑๘ ถ้าพยานมีเหตุขัดข้องจะมาศาลตามนัดไม่ได้ ก็ต้องมาแจ้งความแก่ศาลเสียก่อน
- ๑๘ ศาลให้ไปชันสูตรอาการพยานได้ ถ้าไม่เจ็บป่วยให้ออกหมายนัดซ้ำอิก
- ๑๙ ผู้อ้างต้องเสียค่าหมายค่าธรรมเนียมพยานตามอัตรา
- ๒๐ ถ้าผู้อ้างพยานสาบาลตัวได้ว่าตนไม่มีทรัพย์ราคาเกินกว่า ๖๐ บาท ขึ้นไป ไม่ต้องเรียกค่าธรรมเนียมพยาน
- ๒๑ อ้างคนต่างประเทศมาเปนพยาน
- ๒๒ หนังสือชนิดใดควรอ้างเปนตัวพยานได้
- ๒๒ ถ้าผู้มิได้อ้างไม่รับว่าหนังสือนั้นถูกต้อง ก็ให้ผู้อ้างสืบพยานอื่นมาประกอบได้
- ๒๓ ศาลหมายเรียกบุคคลฤๅเจ้าพนักงานให้นำเอาหนังสือซึ่งต้องอ้างนั้นมา ให้สืบในศาล
- ๒๔ โจทย์จำเลยอ้างหนังสือซึ่งคู่ความข้างหนึ่งรักษาไว้ ผู้ใดขัดบังคับศาลไม่ส่งหนังสือมาให้สืบ ศาลตัดสินกดคดีเปนแพ้ฤๅอย่างอื่นที่สมควรได้
- ๒๕ ถ้าจะนำต้นฉบับหนังสือมาสืบไม่ได้ ก็ให้สืบสำเนา ฤๅสืบผู้รู้ข้อความในหนังสือประกอบกัน
- ๒๖ ข้อหาข้อใดจำเลยรับถูกต้องแล้ว ไม่ต้องสืบพยานต่อไป ฟังได้
- ๒๖ ถ้าโจทย์มีคำร้องให้ศาลตัดสินในข้อหาซึ่งรับกันแล้ว ให้จำเลยมีคำโต้แย้งได้
- ๒๖ ศาลจะตัดสินฤๅไม่ตัดสินก่อนก็ได้ สุดแต่ศาลเห็นสมควร
- ๒๗ ข้อใดในคำฟ้องแลคำให้การเปนความทุ่มเถียงกันด้วยบทกฎหมาย ก็ให้คัดลงในคำชี้สองสถาน ให้เรียกว่า ข้อประเดนควรหาฤๅบท
- ๒๗ ศาลจะตัดสินทีเดียวฤๅงดไว้ก่อนก็ได้ สุดแล้วแต่จะเห็นสมควร
- ๒๘ ข้อใดในฟ้องแลคำให้การซึ่งมิรับกันนั้น ให้คัดลงในคำชี้สองสถาน ให้เรียกว่า ข้อประเดนควรสืบพยานเอาความจริง
- ๒๘ ถ้าข้อประเดนซึ่งกะลงในคำชี้สองสถานนั้นยังบกพร่องอยู่ ให้โจทย์แลจำเลยชี้แจง แลร้องจะให้ศาลแก้เสียได้
- ๒๙ กำหนดนัดสืบพยาน เมื่อนัดแล้ว ฝ่ายใดจะขอเลื่อน ต้องเสียค่าธรรมเนียมแทนฝ่ายผู้ไม่ได้ขอเลื่อนวัน
- ๓๐ ถึงวันนัดสืบแล้วฝ่ายใดป่วยไข้จริงต้องให้คนมาแจ้งความต่อศาล ผู้มาแจ้งความต้องสาบาลตัวด้วย
- ๓๐ ถ้าผู้บอกป่วยมิใช่ตัวความเปนแต่ทนายฤๅผู้ว่าต่าง ศาลมีอำนาจบังคับให้ตัวความมาว่าความเอง ฤๅเปลี่ยนทนายฤๅผู้ว่าต่างใหม่
- ๓๑ โจทย์จำเลยต้องระบุชื่อพยานต่อศาล ศาลจะได้ออกหมายเรียก
- ๓๒ ถึงวันนัดสืบ ฝ่ายโจทย์ฤๅจำเลยขาดนัด ให้ศาลบังคับตัดสินได้ตามสมควร
- ๓๓ พยานต้องสาบาลตามสาสนาซึ่งตนนับถือ
- ๓๓ ฤๅจะทำคำปฏิญาณแทนสาบาลก็ได้
- ๓๔ คำพยานใช้ภาษาไทย ศาลต้องเปนธุระหาล่ามมาแปล
- ๓๕ ผู้อ้างต้องเสียค่าธรรมเนียมให้เจ้าพนักงานล่ามผู้แปลคำพยานของตน
- ๓๖ ข้อความที่จะถามพยาน ๗ ประการ ก่อนถามประเด็นข้ออ้าง
- ๓๗ ศาลซักถาม พยานให้เบิกความตามประเด็นข้ออ้างจนสิ้นกระแสความ
- ๓๗ แล้วผู้อ้างจะขอให้ถามอิกศาลจะถามให้ฤๅไม่ ก็สุดแล้วแต่เห็นสมควร
- ๓๗ ถ้าศาลไม่ถาม ต้องจดหมายบันทึกไว้จงทุกคราว
- ๓๘ ให้ผู้ซึ่งมิได้อ้างพยานกะข้อค้านถามพยานโดยสถานใด
- ๓๘ พยานต้องให้การตอบข้อค้านตามคำบังคับของศาล
- ๓๘ ข้อค้านนอกประเด็น พยานไม่ต้องตอบ เว้นแต่ศาลบังคับ จึ่งตอบ
- ๓๙ ห้ามมิให้เอาข้อค้านอันเปนคำหยาบช้าถามพยาน
- ๓๙ เว้นแต่เปนข้อถามในประเด็นข้อสืบโดยแท้
- ๔๐ ให้ผู้อ้างพยานกะข้อติงถามพยานโดยสถานใด
- ๔๑ เมื่อพยานให้การแล้ว ศาลมีอำนาจจะถามอิกได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง
- ๔๒ โจทย์ฤๅจำเลยจะพิสูทธ์ต่อพยานซึ่งตนมิได้อ้าง ๓ ประการ
- ๔๓ โจทย์จำเลยจะถามข้อค้านข้อติงเองก็ได้ ไม่ต้องให้ศาลถาม
- ๔๔ กำหนดให้ฟ้องพยานแต่ในสามเดือน แลไม่ให้ฟ้องเปนความแพ่ง
- ๔๗ โทษลเมิดอำนาจเจ้าพนักงาน ๔ ประการ
- ๔๘ โทษไม่ทำการตามน่าที่อันมีในกฎหมาย
- ๔๙ โทษไม่นำ ไม่พา ไม่ให้ข้อความตามที่บังคับไว้ในกฎหมาย
- ๕๐ โทษไม่ช่วยข้าราชการตามน่าที่บังคับไว้ในกฎหมาย
- ๕๑ โทษขัดขืนไม่ทำตามกฎหมายท่านบังคับไว้
- ๕๒ โทษบอกแจ้งความด้วยคำเท็จต่อเจ้าพนักงาน
- ๕๓ โทษแจ้งความเท็จต่อข้าราชการ ด้วยประสงค์จะชักให้ข้าราชการใช้อำนาจผิดกฎหมาย
- ๕๔ โทษบอกแจ้งความเท็จในเวลาที่สาบาลตัวแล้ว
- ๕๕ โทษขัดขวางไม่ทำตามคำสั่งคำบังคับข้าราชการ
- ๕๖ โทษขัดขวางต่อสู้ข้าราชการผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
- ๕๗ โทษขัดคำสั่งคำบังคับคำตัดสินของข้าราชการ
- ๕๘ โทษขู่เข็ญข้าราชการ
- ๕๙ โทษขู่เข็ญผู้อื่นไม่ให้ฟ้องร้อง
- ๖๐ อำพรางคำพยาน
- ๖๑ กระทำพยานเท็จ
- ๖๒ โทษอำพรางคำพยานแลกระทำพยานเท็จ
- ๖๓ โทษอำพรางคำพยานแลกระทำพยานเท็จ เพื่อให้ผู้ไม่มีผิดต้องราชทัณฑ์
- ๖๔ การปรับโทษผู้กระทำผิดล่วงลเมิดพระราชบัญญัตินี้ แลเหตุที่ควรลดหย่อนผ่อนโทษให้น้อยลง
- ในลักษณรับฟ้อง ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘
- ในลักษณพยาน ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙,
- ในลักษณพยาน ๑๑, ๑๒, ๑๓, ๑๔, ๑๖, ๑๗, ๑๘, ๑๙,
- ในลักษณพยาน ๒๒, ๒๓, ๒๔, ๒๕, ๒๖, ๒๗, ๓๐,
- ในลักษณพยาน ๓๒, ๓๔, ๓๕, ๓๖, ๓๗, ๓๘, ๓๙,
- ในลักษณพยาน ๔๐, ๔๑, ๔๒, ๔๔, ๔๕, ๔๖, ๔๗, ๔๘, ๔๙,
- ในลักษณพยาน ๕๒, ๕๔, ๕๕, ๕๘, ๕๙,
- ในลักษณพยาน ๖๑, ๖๓, ๖๔, ๖๕, ๖๖, ๖๗
- ในลักษณตระลาการ ๕
- ๑ ว่าด้วยกฎหมายแลพระราชบัญญัติซึ่งให้ยกเลิกเสีย
- ๒ ว่าด้วยกฎหมายแลพระราชบัญญัติซึ่งคงใช้ต่อไป
- ๓ ว่าด้วยอัตราพิกัดค่าธรรมเนียมพยานจำพวกที่หมายเรียกมาสืบที่ศาลตามมาตรา ๑๙
มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ด้วยทรงพระราชปรารภว่า ทุกวันนี้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยโภคสมบัติศิริสมบัติพัฒนาการกว่าแต่ก่อน ๆ มาก ราษฎรไพร่บ้านพลเมืองมีทรัพย์สมบัติ แลเจริญด้วยวิชาความรู้ ประกอบการทำกินแลซื้อขายแก่กันแลแก่คนนานาประเทศด้วยทุนสินอันมากหลาย แลกระทำการโดยลักษณแลประเภทอันพิเศษพิสดารต่าง ๆ ก็ย่อมเปนเหตุให้เกิดวิวาทต่อสู้ เปนคดีแก่กันโดยฦกซึ้งแลซับซ้อนมากขึ้นโดยธรรมดา ฝ่ายวิธีการพิจารณาพิพากษาซึ่งโรงศาลทั้งหลายอาไศรยใช้อยู่ทุกวันนี้เปนวิธีธรรมเนียมแต่เดิมมา หาพอแก่เหตุการที่เกิดมีขึ้นใหม่ ๆ บัดนี้ไม่ ทั้งเวลาอาการแลอำนาจที่จะได้บังคับบัญชาแก้ไข การทั้งปวงจึงติดขัดคั่งค้างไปต่าง ๆ แลบัดนี้ ได้ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า กฎหมายลักษณพยานเปนที่ต้องการแก้ไขก่อน จึ่งทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเปนพระราชกำหนดกฎหมายไว้ดังนี้สืบไปเมื่อน่า
พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกนามว่า พระราชบัญญัติลักษณพยาน ปีรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๓ แลให้ใช้เปนกฎหมายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ เดือนเมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๔ เปนต้นไป[1]
คำที่ว่า “ศาล” ซึ่งใช้ในพระราชบัญญัตินี้ อธิบายให้เข้าใจแลถือว่า ผู้พิพากษา ตระลาการ ฤๅเจ้าพนักงานคนใดคนหนึ่งซึ่งมีอำนาจพิพากษาฤๅพิจารณคดีในศาลใดศาลหนึ่ง
บรรดามาตราต่าง ๆ ในลักษณรับฟ้อง ส่วนที่ว่าด้วยตัดพยาน แลในลักษณพยาน ในกฎหมายเล่ม ๑ แลกฎหมายรับสั่ง ในกฎหมายเล่ม ๒ แลพระราชบัญญัติลักษณพยาน ดังที่ได้กล่าวไว้ในตาตรางหมายเลข ๑ ในท้ายพระราชบัญญัตินี้นั้น ตั้งแต่นี้สืบไป ให้ยกเลิกเสีย มิให้ใช้เปนกฎหมายต่อไป
บรรดาชนใด ๆ ชายก็ดีหญิงก็ดี ซึ่งมีสติดีรู้จักผิดแลชอบเข้าใจความ จะให้การเปนพยานฝ่ายโจทย์ฤๅฝ่ายจำเลยคู่ความโดยอ้างก็ได้ เว้นไว้แต่ชนที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ ฤๅชนซึ่งศาลพิเคราะห์เห็นว่า เปนผู้ไม่สามารถจะเข้าใจข้อถาม ฤๅไม่สามารถจะให้การตอบข้อถามได้ เพราะเหตุว่าเปนคนมีอายุยังเยาว์อ่อนนัก ฤๅเปนคนมีอายุสูงแก่ชรามาก ฤๅเปนคนมีโรคภายในกายฦาภายนอกกายเจ็บปวดถึงสาหัศจนสิ้นสติไม่อาจจำเหตุการณ์สิ่งใดได้ เท่านั้น
ชายก็ดีหญิงก็ดี ซึ่งเปนใบ้พูดภาษามนุษย์ไม่ได้ ก็ให้อ้างเปนพยานได้ เมื่อศาลชี้แจงอธิบายมูลคดีวิวาทในระหว่างโจทย์จำเลยให้คนใบ้เข้าใจดีแล้ว ก็ให้คนใบ้เขียนตัวอักษรฤๅรูปภาพ ฤๅแสดงกิริยาท่าทาง แทนคำให้การ ให้เปนที่เข้าใจได้ แต่การที่จะเขียนตัวอักษรฤๅรูปภาพ ฤๅแสดงกิริยาท่าทางนี้ ต้องให้คนใบ้ซึ่งเปนพยานมาทำในศาลต่อหน้าคนทั้งปวง คำพยานของคนใบ้เช่นนี้ ก็ให้ถือว่าดุจให้การด้วยปากเหมือนกัน แลการที่จะบังคับถามคนใบ้เปนพยานนี้ ให้ศาลชี้แจงข้อสาบาลแลพิฆาฏโทษกำชับให้คนใบ้เข้าใจรู้ความว่าตนจะต้องกล่าวแต่ที่อันจริง เมื่อคนใบ้รับแล้ว ก็ให้ถือว่าเปนอันได้กระทำสัตย์อธิฐานตามบทกฎหมาย แลในการที่จะอ้างคนใบ้เปนพยานนี้ ถ้ามีพยานอื่นแล้ว อย่าให้ต้องสืบคนใบ้เปนพยานอิกเลย
ในสรรพความแพ่งทั้งปวง โจทย์จะอ้างจำเลยเปนพยาน ฤๅจำเลยจะอ้างโจทย์เปนพยานก็ดี ฤๅตัวความจะอ้างตัวของตัวเองเปนพยานฝ่ายตัวก็ดี ฤๅโจทย์จำเลยจะอ้างบิดามารดา ญาติ บุตร สามีภรรยา ข้าทาษของตนเองก็ดี ฤๅคนใดคนหนึ่งนอกจากที่กล่าวมานี้ก็ดี ก็ให้อ้างเปนพยานได้ ไม่ห้ามปราม ยกเสียแต่คนซึ่งไม่สามารถจะให้การเปนพยานได้ตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ในความอาญาซึ่งมีโทษหลวง คือ โทษประหารชีวิตร ริบราชบาทว์ จำคุก เช่นนี้ ตัวผู้ร้ายฤๅจำเลยจะอ้างตัวของตัวเองเปนพยาน ฤๅจะอ้างบิดามารดา สามีภรรยา แลบุตรของตนเปนพยานไม่ได้เปนอันขาด แลความอาญาอื่น ๆ ซึ่งไม่มีโทษหลวงดังว่ามานี้ มีแต่เบี้ยปรับเพียงสินไหมพินัย ก็ให้โจทย์จำเลยอ้างพยานได้เหมือนในความแพ่งทุกประการ
ถ้าโจทย์ฤๅจำเลยอ้างผู้พิพากษาฤๅตระลาการศาลใดเปนพยานในคดีแพ่งอาญาทั้งปวง ผู้พิพากษาฤๅตระลาการซึ่งถูกอ้างนั้นไม่จำเปนจะต้องให้การตอบข้อถามข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งถามถึงอาการกิริยาแลความประพฤติตัวของผู้พิพากษาฤๅตระลาการผู้นั้นเองในศาลในระหว่างเวลาซึ่งตนนั่งกระทำการตามน่าที่ผู้พิพากษาฤๅตระลาการอยู่ แลไม่จำเปนจะต้องให้การตอบข้อถามข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งถามถึงเหตุการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งตนได้รู้ในส่วนน่าที่ของตนซึ่งเปนผู้พิพากษาฤๅตระลาการ เว้นไว้แต่เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ฤๅศาลใหญ่ศาลใดศาลหนึ่ง ฤๅผู้พิพากษาฤๅอธิบดีคนใดคนหนึ่งซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชาตัวได้ในทางราชการ จะมีคำสั่งให้ตนยอมให้การ จึ่งต้องให้การตอบข้อถามนั้น ๆ
ถ้าโจทย์จำเลยอ้างคนใดคนหนึ่งเปนพยาน ห้ามมิให้คนนั้นให้การกล่าวด้วยข้อความซึ่งตนได้รู้จากหนังสือราชการซึ่งยังมิได้เปิดเผยให้ชนทั้งปวงรู้ อันเปนเนื้อความเกี่ยวข้องด้วยราชการแผ่นดินเปนอันขาด เว้นไว้แต่ตนได้อนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้เปนอธิบดีในกรมฤๅกระทรวงนั้น ๆ ก่อน จึ่งให้การได้
โจทย์จำเลยจะอ้างพยานสืบตามประเด็นข้อหาซึ่งมิได้รับกันในสำนวน จะต้องสืบมากหลายคนก็ได้ ไม่มีกำหนด แต่เมื่อศาลพิเคราะห์เห็นว่า ข้อใดได้สืบพยานสมควรพออยู่แล้ว ควรฟังเอาข้อนั้นเปนเท็จฤๅเปนจริงได้ ศาลก็มีอำนาจไม่ให้สืบพยานในข้อนั้นต่อไปได้
แม่แบบ:ลักษณพยาน/หมวด ๓
แม่แบบ:ลักษณพยาน/หมวด ๔
แม่แบบ:ลักษณพยาน/หมวด ๕
แม่แบบ:ลักษณพยาน/หมวด ๖
แม่แบบ:ลักษณพยาน/หมวด ๗
แม่แบบ:ลักษณพยาน/หมวด ๘
แม่แบบ:ลักษณพยาน/หมวด ๙
แม่แบบ:ลักษณพยาน/ตาราง ๑
แม่แบบ:ลักษณพยาน/ตาราง ๒
แม่แบบ:ลักษณพยาน/ตาราง ๓
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑/ตอน ๔๗/หน้า ๔๐๐/๑๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๓ (พ.ศ. ๒๔๓๗, ค.ศ. ๑๘๙๔)
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"