วรรณกรรมต่างเรื่อง/เรื่องที่ 2
- โดย คุณสุวรรณ
มีผู้ได้ไต่ถามแลเตือนมาเนือง ๆ ว่า เหตุใดหอพระสมุดฯ จึงไม่พิมพ์บทละครของคุณสุวรรณ เหตุนั้นก็บอกได้โดยง่ายว่า เพราะหอพระสมุดฯ หาฉบับยังไม่ได้ จึงมิได้พิมพ์ มาบัดนี้ หาฉบับได้ หอพระสมุดฯ จึงพิมพ์บทละครของคุณสุวรรณทั้ง ๒ เรื่องไว้ในสมุดเล่มนี้ให้ได้อ่านกันตามปรารถนา
แต่ผู้ที่ยังไม่ทราบเค้ามูลเรื่องบทละครของคุณสุวรรณเห็นจะมีในชั้นนี้มากด้วยกัน ถ้าไม่อธิบายให้ทราบ น่าจะพากันเห็นเป็นการแปลกประหลาดที่หอพระสมุดฯ เอาหนังสือเช่นนี้มาพิมพ์ เพราะที่แท้เป็นบทบ้าแต่ง มิใช่บทละครอย่างปรกติ เพราะฉะนั้น จำจะต้องชี้แจงให้ทราบเรื่องเดิมแลข้อขำของบทละครคุณสุวรรณเสียก่อน
คุณสุวรรณผู้แต่งบทละคร ๒ เรื่องนี้เป็นธิดาพระยาอุไทยธรรม (กลาง) ราชินิกุลบางช้าง มีอุปนิสัยใจรักการแต่งกลอนมาแต่ยังเด็ก ได้ถวายตัวทำราชการฝ่ายในตามเหล่าสกุลเมื่อในรัชกาลที่ ๓ อยู่ที่ตำหนักพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ในชั้นนั้น คุณสุวรรณได้แต่งกลอนเพลงยาวเป็นนิราศเรื่องกรมหมื่นอัปสรฯ ประชวร[1] ยังปรากฏอยู่เรื่อง ๑ นอกจากเพลงยาวนิราศแลบทละครที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ กลอนของคุณสุวรรณคงมีเรื่องอื่นอีก แต่ยังหาพบไม่ เมื่อกรมหมื่นอัปสรฯ สิ้นพระชนม์แล้ว คุณสุวรรณก็อยู่ในพระราชวังต่อมา แต่ไม่ปรากฏว่า ทำราชการในตำแหน่งพนักงานใด
คุณสุวรรณมามีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อรัชกาลที่ ๔ เหตุด้วยเสียจริต แต่ไม่คลั่งไคล้อันใด เป็นแต่ฟุ้งไปในกระบวนแต่งกลอน จึงแต่งบทละคร ๒ เรื่องที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ เรียกกันว่า เรื่องพระมะเหลเถไถ เรื่อง ๑ กับอุณรุทร้อยเรื่อง อีกเรื่อง ๑ เล่ากันมาว่า คุณสุวรรณอยู่เรือนที่แถวนอก ใครไปหา ถ้าบอกว่า อยากจะฟังบทละครที่แต่งใหม่ คุณสุวรรณก็ว่าบทละคร ๒ เรื่องนี้ให้ฟังโดยจำไว้ได้แม่นยำ ผู้ที่ได้ฟังเห็นขบขันก็พากันชอบ ที่จำได้บ้างก็มาว่าให้ผู้อื่นฟังต่อ ๆ มา เพราะฉะนั้น บทละครของคุณสุวรรณจึงแพร่หลาย พวกผู้ดีชาววังจำกันได้มากบ้างน้อยบ้างแทบจะไม่เว้นตัว แต่ที่ได้จดไว้เป็นตัวอักษรนั้นน้อยแห่ง ครั้นนานมา จึงหาฉบับยาก
คุณสุวรรณถึงแก่กรรม[2] เมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ แต่บทละครของคุณสุวรรณยังมีผู้จำได้เป็นตอน ๆ แลว่าให้กันฟังสืบต่อมา พึ่งพบฉบับที่ได้เขียนไว้ที่ได้มาพิมพ์ในสมุดเล่มนี้
บทละครของคุณสุวรรณที่เป็นของแปลกนั้น คือ:– บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ คุณสุวรรณแต่งเป็นภาษาบ้างไม่เป็นภาษาบ้างปะปนกันไปแต่ต้นจนปลาย แต่ใครอ่านก็เข้าใจความได้ตลอดเรื่อง ความขบขันอยู่ที่ตรงข้อนี้ ส่วนบทละครอุณรุทร้อยเรื่องนั้น คุณสุวรรณเกณฑ์ให้ตัวบทในละครเรื่องต่าง ๆ มารวมกันอยู่ในเรื่องเดียว ถ้าดูโดยกระบวนความ อยู่ข้างจะเลอะ แต่ไปดีทางสำนวนกลอนกับแสดงความรู้เรื่องละครต่าง ๆ กว้างขวาง เพราะในสมัยนั้น บทละครยังมิได้พิมพ์ คุณสุวรรณคงต้องพยายามมากทีเดียว จึงได้รู้เรื่องละครต่าง ๆ มากถึงเพียงนั้น แต่มีอยู่บท ๑ ในอุณรุทร้อยเรื่องของคุณสุวรรณซึ่งควรสรรเสริญในกระบวนความว่า เป็นความคิดแปลกดี คือ บทจำแลงตัวซึ่งพิมพ์อยู่หน้า ๔๙ ในสมุดเล่มนี้
กรรมการหอพระสมุดฯ หวังใจว่า เมื่อท่านทั้งหลายได้ทราบเค้ามูลของบทละครคุณสุวรรณดังแสดงมา คงจะพอใจอ่านบทละครของคุณสุวรรณทั่วกัน
- หอพระสมุดวชิรญาณ
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๓
ช้าปี่ | ||
๏เมื่อนั้น | พระมะเหลเถไถมะไหลถา | |
สถิตยังแท่นทองกะโปลา | สุขาปาลากะเปเล | |
วันหนึ่งพระจึงมะหลึกตึก | มะเหลไถไพรพรึกมะรึกเข | |
แล้วจะไปเที่ยวชมมะลมเต | มะโลโตโปเปมะลูตู | |
ตริแล้วพระมะเหลจึงเป๋ปะ | มะเลไตไคลคละมะหรูจู๋ | |
จรจรัลตันตัดพลัดพลู | ไปสู่ปราสาทท้าวโปลา | |
ฯ ๖ คำ ฯ เพลงช้า | ||
ร่าย | ||
๏ครั้นถึงจึงเข้าตะหลุดตุด | ก้มเกล้าเค้าคุดกะหลาต๋า | |
มะเหลไถกราบไหว้ทั้งสองรา | จึงแจ้งกิจจามะเลาเตา | |
ด้วยบัดนี้ตัวข้ามะเหลเถ | ไม่สบายถ่ายเทกะเหงาเก๋า | |
จะขอลาสองราหน้าเง้าเค้า | เที่ยวมะไลไปเป่าพนาวัน | |
ฯ ๔ คำ ฯ | ||
๏เมื่อนั้น | ท่านท้าวโปลากะปาหงัน | |
กับนางตาลากะปาลัน | ได้สดุบตรุบหันมะเลเท | |
มะลอกทอกบอกว่าจะลาไป | พนาปำทำไมจะไพล่เผล | |
มะเลอเตอเป๋อเปื้อนเที่ยวเชือนแช | จึงตรัสห้ามมะเหลเถมะเลทา | |
เจ้าอย่าไปไชเชกะเปลู | จงเอ็นดูพ่อเถิดมะไหลถา | |
พระมะเหลไถเฝ้ามะเลาชา | ก็จำให้ลูกยามะลาปอง | |
ฯ ๖ คำ | ||
๏เมื่อนั้น | มะเหลไถทูลลามาหงองก๋อง | |
จึงตรัสสั่งเสนากะจารอง | ให้ผูกม้าปาป๋องกะงึงกึง | |
ฯ ๒ คำ ฯ | ||
๏บัดนั้น | เสนารับสั่งกะงังกึ่ง | |
ไม่นั่งนิ่งวิ่งไปมะลึงตึง | มะลันตันครั้นถึงจึงบอกกัน | |
ว่าบัดนี้มีรับสั่งมะเหลเถ | ให้ผูกม้าปาเปกะหงันกั๋น | |
จะเสด็จเตร็จเตร่มะเลตัน | ว่าแล้วชวนกันมะแลงแตง | |
ฯ ๔ คำ ฯ | ||
ยานี | ||
๏ผูกเบาะอานพานหน้ามะเหลาะเตาะ | เข็มสลักปักเปาะกะแง๋งแก๋ง | |
เตรียมทั้งพหลพลแปงแมง | แล้วไปทูลแถลงมะแรงตา | |
ฯ ๒ คำ ฯ | ||
ร่าย | ||
๏เมื่อนั้น | พระมเหลเถไถมะไหลถา | |
ได้ฟังเสเนาทะเลาปา | เสด็จมาที่สรงมะลงโช | |
ฯ ๒ คำ ฯ เสมอ | ||
โทน | ||
๏สระสรงทรงสุคนธ์ปนตลึก | ลูบไล้ไป่ปึกกะโง๋โก๋ | |
สนับเพลาเชิงไชกะไรโจ | ภูษาสีสะโรกะโปลัน | |
เจียรบาดปักทองกะลองเต็ด | ปั้นเหน่งเพชรสายสอดจรอดฉัน | |
ฉลององค์อย่างน้อยกะปอยลัน | มะลวงชวงปวงปันคั่นทองกร | |
มงกุฎแก้วแวววาบมะราบรับ | กรรเจียกจันปันกับมะหลอนฉอน | |
ธำมรงค์จินดากะราชอน | ตลุดฉุดอรชรมะลอนชัน | |
ดูเลือบเชือบเหลือบแลกะโปงโลง | งามดังปังโปงกำงั๋นกั๋น | |
กะงวยกวยฉวยพระแสงมะแรงตัน | มอระตอก็รันขึ้นอาชา | |
ฯ ๘ คำ ฯ เชิดฉิ่ง | ||
ร่าย | ||
๏พร้อมหมู่โยธาพะลาแหน | พลาหับนับแสนแน่นหนา | |
ได้ฤกษ์เลิกพหลมะลนทา | ออกจากภารากะปาโล | |
ฯ ๒ คำ ฯ กราว | ||
ชมดง | ||
๏พระชมเขาเนาเนินกะหรกกก | รุกขชาติดาษดกมะโหลโต๋ | |
มะลาตันสาระพันกะลันโป | กะลาปียี่โถมะโยตัน | |
มะโยติงปริงปรางลางสาบ | ลางสาดหาดหาบมะหลันปั๋น | |
มะลันปีสีเสียดประเหยียดกัน | ประยงค์แก้วแถวพันมะลันดา | |
มาลีดวงพวงช่อมะลอชร | มาลีชาดมาดซ้อนมะรอนฉา | |
มะรินชิงจิงจ้อมะยอตา | มะยมเต็มเข็มลามะกาโล | |
มะกาลิงปิงปุ่มกะทุ่มท้อน | กะทิงถินกลิ่นขจรมะลอนโหว | |
มะลิวันมันโมกกะโหลกโก | กุหลาบแกมแนมโยทกาลี | |
กาหลงชงโคมะโยแป๋ว | มะโยปมนมแมวมะแลวฉี | |
มะลัยฉาวสาวหยุดมะลุดลี | มะลิลาสารภีมะลีโช | |
พระชมปักษากะลาชอน | กะลาฉินบินว่อนกะล่อนโฉ | |
กะลิงเฉียบเหยียบแต้วเค้าแมวโม | เค้าเมงหมิ่นผินโผพะโวตา | |
พะวาติบจิบจาบคาบไข่ | ขาบเคียงเขาไฟไถลถา | |
ถลาโถมโจมจับมารับกา | รับกันจำพันจากะสาลม | |
กะสาเล่นเบญจวันมะลันปี | มะลันโปโนรีมะลีสม | |
มะลาโสนโกญจากะทาทม | กะทาเทืองเงื่องงมมะลมปา | |
มะลาปิงคลิ้งโคลงอีโลงแล่น | อีลุ้มลี้อีแอ่นกะแรนฉา | |
กะเรียนฉาบคาบคั้นมะรันบา | มาร่อนบินกินหว้ามะลาแชง | |
มะลาชัดสัตวากระสาสูง | กระแสเสียงเถียงยูงกะรูงแฉ่ง | |
กะรอกฉวยกล้วยไม้ดูไวแวง | ดุเหว่าหวานขานแข่งระแวงวัง | |
ระเวงแว่วแจ้วเจื้อยระเรื่อยร้อง | ระเรื่อยรี่มี่ก้องมะลองกั๋ง | |
มะเลียบกิ่งทิ้งถ่อนมะลอนกัง | มะเล่นกิ่งชิงรังมะลังโต | |
มาโลดเต้นเม่นหมีชะนีบ่าง | ชะนีแบดแรดช้างกะงางโก๋ | |
กะแหงนเกยเสยแทงทะโยงโย | ทะยานโยกโศกโสทะโลเป | |
ทลายป่นกล่นเกลื่อนทะเลือนเท่า | ถลาโถมถล่มเท้าทะเลาเส | |
ถลันสำถลำสวบระยวบเย | ระยำทับเทมะเลทอน | |
มะไลโทโคถึกมฤคี | มฤคาพาชีมะหลอนฉอน | |
มาลบเชือเสือสิงห์มหิงส์จร | มหาใจไกรสรมะลอนชา | |
ฯ ๒๘ คำ ฯ เชิด | ||
สมิงทอง | ||
๏เมื่อนั้น | พระมะเหลเถไถมะไหลถา | |
เพลิดเพลินฤทัยมะไลทา | ลืมทุกข์สุขามะลาจี | |
ละเลิงจนสนธยาหัสดง | หัสดับลับลงคีรีศรี | |
พระจึงมีสิงหนาทประภาษพี | สั่งพวกเสนีมะลีทา | |
ให้ยับยั้งพหลกะรนจง | กะร้อมชอมล้อมวงมะรงฉา | |
แล้วให้ช่วยกันมะรันทา | มะเรทับพลับพลาพนาลี | |
ฯ ๖ คำ ฯ | ||
ร่าย | ||
๏บัดนั้น | เสนารับสั่งมาลังปี๋ | |
มะลุกปุกคุกเข่ามะเลาตี | มะรันทังดังมีมะลีทา | |
เกณฑ์กันฟันแฝกมะแลกแจง | คัดขุดลุดแชงมะแลงฉา | |
กะรับชับสรรพเสร็จมะเร็จตา | สำเร็จตามบัญชามะลาเท | |
ฯ ๔ คำ ฯ เจรจา | ||
๏เมื่อนั้น | พระมเหลเถไถมะไหลเถ | |
เสด็จขึ้นพลับพลามะลาเท | มะไหลถอนนอนเอ้ทะเวกา | |
ฯ ๒ คำ ฯ | ||
ช้า | ||
๏เทวศกายคายคันรัญจวน | ร้อนใจใคร่ครวญหวนหา | |
หวนโหยโดยดิ้นในวิญญา | วิญญากจากปรามะราโท | |
มาแรมทางกลางป่าพนาดร | พนาแดนศิงขรมะยอนโฉ | |
มาเย็นเฉื่อยเรื่อยร้างน้ำค้างโพร | น้ำค้างพรมลมโวมะโรตอน | |
มารื่นต่างนางในรำไพพัด | รำเพยเพียงเคียงรัตน์ปัจถรณ์ | |
ประทมที่ศรีใสจะไลชอน | จนหลับชิดสนิทนอนมะลอนชา | |
ฯ ๘ คำ ฯ ตระ | ||
ยานี | ||
๏มาจะกล่าวบทไป | ถึงท้าวหัสไนยมะไหลถา | |
สถิตที่วิมานมะลานชา | กายารุ่มร้อนมะลอนจี | |
จึงเล็งทิพเนตรมะเลดป่า | ในชมพูแผ่นหล้ามะลาถี | |
เห็นพระมะเหลเถทะเวที | มาแรมร้างค้างที่มะลีไช | |
เพราะไม่มีคู่จรูสม | เสวยรมย์ราชามะลาไส | |
ผู้เดียวเปลี่ยวองค์มะลงไต | จำเราจะให้มะไลทา | |
อันลูกท้าวไทมะไลที | เลิศล้ำนารีมะลีถา | |
ชื่อนางตะแลงแกงมะแลงกา | วาสนาควรคู่มะลูตอง | |
อัมรินทร์จินตนาแล้วลาเชด | เหาะระเห็จจากวิมานมะลานถอง | |
มายังกรุงไกรมะไลทอง | โดยจิตคิดปองมะรองแทง | |
ฯ ๑๐ คำ ฯ เหาะ | ||
ร่าย | ||
๏ครั้นถึงซึ่งพารามะลาตั๋ง | โกสีย์ลงยังมะลังแต๋ง | |
เข้าไปในปรางค์มะรางแชง | อุ้มองค์ตะแลงแกงตะแลงมา | |
ฯ ๒ คำ ฯ | ||
๏เหาะลิ่วปลิวฟ้ามาฉับพลัน | ถึงพลับพลาสุวรรณมะลันถา | |
วางองค์ลงใกล้มะไลชา | อัมราพินิจมะลิดจู | |
ฯ ๒ คำ ฯ | ||
ชมโฉม | ||
๏งามดังสุริยันมะลันตอน | เคียงดวงศศิธรมะลอนฉู | |
จะดูไหนวิไลกะไรตู | สมสองครองคู่จะลูเจ | |
ดูโฉมตะแลงแกงแมลงกัด | งามดังเพชรรัตน์มะลัดเถ | |
งามพระมเหลไถมะไลเท | ดังสุวรรณอันเอละเลทา | |
สมวงศ์ทรงศักดิ์จักรพรรดิ์ | สมเชื้อเนื้อกษัตริย์มะลัดถา | |
สมทรงคงครองกะรองปา | เป็นมหาจรรโลงมะโรงกี | |
แล้วท้าวหัสนัยน์มะไลถา | ก็ออกจากพลับพลาพนาศรี | |
สำแดงแผลงอิทธิ์ฤทธี | ไปสู่ที่วิมานมะลานทา | |
ฯ ๘ คำ ฯ เชิด | ||
ร่าย | ||
๏เมื่อนั้น | พระมะเหลเถไถมะไหลถา | |
ผวาตื่นฟื้นจากมะรากปา | เห็นนางกัลยามะลาที | |
ฯ ๒ คำ ฯ | ||
ชมโฉม | ||
๏พระเพ่งพินิจมะลิดตัก | ประไพพักตร์เพียงจันทร์มะลันถี | |
อรชรอ้อนแอ้นมะแรนจี | เลิศล้ำนารีมะลีทา | |
ฤๅหนึ่งนางในมะไลจึก | พระไพรพฤกษ์พระไทรมะไลต๋า | |
แกล้งจำแลงแปลงกายมะไลทา | มาหลอกเล่นเห็นมามะลาตม | |
ฤๅหนึ่งยักษ์ขินีผีไพร | มาคิดปองลองใจมะไลถม | |
จึงทรงโฉมโสภามะลางม | จำจะปลุกชวนชมขึ้นลมปู | |
ฯ ๖ คำ ฯ | ||
ร่าย | ||
๏คิดพลางทางอิงมะลิงออง | ค่อยประคองปลุกนางมะลางฉู | |
เจ้างามชื่นตื่นเถิดมะเลิศตู | แล้วเล้าโลมโฉมตรูมะลูเตา | |
ฯ ๒ คำ ฯ | ||
๏เมื่อนั้น | โฉมนางตะแลงแกงมะแลงเก๋า | |
ลืมเนตรเห็นองค์มะลงเทา | นงเยาว์เคืองขัดปัดกร | |
เออไฉนไยทำกะลำกัก | มาหาญหักไม่เกรงมะเลงฉอน | |
ข้าอยู่ถึงภารากะลาตอน | ไปลักพามาชอนมะลอนไชย | |
ฯ ๔ คำ ฯ | ||
๏เมื่อนั้น | พระมะไหลไถเถมะเหลไถ | |
ได้ฟังพจนามะลาไท | ภูวไนยจึงมีมะลีทา | |
ฯ ๒ คำ ฯ | ||
โอ้โลม | ||
๏โฉมเฉลา | พี่จะเล่าให้แจ้งมะแลงก๋า | |
เดิมทีพี่จากมะรากกา | มาเที่ยวเล่นป่ามะลาไช | |
พอค่ำย่ำแสงมะแลงชอน | พี่ดะหลุดหยุดนอนมะลอนไฉ | |
เป็นกุศลดลจิตมะลิดไท | เคียงได้เคียงคู่มะลูทอง | |
ชะรอยว่าเทวัญมะลันที | อุ้มองค์มารศรีมาสมสอง | |
จึงได้ประสบมะลบออง | นวลน้องเจ้าอย่าเขินมะเลินใจ | |
ฯ ๖ คำ ฯ | ||
ร่าย | ||
๏เมื่อนั้น | โฉมนางตะแลงแกงมะแลงไก๋ | |
ได้ฟังถ้อยคำมะลำไท | ทรามวัยจึงตอบมะลอบที | |
ไปว่าเอาเทวัญมะลันตู | เหมือนหนึ่งใครไม่รู้มะลูถี | |
เมื่อครั้งไรใครพามะลาชี | ภูมีเก็บเอามาเลาตา | |
แล้วนางแค้นขัดมะลัดตอน | เคืองค้อนภูวไนยมะไหลถา | |
น้อยฤๅนั่นน่าเชื่อมะเรือปา | มาเศกแสร้งแกล้งว่ากะลาเกา | |
ฯ ๖ คำ ฯ | ||
๏เมื่อนั้น | พระมะไหลไถเถมะเหลเถา | |
เห็นนางกัลยามะลาเตา | จึงตรัสโลมเล้ามะเลาปอน | |
ฯ ๒ คำ ฯ | ||
ชาตรี | ||
๏ดูก่อนโฉมตรูมะลูถี | เวทีมิเชื่อมะเหลือถอน | |
อันพระอุณรุทมะลูดชอน | เทวาก็พาจรมะลอนเกา | |
ไปสมสร้อยอุษามะลาตึก | โฉมยงจงนึกมะลึกเก๋า | |
นี่บุญของพี่ยามะลาเตา | จึงพาเจ้ามาสมมะลมเต | |
ว่าพลางทางถดมะหลดติด | อย่าอายเอียงเบี่ยงบิดมะลิดเป๋ | |
นางป้องปัดหัตถามะลาเท | มะโลโตโปเปมะเลตุง | |
สองภิรมย์ชมเชยมะเลยปม | สำราญรมย์รื่นเริงมะเลิงตุ๋ง | |
สัพยอกหยอกเย้ามะเลาชุง | สมสวาดิ์มาดมุ่งมะลุงแชง | |
ฯ ๘ คำ ฯ โลม | ||
ร่าย | ||
๏ครั้นรุ่งรางส่างแสงมะแลงทอง | สกุณาร่าร้องมะรองแฉ่ง | |
พระตื่นจากไสยาศน์นลาตแทง | ชวนองค์ตะแลงแกงมะแลงกง | |
สระสรงพักตรามะลาเต็ด | สรรพเสร็จออกจากมะลากก๋ง | |
พร้อมหมู่ทหารมะลานปง | ก้มเกล้าเค้าคงมะลงแตง | |
พระจึงมีสิงหนาทมะลาดจู | เหวยหมู่ทหารมะลานแฉง | |
จงตรวจเตรียมโยธามะลาแกง | ตามตำแหน่งของใครมะไลที | |
ฯ ๖ คำ ฯ | ||
๏บัดนั้น | เสนารับสั่งมะลังปี๋ | |
ต่างชะแง้แลดูมะลูจี | พาทีเบี้ยวบุ้ยมะลุยตุง | |
แล้วมาเร่งรัดจัดเจา | พร้อมพรั่งดังเก่ามะเลาปุ๋ง | |
คอยพระมะเหลไถมะไลทุง | ต่างนายหมายมุ่งจะลูงทา | |
ฯ ๔ คำ ฯ | ||
๏เมื่อนั้น | พระมเหลไถมะไหลถา | |
ชวนนางตะแลงแกงมะแลงกา | ขึ้นทรงคชามะลากุย | |
ออกจากพลับพลามะลาโท | ทวยหาญขานโห่ตะลุ๋ยปุ๋ย | |
ดัดดั้นบั่นบุกปุกปุย | อีหลุกขลุกขลุยมะลุยปอย | |
ฯ ๔ คำ ฯ เชิด | ||
๏มาจะกล่าวบทไป | ถึงท้าวไทอสุรามะลาก๋อย | |
มะรายกาดชาติเชื้อสะเรือดอย | สุราต้องกองกอยพะลอยไช | |
เพราะลอบชมนางฟ้าสลาโสด | ศุลีซ้ำทำโทษมะโดดไข | |
มาตัวขาดอาจองทะลงใจ | เที่ยวไล่จับสัตว์ไพรสะไรกุง | |
สุรากินสิ้นซากมายากทุกข์ | กำลังอยากบากบุกมะลุกปุ๋ง | |
มาแลปะมะเหลไถสะไรชุง | สุราชาติมาดมุ่งมะรุงแชง | |
มราชักยักษ์ย่องมาลองดู | มาลอบด้อมค้อมอยู่พะดูแถง | |
พอได้ทีลีลามมะหามแทง | มะฮึกทำสำแดงแทลงกี | |
ถลากายหมายมั่นมะลันจ้อง | มะเหลจับรับรองสะรองกี้ | |
สุราก๋อยถอยท่ามะลารี | มะเหลรุกคลุกคลีประชีไช | |
ประชิดชิงอาวุธยุทธนา | ยักษ์ทะนงทรงคทาตะลาไป๋ | |
ตลบป้องคล่องแคล่วมะแลวไท | มะลวงทีหนีไล่มะไลทอง | |
ฯ ๑๒ คำ ฯ เชิด |
- ↑ เพลงยาวนิราศของคุณสุวรรณ หอพระสมุดฯ ได้พิมพ์ในประชุมเพลงยาว ภาคที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓
- ↑ ข้าพเจ้าได้กล่าวในคำนำเพลงยาวคุณสุวรรณว่า ถึงแก่กรรมเมื่อรัชกาลที่ ๔ นั้นผิดไป