ฉบับ
ในกรณีที่งานหนึ่ง ๆ มีหลายฉบับ วิกิซอร์ซรับลงฉบับต่าง ๆ เหล่านั้น และจะบริหารจัดการโดยใช้ "หน้าฉบับ" หน้านี้เป็นแนวทางสำหรับใคร่ครวญในการนำฉบับต่าง ๆ มาลง และในการบริหารจัดการฉบับต่าง ๆ

ความหมายของ "ฉบับ" แก้ไข

ถ้างานหนึ่ง ๆ ได้รับการเผยแพร่หลายครั้ง เช่น ครั้งแรกใน พ.ศ. 2560 พิมพ์ที่กรุงเทพฯ ต่อมาพิมพ์ใหม่ใน พ.ศ. 2562 ที่กรุงเทพฯ เหมือนกัน (โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือไม่มีก็ตาม) ดังนี้ ฉบับ พ.ศ. 2560 และ ฉบับ พ.ศ. 2562 ดังกล่าว ก็คือ "ฉบับ" ตามความหมายของวิกิซอร์ซ

วิกิซอร์ซไม่ใช่กระดาษ จึงไม่มีวันหมดพื้นที่สำหรับลงงานใด ๆ ดังนั้น ในทางปฏิบัติแล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่จะห้ามลงฉบับต่าง ๆ

เหตุผลที่ควรหรือไม่ควรลงฉบับต่าง ๆ แก้ไข

ควร แก้ไข

เหตุผลที่ควรลงฉบับต่าง ๆ เป็นต้นว่า

  • การแก้ไขเพิ่มเติม งานหนึ่ง ๆ อาจได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม (ไม่ว่าโดยผู้สร้างสรรค์เอง โดยบรรณาธิการ หรือโดยผู้อื่น) หลังจากที่เผยแพร่มาแล้วครั้งหนึ่ง ทำให้แต่ละฉบับอาจมีเนื้อความผิดแผกกัน การมีฉบับต่าง ๆ อยู่ในวิกิซอร์ซจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อทางวิชาการ และต่อความชอบส่วนบุคคล
  • ส่วนประกอบ แต่ละฉบับอาจมีส่วนประกอบ เช่น คำนำ คำอธิบาย เชิงอรรถ ภาพปก ภาพประกอบ หรือสิ่งประดับตกแต่งอื่น ๆ ต่างกัน ซึ่งล้วนแต่ทรงคุณค่า การทำให้สิ่งเหล่านี้เข้าถึงได้ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อวิกิซอร์ซและโครงการอื่น ๆ ของมูลนิธิวิกิมีเดีย
  • การประมวลงาน งานชิ้นเล็ก ๆ เช่น เรื่องสั้น บทร้อยกรองสั้น ๆ หรือบทความ อาจได้รับการเผยแพร่ซ้ำเป็นส่วนหนึ่งของงานชิ้นใหญ่กว่า เช่น รวมเป็นประมวลบทกวี ชุมนุมบทนิพนธ์ ฯลฯ ถึงแม้เนื้อความในแต่ละฉบับอาจไม่ต่างกัน แต่ประมวลงานชุดหนึ่ง ๆ ถือเป็นงานใหม่อยู่ในตัว ไม่ถือเป็นงานซ้ำซ้อน

ไม่ควร แก้ไข

เหตุผลที่ไม่ควรลงฉบับต่าง ๆ เป็นต้นว่า

  • ความซ้ำซ้อน ถึงแม้ฉบับต่าง ๆ อาจเกิดจากการเผยแพร่ในเวลาต่างกัน ในสถานที่ต่างกัน หรือโดยผู้เผยแพร่ต่างรายกัน แต่เนื้อความอาจไม่ต่าง
  • ทรัพยากร การลงฉบับต่าง ๆ ที่เนื้อความไม่ต่างกัน อาจทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากร เวลา แรงงาน ฯลฯ ในการบริหารจัดการ ตรวจสอบ ฯลฯ

งานที่เกิดจากการสังเคราะห์ แก้ไข

อย่าสร้างงานในวิกิซอร์ซโดยการดึงส่วนต่าง ๆ มาจากงานอื่นหรือฉบับต่าง ๆ แม้เป็นไปเพื่อซ่อมแซมต้นฉบับ เช่น ไฟล์ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2560 ขาดไป 3 หน้า จึงเอาเนื้อหาจากฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2562 มาเติมต่อ การทำเช่นนี้เรียกว่า "การสังเคราะห์" (synthesis) ถือเป็นการสร้างฉบับเท็จ (fake version) และกระทบความน่าเชื่อถือของวิกิซอร์ซ

ถ้าต้นฉบับชำรุด ขาดหาย ฯลฯ ก็ปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้น และอาจลงสถานะงานไว้ว่า "มีปัญหา" (problematic) ตามที่ระบุไว้ใน วิธีใช้:สถานะของหน้า

งานต่อยอด แก้ไข

มีกรณีที่วิกิซอร์ซยอมให้ผู้ใช้วิกิซอร์ซสร้างสรรค์งานขึ้นโดยต่อยอดจากฉบับเดิม เรียกว่า "งานต่อยอด" (derivative work) ได้แก่

หน้าฉบับ แก้ไข

เมื่อนำฉบับต่าง ๆ ของงานเรื่องหนึ่ง ๆ มาลง ให้ทำหน้าแสดงรายชื่อฉบับเหล่านั้น เรียกว่า "หน้าฉบับ" (version page)

งานใด แม้ชื่อเดียวกัน แต่เป็นคนละอย่างกัน เช่น ผู้สร้างสรรค์คนละคน หรือเนื้อหาต่างกันไปอีกแบบ ให้แสดงไว้ใน "หน้าแก้ความกำกวม" (disambiguation page) ตาม วิธีใช้:การแก้ความกำกวม มิใช่แสดงไว้ในหน้าฉบับ เพราะไม่ถือฉบับต่าง ๆ ของงานเดียวกัน

ในหน้าฉบับ ให้ใส่ แม่แบบ:ฉบับ แล้วจึงระบุฉบับต่าง ๆ ดังตัวอย่างในหน้า "พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์เจ้ากรม (จาด)" และหน้า "ประวัติสุนทรภู่"

ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการระบุรายชื่อฉบับ ดังนั้น อาจระบุด้วยวิธีเขียนบรรณานุกรม หรือวิธีอื่น แล้วแต่เห็นสมควร

แม่แบบ:ฉบับ จะจัดหน้านั้นเข้าใน หมวดหมู่:หน้าฉบับ โดยอัตโนมัติ

การตั้งชื่อฉบับต่าง ๆ แก้ไข

ฉบับต่าง ๆ มักมีชื่ออย่างเดียวกัน

อักขรวิธีที่ต่างกัน (เช่น "พงษาวดาร" กับ "พงศาวดาร") หรือชื่อที่มีการแต่งเติมหรือสั้นยาวในแต่ละฉบับ (เช่น "ฉบับหลวงประเสริฐ" กับ "ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์") ยังไม่ถือว่า เพียงพอที่จะลดความกำกวม

การตั้งชื่อแต่ละฉบับ จึงอาจทำโดยใช้ชื่อฉบับใดฉบับหนึ่งเป็นหลัก แล้วตามท้ายด้วยปีในวงเล็บ เช่น