สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษฯ 10 มีนาคม ร.ศ. 127/เอกสารติดท้าย 1
ข้อ๑เฃตรแดนในระหว่างพระราชอาณาจักรของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม ฝ่ายหนึ่ง กับดินแดนที่ได้โอนไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ อีกฝ่ายหนึ่ง ตามซึ่งได้ตกลงกันในหนังสือสัญญาครั้งนี้นั้น คือ
ตั้งแต่ริมเทลที่ฝั่งเหนือของปากน้ำปลิศแล้ว แลต่อไปทางทิศเหนือ จนถึงสันเขาทั้งหลายที่ปันน้ำตก ในระหว่างลำน้ำปลิศ ฝ่ายหนึ่ง กับลำน้ำปูโย อีกฝ่ายหนึ่งแล้ว แลต่อไปตามสันเขาที่กล่าวแล้วนี้ จนถึงสันเขาใหญ่ที่แบ่งปันน้ำตก ในระหว่างลำน้ำทั้งหลายที่ไหลลงในอ่าวสยาม ฝ่ายหนึ่ง แลต่อไปตามสันเขาใหญ่นี้ เพื่อให้ผ่านปลายน้ำลำน้ำปัตตานี ลำน้ำเตลูบิน แลลำน้ำเปหระ จนถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นปลายน้ำลำน้ำแประเกาแล้ว แลละจากสันเขาใหญ่ปันน้ำนั้นไปตามสันเขาที่ปันน้ำระหว่างลำน้ำแประเกากับลำน้ำเตลูบิน จนถึงเขาเยลี ฤๅปลายน้ำลำน้ำโกลก แต่นี้ต่อไปตามแนวกลางลำน้ำโกลก จนถึงทเลที่ตำบลปากน้ำตะไบ
เส้นพรมแดนที่ว่านี้เป็นอันกระทำให้ดินแดนทั้งสิ้นที่ลุ่มน้ำตกในลำน้ำปัตตานี ลำน้ำเตลูบิน ลำน้ำตันยงมาศ แลฝ่ายซ้ายฤๅฟากตวันตกของลำน้ำโกลกนั้น เป็นของฝ่ายสยาม แลดินแดนทั้งสิ้นที่ลุ่มน้ำตกในลำน้ำเปหระ แลที่ฝั่งขวาฤๅฟากตวันออกของลำน้ำโกลกนั้น เป็นของฝ่ายอังกฤษ
คนในบังคับประเทศทั้งสองฝ่ายจะเดิรเรือในน่านน้ำลำน้ำโกลกแลลำน้ำทั้งหลายที่ไหลตกลำน้ำโกลกนั้นก็ได้ ไม่ห้ามทุกแห่ง
เกาะที่เรียกว่า ลังกาวี แลบรรดาเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ใต้เส้นกลางหว่างเกาะเตรุเตากับเกาะลังกาวี แลเกาะทั้งหลายที่อยู่ใต้เกาะลังกาวีนั้น ให้เป็นของกรุงอังกฤษ เกาะเตรุเตา แลเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่เหนือเส้นกลางหว่างเกาะนั้น คงเป็นของกรุงสยาม
ส่วนเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับฝั่งตวันตกนั้น บรรดาที่อยู่เหนือเส้นบรรทัดตรงทิศตวันออก แลตวันตกจากที่ฝั่งเหนือของลำน้ำปลิศจดทเลนั้น คงเป็นของกรุงสยาม แลบรรดาที่อยู่ใต้เส้นบรรทัดนั้น ให้เป็นของกรุงอังกฤษ
บรรดาเกาะที่อยู่ใกล้กับแขวงเมืองกลันตันแลเมืองตรังกานู แลใต้เส้นบรรทัดตรงทิศตวันออก แลตวันตกที่ลำน้ำโกลกจดทเล เรียกว่า ปากน้ำตะไบ นั้น จะได้โอนให้เป็นของกรุงอังกฤษ แลบรรดาเกาะที่อยู่เหนือบรรทัดนั้นคงเป็นของกรุงสยาม
ได้เขียนเส้นพรมแดนประเมินไว้อย่างหนึ่งในแผนที่ตามความที่กล่าวในข้อนี้ติดเนื่องไว้ในสัญญานี้ด้วย
ข้อ๒เฃตรแดนที่กล่าวมาข้างบนนี้นั้น ทั้งรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามแลรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพร้อมกันจะถือว่า เป็นการตกลงกันชั้นที่สุดสิ้นแล้ว แลต่างพร้อมกันสัญญาต่อกันไว้ว่า เมื่อเฃตรแดนที่กำหนดนั้นจะพึงกระทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เส้นพรมแดนที่มีอยู่ในเวลานี้ของเมืองใด ๆ ก็ดี ถ้าเมืองเหล่านั้นจะร้องขอค่าทดแทนเพราะเหตุที่ต้องถูกเปลี่ยนแปลงเช่นนั้น รัฐบาลทั้งสองฝ่ายต่างจะไม่ยอมรับไว้พิจารณาฤๅช่วยอุดหนุนเป็นอันขาด
ข้อ๓กรรมการปักปันเขตรแดนที่กล่าวไว้ในข้อ ๓ ของหนังสือสัญญาลงวันนี้ จะต้องทำการปักปันหมายเขตรลงไว้ในพื้นที่ตามเขตรแดนที่ได้ว่ามาแล้วข้างบนนี้
ถ้าในเวลาที่กำลังไปทำการปักปันเขตรแดนกันอยู่นั้น เมื่อปรากฎเห็นเป็นการสมควรที่จะเปลี่ยนแปลงเส้นพรมแดนใหม่แทนเส้นพรมแดนที่ได้ตกลงยินยอมกันไว้ในนี้แล้ว การที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกันนั้น ถึงโดยว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างไร ๆ ก็ดี จะต้องทำไม่ให้ล่วงล้ำเปนที่เสื่อมเสียประโยชน์ฝ่ายรัฐบาลสยามได้เลย
สัญญานี้ทำที่กรุงเทพฯ เปนสองฉบับ ความเดียวกัน แต่ณวันที่ ๑๐ มีนาคม รัตนโกสินทร์ศ๔ก๑ ๑๒๘ คฤสตศักราช ๑๙๐๙
ประทับตรา | (เซ็น) | เทวะวงษ์วโรประการ | ||
ประทับตรา | (เซ็น) | ราลฟ์ แปชยิต |
บรรณานุกรม
แก้ไข- "สัญญาว่าด้วยเขตแดน ติดท้ายหนังสือสัญญา ลงวันที่ 10 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 127 คฤศตศักราช 1909". (2452, 18 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 26, ตอน 0 ก. หน้า 705–708.
งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตาม แม่แบบผิดพลาด: โปรดระบุประเภทของงานนี้ (ดูวิธีใช้) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า
- "มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
- (1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
- (2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- (3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
- (4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- (5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"