สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษฯ 10 มีนาคม ร.ศ. 127

สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ

ลงชื่อกันที่กรุงเทพฯ ณวันที่ ๑๐ มีนาคม รัตนโกสินทร์ ๑๒๗
แลได้แลกเปลี่ยนรติฟิเกชันของสัญญานี้ที่กรุงลอนดอน
เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม รัตนโกสินทร์ ๑๒๘ มีความดังต่อไปนี้

สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม กับสมเด็จพระเจ้ากรุงเครตบริเตนแลไอร์แลนด์ กับทั้งดินแดนอังกฤษทั้งหลาย แลเปนบรมราชาธิราชแห่งประเทศอินเดีย มีพระราชประสงค์ที่จะให้ความต่าง ๆ ซึ่งเกิดในระหว่างสองประเทศนี้เปนอันแล้วเสร็จสิ้นไป จึงได้ตกลงกันทำหนังสือสัญญาขึ้นฉบับหนึ่ง แลได้ตั้งแต่งผู้มีอำนาจเต็มเพื่อประโยชน์การทำสัญญานี้ทั้งสองฝ่าย คือ

ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ์วโรประการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ ฝ่ายหนึ่ง

ฝ่ายสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษนั้น มิสเตอร์ราลฟ์ แปชยิด อรรคราชทูตวิเศษ แลผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายอังกฤษ อีกฝ่ายหนึ่ง

ต่างได้รับหนังสือมอบอำนาจด้วยกันทั้งสองฝ่าย ที่ได้สอบสวนกันเห็นถูกต้องตามแบบอย่างดีแล้ว จึงได้พร้อมกันตกลงทำสัญญา มีข้อความดังจะกล่าวต่อไปนี้

ข้อรัฐบาลสยามยอมโอนให้แก่รัฐบาลอังกฤษ บรรดาอำนาจชอบธรรมฐานที่เปนเจ้าเปนใหญ่ปกครองป้องกันแลบังคับบัญชา อันมีอยู่เหนือเมืองกลันตัน เมืองตรังกานู เมืองไทรบุรี เมืองปลิศ แลเกาะที่ใกล้เคียงเมืองเหล่านั้น แลเขตรแดนเมืองที่ว่ามานี้ได้มีกำหนดไว้ในหนังสือสัญญาว่าด้วยเขตร์แดนซึ่งติดท้ายสัญญานี้

ข้อการโอนที่ว่ามาในข้อ ๑ นั้น จะได้จัดให้สำเร็จภายในสามสิบวันตั้งแต่วันที่ได้รติไฟสัญญานี้แล้ว

ข้อกรรมการรวมกันกองหนึ่ง มีพนักงานแลนายทหารฝ่ายไทยแลอังกฤษ ซึ่งสองประเทศที่ทำสัญญานี้จะได้ตั้งขึ้นภายในหกเดือนตั้งแต่วันที่รติไฟสัญญานี้แล้วแล จะให้ไปปักเฃตรแดนที่ตกลงกันใหม่นี้ กรรมการนี้จะได้ลงมือปักปันในฤดูที่จะทำการได้ทันที แลจะให้ทำการตามความที่กล่าวไว้ในสัญญาว่าด้วยเฃตรแดนที่ติดท้ายหนังสือสัญญานี้

คนในบังคับฝ่ายสยามซึ่งมีสำนักอยู่ในดินแดนที่กล่าวไว้ในข้อ ๑ นั้น ถ้ามีความประสงค์จะคงเปนคนสังกัดชาติไทย ก็จะอนุญาตให้เปนได้ แต่ต้องไปตั้งสำนักอยู่ในอาณาเฃตรสยามภายในเวลาหกเดือนตั้งแต่วันที่ได้รติไฟสัญญานี้ แลฝ่ายรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษยอมรับว่า คนเหล่านี้จะคงเปนเจ้าของทรัพย์อันเคลื่อนที่ไม่ได้ซึ่งเขามีอยู่ในดินแดนที่กล่าวไว้ในข้อ ๑ นั้น

อนึ่ง ได้เข้าใจกันทั้งสองฝ่ายตามอย่างธรรมเนียมการเปลี่ยนอำนาจปกครองบ้านเมืองว่า บรรดาหนังสืออนุญาตสำหรับทำกิจการต่าง ๆ ในดินแดนที่กล่าวในข้อ ๑ ซึ่งรัฐบาลสยามได้ให้เองฤๅเห็นชอบในการที่ได้ให้แก่บุทคลฤๅบริษัท แลรัฐบาลสยามถือว่า ยังใช้ได้อยู่ในวันที่ลงชื่อในสัญญานี้นั้น ฝ่ายรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษจะยอมถือว่า หนังสืออนุญาตเหล่านั้นคงใช้ได้ต่อไปเหมือนกัน

ข้อรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษยอมรับว่า บรรดาหนี้สินของที่ดินแดนต่าง ๆ อันกล่าวในข้อ ๑ ซึ่งเป็นหนี้ต่อรัฐบาลสยามนั้น รัฐบาลของเฟดเดอเรเตดมาเลสเตตส์จะใช้แทนทั้งสิ้น

ข้ออำนาจศาลต่างประเทศฝ่ายสยาม ซึ่งได้ว่าไว้ในข้อ ๘ ของหนังสือสัญญา ลงวันจันทร์ เดือนสิบ ขึ้นสองค่ำ ปีมแม เบ็ญจ จุลศักราช ๑๒๔๕ ตรงกับวันที่ ๓ กันยายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๐๒ คฤสตศักราช ๑๘๘๓ นั้น จะต้องใช้ตามสัญญาว่าด้วยอำนาจศาลที่ติดท้ายหนังสือสัญญานี้ทั่วไปแก่บรรดาคนในบังคับอังกฤษในกรุงสยามผู้ที่ได้จดบาญชีอยู่ในที่ว่าการกงสุลอังกฤษก่อนวันที่ทำหนังสือสัญญานี้

วิธีอำนาจศาลอย่างนี้จะเลิกไม่ใช้ต่อไป คือว่า จะเปลี่ยนอำนาจศาลต่างประเทศไปเป็นอำนาจศาลฝ่ายสยามตามระบิลเมือง เมื่อได้ประกาศใช้กฎหมายรวมลักษณต่าง ๆ คือ กฎหมายลักษณอาญาโทษ กฎหมายลักษณแพ่งแลการค้าขาย กฎหมายลักษณวิธีพิจารณาคดี แลกฎหมายลักษณพระธรรมนูญจัดตั้งศาล

บรรดาคนในบังคับอังกฤษในกรุงสยามนอกจากผู้ที่ว่ามาข้างต้นนี้แล้ว จะต้องอยู่ในอำนาจศาลฝ่ายสยามตามธรรมเนียมของบ้านเมือง แลตามความที่กล่าวไว้ในสัญญาว่าด้วยอำนาจศาล

ข้อคนในบังคับอังกฤษจะได้มีกรรมสิทธิ์เหมือนคนในพื้นเมืองตลอดทั่วกรุงสยาม คือ กรรมสิทธิ์ในการถือทรัพย์ที่ดิน กรรมสิทธิ์ในการที่จะอยู่ฤๅจะเที่ยวไปแห่งใด ๆ ได้

คนเหล่านี้ แลทรัพย์สมบัติของคนเหล่านี้ จะต้องเสียภาษีอากรแลส่วยฤๅการเกณฑ์ใช้ราชการทุกอย่าง แต่ต้องเป็นภาษีอากรแลส่วนฤๅการเกณฑ์ที่ไม่หนักยิ่งกว่าฤๅไม่ผิดกันกับที่กฎหมายกำหนดฤๅจะได้กำหนดให้ใช้สำหรับคนในบังคับสยาม แลเป็นที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า ความในหนังสือสัญญาน้อย ลงวันที่ ๒๐ กันยายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๙ คฤสตศักราช ๑๙๐๐ ซึ่งจำกัดภาษีที่ดินมิให้เก็บเกินกว่าอัตราภาษีสำหรับที่ดินเช่นเดียวกันในเมืองพม่าฝ่ายใต้นั้น เป็นอันยกเลิกเสียโดยหนังสือสัญญานี้

คนในบังคับอังกฤษในกรุงสยามนั้น จะให้ยกเว้นจากการเกณฑ์เป็นทหารบกทหารเรือ แลจะไม่ต้องเสียเงินซึ่งบังคับให้ใช้ฤๅเงินค่าแรงแทนเกณฑ์การทหาร ฤๅเงินช่วยในการทหาร

ข้อข้อความทั้งปวงในหนังสือสัญญาใหญ่น้อยทั้งหลายที่มีอยู่แต่ก่อนในระหว่างกรุงอังกฤษกับกรุงสยาม ซึ่งไม่ได้แก้ไขไว้ในหนังสือสัญญานี้ ต้องคงอยู่เต็มตามเดิม

ข้อหนังสือสัญญานี้จะต้องรติไฟภายในกำหนดสี่เดือนนับตั้งแต่วันที่ลงชื่อ

หนังสือสัญญานี้ ผู้มีอำนาจเต็มทั้งสองฝ่ายได้ลงชื่อแลประทับตราไว้เป็นสำคัญ ได้เขียนอย่างละสองฉบับที่กรุงเทพมหานครณวันที่ ๑๐ มีนาคม รัตนโกสินทร์ ๑๒๘ คฤสตศักราช ๑๙๐๙

ประทับตรา (เซ็น) เทวะวงษ์วโรประการ
ประทับตรา (เซ็น) ราลฟ์ แปชยิต

บรรณานุกรม

แก้ไข
 

งานนี้ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเป็นงานตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 7 สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
(1)ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
(2)รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
(3)ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
(4)คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
(5)คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น จัดทำขึ้น"