ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร/เอกสาร 28
ให้องค์พระนโรดมพรหมบริรักษามหาอุปราชเป็นเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี มีนามสมญาดังจารึกไว้ในพระมหาสุพรรณบัตรซึ่งส่งมากับสำคัญนี้ ให้มีอำนาจอิศริยศเป็นใหญ่ เป็นอธิบดีแผ่นดินบ้านเมืองฝ่ายเขมรทั้งปวง บรรดาที่องค์สมเด็จพระหริรักษารามมหาอิศราธิบดี ผู้พระบิดา ได้ครอบครองเป็นเจ้าของเป็นใหญ่ใต้บังคับบัญชามาจนตลอดเวลาอายุองค์สมเด็จพระหริรักษามหาอิศราธิบดีนั้นทั้งสิ้น ให้มีอำนาจได้เลือกแล้วแลตั้งแต่งพระยาพระเขมรผู้ใหญ่ผู้น้อยตามตำแหน่งทั้งปวงซึ่งเคยมาแต่ก่อนหรือในที่เห็นควรว่าจะให้มีขึ้น แลเลือกตั้งผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการทุกแขวงทุกอำเภอตามที่องค์สมเด็จพระหริรักษารามมหาอิศราธิบดีเคยตั้ง จงได้รักษายุติธรรมเที่ยงตรง ดำรงจิตคิดด้วยเมตตากรุณาแก่ประชาราษฎร แลคนสัญจรไปมา บรรดาอยู่ในกรุงกัมพูชาทั้งสิ้น ทำนุบำรุงผ่อนปรนให้เกิดผลประโยชน์แก่บ้านเมือง การในหลวงให้ได้ การของไพร่อย่าให้เสื่อมเสีย จงรักษาความซื่อสัตย์สุจริตประพฤติอ่อนน้อมต่อกรุงเทพมหานคร โดยเยี่ยงอย่างการที่ปฏิพัทธ์ติดพันธ์มาแต่ครั้งองค์สมเด็จพระหริรักษารามมหาอิศราธิบดี ผู้พระบิดานั้น จงทุกประการ ขอให้สิ่งซึ่งเป็นเหตุเป็นประธานแก่โลก คือ คุณพระพุทธาทิรัตนตรัยแลเทพยดาทั้งปวงที่อยู่ในธรรม จงรักษาให้เจริญสุขสวัสดี
เมื่อจะทรงตั้งองค์สมเด็จพระนโรดมนั้น ทรงพระราชนิพนธ์นามที่จารึกในสุพรรณบัตรสองอย่าง โปรดให้ส่งไปให้องค์นโรดมเลือกเอาตามชอบใจ อย่างหนึ่งว่า องค์สมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร คุณสารสุนทรฤทธิ์ มหิศวราธิบดีศรีสุริโยรวงษ์ นฤพัทธพงษ์ดำรงราช บรมนารถมหากัมโพชาธิบดินทร์ สรรพศิลปประสิทธิ์ สถิตยสถาพร พรหมามรอำนวยชัย มหัยสวริยาธิบดี ในปฐพีดล สกลกัมโพชาณาจักร อรรคมหาบุรุษยรัตนวิวัฒนาดิเรก เอกอุดมบรมบพิตร พระเจ้ากรุงกัมโพชาธิบดี พระปรีชาวิเศษ ฯ อีกอย่างหนึ่งว่า องค์สมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร มหาบริพาน วิบุลยสารศิริสมบัติ กัมโพชาฉัตรมหาสวามินทร์ เขมระธรณินทราธิราช ชาตยานุพรรณ นิรันตรวงศ์ดำรงกัมพุชชาติชนนิกร พรหมามรทินพระไชยาสา
แล้วทรงแปลในอักษรนามเป็นเนื้อความดังนี้… … …[1]
เลขที่ | ๓๖๓ | |
หมู่ | จดหมายเหตุ ร. ๔ จ.ศ. ไม่มี | |
ชื่อ | ตั้งองค์พระนโรดมเป็นใหญ่ในเมืองเขมร |
- ↑ ต้นฉบับขาด