พจนานุกรมกฎหมาย/กฎหมายสันนิษฐาน
หน้านี้อาจเข้าหลักเกณฑ์การลบตามนโยบายของวิกิซอร์ซด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้: อ1 - เนื่องจากมีการย้ายเนื้อหาไปยังดัชนีสมัยใหม่แล้ว (ดังที่ปรากฏในหน้า พจนานุกรมกฎหมาย/ก) หน้านี้จึงไม่ได้ใช้อีก และไม่มีหน้าให้เปลี่ยนทางไป จึงจำเป็นต้องแจ้งลบ
ถ้าคุณไม่เห็นด้วยในการแจ้งลบ โปรดระบุเหตุผลในหน้าคุยของหน้านี้ ถ้าหน้านี้ไม่เข้าเกณฑ์การลบหรือคุณตั้งใจจะปรับปรุงต่อ โปรดนำประกาศนี้ออก แต่ผู้ที่นำป้ายออกต้องไม่ใช่ผู้สร้างหน้าเด็ดขาด ผู้ดูแลระบบโปรดตรวจสอบว่ามีลิงก์ใด ๆ ที่เชื่อมโยงมายังหน้านี้ ประวัติของหน้า (การแก้ไขล่าสุด) และรุ่นใด ๆ ที่เข้าหลักเกณฑ์ตามนโยบายก่อนที่จะดำเนินการลบ หน้านี้มีการแก้ไขล่าสุดโดย Legiferum (ส่วนร่วม | ปูม) เมื่อเวลา 19:04, 17 พฤศจิกายน 2567 (17 วันก่อน) |
กฎหมายสันนิษฐาน ความสันนิษฐานของกฎหมาย ในเมื่อมีเหตุการณ์อันเป็นข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว ให้ถือว่า ผลต้องฤๅควรเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ ฤๅเท่ากับเป็นเช่นนั้นเช่นนี้
ข้อสันนิษฐานในทางกฎหมายนั้น พอแบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ ―
(๑) สันนิษฐานโดยข้อกฎหมาย เช่น กฎหมายลักษณะอาชญา มาตรา ๕๖ สันนิษฐานว่า เด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ ไม่รู้เดียงสา ประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา ๖๔-๖๕ สันนิษฐานว่า คนที่สาบสูญไปตั้ง ๗ ปีนั้น ตาย ข้อนี้ ยังแบ่งออกได้อีก ๒ ประการ คือ ―
- (ก) สันนิษฐานเด็ดขาด คือ ไม่ยอมให้สืบพะยานหักล้าง เช่น เด็กอายุต่ำกว่า ๗ ขวบ ที่กฎหมายสันนิษฐานว่าไม่รู้เดียงสา จะนำสืบว่ารู้เดียงสาไม่ได้ (ป.ก.อ. มาตรา ๕๖)
- (ข) สันนิษฐานไม่เด็ดขาด คือ ยอมให้สืบพะยานหักล้างได้ เช่น ผู้ที่มิได้เล่นการพะนัน แต่ถูกจับในวงการพะนันที่เล่นกันโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายสันนิษฐานก่อนว่าผู้ถูกจับเป็นผู้เล่น แต่ผู้ถูกจับสืบหักล้างได้ว่าไม่ได้เล่น (พ.ร.บ.การพะนัน พ.ศ. ๒๔๗๓ มาตรา ๖)
(๒) สันนิษฐานโดยข้อเท็จจริง เช่น ใช้ปืนยิงคน ตามธรรมดาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ยิงตั้งใจจะฆ่าผู้ถูกยิงให้ตาย เพราะปืนเป็นอาวุธร้ายแรงมาก (ดู คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๐๔/๑๒๘, ๕๔๗/๑๒๘) แต่นำสืบหักล้างได้