พจนานุกรมกฎหมาย

พจนานุกรมกฎหมาย
บรรจุคำ
ตั้งแต่โบราณกาลถึงปัจจุบันกาล
สำหรับ
ความสะดวกในผู้ใคร่ศึกษาและผู้ต้องการทราบ


โดย
ขุนสมาหารหิตะคดี
(โป๊ โปรคุปต์)
เนติบัณฑิตสยาม


พิมพ์ในประเทศสยามเป็นครั้งแรก
พ.ศ. ๒๔๗๔
พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ถนนราชบพิธ, จังหวัดพระนคร.

  • ขออุททิศ
  • แด่
  • ครูบาอาจารย์ของข้าพเจ้า

คำนำ

แทบทุกคราวที่ข้าพเจ้าได้อ่านพจนานุกรมกฎหมายของอังกฤษเพื่อช่วยการเรียนโดยลำพังตัวของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าคิดเสมอว่า ในบรรดาคำสำคัญ ๆ ในกฎหมายไทย ควรจะได้มีพจนานุกรมขึ้นใช้สักเล่มหนึ่ง เพื่อจะได้เป็นเครื่องช่วยการอ่านและการเรียนให้สะดวกขึ้น แต่ในเมื่อยังมิได้มีผู้ใดทำขึ้นดั่งที่ข้าพเจ้าคิด ช้าพเจ้าจึงได้ค้นคว้า รวบรวม และเรียบเรียงขึ้นช่วยตัวข้าพเจ้าก่อน ครั้นทำไป ๆ รู้สึกว่ามากพอควรที่จะช่วยผู้ที่ต้องการอย่างข้าพเจ้าได้บ้าง ข้าพเจ้าจึงได้ลองพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น โดยให้ชื่อว่า "พจนานุกรมกฎหมาย"

ข้าพเจ้าคิดว่า การเรียนรู้ความหมายในถ้อยคำแห่งกฎหมาย มีคำบางคำที่เราเรียนรู้ได้โดยคำนั้นเอง แต่ก็มีบางคำที่เราหารู้ได้ไม่ และก็ยังมีมากคำที่เราจะรู้ได้ไม่กว้างขวางพอ ทางที่จะช่วยเหลือเราได้ก็ต้องอาศัยคำเก่า ๆ ที่ยกเลิกไปแล้วบ้าง คำธรรมดาที่เกี่ยวข้องแก่การใช้กฎหมายบ้าง และคำของต่างประเทศที่ใกล้เคียงบ้าง เข้าช่วยเหลือเปรียบเทียบกันดู เพราะฉะนั้น ในหนังสือเล่มนี้จึงมีคำเหล่านี้รวมอยู่เท่าที่เห็นควร.

ต้นร่างของหนังสือฉะบับนี้ได้ส่งทะยอยไปพิมพ์ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๗๔ จนบัดนี้จึงสำเร็จ ทั้งนี้ เนื่องจากเวลาของข้าพเจ้าค่อนข้างจำกัดจำเขี่ยเต็มที เหตุนี้จึงได้มีข้อความบางตอนที่ได้พิมพ์ไปแล้วถูกยกเลิกเพราะมีกฎหมายใหม่ออกบังคับแก้ไข.

การกระทำของข้าพเจ้าทั้งนี้ ถ้าหากว่าจะมีอะไรบกพร่อง ก็ขอได้โปรดทราบด้วยว่า ข้าพเจ้าเตรียมตัวพร้อมที่จะได้รับคำแนะนำ ตักเตือน และอภัยจากท่านผู้ใช้หนังสือเล่มนี้อยู่แล้วทุกเมื่อ/.

  • ลายมือชื่อของขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์)
  • ๑๖๙๘ ตรอกบ้านเขมร, ถนนหลวง, พระนคร.
  • วันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๔

คำชี้แจง

ผู้ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ ขอได้โปรดเข้าใจด้วยว่า การวางรูปตัวอักษร ข้าพเจ้าได้ดำเนิรตามหลัก "ปธานุกรมของกระทรวงธรรมการ" คือ เรียงตามตัวพยัญชนะตั้งแต่ ถึง ส่วนสระนั้นก็ได้วางลำดับไว้ ดั่งนี้ ั ะ เ ะ เ า เ า ะ เ ิ เ ี เ ี ะ เ ึ เ ึ ะ แ ะ โ ะ

กฎหมายในวงเล็บ เป็นการบอกที่มาแห่งคำแปล หรือที่มาแห่งคำที่ได้ยกขึ้นแปลนั้น ถ้าเป็นคำสำคัญก็ได้บอกตำราที่ควรดูไว้ให้ด้วย

ที่ใดมีคำย่อ ให้เข้าใจดั่งนี้—

ป.ก.อ. = ประมวลกฎหมายลักษณะอาชญา ร.ศ. ๑๒๗
ป.ก.ท. = ประมวลกฎหมายอาชญาทหาร ร.ศ. ๑๓๐
ป.ก.พ. = ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. ๒๔๖๗, ๒๔๗๑ และ ๒๔๗๓ (เท่าที่ออกอยู่แล้ว ๔ บรรพ)
พ.ธ.ย. = พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ. ๑๒๗
พ.ธ.บ. = พระธรรมนูญศาลทหารบก พ.ศ. ๒๔๖๕
พ.ธ.ร. = พระธรรมนูญศาลทหารเรือ ร.ศ. ๑๒๗
พ.ธ.ช. = พระธรรมนูญศาลทรัพย์ชะเลย พ.ศ. ๒๔๖๐
พ.ร.บ. = พระราชบัญญัติ
กฎห์ = กฎหมาย
กฎม์ = กฎมณเฑียรบาล
กฎส์ = กฎเสนาบดี

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก