พระกวีนิพนธ์ฯ/เรื่อง 2
สารบัญ
คำอธิบาย ในสมัยออกหนังสือวชิรญาณของหอพระสมุดฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ 5 พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน และข้าราชการ (ต้นฉบับตรงนี้อ่านไม่ออก) โคลงกลอนและเรื่องราว (ต้นฉบับตรงนี้อ่านไม่ออก)
ความรู้เป็นเพื่อนได้ | ในยาม เปลี่ยวนา | |
เป็นเครื่องอาภรณ์คราว | พูดโต้ | |
เป็นเราเมื่อคิดความ | ควรตัด สินแฮ | |
เป็นทรัพย์ทุกเพล้โพล้ | พรุ่งงาย ฯ | |
โกงเกลียดความรู้ขัด | คอยตน นะพ่อ | |
ซื่อชอบชมบ่วาย | อยากได้ | |
ฉลาดอาจช่วงใช้ดล | ประโยชน์ ปวงแล | |
เกียจเก็บความรู้ไว้ | ป่วยการ ฯ | |
รู้ เรียนคุ้มแท้โทษ | ทางหลง ลืมแฮ | |
รู้ อ่านกันวิจารณ์ | ผิดพลั้ง | |
รู้ เลขหลีกโง่งง | ทรัพย์สาป สูญเนอ | |
รู้ ประพฤติพ้นทั้ง | ทุกข์ภัย ฯ |
วชิรญาณ เล่ม 1 แผ่น 32 วัน 7 เดือน 9 แรม 14 ค่ำ ปีจอ อัฐศก 1248 หน้า 353.
รู้ เรื่องรักอย่าได้ | ดูเบา | |
รัก นักมักจักเมา | มืดกลุ้ม | |
จัก รักเร่งดูเอา | ชั่วอย่า คบแฮ | |
ดี บ่ชั่วพัวหุ้ม | จึ่งให้รักกัน ฯ | |
บรรณารักษ์ |
วชิรญาณ เล่ม 2 แผ่น 28 วัน 6 เดือน 6 ขึ้น 16 ค่ำ ปีกุน นพศก 1249 หน้า 219.
17 พงศาวดาร
คัมภีร์พิทยพากย์พร้อง | พงศา วดารเฮย | |
ไสยศาสตร์พุทธสาสนา | นิเทศทั้ง | |
ตำนานรัฐวรรา | ชประวัติ วงศ์แฮ | |
คดีดึกดำบรรพ์ตั้ง | ตลอดเบื้องปัจจุบัน | |
กรมสมเด็จพระเจ้า | บรมวงศ์ เธอเอย | |
เพ็ญพระพิริยภาพทรง | รอบรู้ | |
ทุกพากย์พิพิธพง | ศาวะ ดารนา | |
นับว่าอาจารย์ผู้ | อื่นได้ในสยาม |
วชิรญาณ เล่ม 9 แผ่นที่ 24 วันพฤหัสที่ 12 เดือน เมย. ร.ศ. 133 หน้า 288 แก้โคลงกระทู้ บทที่ 20 รางวัลที่ 3 เอ. บี. ซี. ดี.
เอ เชียร้อนดื่มน้ำ | แข็งคลาย ร้อนฮา | |
บี เสียตแล่นให้หาย | เมื่อยได้ | |
ซี เมนโบกพอหมาย | แทน ทัด หินแฮ | |
ดี ขัดแม้เบี่ยงใช้ | ชั่วแก้กลับเสีย | |
รู้ เขียนคุ้มแท้โทษ | ทางหลง ลืมแฮ | |
รู้ อ่านกันวิจารณ์ | ผิดพลั้ง | |
รู้ เลขหลีกโง่งง | ทรัพย์สาป สูญเนอ | |
รู้ ประพฤติพ้นทั้ง | ทุกข์ภัย | |
ดำรงราชานุภาพ เลขาธิการ |
โคลงความจน
วชิรญาณวิเศษ เล่ม 4 จ.ศ. 1250 หน้า 207
อาหารบริโภค | กันตาย | |
สรรพสัตว์จำเป็นหมาย | เท่านั้น | |
ใครขาดบริโภคกาย | เกือบวิบัติ | |
นั่นแลจวบจนชั้น | เอกแท้ทางจน | |
คนแคลนนุ่งผ้าขาด | ขอทาน ก็ดี | |
แม้ว่ามีอาหาร | อยู่แล้ว | |
สิ่งอื่นอนาถปาน | ใดก็ ตามเทอญ | |
จนไม่แท้แต่แคล้ว | สุขเข้าเขตร์เข็ญ | |
เห็นความเช่นนี้เพราะ | ธรรมดา ชนนา | |
รกชีพเปรียใดหา | ห่อนได้ | |
สรรพธรรมที่เกี่ยวกา | ยามนุษย์ เราฤๅ | |
ชูชีพเป็นสุขไร้ | ชีพนั้นทุกข์ทราม | |
ความจนธรรมชาติแท้ | ทางทุกข์ | |
จนที่ความตายรุก | รวดเร้า | |
จึ่งเป็นอย่างจนอุ | กฤษยอด จนแฮ | |
ใดจะฟานขาดเข้า | หยอดท้องจำตาย | |
ความจนหลายชั้นนับ | นิพนธ์ ได้นา | |
จะใคร่กล่าวเหตุผล | พล่ามเพ้อ | |
จนจิตต์เลอะคราวจน | จวบราช การแฮ | |
จำจบโคลงเก้อเก้อ | กุดค้างกลางแปลง | |
ลืมแสดงไปน่อยล้า | เลยเหมาะ มาแล | |
อันศัพท์ความจนฉะเพาะ | เท่านั้น | |
คือทุกข์ที่เกิดเพราะ | มีไม่ พอแฮ | |
แปลรวม "จน" ทุกชั้น | เช่นเข้าใจกัน | |
เลขาธิการ |
วชิรญาณ เล่ม 3 จ.ศ. 1249 หน้า 202.
ว่าด้วยเสื้อขาด
โดยเราเป็นแต่ม้า | งมงาย โง่แฮ | |
ย่อมกอบสุจริตหมาย | ชีพเลี้ยง | |
สินทรัพย์ไม่มีหลาย | พอเผื่อ | |
ที่จะเลี้ยงเพื่อนเพี้ยง | เพื่อนบ้านอันจน | |
คนแคลนมีพละทั้ง | สุขเป็น ทรัพย์แฮ | |
สงวนสัตย์ทนเข็ญเข็น | อาตมเกื้อ | |
ใครใคร่ประพฤติเห็น | เสมอกล่าว นี้นา | |
แสนขัดจนสวมเสื้อ | ขาดข้าคงชม | |
ยามทำลายชีพทิ้ง | ถมใน ดินแฮ | |
นับแต่ร้อยปีไป | หมดเชื้อ | |
ก็คือว่าผู้ใด | จักบอก ได้นา | |
ว่ากระดูกไหนสวมเสื้อ | ขาดครั้งยังเป็น | |
นี่และ (ธรรมเนียมม้า | บรรยาย | |
เดชะสัตย์ภิปราย | ปราชญ์ถ้อย) | |
สรวมสิทธิ์สู่คณะชาย | ชาวกอบ การณ์แฮ | |
อันเหนื่อยหอบเหื่อย้อย | ค่ำเช้าเอางาน | |
มังสาสารพัตร์ทั้ง | สุราบาน | |
พูนเพิ่มทุกฉนำกาล | อย่าร้าง | |
(ทำการอย่าพะพาล | พาพลาด) | |
จงมากมูนค่าจ้าง | อย่าน้อยถอยผล | |
ภรรยาร่วมสุขพ้อง | ไพบูลย์ ด้วยเทอญ | |
หย่าละกมลมูน | โอบเอื้อ | |
อุตสาหะอนุกูล | กิจสุข ตาแฮ | |
ประสายากปุปะเสื้อ | ขาดให้หายแผล | |
ฟังโคลงฝรั่งต้อง | ติดใจ บารนี | |
จึงเปลี่ยนแปลเป็นไทย | เทียบถ้อย | |
ส่งหอพระสมุดใน | เวกวิก นี้นา | |
เสนอสมาชิกน้อย | ใหญ่ให้พึงยล | |
ด.ร. |