พระราชกระแส ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2475
ที่ ๕๔/๑๘๔๑
- กระทรวงมุรธาธร
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕
- รับที่ ๑๓๙๒ ๑๙๓๐
ตามหนังสือข้าพเจ้า ลงวันที่ ๒ พฤษภาคม ศกนี้ นำส่งบันทึกโครงการศึกษมานั้น ต่อมา ข้าพเจ้าอ่านพบความเห็นของนายมุสโสลินีแสดงนโยบายและอุปสรรคแห่งการศึกษาของประเทศอิตาเลียในหนังสือ The Year Book of Education 1932 เห็นว่า มีข้อความคล้ายคลึงกับโครงการศึกษาที่ส่งมา จึงคัดสำเนาส่งมาพร้อมกับหนังสือนี้.
ถ้ามีโอกาสสมควร ขอเจ้าคุณได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท จะควรประการใดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
มหาอำมาตย์เอก | |
เสนาบดี |
“Italy has a great tradition of culture, but poverty of resources and, above all, want of spiritual vision has led to a decay of the public schools. Although the percentage of illiteracy had tended to diminish and even to disappear in some districts, especially in Piedmont, our citizens no longer sought in education those broad foundations of physical, intellectual, and moral culture which are the rightful heritage of the human race. The middle schools were overcrowded, because all could gain admission, independently of real merit, by passing multifarious examinations, which were often reduced to a mere formality. They did not employ intelligent methods of selection or of vocational guidance. The mill ground⟨s⟩ out in great quantity a type of men whose usual goal was a job in the bureaucracy. Puppets of the same kind were turned out by university training in the so-called liberal arts such as jurisprudence and medicine.
“It was time that a mechanism so delicate and exercising so powerful an influence on the life of the nation should be reconstructed on a practice, definite, and organic plan. We had to expel the negative elements from the middle schools, and we were resolved to instill into the public schools those broad humanistic principles which had enriched our history and our traditions.
“Finally, it was imperative to give education a new discipline to which all must submit, the teachers first of all.
เราจะสอนให้คนไทยเห็นว่า Absolute Monarchy ดีกว่าการปกครองอย่างอื่นได้หรือไม่ น่าสงสัยมาก. “The Government demands that the school should be inspired with the ideals of Fascism; it demands that it should be not merely not hostile to Fascism but in no way out of sympathy with it or indifferent to it; and it demands that the whole school system in every grade and every phase of its teaching should educate Italian youth to understand Fascism, to renew themselves in Fascism and to live in the historic atmosphere created by the Fascist Revolution.
“Education is one. There are no watertight compartments. In education all is related, from the infant school to the university; and all teachers, entrusted as they are with the youth of the nation from tender years to manhood, share the same joint responsibility, moral and intellectual, for the efforts of all have a common aim.
“I intend that the whole school system shall be above all educative, formative, and moral. It is not necessary to cram the mind with learning, past and present. Learning is nothing but a special Swedish gymnastic, necessary to mental training, and is the more useful the sooner its useless and superfluous details are forgotten. Rather, it is necessary that the schools should form the character of the Italian nation.”
(From the Year Book of Education 1932 edited by Lord Eustace Percy, M.P. Chapter Iii page 858.)
พระราชกระแส | หมายเหตุ |
Interesting มาก. เขาสอนให้เด็กของเขานิยมการปกครองอย่างวิธีของ Fascism ได้ แต่เราจะสอนคนไทยให้นิยมการปกครองอย่าง Absolute Monarchy ได้หรือ? ฉันสงสัยมาก เพราะถ้าทำเดี๋ยวนี้ มันช้าเกินไปเสียแล้ว. ความนิยมและนับถือในพระองค์สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอย่างที่เคยเปนมาแต่ก่อน ฉันเห็นว่า จะกลับให้ฟื้นขึ้นอย่างแต่ก่อน
คัดสำเนาถวายอภิรัฐ. ไม่ได้อิกแล้ว เพราะคนที่เปนบิดาของเด็ก ๆ ที่กำลังเรียนอยู่เดี๋ยวนี้เคยชินและชอบการนินทาพระเจ้าแผ่นดินเสียจนติดตัวแล้ว. เมืองเราใช้วิธีปกครองอย่าง Dictator. แต่ไม่ใช้วิธีการอย่างอื่น ๆ ของ dictator ต้องใช้ลักษณะการของ democracy หลายอย่าง จึงเปนการครึ่ง ๆ กลาง ๆ และยังไม่ตกลงใจกันจริง ๆ ว่าจะเอาอย่างไรด้วย. ถ้าจะไม่ใช้แบบ democracy เราก็กลัวฝรั่งจะติเตียนว่า uncivilized. Italy เขาไม่ต้องกลัวใครจะด่าก็ช่าง. เมืองเราจะต้องตก between two stools เพราะลังเลใจ. ที่จริง ถ้าเอาแบบ Fascist ทีเดียว และมี fascist party ขึ้น บางทีจะดีและจะเปน way out ที่ดีที่สุด แต่จะทำได้หรือ? ถ้าทำไม่ได้ ก็ควรเตรียมการที่จะเปลี่ยนเปน Constitutional Monarchy โดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ และต้องให้การศึกษาไปในทางนั้นละกระมัง?. |
บรรณานุกรม
แก้ไข- พระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อความเห็นของนายมุสโสลินี. (2545). ใน แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ "ประชาธิปไตย" ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2469–2475) (น. 283–287). (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า. (สถาบันพระปกเกล้าจัดพิมพ์ในงานพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 7 ธันวาคม พุทธศักราช 2545). ISBN 9743000372.
งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก