สถานีย่อย:ศาลฎีกา

หน่วยงานทางปกครอง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2_(%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2) https://www.wikidata.org/wiki/Q6152383 เนื้อหาอภิปรายเนื้อหาดูต้นฉบับประวัติ ผู้เรียบเรียง : ณัฐกฤช มุสิกะโสภณ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายจเร พันธุ์เปรื่อง
ในอดีตการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาลในประเทศไทยใช้ระบบศาลเดี่ยว คือ ระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการปฏิรูปการเมืองโดยคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองและคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ขึ้นและได้มีการปรับปรุงระบบศาลไทยจากระบบศาลเดี่ยวมาเป็นระบบศาลคู่ คือ ระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนคดีปกครองแยกให้ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจในการวินิจฉัยคดีดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อแยกระบบของผู้พิพากษาและแยกองค์กรศาลปกครองออกจากระบบศาลยุติธรรมจึงมีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ขึ้น
ความหมายของหน่วยงานทางปกครอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้ให้นิยาม “หน่วยงานทางปกครอง” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ความหมายรวมถึงหน่วยงาน ที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง
ประเภทของหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 สามารถจำแนกประเภทของหน่วยงานทางปกครองเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
2.1 หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้จัดระเบียบราชการบริหารของประเทศแยกออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
2.1.1 หน่วยงานในระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง คือ กระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม
(1) กระทรวงในที่นี้หมายรวมถึงสำนักนายกรัฐมนตรีด้วย ซึ่งเป็นส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากับกระทรวง กระทรวงเป็นหน่วยงานของรัฐที่ใหญ่ที่สุดในราชการบริหารส่วนกลางมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นหัวหน้า และมีปลัดกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
(2) ทบวง คือ ทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวงและทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(2.1) ทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวงมีรัฐมนตรีว่าการทบวงซึ่งมีฐานะและอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชา โดยมีปลัดทบวง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในทบวงรองจากรัฐมนตรี ในประเทศไทยนั้น มีการจัดตั้งทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง 1 แห่ง คือ ทบวงมหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกแล้วโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ในปัจจุบันจึงไม่มีทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง เป็นหน่วยงานในระบบราชการส่วนกลางอีกต่อไป
(2.2) ทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง เป็นหน่วยงานซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ดังนั้น ทบวงจึงมีฐานะต่ำกว่ากระทรวง แต่สูงกว่ากรม โดยมีรัฐมนตรีว่าการทบวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของทบวง แต่ต้องปฏิบัติราชการภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ทบวงอยู่ในสังกัด แล้วแต่กรณี ส่วนทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงนั้น ไม่ปรากฏว่ามีการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการแต่อย่างใด
(3) กรม เป็นส่วนราชการบริหารส่วนกลางสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวงหรือทบวงตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง สำหรับการแบ่งส่วนราชการภายในกรมนั้นๆ เป็นไปตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการของกรมต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นกอง สำนัก กลุ่มงาน ฝ่าย แผนก ลดหลั่นกันไปตามสายการบังคับบัญชา ส่วนราชการภายในกรมใดถือเป็นส่วนหนึ่งของกรมนั้นโดยมีข้าราชการของกรมในตำแหน่งต่างๆ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ
(4) ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม มี 2 ประเภท ดังนี้
(4.1) ส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดของกระทรวงหรือทบวง เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมอยู่ในสังกัดกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานงบประมาณ เป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีเลขาธิการ ผู้อำนวยการ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
(4.2) ส่วนราชการที่ไม่อยู่ในสังกัดของกระทรวงหรือทบวง เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรมอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554 เป็นต้น
2.1.2 หน่วยงานในระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เป็นหน่วยงานที่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(1) จังหวัด เป็นการรวมท้องที่หลายๆ อำเภอและกิ่งอำเภอเข้าด้วยกันแล้วตั้งขึ้นเป็นจังหวัดซึ่งต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดนั้น
(2) อำเภอ เป็นหน่วยราชการรองจากจังหวัด โดยการรวมท้องที่ตำบลหลายๆ ตำบลแล้วตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ ทั้งนี้ อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนกับจังหวัด
(3) ตำบลและหมู่บ้านเป็นหน่วยการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457
2.1.3 หน่วยงานในระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่น เป็นระบบการบริหารราชการที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจบริหารให้แก่หน่วยงานที่ไม่ใช่ราชการส่วนกลาง จัดทำบริการสาธารณะบางอย่างภายในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยมีการแยกหน่วยงานออกไปเป็นนิติบุคคลอิสระที่มีงบประมาณ และเจ้าหน้าที่ของตนเอง สามารถจัดทำบริการสาธารณะตามที่ได้รับมอบหมายโดยไม่ต้องรับคำสั่งจากราชการส่วนกลาง เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ราชการส่วนกลางเพียงแต่คอยควบคุมดูแลให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น ซึ่งราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลนคร เทศบาลเมือง หรือเทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นหน่วยงานที่อยู่ในกำกับหรือควบคุมดูแลโดยตรงหรือโดยทางอ้อมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2.2 รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา รัฐวิสาหกิจ (State Enterprises) ในระบบกฎหมายของประเทศไทยสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท ดังนี้
2.2.1 รัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานทางปกครอง
(1) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเป็นการเฉพาะราย ได้แก่ การเคหะแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การรถไฟแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นต้น
(2) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเป็นพระราชกฤษีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 ได้แก่ องค์การสวนสัตว์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ องค์การตลาดเพื่อเกษตร เป็นต้น และรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
2.2.2 รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นหน่วยงานทางปกครอง
(1) รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท และบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้แก่ ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
(2) รัฐวิสาหกิจที่เป็นส่วนราชการภายในของหน่วยงานทางปกครองที่จัดตั้งโดยระเบียบ หรือข้อบังคับของหน่วยงานทางปกครอง นั้น ได้แก่ สำนักงานธนานุเคราะห์ จัดตั้งโดยข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานสำนักงานสถานธนานุเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ พ.ศ. 2517 รัฐวิสาหกิจประเภทนี้ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2.3 หน่วยงานอื่นของรัฐ
หน่วยงานอื่นของรัฐ หมายถึง บรรดาหน่วยงานของรัฐทั้งหลายที่ไม่ใช่หน่วยงานตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และไม่ใช่รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือโดยพระราชกฤษฎีกา สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.3.1 องค์การมหาชน (Public Organization) หมายถึง องค์การมหาชนทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษีกาออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 องค์การมหาชนประเภทนี้เป็นหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายภารกิจในการจัดทำบริการสาธารณะเฉพาะด้าน หรือจัดทำให้แก่ประชาชนเฉพาะกลุ่ม (โดยไม่มีลักษณะของการประกอบการทางอุตสาหกรรมและการค้า) หรือเป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงและมีเทคนิควิธีการเฉพาะซึ่งต้องการความรวดเร็วของการตัดสินใจและประสิทธิภาพของการปฏิบัติการอย่างทันท่วงทีตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันด่วน ภารกิจดังกล่าวได้แก่ การรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา การศึกษาอบรมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐ การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การพัฒนาและส่งเสริมการกีฬา การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการวิจัย การถ่ายทอดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติ การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การอำนวยบริการแก่ประชาชน หรือการดำเนินการอันเป็นสาธารณประโยชน์อื่นใด ซึ่งการดำเนินกิจการเฉพาะด้านดังกล่าว ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรเป็นหลัก
2.3.2 หน่วยงานอิสระของรัฐ (Independent Administrative Organization) เป็นหน่วยงานของรัฐที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของศาลต่างๆ องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ เช่น สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในการบังคับบัญชาของประธานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลยุติธรรมอยู่ในการบังคับบัญชาของประธานศาลฎีกา สำนักงานศาลปกครองอยู่ในการบังคับบัญชาของประธานศาลปกครอง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งอยู่ในการบังคับบัญชาของประธานกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินอยู่ในการบังคับบัญชาของประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินอยู่ในการบังคับบัญชาของประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น
2.3.3 กองทุนที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจของรัฐ หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยตราเป็นพระราชบัญญัติเนื่องจากต้องการอำนาจรัฐในการบังคับฝ่ายเดียวต่อภาคเอกชนหรือประชาชนในการสมทบ เงินเข้ากองทุน ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนก็เพื่อเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจของรัฐในการดำเนินบริการสาธารณะแก่ประชาชน หรือกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือเพื่อการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเฉพาะด้าน การดำเนินงานของกองทุนจะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินสมทบจากกลุ่มเป้าหมายนั้น ได้แก่ กองทุนการออมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัติกองทุนบําเหน็จบํานาญขาราชการ. พ.ศ. 2539 เป็นต้น
2.4 หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง หน่วยงานทางปกครองเพราะได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทสำคัญ ได้แก่ องค์การวิชาชีพ และองค์การเอกชนที่ไม่ได้เป็นส่วนราชการหรือเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่มิได้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือโดยพระราชกฤษฎีกาที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง
2.4.1 องค์กรวิชาชีพ คือ รัฐประสงค์เข้ามาควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพมิให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคลซึ่งไม่มีความรู้ความสามารถ อันก่อให้เกิดภัยและความเสียหายแก่ประชาชน รัฐจึงเห็นควรจัดให้มีองค์กรที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน ทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ รวมทั้งส่งเสริมการประกอบวิชาชีพแทนรัฐ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีคุณภาพและมาตรฐานและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ เช่น การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ การให้ยื่นคำขอประกอบวิชาชีพ การให้ผู้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับการประกอบวิชาชีพหยุดหรือเลิกประกอบวิชาชีพนั้น เป็นต้น ทั้งนี้ แต่ยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากรัฐหรือฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 และสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นต้น
2.4.2 องค์การเอกชนที่ไม่ได้เป็นส่วนราชการหรือเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่มิได้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือโดยพระราชกฤษฎีกาที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง สามารถจำแนกได้ 2 กรณี ดังนี้
(1) กรณีที่พระราชบัญญัติมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ ได้แก่ โรงเรียนเอกชนได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครองเกี่ยวกับการสอนและประเมินผลการเรียนของนักเรียนตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525
(2) กรณีที่มอบหมายให้รัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประเภทบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 เป็นผู้ดำเนินการ ได้แก่ บริษัท ขนส่ง จำกัด ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครองเกี่ยวกับการบริการสาธารณะด้านการคมนาคมและการขนส่งของประเทศ , บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครองเกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์ และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการทางปกครองเกี่ยวกับการควบคุมการจราจรทางอากาศ การให้บริการสื่อการบิน เป็นต้น จากที่กล่าวมาข้างต้น หน่วยงานทางปกครองจึงประกอบด้วย ราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลนคร เทศบาลเมือง หรือเทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ความหมายรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง
บรรณานุกรม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496
พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525
หนังสือเวียนสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ นร 1200/ว 1 ลงวันที่ 4 มกราคม 2553 เรื่อง การปรับปรุงหลักการ จำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:วิญญูชน, 2550.
โชต อัศวลาภสกุล. ระบบศาลไทย. http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582, สืบค้น วันที่ 22 กรกฎาคม 2557.
บรรเจิด สิงคะเนติ. หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง. กรุงเทพฯ:วิญญูชน , 2548.
โภคิน พลกุล. สาระสำคัญของกฎหมายว่าด้วยศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง. (ไม่ปรากฎ สถานที่และปีที่พิมพ์).
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. ความหมายและคุณลักษณะสำคัญของหน่วยงานรัฐกับการจัดทำประมวล จริยธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. http://www.ombudsman.go.th/10/documents/Ethical211.pdf, สืบค้น วันที่ 22 กรกฎาคม 2557.
อำพน เจริญชีวินทร์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการฟ้องและการดำเนินคดีในศาลปกครองฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2545. https://th.wikibooks.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2/%E0%B8%8E. https://www.scb.co.th/th/personal-banking
แม่แบบ:Hatnote แม่แบบ:Infobox government agency
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (แม่แบบ:Langx) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการกฤษฎีกา สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
แก้ไขพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 บัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นส่วนราชการระดับกรมในสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ดังนี้
- รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย และศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
- พิจารณาและจัดทำร่างกฎหมายตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย
- ช่วยเหลือและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการร่างกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐ
- ให้ความเห็นหรือปฏิบัติงานอื่นอันเกี่ยวกับกฎหมายให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือตามที่รัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันระหว่างประเทศร้องขอ
- ฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและเจ้าหน้าที่ของรัฐในด้านกฎหมายและการร่างกฎหมาย รวมทั้งการเผยแพร่ทำความเข้าใจในด้านกฎหมายแก่บุคคลทั่วไป
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาหลักกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน
- จัดพิมพ์ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อเผยแพร่ เว้นแต่เรื่องที่เป็นความลับ
- จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
- ศึกษาและรวบรวมข้อมูล รวมทั้งจัดให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับระบบกฎหมายไทยและระบบกฎหมายต่างประเทศ และงานวิจัยกฎหมายหรือวิชาอื่นที่เกี่ยวกับกฎหมายทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตามพระราชบัญญัตินี้
นอกจากนี้ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2545[1] ได้บัญญัติให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีภารกิจเกี่ยวกับการจัดทำกฎหมาย การใช้กฎหมายและการพัฒนากฎหมายให้ถูกต้อง สร้างความเป็นธรรมและส่งเสริมการพัฒนาประเทศและประโยชน์สุขของประชาชน ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- พิจารณาและจัดทำร่างกฎหมายตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย และพิจารณาเสนอความเห็นให้มีการแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐในการจัดทำร่างกฎหมาย
- ให้ความเห็นทางกฎหมายแก่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐ
- งานประสานการนิติบัญญัติ โดยการตรวจสอบดูแลงานกฎหมายของประเทศและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการเสนอกฎหมาย รวมทั้งการช่วยเหลืองานด้านกฎหมายในชั้นรัฐสภา
- จัดทำคำแปลกฎหมาย ให้ความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการกู้เงินและให้คำปรึกษาหรือปฏิบัติงานอื่นอันเกี่ยวกับกฎหมายให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือตามที่รัฐบาลต่างประเทศหรือสถาบันระหว่างประเทศร้องขอ
- วิจัยและพัฒนากฎหมาย โดยตรวจสอบสภาพปัญหาของประเทศและของสังคม แล้วทำการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอร่างกฎหมายใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิม
- การพัฒนาหลักกฎหมายปกครองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งรับผิดชอบกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
- ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วให้บริการค้นคว้าแก่รัฐบาล รัฐสภา หน่วยงานของรัฐและประชาชน
- ดำเนินการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ เพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
แก้ไขพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้มีเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นักบริหาร 11 บส.) มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับผิดชอบขึ้นตรงต่อประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา (นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยตำแหน่ง) และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยให้มีรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นักบริหาร 10 บส.) เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ
ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นตำแหน่งที่มีลักษณะพิเศษกว่าตำแหน่งผู้บริหารของหน่วยงานอื่น ๆ กล่าวคือ มาตรา 63 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 บัญญัติให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ การร่างกฎหมาย และการบริหารราชการแผ่นดิน อันรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว และคณะรัฐมนตรีนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงแต่งตั้งดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นกรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[2]
รายนามเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
แก้ไขนักกฎหมายกฤษฎีกา
แก้ไขมาตรา 63/1 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551[3] ได้บัญญัติให้มีตำแหน่ง นักกฎหมายกฤษฎีกา ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานกฎหมายของรัฐ โดยตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกานี้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีความรู้และมีประสบการณ์ในทางนิติศาสตร์ การร่างกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในงานด้านกฎหมายตามความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้นักกฎหมายกฤษฎีกาได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งในอัตราที่คำนวณแล้วไม่ต่ำกว่าค่าตอบแทนของข้าราชการอัยการ ทั้งนี้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา และอัตราเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกา (นายกรัฐมนตรีโดยตำแหน่ง) กำหนด ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าด้วยการกำหนดตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา พ.ศ. 2551[4] กำหนดให้นักกฎหมายกฤษฎีกามี 3 ชั้น ได้แก่ นักกฎหมายกฤษฎีกาชั้น 1, 2 และ 3 โดยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกาเมื่อคำนวณรวมกับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มพิเศษอื่นในลักษณะเดียวกันกับเงินประจำตำแหน่งแล้วจะต้องเป็นค่าตอบแทนที่ไม่ต่ำกว่าค่าตอบแทนข้าราชการอัยการ ชั้น 2 ขั้น 1 และให้ได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้นตามระดับตำแหน่งและขั้นเงินเดือน แต่ค่าตอบแทนขั้นสูงต้องไม่เกินค่าตอบแทนของข้าราชการอัยการดังต่อไปนี้
- นักกฎหมายกฤษฎีกา ชั้นที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 11 (เดิม) ให้ได้รับค่าตอบแทนขั้นสูงไม่เกินค่าตอบแทนข้าราชการอัยการ ชั้น 8 (อัยการสูงสุด)
- นักกฎหมายกฤษฎีกา ชั้นที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 10 (เดิม) ให้ได้รับค่าตอบแทนขั้นสูงไม่เกินค่าตอบแทนข้าราชการอัยการ ชั้น 7 (รองอัยการสูงสุด)
- นักกฎหมายกฤษฎีกา ชั้นที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 9 (เดิม) ให้ได้รับค่าตอบแทนขั้นสูงไม่เกินค่าตอบแทนข้าราชการอัยการ ชั้น 6 (อัยการพิเศษ)
- นักกฎหมายกฤษฎีกา ชั้นที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือนระดับ 8 (เดิม) ให้ได้รับค่าตอบแทนขั้นสูงไม่เกินค่าตอบแทนข้าราชการอัยการ ชั้น 4 (อัยการจังหวัด)
- นักกฎหมายกฤษฎีกา ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ให้ได้รับค่าตอบแทนขั้นสูงไม่เกินค่าตอบแทนข้าราชการอัยการ ชั้น 3 (อัยการประจำกรม)
อ้างอิง
แก้ไข- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากต้นฉบับ เมื่อ 2014-07-22. สืบค้นเมื่อ 2008-04-09. Unknown parameter
|url-status=
ignored (help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/298/T_0001.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/007/70.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/013/20.PDF
คำสั่ง
แก้ไข- คำสั่งศาลฎีกาที่ 1706/2562 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2562 ในคดีเลือกตั้ง ระหว่าง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดสกลนคร ผู้ร้อง นายภูเบศวร์ เห็นหลอด ผู้คัดค้าน เรื่อง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ (ขอให้ถอนชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต)