พจนานุกรมกฎหมาย/กรรมสิทธิ์
หน้านี้อาจเข้าหลักเกณฑ์การลบตามนโยบายของวิกิซอร์ซด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้: อ1 - เนื่องจากมีการย้ายเนื้อหาไปยังดัชนีสมัยใหม่แล้ว (ดังที่ปรากฏในหน้า พจนานุกรมกฎหมาย/ก) หน้านี้จึงไม่ได้ใช้อีก และไม่มีหน้าให้เปลี่ยนทางไป จึงจำเป็นต้องแจ้งลบ
ถ้าคุณไม่เห็นด้วยในการแจ้งลบ โปรดระบุเหตุผลในหน้าคุยของหน้านี้ ถ้าหน้านี้ไม่เข้าเกณฑ์การลบหรือคุณตั้งใจจะปรับปรุงต่อ โปรดนำประกาศนี้ออก แต่ผู้ที่นำป้ายออกต้องไม่ใช่ผู้สร้างหน้าเด็ดขาด ผู้ดูแลระบบโปรดตรวจสอบว่ามีลิงก์ใด ๆ ที่เชื่อมโยงมายังหน้านี้ ประวัติของหน้า (การแก้ไขล่าสุด) และรุ่นใด ๆ ที่เข้าหลักเกณฑ์ตามนโยบายก่อนที่จะดำเนินการลบ หน้านี้มีการแก้ไขล่าสุดโดย Legiferum (ส่วนร่วม | ปูม) เมื่อเวลา 19:13, 17 พฤศจิกายน 2567 (24 วันก่อน) |
กรรมสิทธิ์ อำนาจแห่งความสำเร็จเด็ดขาด ในการที่จะยึดถือ ใช้ เก็บประโยชน์ ซื้อ ขาย จำหน่าย หรือทำลายทรัพย์นั้นได้ เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม
กรรมสิทธิ์เกิดขึ้นได้ดังนี้ —
(๑) โดยเข้ายึดถือ
(๒) โดยอายุความ
(๓) โดยทำขึ้น
(๔) โดยเป็นส่วนหนึ่งแห่งของเดิม
(๕) โดยเจ้าของโอนให้
(๖) โดยทางมฤดก
อำนาจกรรมสิทธิ์นี้ ตามธรรมดาย่อมมีอยู่แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์เสมอไป เว้นไว้แต่ —
(๑) เจ้าของสละ เช่น ขายทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นโดยถูกต้องตามกฎหมาย อำนาจกรรมสิทธิ์นี้ขาดทันที แต่บางอย่างไม่ขาดทันที โดยกฎหมายบัญญัติ เช่น การละทิ้งที่ดินที่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่จะขาดกรรมสิทธิ์ ต่อเมื่อละทิ้งครบกำหนดอายุของหนังสือสำคัญที่กฎหมายบัญญัติไว้ (ดู โฉนด, ตราแดง, ตราจอง, ใบเหยียบย่ำ, หนังสือสำคัญสำหรับที่บ้าน)
(๒) เกินกำหนดเวลาที่กฎหมายบังคับ เช่น กรรมสิทธิ์หนังสือที่ได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์แล้ว ผู้แต่งมีกรรมสิทธิ์ตลอดอายุของผู้แต่ง แลต่อไปอีก ๗ ปีนับตั้งแต่วันที่ผู้แต่งวายชนม์ แต่ถ้าผู้แต่งมีกรรมสิทธิ์อยู่จนถึง ๗ ปีแล้วจึงวายชนม์ ให้มีกรรมสิทธิ์รวม ๔๒ ปีนับจากวันได้รับกรรมสิทธิ์ กรรมสิทธิ์เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้ใช้ได้เพียง ๑๐ ปี แต่จะจดทะเบียนต่อไปอีกก็ได้ (ดู เครื่องหมายการค้า)
ผู้ทรงกรรมสิทธิ์นั้นจะมีอำนาจทรงอยู่ได้ ก็ในระวางมีชีวิต แต่ถ้าวายชนม์ลงแล้ว จะต้องโอนไปยังผู้รับมฤดก ฤๅวิธีอื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้