พจนานุกรมกฎหมาย/กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ
หน้านี้อาจเข้าหลักเกณฑ์การลบตามนโยบายของวิกิซอร์ซด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้: อ1 - เนื่องจากมีการย้ายเนื้อหาไปยังดัชนีสมัยใหม่แล้ว (ดังที่ปรากฏในหน้า พจนานุกรมกฎหมาย/ก) หน้านี้จึงไม่ได้ใช้อีก และไม่มีหน้าให้เปลี่ยนทางไป จึงจำเป็นต้องแจ้งลบ
ถ้าคุณไม่เห็นด้วยในการแจ้งลบ โปรดระบุเหตุผลในหน้าคุยของหน้านี้ ถ้าหน้านี้ไม่เข้าเกณฑ์การลบหรือคุณตั้งใจจะปรับปรุงต่อ โปรดนำประกาศนี้ออก แต่ผู้ที่นำป้ายออกต้องไม่ใช่ผู้สร้างหน้าเด็ดขาด ผู้ดูแลระบบโปรดตรวจสอบว่ามีลิงก์ใด ๆ ที่เชื่อมโยงมายังหน้านี้ ประวัติของหน้า (การแก้ไขล่าสุด) และรุ่นใด ๆ ที่เข้าหลักเกณฑ์ตามนโยบายก่อนที่จะดำเนินการลบ หน้านี้มีการแก้ไขล่าสุดโดย Legiferum (ส่วนร่วม | ปูม) เมื่อเวลา 19:13, 17 พฤศจิกายน 2567 (0 วินาทีก่อน) |
กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ อำนาจสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียวในการที่จะพิมพ์ จะคัดแปลเป็นภาษาอื่น หรือจะเพิ่มจำนวนเล่ม หรือจะจำหน่ายหรือขายหนังสือที่ตนมีกรรมสิทธิ์นั้นได้แต่ผู้เดียว ผู้อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของกรรมสิทธิ์หามีอำนาจไม่ (พ.ร.บ.กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ มาตรา ๔)
หนังสือที่แต่งขึ้น ซึ่งจะมีกรรมสิทธิ์ได้นั้น ต้องเป็นหนังสือที่ได้พิมพ์จำหน่ายเป็นครั้งแรกในพระราชอาณาจักร์ (พ.ร.บ.กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ มาตรา ๗)
หนังสือนั้นต้องนำไปจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงายภายใน ๑๒ เดือนนับตั้งแต่ได้พิมพ์ออกจำหน่าย (พ.ร.บ.กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ มาตรา ๑๐)
หนังสือนั้นจะต้องพิมพ์ว่า “มีกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ” ลงที่หน้าหนังสือ หรือใบปกหน้าสมุด หรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่เห็นได้ง่าย (พ.ร.บ.แก้ไขกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ พ.ศ. ๒๔๕๗ มาตรา ๒๒)
กรรมสิทธิ์ในหนังสือนี้มีอยู่ตลอดอายุของผู้แต่งหนังสือ แลต่อไปอีก ๗ ปีจากวันที่ผู้แต่งวายชนม์ แต่ถ้าผู้แต่งมีกรรมสิทธิ์อยู่จนถึง ๗ ปีแล้วจึงวายชนม์ ให้มีกรรมสิทธิ์รวมเป็น ๔๒ ปีนับจากวันได้รับกรรมสิทธิ์ (พ.ร.บ.กรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ. ๑๒๐ มาตรา ๕)