อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม
อธิบายเบ็ดเตล็ดเรื่องต่าง ๆ ในพงศาวดารสยาม ซึ่งพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ บางเรื่องข้าพเจ้าแต่งขึ้นในหนังสือเรื่องอื่น ได้พิมพ์แล้วก็มี บางเรื่องแต่งขึ้นไว้ ยังไม่ได้พิมพ์ก็มี คือ วินิจฉัยเรื่องพระเทียรราชา เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสั่งให้ข้าพเจ้าคิดวินิจฉัยขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ยังหาเคยพิมพ์ไม่ ที่เลือกเรื่องอธิบายเบ็ดเตล็ดของข้าพเจ้ามารวมพิมพ์ด้วยกันในครั้งนี้ เพื่อจะได้แจกในงารพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ ธิดาของข้าพเจ้า ซึ่งเปนชายาในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนสิงรกรมเกรียงไกร
หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ เดือน ธันวาคม ปีชวด พ.ศ. ๒๔๓๑ หม่อมนวมเปนมารดา พี่น้องของเธอที่ร่วมมารดาเดียวกัน คือ หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม เปนพี่ใหญ่ ตัวเธอเปนคนกลาง จึงมักเรียกกันว่า “หญิงกลาง” หม่อมเจ้าหญิงสรรพสมบูรณ์เปนน้องน้อย เมื่อยังเยาว์ เธอได้เคยเปนนักเรียนในโรงเรียนสุนันทาลัยด้วยกันกับหญิงจงจิตรถนอม แต่เธอเปนนักเรียนชั้นเล็ก เรียนอยู่ได้ไม่ช้าก็ถึงเวลาโรงเรียนนั้นเลิก จึงสมัคตามหญิงจงฯ เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง หญิงจงฯ อยู่กับทูลกระหม่อมหญิงฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร แต่หญิงพร้อมฯ นั้น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ ทรงพระกรุณาบำรุงเลี้ยงเอง ได้สนองพระคุณอยู่ใกล้ชิดติดพระองค์ จึงได้คุ้นเคยในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เห็นจะโปรดฯ มารยาทแลอัธยาศัยเธอ ครั้นเปนสาวขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระราชดำรัสขอ แล้วพระราชทานให้เปนชายาพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ คือ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าแลเหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ ๓ เหมือนหม่อมเจ้าสะใภ้หลวงองค์อื่น ๆ
หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณมีหม่อมเจ้าเปนบุตรธิดา ๖ องค์ คือ
๑หม่อมเจ้าชายทรงวุฒิชัย
๒หม่อมเจ้าชายอุทัยเฉลิมลาภ
๓หม่อมเจ้าหญิงสุวภาพเพราพรรณ
๔หม่อมเจ้าหญิง (โต) สิ้นชีพิตักษัยแต่ยังเยาว์
๕หม่อมเจ้าชาย (พอ) สิ้นชีพิตักษัยแต่ยังเยาว์
๖หม่อมเจ้าชาย สิ้นชีพิตักษัยแต่แรกเกิด
เรื่องประวัติของหม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ ส่วนความประพฤติแลอัธยาศัยนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวคำรำพรรณลำบากอยู่ ด้วยเปนบิดาของเธอ แต่ถ้าว่าเพียงอย่างนี้ก็เห็นจะไม่เปนการยกย่องเหลือเกิน คือ ตั้งแต่ยังเยาว์มา เธอเปนหลานคนหนึ่งซึ่งคุณย่ารักมาก แลเปนลูกรักอย่างยิ่งคนหนึ่งของบิดามารดา ด้วยฉลาดแลอัธยาศัยสุภาพมาแต่เล็ก ไม่เคยทำความเดือดร้อนรำคาญแม้แต่เล็กน้อยให้แก่บิดามารดา แลเชื่อว่าความประพฤติของเธอเมื่อสนองพระคุณอยู่ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ ก็จะเปนที่ชอบพระหฤทัย ตั้งแต่พระราชทานเธอมาอยู่กับกรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร วังอยู่ใกล้ชิดติดกับบ้านข้าพเจ้า ไปมาหาสู่กันเนืองนิจ ก็ได้แลเห็นแต่ความรักใคร่ปรองดองโดยถูกอัธยาศัยกันแลกันจนสิ้นห่วงใยของข้าพเจ้า ยังความที่เอื้อเฟื้อต่อบุรพการีแลพี่น้องของเธอ แม้ในสมัยเมื่อเธอมีหน้าที่ของภรรยาแลของมารดาจะต้องประพฤติเปนวัตปฏิบัติอยู่แล้ว ก็มิได้ทอดทิ้งให้บกพร่องห่างเหริกว่าที่จำเปน จึงได้ทรงความรักใคร่นับถือของวงศญาติมาจนตลอดอายุของเธอ
หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณเริ่มป่วยมาแต่คลอดบุตรสุดท้อง กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกรได้ทรงจัดการรักษาพยาบาลทุกอย่างที่จะพึงทำให้ได้ ทั้งด้วยอาศัยแพทย์แลพาแปรสถานไปเปลี่ยนอากาศ อาการฟื้นขึ้นบ้างแล้ว กลับซุดหนักลงเปนลำดับมา เมื่อเธอรู้ตัวว่าจะไม่รอด ทูลสั่งฝากลูกสิ้นห่วงแล้ว ก็ตั้งหน้าบำเพ็ญการกุศล อันกรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกรได้ทรงจัดให้เปนดังประสงค์ของเธอทุกอย่าง เปนต้นว่า หล่อพระพุทธรูป สร้างพระธรรม แลสงเคราะห์กุลบุตรให้ได้อุปสมบทสืบพระสาสนา พอเธอได้หล่อพระพุทธรูป แลกรมขุนสิงหวิกรมขอให้ช่างต่อยหุ่นในวันเดยวกันให้เธอให้ชมสมศรัทธาบูชาแล้ว ในวันนั้นก็สิ้นชีพิตักษัยเมื่อณวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๗ คำนวณชนมายุได้ ๓๕ ปี ๘ เดือน ๒๗ วัน
ขอท่านทั้งหลายที่ได้อ่านเรื่องประวัติของหม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ จะเปนท่านผู้ที่ได้มีพระเดชพระคุณแก่เธอมาก็ดี หรือผู้ที่ได้ชอบชิดเปนมิตรเปนญาติก็ดี ที่สุดจนเปนสักแต่ว่าได้รู้จักกันก็ดี ข้าพเจ้าเชื่อว่า เธอมิได้เคยทำการอันใดให้มีผู้หนึ่งผู้ใดจองภัยเกลียดชัง แม้จะมีบ้างก็ดี ขอท่านทั้งปวงจงปลงพระไตรลักษณให้เกิดกุศลธรรมแล้วแผ่ส่วนกุศลแลให้อโหสิกรรมแก่เธอผู้ไปสู่ปรโลกแล้วตามอัธยาศัยเทอญ.
อธิบายเรื่องนามประเทศสยาม | หน้า | ๑ | ||||||
อธิบายพระนามพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยา | ″ | ๖ | ||||||
อธิบายเรื่องพระมหาอุปราช | ″ | ๒๓ | ||||||
อธิบายมูลเหตุที่ไทยมีไมตรีกับฝรั่ง | ″ | ๓๑ | ||||||
พวกโปจุเกตออกมาถึงเมืองกาฬีกูฎในอินเดียครั้งแรก | ″ | ๓๓ | ||||||
พวกโปจุเกตออกมาถึงเมืองกาฬีกูฎครั้งที่ ๒ | ″ | ๔๓ | ||||||
พวกโปจุเกตออกมามีอำนาจในอินเดีย | ″ | ๔๕ | ||||||
พวกโปจุเกตออกมาถึงเมืองมละกา | ″ | ๔๖ | ||||||
พวกโปจุเกตตีได้เมืองมละกา | ″ | ๔๗ | ||||||
โปจุเกตเข้ามาทำไมตรีกับไทย | ″ | ๔๘ | ||||||
โปจุเกตทำไมตรีกับเมืองหงสาวดี | ″ | ๔๙ | ||||||
อธิบายเรื่องพระเทียรราชาได้ราชสมบัติ | ″ | ๕๑ | ||||||
ก. | อธิบายเรื่องพงศาวดาร | ″ | ๕๑ | |||||
แสดงลำดับพงศาวดารเปนข้อ ๆ | ″ | ๕๑ | ||||||
พงศาวดารที่แตกต่างกัน | ″ | ๕๗ | ||||||
ข. | วินิจฉัยเรื่องพระเทียรราชาได้ราชสมบัติ | ″ | ๕๙ | |||||
๑ | วินิจฉัยเรื่องสมเด็จพระไชยราชาสวรรคต | ″ | ๕๙ | |||||
๒ | วินิจฉัยเรื่องพระแก้วฟ้ารับรัชทายาท | ″ | ๕๙ | |||||
๓ | วินิจฉัยเรื่องผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน | ″ | ๖๑ | |||||
๔ | วินิจฉัยเหตุที่พระเทียรราชาออกทรงผนวช | ″ | ๖๒ | |||||
๕ | วินิจฉัยเหตุที่ให้ช้างบำรูงา | หน้า | ๖๗ | |||||
๖ | วินิจฉัยเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์คบชู้ | ″ | ๖๘ | |||||
๗ | วินิจฉัยเหตุที่ท้าวศรีสุดาจันทร์ตั้งขุนชินราชเปนขุนวรวงศาธิราช | ″ | ๗๐ | |||||
๘ | วินิจฉัยข้อว่าท้าวศรีสุดาจันทร์ให้เอาราชอาสน์ไปปูให้ขุนวรวงศาธิราช | ″ | ๗๑ | |||||
๙ | วินิจฉัยเหตุที่พระยามหาเสนาถูกแทงตาย | ″ | ๗๑ | |||||
๑๐ | วินิจฉัยเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ให้ขุรวรวงศาธิราชว่าราชการแผ่นดิน | ″ | ๗๒ | |||||
๑๑ | วินิจฉัยเหตุที่สมเด็จพระแก้วฟ้าถูกปลงพระชนม์ | ″ | ๗๔ | |||||
๑๒ | วินิจฉัยเรื่องกำจัดขุนวรวงศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ | ″ | ๗๗ | |||||
๑๓ | วินิจฉัยเรื่องขุนวรวงศาธิราชไปจับช้าง | ″ | ๗๘ | |||||
๑๔ | วินิจฉัยอุบายที่กำจัดขุนวรศาธิราชกับท้าวศรีสุดาจันทร์ | ″ | ๗๘ | |||||
๑๕ | วินิจฉัยลักษณะที่กำจัดขุนชินราช | ″ | ๘๐ | |||||
๑๖ | วินิจฉัยเรื่องถวายสมบัติแก่พระเทียรราชา | ″ | ๘๑ | |||||
๑๗ | วินิจฉัยเรื่องสมเด็จพระมหาจักรพรรดิปูนบำเหน็จ | ″ | ๘๒ | |||||
ค. | ข้อความเบ็ดเตล็ดในเรื่องพระเทียรราชา | ″ | ๘๓ | |||||
๑ | การกำหนดเหตุการณ์ | ″ | ๘๓ | |||||
๒ | บุคคลที่ปรากฎนามในเรื่อง | หน้า | ๘๓ | |||||
๓ | เรื่องไพร่พลของขุนวรวงศาธิราช | หน้า | ๘๖ | |||||
๔ | ภูมิสถานบ้านเรือนที่กรุงศรีอยุธยา | ″ | ๘๗ | |||||
ง. | เรื่องพระเทียรราชาได้ราชสมบัติ | ″ | ๘๓ | |||||
๑ | สมเด็จพระไชยราชาไปตีเมืองเชียงใหม่ | ″ | ๘๗ | |||||
๒ | พระไชยราชาสวรรคต | ″ | ๘๘ | |||||
๓ก. | พระเทียรราชาออกทรงผนวช | ″ | ๘๘ | |||||
๓ | ท้าวศรีสุดาจันทร์ตั้งพันบุตรศรีเทพเปนขุนชินราช พนักงารเฝ้าหอพระ | ″ | ๘๙ | |||||
๔ | ท้าวศรีสุดาจันทร์ตั้งขุนชินราชเปนขุนวรวงศาธิราช | ″ | ๙๐ | |||||
๕ | ท้าวศรีสุดาจันทร์ให้ลอบฆ่าเจ้าพระยามหาเสนา | ″ | ๙๑ | |||||
๖ | ท้าวศรีสุดาจันทร์อุบายให้พระเทียรราชาทรงผนวช | ″ | ๙๒ | |||||
๗ | ท้าวศรีสุดาจันทร์คิดอุบายตั้งขุนวรวงศาธิราชเปนผู้บังคับการทหารล้อมวัง | ″ | ๙๒ | |||||
๘ | ขุนวรวงศาธิราชได้กำลังในราชการ | ″ | ๙๒ | |||||
๙ | สมเด็จพระแก้วฟ้าถูกวางยาพิษ | ″ | ๙๓ | |||||
๑๐ | ขุนวรวงศาธิราชได้เปนผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน | ″ | ๙๔ | |||||
๑๑ | ขุนวรวงศาธิราชได้เปนพระเจ้าแผ่นดิน | ″ | ๙๕ | |||||
๑๒ | พระเทียรราชาเสี่ยงเทียน | ″ | ๙๕ | |||||
๑๓ | กำจัดขุนวรวงศาธิราช | ″ | ๙๗ | |||||
๑๔ | พระเทียรราชาได้ราชสมบัติ | หน้า | ๙๘ | |||||
๑๕ | เจ้าเมืองฝ่ายเหนือคุมกำลังหัวเมืองลงมา | ″ | ๙๙ | |||||
๑๖ | สมเด็จพระมหาจักรพรรดิปูนบำเหน็จข้าราชการ | ″ | ๙๙ | |||||
ตำนานกฎหมายเมืองไทย | ″ | ๑๐๐ | ||||||
วิธีตั้งกฎหมาย | ″ | ๑๐๑ | ||||||
ศักราชที่ใช้ในกฎหมาย | ″ | ๑๐๓ | ||||||
กฎหมายครั้งกรุงเก่า | ″ | ๑๐๕ | ||||||
วิธีจัดหมวดกฎหมายครั้งกรุงเก่า | ″ | ๑๑๑ | ||||||
คาถาธรรมศาสตรรามัญ | ″ | ๑๑๓ | ||||||
คาถาธรรมศาสตรไทย | ″ | ๑๑๕ |
- พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
- ตำบลถนนราชบพิธ จังหวัดพระนคร
- วันที่ ๘ พฤษภาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๙
งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
- เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
- ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
- ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก