เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475

สำนักพิมพ์
บูรพาแดง
  • เบื้องหลัง
  • การปฏิวัติ
  • ๒๔๗๕
กุหลาบ สายประดิษฐ์

กุหลาบ สายประดิษฐ์
เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475


สำนักพิมพ์ บูรพาแดง

สำนักพิมพ์บูรพาแดง

พิมพ์ครั้งที่ 1 สำนักพิมพ์สุภาพบุรุษ 2484
พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์จำลองสาร 2490
พิมพ์ครั้งที่ 3 สำนักพิมพ์บูรพาแดง 2518

ลิขสิทธิ์หนังสือเล่มนี้เป็นของนายสุรพัน สายประดิษฐ์ และ พ.ญ. สุรภิณ ธนะโสภณ (แทนมูลนิธิศรีบูรพา)


ปุถุชน
499/9 สี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี พญาไท
โทรศัพท์ 820434
จัดจำหน่าย

พิมพ์ที่นำอักษรการพิมพ์ 430/20–24 สยามสแควร์
ด้านจุฬา ซอย 11 กรุงเทพฯ โทร. 511367, 512762
นายทวีสิน เทนอุทัย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

สำนักพิมพ์ บูรพาแดง
เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นชาวกรุงเทพโดยกำเนิด จบการศึกษาชั้นมัธยมบริบูรณ์จาก ร.ร. มัธยมเทพศิรินทร์ ทำหนังสือมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มัธยมเรื่อยมา โดยออกหนังสือในชั้นเรียนชื่อ ดรุณสาร และศรีเทพ เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น สุภาพบุรุษ ประชามิตร บางกอกการเมือง ศรีกรุง ประชาชาติ ไทยใหญ่ ได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองจนได้ปริญญา ปี 2479 ไปดูกิจการหนังสือพิมพ์ที่ญี่ปุ่น ปี 2490 ไปเรียนต่อที่ออสเตรเลียในฐานะนักศึกษาวิชาการเมือง ถูกจับในข้อหาขบถภายในและภายนอกราชอาณาจักร หรือ “ขบถสันติภาพ” เมื่อ 10 พ.ย. 2495 ถูกคุมขังอยู่ 4 ปีเศษจึงถูกปล่อยตัวออกมาเมื่อ 21 ก.พ. 2500 และในปลายปี 2500 นั่นเอง ก็ได้รับเชิญให้ไปร่วมงานฉลองครบรอบ 40 ปีแห่งการปฏิวัติที่สหภาพโซเวียต ปี 2501 ได้รับเชิญจากสถาบันวัฒนธรรมสาธารณรัฐประชา-ชนจีนให้ไปเยือนจีนในฐานะทูตทางวัฒนธรรม ขณะที่เป็นแขกของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนอยู่นั้น ที่กรุงเทพ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจ กวาดล้างจับกุมนักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง ประชาชน ในข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ขนานใหญ่ กุหลาบจึงได้ขอลี้ภัยทางการเมืองอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน และพำนักอยู่ที่นั่นจนถึงแก่กรรมเมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ 16 มิ.ย. 17 ณ โรงพยาบาลปักกิ่ง รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดให้มีพิธีไว้อาลัยเป็นเกียรติแก่กุหลาบ สายประดิษฐ์ ณ สุสานปาเปาซานเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ปีเดียวกัน ทั้งนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ส่งหรีดไว้อาลัยไปร่วมงานด้วย งานเขียนของกุหลาบมีอยู่มากมาย อาทิเช่น “มนุษยภาพ” (2472) “สงครามชีวิต” (2475) “ข้างหลังภาพ” (2480) “เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475” (2484) “ความหมายของประชาธิปไตย” (2487) “ปรัชญาลัทธิมารกซิสม์” (2493) “จนกว่าเราจะพบกันอีก” (2493) “คำขานรับ” (2493) “ในยามถูกเนรเทศ” ของเชกอฟ (2493) “เขาถูกบังคับให้เป็นขุนโจร” (2495) “แม่” ของกอร์กี (2495) “ขอแรงหน่อยเถอะ” (2496) “แลไปข้างหน้า” (2495–2498) ฯลฯ

สารบาญ
หน้า

คารวะนอบน้อม แด่สหาย
ผู้อุทิศชีพถวาย ต่อสู้
เพื่อประชายอมตาย เสียสละ ชีพนา
มวลชนต่างรับรู้ ซาบซึ้งความดี
หนทางท่านเบิกไว้ เราเดิน
ความดีจักสรรเสริญ เชิดป้าย
ภารกิจจักดำเนิน สืบทอด
ชัยชนะบั้นท้าย แน่แท้เราครอง
โยธิน มหายุทธนา

แด่
ครอง จันดาวงศ์
จิตร ภูมิศักดิ์
กุหลาบ สายประดิษฐ์

ข้าพเจ้าไม่จดจำเหตุการณ์ร้ายสำหรับที่จะตอบแทนผู้ใดในทางส่วนตัวเลย เราได้มาพบ เราได้ปะทะกันแล้ว เราก็จะต้องผ่านไปสู่เหตุการณ์ใหม่ การปะทะใหม่ กับคนใหม่ หรือมิฉะนั้น ก็ไปสู่การหลีกเลี่ยงต่อการปะทะ ไปสู่การประนอม การอดกลั้น และความสงบเย็น แล้วก็หยุดยั้งอยู่ หรือผ่านไปอีก นี่คือชีวิต นี่เป็นสังสารโลก
แต่แน่ละ ข้าพเจ้าย่อมจดจำเหตุการณ์ร้ายและเหตุการณ์ดีที่ได้ประสพมาในชีวิต เพื่อแสวงหาทางไปสู่สัจจธรรม ความถูกต้อง และหลักการที่มีความดีงามยั่งยืน หลักการแห่งความอยู่ร่วมอันสงบผาสุกของมวลมนุษย์
ซอยพระนาง สนามเป้า
20 มกราคม 2490


ประสิทธิ์ โตโพธิ์กลาง: ออกแบบปก

งานนี้ ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติแล้ว เพราะลิขสิทธิ์ได้หมดอายุตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งระบุว่า

ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลธรรมดา
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
  2. ถ้ามีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์หมดอายุ
    1. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย หรือ
    2. เมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก ในกรณีที่ไม่เคยโฆษณางานนั้นเลยก่อนที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายจะถึงแก่ความตาย
ถ้ารู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล หรือถ้าไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์
  1. ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
  2. แต่ถ้าได้โฆษณางานนั้นในระหว่าง 50 ปีข้างต้น ลิขสิทธิ์หมดอายุเมื่อพ้น 50 ปีนับแต่ได้โฆษณางานนั้นเป็นครั้งแรก