ยินดีต้อนรับสู่วิกิซอร์ซภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Miwako Sato สู่วิกิซอร์ซภาษาไทย

เราขอแนะนำหน้าต่าง ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์แก่คุณดังนี้

อย่าลืมลงชื่อของคุณในหน้าอภิปรายด้วยการพิมพ์ --~~~~ ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานหรือเรื่องใด ๆ สามารถสอบถามหรือพูดคุยกันได้ที่หน้าเซ็นเตอร์พ้อยท์หรือดิสคอร์ด

  ขอให้คุณมีความสุขในการมีส่วนร่วมกับวิกิซอร์ซ!

Hello Miwako Sato! Welcome to Thai Wikisource. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Central discussion. Have a nice day!

-- New user message (พูดคุย) 18:19, 27 กุมภาพันธ์ 2559 (ICT)

วัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษา ของ ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล แก้ไข

https://en.m.wikisource.org/wiki/%27%27%27_His_Excellency_Mr._Sukavich_Rangsitpol_%27%27%27_the_directions_to_develop_quality_of_Thai_people_in_the_future

แปลมาจากภาษาอังกฤษครับ

Wikisource ภาษาอังกฤษไม่มีปัญหา ภาษาไทยไม่ได้หรือครับ

ขอทราบเหตุผลที่แจ้งลบครับ และเป็น บุคคลนี้หรือเปล่าครับ

https://en.m.wikiquote.org/wiki/Special:Contributions/G(x)

https://en.m.wikisource.org/wiki/Special:Contributions/G(x)

ภาษาอังกฤษได้ภาษาไทยไม่น่ามีปัญหานะครับเพราะเป็นงานของคนไทยครับ2405:9800:BC11:BD0D:451:D4F5:8595:AC73 20:27, 29 กันยายน 2562 (+07)ตอบกลับ

ไปแจ้งลบในหน้าอังกฤษด้วยแล้ว --Miwako Sato (คุย) 22:30, 29 กันยายน 2562 (+07)ตอบกลับ
เหตุผลอะไรครับที่แจ้งลบ 2405:9800:BC11:BD0D:451:D4F5:8595:AC73 23:52, 29 กันยายน 2562 (+07)ตอบกลับ
https://th.m.wikisource.org/wiki/พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์_พ.ศ._๒๕๕๐ 2405:9800:BC11:BD0D:451:D4F5:8595:AC73 23:56, 29 กันยายน 2562 (+07)ตอบกลับ
https://www.jstage.jst.go.jp/article/jcrdaen/1/1/1_KJ00006742072/_pdf

เอกสารที่ประเทศญี่ปุ่นเห็นคุณค่า และ Wikisource ภาษาอังกฤษยอมรับ ผมคิดว่าจะแปลเพื่อประโยชน์ของลูกหลานไทย

เพราะเป็นแนวทางศึกษาแบบ Happy Learning ครับ

ผมไม่แน่ใจว่าการกล่าวหาว่าเอกสารที่เป็นประโยชน์ด้านการศึกษาของไทย ไม่มีคุณค่า และ ลบผิดกฎหมายเพราะเข้าข่าย นำเข้าข้อมูลเท็จครับ2405:9800:BC11:BD0D:451:D4F5:8595:AC73 00:13, 30 กันยายน 2562 (+07)ตอบกลับ

(ขออนุญาตตอบแทน) ที่แจ้งลบเพราะเอกสารพวกนี้ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ อุปมาเหมือนไปเปิดร้านอาหารในห้องสมุด ไปจอดเครื่องบินที่หัวลำโพงทำนองนั้น --Wedjet (คุย) 08:14, 3 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
(ขออนุญาตให้ข้อมูล) ที่ไปแจ้งลบ และ โดนลบในภาษาอังกฤษเพราะอ้างลิขสิทธิ์ ในประเทศไทย งานทั้งหมดทำในระหว่างอยู่ในตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ปี 2537 ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถูกลบใน Wikisource เพราะ เรื่อง Copyrights
ในวิกิภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีการนำเข้าข้อมูลเท็จในระบบคอมพิวเตอร์ โดยอ้างอิงจากหนังสือที่อ้างจากหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ที่ยอมรับว่าให้ข้อมูลผิดพลาดและลบจากสารบบของหนังสือพิมพ์ เขียนไว้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี 180.183.139.52 01:27, 17 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
  1. คืออธิบายหลายรอบแล้วนะคะว่า เขียนงานตอนเป็นรัฐมนตรี ไม่ได้แปลว่างั้นนั้นไม่มีลิขสิทธิ์ค่ะ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ฮิลลารี คลินตัน เขียนหนังสือ Living History ตอนเป็นสมาชิกวุฒิสภา แปลว่าหนังสือนั้นไม่มีลิขสิทธิ์หรือเปล่า ก็เปล่า งานที่ไม่มีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไทยมีตามที่ระบุในมาตรา 7 เท่านั้น คือ เป็นข่าวประจำวัน, เป็นเอกสารมหาชน (กฎหมาย, กฎ, คำพิพากษา ฯลฯ) เป็นต้น ถ้าไม่ใช่งานจำพวกนี้ ถึงแม้คนทำจะเป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ก็ไม่ปลอดลิขสิทธิ์ค่ะ
  2. ส่วนประเด็นบางกอกโพสต์อะไรเนี่ย ไม่มีใครพูดเรื่องนี้นะคะ แล้วก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการมีหรือไม่มีลิขสิทธิ์ของงานที่ว่าด้วย คงไม่เสียเวลาตอบมากไปนี้แล้ว สวัสดีค่ะ
--Miwako Sato (คุย) 03:09, 18 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

สุขวิช แก้ไข

ขอเรียนให้ทราบว่าบทความของตระกูลรังสิตพล (ทั้งบิดาและบุตรสาว) มีปัญหาอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้ดูแลระบบกับผู้ใช้ในกลุ่มที่กล่าวถึงข้างต้น จนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษได้บันทึกรายการหุ่นเชิดไว้ที่หน้ารายงานหุ่นเชิด จึงขอให้ใช้ความอดทนในการพิจารณากับผู้ใช้กลุ่มดังกล่าวครับ ถ้าหากผมมีเวลาผมจะเข้าไปช่วยชี้แจงด้วยเพราะผมเองไม่เห็นว่าสุนทรพจน์ถือเป็นงานอันไม่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองแบบเช่นที่มีการอ้างถึงครับ แต่เนื่องจากในขณะนี้ผมไม่มีเวลาแก้ต่างในประเด็นดังกล่าว จึงเรียนมาเพื่อทราบเพื่อดำเนินการต่อไปครับ

ทั้งนี้ ขอเพิ่มเติมว่าแท้จริงแล้วในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ ผมได้แจ้งให้ขอลบไปครั้งหนึ่งแล้วเนื่องจากเหตุผลเดียวกันนี้ แต่พบว่ากลุ่มผู้ใช้ที่มีความเกี่ยวข้องกันกลับหลีกเลี่ยงการตรวจจับโดยการสร้างบทความในหน้าอื่น ๆ ที่ชื่อไม่ตรงจากเดิมแต่เนื้อหาเหมือนเดิมด้วยครับ --G(x) (คุย) 12:58, 30 กันยายน 2562 (+07)ตอบกลับ

การรายงานเรื่องหุ่นเชิด บุคคลที่เข้าไปเขียนในหน้าทั้ง2 จะถูกรายงานและถูก บล็อก มีการนำเข้าข้อมูลเท็จในหน้าวิกิภาษาอังกฤษและ ภาษาไทยในหน้าของบิดา และ มีการตามไปขอลบ และ ให้ข้อมูลเท็จในวิกิ ภาษาฝรั่งเศส นอร์เวย์ และ เยอรมันของบุตรสาว 180.183.139.52 01:32, 17 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

สอบถามลิขสิทธิ์ แก้ไข

สวัสดีครับ ขอสอบถามว่าแบบนี้มีลิขสิทธิ์ไหมครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 17:41, 14 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

@Horus: ทั้งตัวรูปและข้อความในรูป คิดว่าเข้า Commons:Template:PD-ineligible (คอมมอนส์) หรือ en:Template:PD-ineligible (วิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ) ค่ะ เพราะเป็นแค่การแจ้งข้อมูล (consists entirely of information that is common property and contains no original authorship) และไม่ได้อาศัยความสร้างสรรค์อะไรขนาดนั้นในการทำให้เกิดขึ้น (lacking creative input) --Miwako Sato (คุย) 18:06, 14 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ขอรบกวนอีกครั้งครับ ไม่ทราบว่าจะมีแหล่งข้อมูลสำหรับกฎหมายที่ผ่านสภาไหมครับ พอดีอยากจัดทำรวบรวมกฎหมายแบบ en:w:List of acts of the 116th United States Congress ครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 23:38, 17 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

เมื่อก่อนเว็บรัฐสภามีเป็นหน้ารายการนะคะ เคยเข้าไปดูนานแล้ว มีข้อมูลไล่มาหมด (อย่างน้อยก็ตั้งแต่ช่วงก่อนที่สนธิ บุญฯ ยึดอำนาจ) แต่กลับเข้าไปดูวันนี้ หายเกลี้ยงและ (ตามที่ปรากฏใน พระราชบัญญัติที่ผ่านความเห็นชอบแล้ว จำแนกตามชุดของสภา) เหลือแต่รายการตั้งแต่ประยุทธ์ยึดอำนาจเป็นต้นมา ดังนี้
สมัย สนช. ของประยุทธ์
สมัย ครม. ของประยุทธ์
  • ที่เป็นกฎหมายแล้ว: เข้า parliament.go.th > เลื่อนลงมาตรงหัวข้อ "ข้อมูลกฎหมาย" > คลิก "กฎหมายจำแนกตามยุครัฐบาล" (แต่จะมีข้อมูลยุคประยุทธ์ยุคเดียว)
    ที่ต้องให้เข้าแบบนี้ เพราะ parliament.go.th ตั้งค่าอะไรสักอย่างไว้ ทำให้ลงลิงก์ไปหน้าเฉพาะไม่ได้ จะขึ้นว่า "403 forbidden" ตลอด ลองลงลิงก์ผ่าน web cache หรือ web archive ก็ไม่ได้
  • ที่อยู่ระหว่างพิจารณาของสภา: ค้น "ร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ระหวางพิจารณา" ในกูเกิล แล้วจะเจอลิงก์ไป parliament.go.th
สมัยก่อนหน้านั้น
มีหนังสือ "รวมกฎหมายประจำปี" เป็นไฟล์ pdf ของรัฐสภา เท่าที่ดูพบว่าเก่าสุดถึง พ.ศ. 2549 (เข้า parliament.go.th > ไปที่หัวข้อ "บริการข้อมูลกฎหมาย" ตรงแถบแดงที่ล่างสุดของหน้า หรือจะใช้การค้นหาในบราวเซอร์เอาก็ได้ เช่น กด ctrl+f > คลิกหัวข้อนั้นแล้วจะไปโผล่หน้า elaw > ไปที่ "รวมกฎหมายประจำปี" ตรงแถบสีฟ้าด้านซ้าย) ส่วนถ้าจะเอาเก่าแก่กว่านั้น ไม่แน่ใจว่า มีเอกสารหรือฐานข้อมูลออนไลน์ที่ไหนบ้าง (นอกจากเว็บราชกิจจาฯ) อาจต้องค้นเอาจากหนังสือเป็นเล่ม เช่น พวก "ประชุมกฎหมายประจำศก"
--Miwako Sato (คุย) 01:22, 18 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

สอบถามคำแปล แก้ไข

สวัสดีครับ ขอรบกวนถามเรื่องศัพท์ภาษาอังกฤษในดคีความ อย่างเช่น Military and Paramilitary Activities in and against Nicaragua (Nicaragua v. United States of America)

มีการใช้คำว่า Judgement บ้าง rule บ้าง decide บ้าง ไม่ทราบว่าครั้งใดที่นับเป็นคำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือใช้แทนกันได้ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 01:06, 27 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

คำตอบ
  1. "judgment" ปกติใช้ "คำพิพากษา"
  2. "ruling" ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตฯ ใช้ "คำวินิจฉัยชี้ขาด" ส่วนศาลรัฐธรรมนูญเอาไปเรียกย่อ ๆ ว่า "คำวินิจฉัย" เช่น Constitutional Court Ruling No. 5/2563 = คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2563
  3. "decision" ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตฯ ใช้ "คำวินิจฉัย" (ต่างจาก "คำวินิจฉัยชี้ขาด" ตรงที่ "ชี้ขาด" คือ มีผลให้จบเรื่อง จบคดี, ส่วน "คำวินิจฉัย" เฉย ๆ อาจเป็นวินิจฉัยประเด็นต่าง ๆ ในคดี หรืออาจเป็นชี้ขาดคดีเลยก็ได้)
  4. เพราะฉะนั้น คุณอาจแปล (1) judgment ว่า คำพิพากษา, (2) to judge/adjudicate/adjudge ฯลฯ ว่า พิพากษา, (3) ruling ว่า คำวินิจฉัยชี้ขาด, (4) to rule ว่า วินิจฉัยชี้ขาด, (5) decision ว่า คำวินิจฉัย, และ (6) to decide ว่า วินิจฉัย
    แต่โปรดดูความหมายอีกที ใช่ว่าจะแปลด้วยถ้อยคำดังกล่าวได้ทุกกรณี เช่น
    • "adjudged incompetent" ในภาษาไทยมักใช้ว่า "(ศาล)สั่งให้(เป็นคน)ไร้ความสามารถ" (ไม่ได้ใช้ว่า "พิพากษา")
    • และบางทีจะเจอ decision เป็นเอกสารประเภทที่ระบบไทยเรียกกันทั่วไปว่า "คำสั่ง" (เช่น decision on the request, ระบบไทยมักเรียกว่า "คำสั่งคำร้อง/คำร้องขอ", แต่ถ้าจะแปลโดยอาศัยศัพท์บัญญัติว่า "คำวินิจฉัยคำร้อง/คำร้องขอ" ก็อาจจะได้อยู่ แล้วแต่ผู้แปลจะเห็นสมควร)
  5. นอกจากนี้ ได้ดูคำแปลคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (คดีปราสาทพระวิหาร) ที่รัฐบาลไทย (เข้าใจว่า กระทรวงการต่างประเทศ) แปลไว้ พบว่า ใช้ศัพท์ดังนี้
    • judgment คำพิพากษา
    • to adjudge พิพากษา
    • to declare ชี้ขาด (เช่น "May it please the Court to adjudge and declare..." เขาแปลว่า "ขอประทานศาลได้โปรดพิพากษาและชี้ขาด...")
    • to decide ชี้ขาด (เช่น "to decide this question..." เขาแปลว่า "เพื่อที่จะชี้ขาดปัญหา...[ข้อนี้]")
    • แต่ decision ว่า คำวินิจฉัย
    • to find
      1. วินิจฉัย (เช่น "found that it had jurisdiction" เขาแปลว่า "วินิจฉัยว่า ศาลมีอำนาจ") // โดยนัยนี้ finding อาจแปลว่า คำวินิจฉัย
      2. ลงความเห็น (เช่น "the Court, by nine votes to three, finds that..." เขาแปลว่า "ศาล โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม ลงความเห็นว่า...")
    • to adjudicate พิจารณาพิพากษา
    • to pronounce พิพากษาชี้ขาด (เช่น "refrained from pronouncing on that claim" เขาแปลว่า "ละเว้นจากการพิพากษาชี้ขาดในข้อเรียกร้องนั้น")
    • application คำร้อง (โดยเฉพาะ คำร้องเริ่มคดี หรือคำร้องตั้งต้นคดี เพราะคดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะเริ่มด้วยการยื่น application) // โดยนัยนี้ applicant = ผู้ร้อง
    • memorial คำฟ้อง
    • counter-memorial คำให้การแก้ฟ้อง
    • reply คำตอบแก้ (หมายถึง คำตอบที่มีต่อ counter-memorial)
    • pleading คำคู่ความ
    • objection คำคัดค้าน
    • order คำสั่ง
    • to file/to present ยื่น
    • to submit เสนอ
    • แต่ submission ว่า คำแถลงสรุป (เช่น "the following submissions were presented by the Parties" เขาแปลว่า "คู่ความได้ยื่นคำแถลงสรุปดังต่อไปนี้")
    • indication คำชี้แจง (เช่น "M. Suon Bonn gave brief indications relating to poitns of fact" เขาแปลว่า "นายซวน บอน ให้คำชี้แจงโดยสังเขปเกี่ยวกับข้อเท็จจริง")
    • claim ข้อเรียกร้อง
    • separate opinion ความเห็นต่างหาก
    • dissenting opinion ความเห็นแย้ง
      ฯลฯ
  6. อีกคำที่พบบ่อย คือ to hold ซึ่ง Dictionary.com นิยามว่า (1) to decide legally; (2) to think, to believe - เช่น "the court holds that..." อาจแปลว่า "ศาลพิพากษาว่า..." / "ศาลวินิจฉัยว่า..." / "ศาลเห็นว่า..." ฯลฯ (แล้วแต่จะเข้ากับกรณี)
    --Miwako Sato (คุย) 04:52, 27 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ
ว่าแต่ "พิพากษา" กับ "วินิจฉัย" มันต่างกันยังไง มีผู้ (อาจารย์ มธ. ท่านนึง) เคยอธิบายว่า "วินิจฉัย" มักใช้แก่ประเด็น เช่น วินิจฉัยประเด็นว่า กฎหมายนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ, วินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดี, วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ฯลฯ ส่วน "พิพากษา" มักใช้แก่ภาพรวม เช่น พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด, พิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลย, พิพากษาให้เพิกถอนกฎ ฯลฯ --Miwako Sato (คุย) 04:59, 27 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ
จากคดีตัวอย่าง ผมแปลเองว่ามีคำพิพากษาในวันที่ 26 พฤศจิกายน 1984 ว่าศาลมีอำนาจพิจารณาคดี แต่มันทะแม่ง ๆ เพราะพิพากษาว่าศาลมีอำนาจเท่านั้นหรือ และมีคำวินิจฉัยในวันที่ 27 มิถุนายน 1986 (ใช้คำว่า delivered its Judgement) แต่แปลเป็นวินิจฉัยตามบทความอื่นของศาลยุติธรรม ขอสอบถามว่าเห็นว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ --Horus (คุย) 12:56, 27 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ
  1. มีคำพิพากษาหลายฉบับในคดีเดียวได้ค่ะ อย่างเช่น คดีปราสาทพระวิหารของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลก็พิพากษาขั้นแรกเลยว่า ศาลมีอำนาจ แล้วค่อยเข้าสู่การต่อสู้อย่างเต็มที่ ไปพิพากษาเนื้อหากันอีกที, คำพิพากษาอันแรกนั้นเรียกว่า "preliminary judgment" (คำพิพากษาเบื้องต้น/ขั้นต้น) อยู่ในชั้นที่เรียกว่า "preliminary objection" (การคัดค้านเบื้องต้น) ที่เขาเรียก "คำพิพากษา" เลย คงเพราะมีผลให้คดีจบได้เหมือนกัน ถ้าไม่มีอำนาจ ก็คือไม่ได้ไปต่อ แยกย้ายกันกลับบ้านตอนนั้นได้เลย, ส่วนคำพิพากษาอันหลัง (ที่พิพากษาในเนื้อหาของคดี) เรียกว่า "judgment on merits" (คำพิพากษาตามรูปคดี/คำพิพากษาในเนื้อคดี) - ดังนั้น เวลาที่ไปดูแฟ้มคดีพระวิหาร จึงจะเห็น judgment อยู่ 2 อัน คือ อันเบื้องต้น (26 May 1961) กับอันที่ลงในเนื้อคดี (15 June 1962)
  2. ศาลไทยก็คล้าย ๆ กัน เพียงแต่คำตัดสินเบื้องต้นอาจออกมาในรูปอื่นต่างจากคำตัดสินในเนื้อคดี เช่น คดี ต. 22/2562 ของศาลรัฐธรรมนูญ ว่า สิ่งแรกเลยที่ศาลต้องพิจารณา คือ ตัวศาลเองมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาหรือเปล่า ก็เห็นว่า มีอำนาจ โดยออกความเห็นในรูป "คำสั่ง" เสร็จแล้วก็ไปลงเนื้อคดีกัน จนตัดสินเนื้อคดีด้วย "คำวินิจฉัย"
--Miwako Sato (คุย) 22:19, 27 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

งานของจิตร แก้ไข

ขอสอบถามครับ จิตร ภูมิศักดิ์เสียชีวิตไปเมื่อปี 2509 แล้ว ไม่ทราบว่างานที่สำนักพิมพ์เอามาพิมพ์ในปี 2550 จะยังติดลิขสิทธิ์หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 02:03, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

  1. ตามกฎหมายไทย ถ้าตายเกิน 50 ปี ก็คือหมดลิขสิทธิ์ และกลายเป็นสาธารณสมบัติค่ะ แต่ฉบับพิมพ์ใหม่อาจมีอย่างอื่นที่ติดลิขสิทธิ์อยู่ เช่น ภาพประกอบ, บทนำหรือคำนำของบรรณาธิการ ฯลฯ
  2. ถ้าคุณมีไฟล์สแกนมา (ถึงแม้จะเป็นฉบับ 2550) และจะทำแบบ proofreading คุณอาจตัดส่วนที่ติดลิขสิทธิ์ในไฟล์ออกก่อน แล้วค่อยอัปไฟล์มาทำ proofreading ก็ได้ ใช้ได้เหมือนกันค่ะ แบบที่ฝรั่งทำในหน้า en:Page:Pentagon-Papers-Part I.djvu/128 เป็นต้น (โดยมี en:Template:Image removed ไว้แปะแทนรูปที่ตัดออก, หรือ en:Template:Text removed ในกรณีที่เป็นข้อความ)
--Miwako Sato (คุย) 07:13, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอทราบคำแนะนำเรื่องการอัปโหลดไฟล์ได้ไหมครับ ผมควรจะ print screen แล้วอัปโหลดไฟล์ทีละหน้า หรือมีวิธีอื่นที่ทุ่นแรงมากกว่านั้นครับ --Horus (คุย) 20:43, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
@Horus:
  1. มีไฟล์ pdf ของโฉมหน้าศักดินาไทย (ไฟล์แบบหนังสือตัวต้นเลย) สามารถอัปโหลดให้ได้นะคะ แต่คงต้องตัดส่วนที่มีลิขสิทธิ์ออก หรือคุณจะรับไปตัดเองก็ได้ หรือจะให้ตัดให้ก็ได้ค่ะ
  2. ถ้าคุณจะตัดเอง มันมีเว็บที่ช่วยจัดการ pdf นะคะ เช่น organize pdf อัปขึ้นเว็บนี้ แล้วสามารถจัดการเป็นรายหน้าได้ โดยตัดทิ้ง กลับด้าน สลับหน้า ฯลฯ ได้หมด
--Miwako Sato (คุย) 21:10, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ผมกำลังจะอัปโหลดแล้วแต่ขอถามอีกทีครับ 1. ถ้าอัปไฟล์ pdf ไปแล้วมันจะแยกหน้าอย่างไรต่อไปครับ แยกในคอมมอนส์โดยอัตโนมัติเลยหรือเปล่า 2. มีส่วนอื่นนอกจากปกหน้า ปกหลัง ถ้อยแถลงสำนักกพิมพ์ บทความของธรรมเกียรติตรงไหนที่ติดลิขสิทธิ์หรือไม่ครับ พวกรูปต่าง ๆ มีรูปไหนติดลิขสิทธิ์หรือเปล่า --Horus (คุย) 21:21, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
@Horus:
  1. แยกหน้า หมายถึง แยกหน้าอย่างไรคะ 555
  2. สำหรับการตัด บางทีอาจจะแค่ตัดหน้าออกไปจากไฟล์ แบบ remove ออกไปเฉย ๆ ก็ได้มั้งคะ อาจไม่ต้องแทรกหน้าหรือข้อความระบุถึงการตัดเข้ามาแบบฝรั่งใน Pentagon-Papers ข้างต้นนั้นก็ได้
  3. ถ้าเป็นฉบับพิมพ์ปี 2550 ของศรีปัญญา จะมีรูปเขียนด้วยดินสออยู่รูปหนึ่ง อยู่ตอนต้นเล่ม (ที่คาบบุหรี่) ไม่รู้เขียนเมื่อไร อาจจะตัดออกไปเพื่อตัดปัญหาก็ได้ค่ะ
--Miwako Sato (คุย) 21:49, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
แยกหน้าหมายถึง เวลาอัปโหลดไปมันจะแยกเป็นหน้า ๆ แล้วใส่เลขหน้าให้อัตโนมัติไหมครับ เช่น หน้าแรก จะมีวงเล็บหน้า 1 ให้ หน้าสอง มีวงเล็บหน้า 2 ให้ ฯลฯ หรือต้องดำเนินการเอง ตรงนี้ผมไม่ทราบขั้นตอนครับ --Horus (คุย) 22:07, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

เข้าใจว่าคงจะหมายถึงการใส่เลขหน้า ปกติมีอธิบายที่ วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร แต่ขออธิบายเพิ่มเติม โดยยก ไฟล์:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf เป็นตัวอย่าง (เพราะเป็นงานที่ยาวระดับหนึ่ง แต่หน้าเดียวจบ น่าจะดูเข้าใจง่าย) ดังนี้

  1. พอเราอัปโหลดที่คอมมอนส์ได้เป็น >> ไฟล์:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf
  2. เราก็กลับมาที่วิกิซอร์ซไทย มาสร้างดัชนี (ชื่อเดียวกับไฟล์นั้น) คือ >> ดัชนี:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf
  3. ตอนสร้างดัชนี ก็จะมีให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงหน้าที่จะให้แสดง อยู่ในช่อง "หน้า"
    1. ในช่องนั้น เราต้องกรอก "รายการหน้า" เป็นรูปแบบ pagelist (อ่านรายละเอียดที่ วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร#ดัชนี)
    2. เมื่อก่อนมันจะขึ้นโค้ดให้อัตโนมัติ แต่หลัง ๆ มีการปรับแก้อะไรสักอย่าง มันก็ไม่ขึ้นแล้ว แต่สามารถก็อปเอาจากหน้า วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร#ดัชนี ก็ได้ค่ะ
    3. อาจเข้าใจง่ายขึ้น ถ้าคลิกดู ช่อง "หน้า" ใน ดัชนี:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf แล้วเทียบกับหน้าที่ปรากฏด้านซ้ายใน "สนทนากับผู้ร้ายปล้น"
    4. ถ้าต้องการหน้าเป็นเลขไทย อาจจะต้องกรอกกันเหนื่อยหน่อย แบบที่เห็นใน "ดัชนี:สนทนากับผู้ร้ายปล้นฯ" นั้น เพราะดัชนีวิกิซอร์ซไทยยังรองรับแค่เลขอารบิก กับเลขโรมัน (ตามที่ระบุไว้ใน วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร#ดัชนี ตอนที่เกี่ยวกับ "หน้า") แต่ถ้าคุณไม่ได้แคร์ว่า เลขหน้าจะต้องเป็นเลขไทย เลขอารบิก อะไรขนาดนั้น คุณอาจจะปล่อยเป็นเลขอารบิกไปก็ได้ ก็จะย่นเวลาในการทำ pagelist (เช่น ถ้าหน้า 1 บนกระดาษ เริ่มที่หน้า 10 ของไฟล์ คุณจะแค่กรอก 10 = 1 แล้วมันก็จะ run 2, 3, 4 ฯลฯ ต่อไปโดยอัตโนมัติ, แต่ถ้าต้องการเลขไทย คุณจะต้องกรอก 10 = ๑, 11 = ๒, 12 = ๓ ฯลฯ ต่อ ๆ กันไป)
  4. พอทำดัชนีเสร็จแล้ว ก็สร้างหน้า เช่น
    หน้า:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf/1
    หน้า:สนทนากับผู้ร้ายปล้น - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๖๘.pdf/2,
    ฯลฯ จนจบ
  5. พอทำหน้าเสร็จแล้ว ก็ผสานหน้าทั้งหมดเข้ากับหน้าหลัก ก็กลายเป็น "สนทนากับผู้ร้ายปล้น" - วิธีผสาน มีอธิบายอยู่ใน วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร#การผสาน (แต่ปกติ ก็อปโค้ดจากหน้าอื่นมาดัดแปลงเอา อาจง่ายกว่าการนั่งอ่านวิธียืดยาว)
  6. เรื่องอีกอย่างที่ต้องระมัดระวังเวลาทำ "หน้า" คือ หน้าต่าง ๆ จะผสานต่อกันไปเป็นบรรทัดเดียว ดังนั้น ถ้าขึ้นหน้าใหม่ แล้วเป็นย่อหน้าใหม่ ตรงก้นหน้าเดิมต้องใส่ {{ไม่ปฏิบัติการ}} (หรือ {{nop}}) เพื่อบังคับให้หน้าใหม่ขึ้นเป็นย่อหน้า - อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและดูตัวอย่างที่ วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร#วิธีใช้ปลีกย่อย

ก็ประมาณนี้ค่ะ --Miwako Sato (คุย) 22:40, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ขอบคุณครับ งั้นเดี๋ยวลองอัปโหลดดูก่อน ถ้ามีปัญหาจะขอมาปรึกษาอีกทีครับ --Horus (คุย) 22:47, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

สื่อรัฐบาล แก้ไข

ขอสอบถามว่าพวกสื่อมัลติมีเดียของรัฐบาลไทยทั้งหลายนี้เป็น PD-Thailand หมดเลยหรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 00:04, 22 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ มีตามที่ลิสต์ไว้ใน แม่แบบ:PD-TH-exempt ค่ะ นอกนั้นก็เหมือนทั่วไปค่ะ (เช่น ถ้าเขายกให้เป็นสาธารณสมบัติ หรือถ้าเกิน 50 ปีนับแต่เผยแพร่ครั้งแรก ฯลฯ ดูกรณีนิติบุคคลใน แม่แบบ:ลิขสิทธิ์หมดอายุ-ไทย) --Miwako Sato (คุย) 06:42, 22 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณครับ ลืมนึกถึงตรงนี้ไป --Horus (คุย) 14:22, 22 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

จดหมาย แก้ไข

สวัสดีครับ พวกจดหมายของเอกชน หรือแถลงการณ์มีวิธีดูหรือไม่ว่าแบบไหนมีลิขสิทธิ์ครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 21:22, 24 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ

┌─────────────────────────────────┘

เว็บกรมทรัพย์สินทางปัญญา (หน้า 11) ว่า งานที่จะมีลิขสิทธิ์ ต้องมีการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ ซึ่งมีคนอธิบาย (หน้า 15) ว่า หมายถึง "การสร้างสรรค์ด้วยมันสมองของมนุษย์ที่จะต้องมีจิตใจและสติปัญญาโดยการใช้ความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะ จึงจะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง" หรือ "ใช้ความวิริยะอุตสาหะ ใช้ความรู้ความสามารถและใช้วิจารณญาณ" เป็นต้น มีบทความเรื่องนี้อยู่ที่ en:Threshold of originality

โดยส่วนตัว เห็นว่า เอกสารสัตยาบันตามรูปข้างต้น ไม่มีการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ (เป็นแค่ข้อความธรรมดา ๆ ไม่ได้สร้างสรรค์จากการกลั่นกรองหรือบีบเค้นทางสติปัญญา ความรู้ความสามารถ ฯลฯ อะไรขนาดนั้น) จึงไม่มีลิขสิทธิ์ค่ะ ส่วนงานอื่น ๆ คงต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป

หมายเหตุ: Commons:Threshold of originality วางแนวทางว่า ถ้าเป็นที่สงสัยว่ามีลิขสิทธิ์หรือไม่ ให้ถือว่ามีไว้ก่อน ("However, per precautionary principle, the image should be deleted if there's significant doubt that the image is not copyrighted")

--Miwako Sato (คุย) 00:31, 25 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ

สอบถามการเปลี่ยนแม่แบบหัวเรื่อง แก้ไข

ผมอยากทราบว่าทำไมต้องเปลี่ยนแม่แบบในดัชนี:รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐.pdf จาก

{{หรก|{{{pagenum}}}|๑๒๔|๔๗ ก|๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐}}

เป็น

{{หรส|4|น={{{pagenum}}}|ล=๑๒๔|ต=๔๗ ก|ว=๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐}}

ด้วยครับ? เพราะทั้งคู่ก็ได้แสดงผลออกมาเหมือนกัน และจากการเช็คไฟล์ pdf ทุกหน้าแล้ว หัวกระดาษไม่มีการสลับฝั่งนะครับ --Bebiezaza (คุย) 13:43, 16 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

เนื่องจากแม่แบบแสดงผลเหมือนกัน จึงคิดว่าควรรวมแม่แบบเข้าด้วยกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและซับซ้อน เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานโดยทั่วไป เดิมกะจะขอให้บอตเปลี่ยน หรก เป็น หรส แล้วจึงค่อยเปลี่ยนชื่อแม่แบบ หรส เป็น หรก แต่ก็ยังมิได้ทำ เพราะวุ่น ๆ กับการสอบอยู่ค่ะ (แต่ถ้าใครจะทำให้ ก็ไม่ขัดศรัทธาค่ะ) --Miwako Sato (คุย) 16:13, 16 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ
ยังต้องการให้มีการเปลี่ยนแม่แบบจาก หรก เป็น หรส เพื่อรวมแม่แบบอยู๋หรือไม่ครับ? --Bebiezaza (คุย) 18:21, 12 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
โดยส่วนตัวก็ยังจะทำอยู่ค่ะ แบบ ถ้าปล่อยให้มันซ้ำซ้อน มันก็ไม่ดี ถ้าทำให้มันเข้าที่เข้าทาง ก็ย่อมมีแต่ผลดี เพียงแต่ไม่ได้เป็นวาระเร่งด่วน และช่วงนี้ไม่ค่อยว่างเขียนอะไรที่ไหน แต่ถ้าว่างก็จะมาทยอยทำค่ะแน่นอนค่ะ (และก็ยังยืนยันคำเดิมว่า ถ้าใครจะทำให้ก่อน ก็ไม่ขัดศรัทธาค่ะ 555) --Miwako Sato (คุย) 18:53, 13 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
พอดีตอนนี้ผมกำลังขอสิทธิบอตในบัญชี ผู้ใช้:BebiezazaBot ที่วิกิซอร์ซ:บอตมาเพื่อแก้ไขขนาดใหญ่ที่ทำงานกึ่งอัตโนมัติอยู่ครับ และประเดิมงานแรกด้วยการเปลี่ยนแม่แบบข้างบนนี้น่ะครับ ซึ่งได้เริ่มไปบ้างแล้ว แต่ค่อย ๆ ทำไป เนื่องจากยังไม่ได้สิทธิ์บอตจริง ๆ เดี๋ยวจะดันหน้าเปลี่ยนแปลงล่าสุดหมดน่ะครับ 😅
ผมลองเช็คดูเบื้องต้น การเปลี่ยนแม่แบบจาก หรก → หรส มีประมาณ 700 หน้า และถ้ามีการเปลี่ยนชื่อแม่แบบ หรส → หรก อีก ก็จะต้องย้ายกันอีกประมาณ 2,000 หน้า (ไม่รวมที่ย้ายจาก หรก → หรส) ครับ
คำถามที่ยังไม่มีคนถาม: ทำไมไม่ใช้ GeonuchBot? ——→ คุณ Geonuch เคยบอกไว้ในเซิร์ฟเวอร์ดิสคอร์ดว่าช่วงนี้กำลังยุ่งกับเรื่องในชีวิตจริงอยู่ และยังมีงานค้างที่วิกิพีเดีย ผมจึงไม่อยากรบกวนมาก และในอนาคตอาจได้มีการแก้ไขกึ่งอัตโนมัติอีกเลยจะขอสิทธิ์บอตไว้เลยครับ --Bebiezaza (คุย) 19:29, 13 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
เปลี่ยนแม่แบบจาก หรก เป็น หรส เสร็จแล้วครับ และย้ายตัวหน้าแม่แบบ หรส ไปอยู่เป็น หรก เรียบร้อยแล้ว ทีนี้ตามความต้องการเดิมคือต้องการให้ย้ายการใช้งานจากหรส เป็น หรก ด้วยหรือไม่ครับ? (แบบว่า เปลี่ยนตัวแม่แบบในหน้าในเนมสเปซ"หน้า:" น่ะครับ จาก {{หรส}} เป็น {{หรก}}) --Bebiezaza (คุย) 15:27, 27 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
ตามข้างบนจะมีประมาณ 2,000 หน้า (ตามการประมาณของ AWB) ถ้าจะทำก็ให้บอตทำได้ครับ ไม่เกินความสามารถของบอต --Bebiezaza (คุย) 15:33, 27 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
ขอบพระคุณสำหรับทุกสิ่งค่ะ 🙏‍ ส่วนการเปลี่ยน "หรส" หรือ "หัวราชกิจจานุเบกษาสลับ" ไปเป็นคำว่า "หรก" นั้น ที่จริงก็ไม่จำเป็นเท่าไรนัก เพราะ "หรส" และ "หัวราชกิจจานุเบกษาสลับ" ก็เปลี่ยนทางไปยัง "หัวราชกิจจานุเบกษา" แล้ว ก็มีค่าเท่ากับการใช้ "หรก" ซึ่งเปลี่ยนทางไปยัง "หัวราชกิจจานุเบกษา" นั่นเอง แต่ถ้าคุณต้องการให้เป็นระเบียบเดียวกัน จะเปลี่ยนก็ได้ค่ะ ตามที่คุณเห็นสมควรเลยค่ะ --Miwako Sato (คุย) 19:52, 30 มีนาคม 2565 (+07)ตอบกลับ
 Y เรียบร้อยทั้ง "หัวราชกิจจานุเบกษาขวา" "หัวราชกิจจานุเบกษาซ้าย" และ "หัวราชกิจจานุเบกษาสลับ" ได้มารวมอยู่ใน "หัวราชกิจจานุเบกษา" แล้ว --Bebiezaza (คุย) 00:22, 5 เมษายน 2565 (+07)ตอบกลับ

สอบถามเรื่องลิขสิทธิ์เล็กน้อย แก้ไข

(อ้างถึงงานนี้) ถ้าร่างพระราชบัญญัติไม่เป็นงานไม่มีลิขสิทธิ์ตามมาตรา 7 แล้วร่างกฎหมายอื่น ๆ เช่น ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์ จะไม่เป็นงานไม่มีลิขสิทธิ์ด้วยใช่มั้ยครับ? ผมอยากให้อธิบายตรงนี้เพิ่มเอาไว้ตัดสินใจครับ --Bebiezaza (คุย) 18:12, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ตามที่ปรากฏในหน้านั้นเอง ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์ ที่จริงเป็นรายงาน [ซึ่งมีชื่อยาวถึง 2–3 บรรทัดว่า "รายงานผลการดำเนินการ เรื่อง การเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งร่วมกันเข้าชื่อเสนอ ตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)"] จึงเข้า (4) ของมาตรา 7 ค่ะ --Miwako Sato (คุย) 18:34, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
โอเคครับ พอดีผมไม่ได้อ่านชื่อเต็มของงานนั้น ส่วนร่างพระราชบัญญัติไม่นับเป็นงานไม่มีลิขสิทธิ์เพราะว่ายังไม่ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายใช่มั้ยครับ?--Bebiezaza (คุย) 18:57, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ใช่ค่ะ ร่างกฎหมาย ≠ กฎหมาย จึงไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 7 (แต่อาจหมดลิขสิทธิ์ด้วยเหตุผลอื่นได้ เช่น เก่าแก่เกิน 50 ปี) --Miwako Sato (คุย) 19:04, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
โอเค เข้าใจแล้วครับ--Bebiezaza (คุย) 19:11, 12 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

โยงมาตรากฎหมาย แก้ไข

สวัสดีครับ พอดีมาสอบถามเรื่องที่ทำลิงก์มาตรา/วรรคในเอกสารกฎหมายที่เป็นรัฐธรรมนูญ

ตอนที่ผมมาตอนแรก ผมยึดกลุ่มหน้ารัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นพื้นฐาน ซึ่งจะมีแค่การตรึงมาตราให้เป็นลิงก์สำหรับทำสารบัญตรงส่วนแรกของหน้าเท่านั้น

ต่อมา ผมไปศึกษาแม่แบบ:กฎหมาย แล้วเจอว่าสามารถมีการเชื่อมโยงมาตราด้วยกันภายในด้วย ผมจึงนำมาปรับใช้ครับ ซึ่งระหว่างทำไปผมก็เจอกับปัญหาที่ว่าจะโยงข้ามหมวดไม่ได้ เพราะเป็นคนละหน้า ผมเลยละไว้ไม่ใส่ลิงก์เหมือนเดิม แต่ผมก็ดันทุรังทำต่อจนเสร็จ ได้มาเป็นกลุ่มหน้ารัฐธรรมนูญปี 2550 ครับ

ตอนนี้มาพิสูจน์อักษรรัฐธรรมนูญปี 40 ผมก็เห็นคุณมาเอาลิงก์ออกหมด เลยจะยกเรื่องมาคุยครับ

ในความคิดเห็นผม ผมคิดว่าที่เชื่อมโยงมาตราด้วยกันภายในนั้น เอาออกก็ได้ครับ เพราะเจอปัญหาตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่คิดว่าการตรึงหมวดและมาตราที่มีไว้ทำสารบัญในแต่ละหน้าคิดว่าควรจะเก็บไว้นะครับ จะได้อำนวยความสะดวกคนที่ยังไม่ค่อยรู้กฎหมาย หรือคนที่อยู่ในโทรศัพท์ครับ ส่วนการทำสารบัญอาจมาทีหลังก็ได้ครับ --Bebiezaza (คุย) 00:12, 6 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

  1. ที่เอาลิงก์ภายในออก เพราะอย่างที่เม้นต์ไป คือ
    1. มาตราหรือวรรคส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ไกลกันนัก เลยไม่จำเป็นขนาดนั้น
    2. การใส่ลิงก์เยอะ ๆ จะทำให้เกิดการ distract (มีคำอธิบายอยู่ใน en:Wikisource:Wikilinks#Overlinking) ซึ่งไม่เป็นมิตรต่อผู้อ่าน
    3. มันย่อยเกิน กับการที่ต้องใส่โค้ดเป็นรายบรรทัด โดยที่เราไม่จำเป็นต้องทำขนาดนั้น ซึ่งมันไม่เป็นมิตรต่อผู้ใช้ทั่วไป กล่าวคือ เวลาคนเห็นมันย่อยขนาดนั้น คนก็ไม่ค่อยอยากมาร่วมทำ (เห็นได้จากที่หลาย ๆ คนผ่านเข้ามาทำรัฐธรรมนูญ ทำได้ 2–3 หน้าก็ทิ้งไป)
  2. ส่วนที่เอาลิงก์สารบัญออก เพราะถึงแม้มันจะไม่ย่อยขนาดลิงก์ภายใน และมันก็มีประโยชน์อยู่ แต่คิดว่าผู้ใช้ทั่วไปคงขี้เกียจทำ 555 ก็เลยเอาออกค่ะ แต่ที่จริงก็ไม่ควรไปคิดแทนใครเขา เพราะฉะนั้น สักครู่จะไปเอาลิงก์สารบัญคืนตามเดิมค่ะ
--Miwako Sato (คุย) 04:58, 7 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

เชิญร่วมลงความเห็นการอภิปราย แก้ไข

สวัสดีครับ ผมมาเชิญคุณร่วมลงความเห็นเรื่อง วิกิซอร์ซ:เซ็นเตอร์พ้อยท์#ประกาศการจะลบหน้าจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับ วิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ#การแจ้งลบจำนวนมาก (29 พฤษภาคม 2564) ที่คุณตั้งเรื่องไว้ตอนแรกครับ --Bebiezaza (คุย) 23:55, 12 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

งานกำหนดปีผิดหรือไม่? แก้ไข

งาน แจ้งความกรมอักษรพิมพการ ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ จ.ศ. 1249(1) ได้มีการเขียนปีทั้งแบบจ.ศ. และพ.ศ. ผิดไปหรือไม่? เพราะตามที่เขียนไว้ตอนนี้จะทำให้งาน แจ้งความกรมอักษรพิมพการ ลงวันที่ 18 มีนาคม จ.ศ. 1249(2) ซึ่งได้มีการเขียนลงในราชกิจจานุเบกษาก่อนมีวันที่ลงวันที่อยู่หลังจาก (1) ทั้งที่ (1) ลงไว้ในเล่ม 5 แผ่นที่ 39 แต่ (2) ลงในเล่ม 4 แผ่นที่ 48 และบนเว็บราชกิจจานุเบกษาใส่วันที่ของ (1) ไว้เป็นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2431 --Bebiezaza (คุย) 14:58, 18 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ

เพิ่งเห็นหลังจากพิมพ์เสร็จว่าได้แก้ไขแล้วครับ ขอบคุณครับ --Bebiezaza (คุย) 15:02, 18 เมษายน 2566 (+07)ตอบกลับ

สวัสดีครับ แก้ไข

คำว่า ตุหวัน จริงๆก็มาจากคำว่า ตวน มลายูอักษรรูมีว่า tuan

เช่น ตนกูโน ลูกของ ตุหวันมันโซ หรือ ตนกูมันโซ หรือ ตุหวันสนิปากแดง/ตวนสนิปากแดง มันมีอยู่แล้วในเนื้อหาประชุมพงศาวดาร @Miwako Sato Adisak69 (คุย) 22:42, 4 มกราคม 2567 (+07)ตอบกลับ

@Adisak69: มันเป็นคำในเนื้อเรื่อง (ดังที่เห็นอยู่ในหน้า ประชุมพงศาวดาร/ภาคที่ 2 (2457)/เรื่องที่ 4) เราต้องไว้ตามต้นฉบับค่ะ ไปแก้ไม่ได้ เพราะหน้านั้นมีไว้ค้นคำ ถ้าคุณไปแก้คำ มันก็ค้นไม่ได้ --Miwako Sato (คุย) 23:00, 4 มกราคม 2567 (+07)ตอบกลับ