Bebiezaza
หน้าผู้ใช้ | หน้าพูดคุย | ส่วนร่วม | ปรับปรุงล่าสุด | รายการเฝ้าดู | ทดลองเขียน | บอต |
ยินดีต้อนรับสู่วิกิซอร์ซภาษาไทย
ยินดีต้อนรับคุณ Bebiezaza สู่วิกิซอร์ซภาษาไทย | |
วิกิซอร์ซ เป็นเว็บไซต์ห้องสมุดออนไลน์ซึ่งรวบรวมสิ่งตีพิมพ์ที่เป็นสาธารณสมบัติที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วม และร่วมกันปรับปรุงให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ผมขอแนะนำหน้าต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ดังนี้ หากไม่แน่ใจว่าควรทำอะไรก่อนดี ลองแวะดูได้ที่คุณช่วยเราได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งาน หรือเรื่องใดๆในวิกิซอร์ซ สามารถสอบถาม ปรึกษา หรือเข้ามาพูดคุยกันได้ที่หน้าถามการใช้งาน ขอให้มีความสุขกับการเขียนวิกิซอร์ซนะครับ Hello Bebiezaza! Welcome to Thai Wikisource. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook. Have a nice day! |
-- New user message (คุย) 14:55, 31 ตุลาคม 2561 (ICT)
- อยากได้แบบเก่ามาประดับไว้ เลยมาแก้เอารุ่นเก่ามา subst ไว้ (;・∀ ・) --Bebiezaza (คุย) 17:12, 6 พฤษภาคม 2564 (+07)
หน้าที่อาจเป็นประโยชน์
สวัสดีค่ะ มาแนะนำหน้าที่อาจเป็นประโยชน์ ดังนี้
และคุณอาจสนใจ วิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคม ซึ่งมีงานชวนให้ทำหลายรูปแบบ
นอกจากนี้ คุณยังสามารถอัปโหลดไฟล์ที่คุณสนใจขึ้นมาทำเพิ่มก็ได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน วิธีใช้:การพิสูจน์อักษร)
ผู้ดูแลระบบ
สวัสดีครับ ผมเห็นว่าคุณ Bebiezaza มีความสามารถที่จะดำเนินภาระงานผู้ดูแลระบบได้ จึงอยากขออนุญาตทาบทามคุณ Bebiezaza ให้เป็นผู้ดูแลระบบของวิกิซอร์ซภาษาไทยอีกท่านหนึ่ง ไม่ทราบว่าสนใจและสะดวกที่จะร่วมการเสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแลหรือไม่ครับ --Geonuch (คุย) 12:35, 9 เมษายน 2564 (+07)
@Geonuch: ขอบคุณที่มาทาบทามนะครับ และตอนนี้ผมไม่ขัดข้องกับการรับหน้าที่ผู้ดูแลระบบครับ --Bebiezaza (คุย) 15:25, 13 เมษายน 2564 (+07)
- ขอบคุณครับ จะเสนอชื่อให้ในวันพรุ่งนี้ครับ --Geonuch (คุย) 20:22, 13 เมษายน 2564 (+07)
- ตั้งเรื่องไว้ที่ วิกิซอร์ซ:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/Bebiezaza --Geonuch (คุย) 22:50, 14 เมษายน 2564 (+07)
2 Factor Auth tester
สวัสดีครับ ขอแจ้งว่าทางเมทาวิกิกำหนดให้ผู้ขอสิทธิผู้ดูแลระบบอินเตอร์เฟซต้องดำเนินการเปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน (Two-factor authentication) ก่อนด้วยเหตุผลทางความปลอดภัย จึงขอให้ดำเนินการแจ้งเปิดใช้งาน 2FA สำหรับบัญชีตัวเองที่หน้านี้ก่อนครบกำหนดการเสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแลครับ รายละเอียดต่าง ๆ ดูที่ m:Interface administrators กับ m:Help:Two-factor authentication หรือถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการใช้งาน 2FA ก็สามารถถามผมได้ครับ --Geonuch (คุย) 22:54, 16 เมษายน 2564 (+07)
- @Geonuch: ขอและเปิดใช้งาน 2FA เรียบร้อยครับ --Bebiezaza (คุย) 11:31, 17 เมษายน 2564 (+07)
Interface
สวัสดีครับ พอดีว่าผมจะเกษียณจากตำแหน่งผู้ดูแลระบบวิกิซอร์ซในอีกไม่กี่วันนี้ เลยเห็นว่าจะมาอธิบายเรื่องอินเตอร์เฟซของวิกิซอร์ซที่จะซับซ้อนต่างจากโครงการอื่นเผื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต คือ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด สมัยก่อนผู้ใช้ขาประจำจะใช้วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นต้นแบบมากกว่าที่จะใช้วิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ อินเตอร์เฟซและ สหจ. ก็เหมือนกันเพราะคนที่ดูแลหลักก็คือคุณ Jutiphan ที่เคยเป็นผู้ดูแลระบบที่นี้ด้วย แต่ไป ๆ มา ๆ โครงการก็เริ่มร้าง ขาดคนดูแล อินเตอร์เฟซล้าสมัย เคยมีก่อกวนใหญ่ครั้งหนึ่งจนเละ ช่วงที่ผมเริ่มเข้ามาเมื่อ 2 ปีก่อนค่อนข้างแย่พอควร เมื่อผมได้รับสิทธิผู้ดูแลระบบจึงได้เปลี่ยนมาใช้ตามวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมดเพื่อแก้ปัญหาเดิมที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคเฉพาะโครงการ (และก็ยอมรับด้วยว่าตัวผมเองไม่เก่ง 555) โดยลักษณะเด่นของทาง enws คืออินเตอร์เฟซส่วนใหญ่ที่แสดงผลจะไม่ได้มาจากการกำหนดค่าในเนมสเปซโดยตรง แต่มาจากตัว gadget ที่เขียนขึ้นเฉพาะ กว่าจะปรับให้เข้ากันได้ก็เป็นปีเหมือนกันครับ ดังนั้น ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาของอินเตอร์เฟซในโครงการนี้ การดูจาก enws น่าจะเป็นอะไรที่ดีกว่า thwp ครับ
ส่วนเรื่องย่อหน้าซึ่งเป็น code บางตัวที่ผมยังคงไว้อาจลองปรับได้ที่ มีเดียวิกิ:Common.css รู้สึกว่าแต่ละโครงการภาษาไทยจะไม่เหมือนกันครับ --Geonuch (คุย) 21:40, 4 พฤษภาคม 2564 (+07)
คำขอกู้คืนหน้า โดย Demerzel
How we will see unregistered users
สวัสดี
คุณได้รับข้อความนี้เนื่องจากคุณเป็นผู้ดูแลระบบในหนึ่งในวิกิของโครงการวิกิมีเดีย
ในปัจจุบัน เมื่อมีผู้แก้ไขวิกิโดยไม่ได้เข้าสู่ระบบจะมีการแสดงที่อยู่ไอพีของผู้แก้ไขนั้น อย่างที่คุณอาจทราบมาก่อนแล้วว่าจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้อีกต่อไปในอนาคต การตัดสินใจนี้ถูกดำเนินการโดยฝ่ายกฎหมายของมูลนิธิวิกิมีเดียตามการเปลี่ยนแปลงในบรรทัดฐานและข้อบังคับสำหรับความเป็นส่วนตัวออนไลน์
แทนที่จะแสดงที่อยู่ไอพีแก่สาธารณะ เราจะแสดงตัวตนของผู้แก้ไขโดยมี "หน้ากาก" ปกปิดตัวตน คุณในฐานะผู้ดูแลระบบจะยังสามารถเข้าถึงที่อยู่ไอพีได้ และอาจมีการสร้างกลุ่มผู้ใช้ใหม่ที่มีสิทธิ์เห็นที่อยู่ไอพีของผู้ใช้ที่ยังไม่ลงทะเบียนได้เพื่อการต่อสู้กับการก่อกวน คุกคาม และสแปม โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ดูแลระบบ ผู้ตรวจตรายังสามารถเห็นส่วนหนึ่งของที่อยู่ไอพีได้โดยไม่ต้องใช้สิทธิ์นี้ และเรากำลังดำเนินการทำเครื่องมือที่ดีกว่าเพื่ออำนวยความสะดวก
หากคุณไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้บนเมทา หากคุณสนใจและไม่อยากพลาดการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคบนวิกิในวิกิมีเดียอีก สามารถติดตามฉบับใหม่ของสารเชิงเทคนิครายสัปดาห์ได้
เรามีสองวิธีหลักในการระบุตัวตนแบบใหม่นี้ เราจะยินดีเป็นอย่างมากหากคุณให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่้เหมาะสมที่สุดสำหรับวิกิของคุณ คุณยังสามารถแนะนำบนหน้าพูดคุยในภาษาใด ๆ รวมทั้งภาษาไทยได้เช่นกัน สองวิธีข้างต้นถูกเสนอขึ้นมาเมื่อเดือนเดือนตุลาคม และจะมีการตัดสินใจหลังจากวันที่ 17 มกราคม
ขอขอบคุณ /Johan (WMF)
01:20, 5 มกราคม 2565 (+07)
wiki voyage
แจ้งความคืบหน้าว่ามีโครงการจะรื้อฟื้นกลับขึ้นมานะครับ m:Wikimedia Thailand/Calendar อยู่ในพฤศจิกายน 2566 --Taweethaも (คุย) 08:45, 14 สิงหาคม 2565 (+07)
Need your input on a policy impacting gadgets and UserJS
Dear interface administrator,
This is Samuel from the Security team and I hope my message finds you well.
There is an ongoing discussion on a proposed policy governing the use of external resources in gadgets and UserJS. The proposed Third-party resources policy aims at making the UserJS and Gadgets landscape a bit safer by encouraging best practices around external resources. After an initial non-public conversation with a small number of interface admins and staff, we've launched a much larger, public consultation to get a wider pool of feedback for improving the policy proposal. Based on the ideas received so far, the proposed policy now includes some of the risks related to user scripts and gadgets loading third-party resources, best practices for gadgets and UserJS developers, and exemptions requirements such as code transparency and inspectability.
As an interface administrator, your feedback and suggestions are warmly welcome until July 17, 2023 on the policy talk page.
Have a great day!Samuel (WMF), on behalf of the Foundation's Security team 19:08, 10 กรกฎาคม 2566 (+07)
กฎหมาย
ที่เอาหัวราชกิจจานุเบกษาใส่เข้ามา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาใส่บรรณานุกรมน่ะครับ เพราะมีค่าเท่ากัน ประกอบกับในหน้าภาษาอื่น ๆ ก็ไม่ได้ทำกัน เพราะแค่คลิกที่ source ก็เจอแล้ว (นอกจากนี้ แนวปฏิบัติทั่วไปก็มีอยู่ว่า ในหน้าหลักควรมีแต่เนื้อหาจริง ๆ ถ้ามีส่วนที่ผู้ใช้เพิ่มเข้ามา ก็ต้องทำให้ปรากฏเช่นนั้น เช่น กรณีสารบัญ ก็ต้องใช้ แม่แบบ:สารบัญช่วย เป็นต้น) ตั้งใจว่าจะไล่ปรับปรุงให้หมดทุกอันครับ
ดังนั้น ไม่ทราบว่าจะขัดข้องอะไรไหมครับ ถ้าผมจะเอาหัวราชกิจจานุเบกษากลับเข้ามา แล้วเอาบรรณานุกรมออก
ขอบคุณครับ
-- Asembleo (คุย) 02:57, 2 ธันวาคม 2566 (+07)
- @Asembleo: หัวราชกิจจานุเบกษาที่ใส่ไว้ข้างบนเนื้อหาจะระบุเลขหน้าได้เพียงแค่หน้าเดียว คือหน้าแรก การระบุเลขหน้าต่อ ๆ ไปจะต้องดูจากเลขที่อยู่ด้านข้างซ้ายของเนื้อหา ซึ่งสร้างขึ้นมาจากอุปกรณ์เสริม PageNumbers หากผู้ใช้เผลอปิดอุปกรณ์เสริมนี้ไปก็จะไม่เห็นตัวเลขดังกล่าว และอุปกรณ์เสริมนี้ไม่สามารถใช้งานได้ในมุมมองสำหรับโทรศัพท์ รวมถึงแท็บ Source ก็ไม่สามารถใช้ได้ในมุมมองสำหรับโทรศัพท์ด้วย หากไม่มีบรรณานุกรมอาจจะทำให้ผู้ใช้ทางโทรศัพท์ไม่สามารถรู้แหล่งที่มาของงานได้ครับ
- และถ้าหัวราชกิจจานุเบกษาอยู่ห่างจากเนื้อหา เช่น หน้า:แจ้งความ (๒๔๓๐-๐๓-๑๘).pdf/1 ถ้าใส่หัวราชกิจจานุเบกษาไว้ในหน้างานจะทำให้งานนั้นเป็นการทำลายต้นฉบับหรือไม่? เพราะต้องตัดเนื้อหาราชกิจจานุเบกษาที่ไม่เกี่ยวข้องระหว่างหัวราชกิจจานุเบกษาและเนื้อหาหลักออก และถ้าหากหน้าแรกนั้นมีส่วนของสารบัญอยู่ด้วย เช่น เล่มที่ 3 แผ่นที่ 44 ก็คงจะต้องตัดสารบัญออกเช่นกัน
- สำหรับการมีอยู่ของบรรณานุกรม ผมเห็นว่าควรจะมีไว้ ทั้งช่วยให้ผู้อ่านสามารถหาแหล่งที่มาหรือนำบรรณานุกรมที่มีอยู่แล้วไปใช้ได้ง่ายขึ้น และช่วยให้สามารถยืนยันแหล่งที่มาได้อีกทางหนึ่งเวลาต้องไล่ตรวจสอบลิขสิทธิ์เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ ซึ่งมีเผื่อไว้ก่อนดีกว่าขาดหายไปครับ
- และผมคิดว่าบรรณานุกรมถือเป็นคำอธิบายประกอบตามนโยบายวิกิซอร์ซภาษาไทย (เป็นแหล่งอ้างอิง) โดยที่ไม่ได้มีการทำลายงานเดิมเนื่องจากตั้งอยู่หลังจากเนื้อหาของงานนั้นจบลงแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ถือเป็นการตีความของผมครับ
- ส่วนแนวปฏิบัติที่ว่าในหน้าหลักควรมีแต่เนื้อหาดั้งเดิมของงาน ผมหาที่เขียนไว้ไม่เจอครับ แต่ถ้าเกิดเป็นเพียงแค่สิ่งที่เห็นโดยทั่วไปในวิกิซอร์ซภาษาอื่นโดยไม่มีแนวทางเขียนกำกับไว้ก็ไม่ต้องทำตามเขาก็ได้ครับ
- --Bebiezaza (คุย) 19:59, 3 ธันวาคม 2566 (+07)
- ปล. เนื่องจากระบบที่วางบรรณานุกรมราชกิจจานุเบกษาต่อท้ายงานนั้นมีมาก่อนที่ผมมาแก้ไขที่วิกิซอร์ซครั้งแรกเสียอีก จึงขอแท็ก @Miwako Sato and Bitterschoko: ซึ่งเป็นผู้ใช้ที่วางระบบนี้ มาเพื่อให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมด้วยครับ --Bebiezaza (คุย) 20:11, 3 ธันวาคม 2566 (+07)
┌─────────────────────────────────┘
จริง ๆ ใส่ไว้หน้าแรกหน้าเดียวก็เพียงพอแล้วครับ เพราะวัตถุประสงค์ คือ จะได้รู้วันที่เริ่มใช้บังคับ + รู้แหล่งที่มา ซึ่งมีค่าเหมือนเขียนบรรณานุกรมเข้าไป ไม่ว่าจะมีแท็บ source หรือไม่ เราก็จะรู้แหล่งที่มาได้จากส่วนหัวนั้นเอง (รวมถึงส่วนอื่น ๆ ของงานนั้น) แต่จุดต่าง คือ ส่วนหัวนั้นเป็นเนื้อหาดั้งเดิม บรรณานุกรมเป็นเนื้อหาที่เติมเข้าไปเอง เนื้อหาประเภทที่เติมเข้าไปเองนี้ ถ้าไม่จำเป็นก็น่าจะเลี่ยงนะครับ (แม้คำอธิบายประกอบเอง ก็พึงใส่แต่เมื่อจำเป็นมิใช่หรือครับ)
นอกจากนี้ เมื่อเนื้อหาดั้งเดิมมีข้อมูลบรรณานุกรมระบุอยู่แล้ว เราควร (และสามารถ) ใช้เนื้อหาดั้งเดิมนั้นเองให้ประโยชน์ จะช่วยลดเวลาในการกรอกข้อมูลเป็นอันมาก เพราะทุกวันนี้เราต้องทำเรื่องเดิมถึง 3 ครั้ง คือ (1) เขียนบรรณานุกรมเวลาอัปโหลดไฟล์ที่คอมมอนส์ ตามอย่างที่ทำกันมา (2) กรอกข้อมูลอย่างเดียวกันในดัชนี และ (3) เอาข้อมูลนั้นกรอกเป็นบรรณานุกรมซ้ำอีก
ส่วนข้อกังวลอื่น ๆ ผมเห็นว่ามีทางแก้ไขได้มากมายครับ เช่น ทำหน้าวิธีใช้ขึ้นมาเพื่อแสดงวิธีการให้ไปดูข้อมูลที่หน้าดัชนี (ที่จริงหน้าที่มีอยู่ก็น่าดูจะเพียงพอแล้ว เช่น วิธีใช้:หน้าดัชนี)
อย่างไรก็ตาม รอฟังความเห็นเพิ่มเติมจากผู้อื่นก่อนก็ได้ครับ
ขอบคุณครับ
--Asembleo (คุย) 22:49, 3 ธันวาคม 2566 (+07)
- ขอเล่าเหตุการณ์เพื่อให้เห็นความเป็นมาก่อนค่ะ
- บรรณานุกรมนี่เป็นสิ่งที่ตกค้างมาตั้งแต่สมัยก่อนมีระบบ proofreading ค่ะ แต่ก่อนจะเขียนไว้ตรงท้ายหน้าบ้าง ตรงบนหน้าบ้าง หรือตรงช่องหมายเหตุ (ของแม่แบบหัวเรื่อง) บ้าง ดังปรากฏอยู่ในหน้าเก่า ๆ เช่น "ความรู้รอบตัวฯ (เขษมบรรณกิจ)", "โลกที่ขาดสระหมดวรรณยุกต์และงดวรรค", "มงคลสูตรคำฉันท์", "ไทยรวมกำลัง, ฯลฯ
- ต่อมามีการปรับให้ไปไว้ที่หน้าพูดคุย โดยใช้แม่แบบ แม่แบบ:รุ่น + แม่แบบ:ข้อมูลเนื้อหา ประกอบกัน (เข้าใจว่าเป็นการปรับตามหน้าอังกฤษ) ดังปรากฏในหน้าที่ใหม่ขึ้นมาหน่อย เช่น "คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๒-๑๓/๒๕๕๑", "พระราชบัญญัติอธิกรณประถมปาราชิก พระพุทธศักราช ๒๔๖๓", ฯลฯ แต่ตอนนั้นก็มีคนไม่เห็นด้วยพอสมควร เพราะเห็นว่า ย้ายไปอยู่หน้าพูดคุยแล้ว ไม่มีไปใครอ่าน จึงมีบางคนที่ยังคงเขียนบรรณานุกรมไว้ในหน้าหลักต่อไป ในวิกิซอร์ซไทยเลยมีบรรณานุกรม 2 แบบ คือ แบบที่เขียนไว้ในหน้าหลัก กับแบบที่เขียนไว้ในหน้าพูดคุย (บางงานก็เหมือนจะมีทั้ง 2 แบบทีเดียว)
- ต่อมาวิกิซอร์ซมี proofreading แล้ว หน้าต่างประเทศก็ยกเลิกเขียนบรรณานุกรม เพราะเนมสเปซดัชนีเก็บได้ครบอยู่แล้ว ดังเช่นในหน้าอังกฤษก็ยกเลิก แม่แบบ:รุ่น (en:Template:Edition) และแม่แบบ:ข้อมูลเนื้อหา (en:Template:Textinfo) ก็ไม่ค่อยใช้กันแล้ว แต่ในวิกิซอร์ซไทย ก็ยังเขียนบรรณานุกรมกันต่อ ดังนั้น ก็เลยเป็นอย่างที่เห็นว่า ทำไมมีดัชนีแล้ว ยังมีการเขียนบรรณานุกรมอยู่อีก
- โดยส่วนตัว ที่ได้เขียนบรรณานุกรม เพราะว่าเมื่อเขียนกันเป็นแบบแผนแล้ว ก็เลยเขียนตามด้วย แค่นั้นเลย แต่เห็นด้วยว่า หน้าที่มีดัชนี ดัชนีเก็บครบอยู่แล้ว ไม่ต้องเขียนก็ได้ เพราะมันเป็นการเขียนอะไรซ้ำ ๆ เหมือนกัน เรื่องตรวจลิขสิทธิ์ คิดว่าจะเกิดขึ้นแต่กับหน้าที่ไม่มีดัชนี (ดังนั้น หน้าที่ไม่มีดัชนี จึงจำเป็นต้องเขียนบรรณานุกรมหรือระบุแหล่งที่มาในรูปแบบอื่นอยู่) ส่วนหน้าที่มีดัชนีแล้ว โดยทั่วไปคงไม่เกิดปัญหาลิขสิทธิ์ (ถ้าจะเกิด ก็ตรวจได้จากดัชนีและตัวไฟล์ได้โดยตรงอยู่แล้ว) ดังนั้น ที่มีผู้เสนอให้เลิกเขียนบรรณานุกรมในหน้าที่มีดัชนีรองรับอยู่แล้ว ก็ขอเป็น 1 เสียงที่เห็นด้วยละกันค่ะ (ทุกวันนี้ที่ไม่ค่อยได้เข้ามา เพราะขี้เกียจเขียนข้อมูลซ้ำ ๆ นี่แหละค่ะ เอาจริงแค่อัปขึ้นที่คอมมอนส์แล้วนั่งกรอกนั่งจัดต่าง ๆ ก็หมดพลังงานแล้ว 55)
- ขอเล่าเหตุการณ์เพื่อให้เห็นความเป็นมาก่อนค่ะ
- @Asembleo and Miwako Sato: หลังจากที่ผมได้อ่านความเป็นมาและคิดดูแล้ว คิดว่าตัดบรรณานุกรมที่อยู่ท้ายออกสำหรับงานที่มีดัชนีแล้วก็ได้ครับ ส่วนของแท็บ Source ในโทรศัพท์เดี๋ยวผมจะลองเขียนอุปกรณ์เสริมขึ้นมาใช้ไปพลางก่อน ถ้าทำได้
- แต่การเอาหัวราชกิจจานุเบกษาใส่ไว้ในหน้างานด้วย ผมยังไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่ว่าควรจะใส่ไว้ในหน้าหลักหรือไม่ครับ จากเคสที่เคยเขียนไว้อยู่ข้างบน
- --Bebiezaza (คุย) 18:20, 7 ธันวาคม 2566 (+07)