วิกิซอร์ซ:เซ็นเตอร์พ้อยท์/กรุ/2564
หน้านี้เป็นหน้ากรุหรือข้อมูลเก่าจากหน้าหลัก ซึ่งเก็บไว้เพื่อเป็นการอ้างอิง กรุณาอย่าแก้ไขหน้านี้ ถ้าต้องการแสดงความคิดเห็น ให้พูดคุยในหน้าพูดคุยปัจจุบันของบทความนี้ |
การอภิปราย มกราคม—มิถุนายน 2564
แก้ไขปรับแต่งค่ากำหนดของวิกิซอร์ซภาษาไทย
แก้ไขสวัสดีครับ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานและการจัดการเนื้อหาต่อไปในอนาคต จึงขอเสนอให้ทำการปรับแต่งค่ากำหนดของวิกิซอร์ซภาษาไทยต่อไปนี้
ปรับแต่งบางเนมสเปซให้เป็นเนมสเปซตั้งต้นสำหรับเครื่องมือค้นหา
แก้ไขมีความแตกต่างระหว่างคำสั่ง พิเศษ:ค้นหา ที่ใช้ในวิกิซอร์ซภาษาไทยและ Special:Search ที่ใช้ในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ โดยของวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษกำหนดให้เนมสเปซหลัก สถานีย่อย ผู้สร้างสรรค์ ดัชนีและงานแปลเป็นเนมสเปซตั้งต้นสำหรับการสืบค้น ขณะที่ในวิกิซอร์ซภาษาไทยมีเพียงแค่เนมสเปซหลักอย่างเดียว ผมเห็นว่าการปรับให้เนมสเปซตั้งต้นสำหรับเครื่องมือค้นหาของวิกิซอร์ซภาษาไทยให้เข้าถึงกลุ่มเนมสเปซเนื้อหาอื่นเช่นเดียวกับวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูลให้เป็นไปได้สะดวกยิ่งขึ้นครับ
ปรับแต่งเครื่องมือนำเข้า
แก้ไขผู้ดูแลระบบวิกิซอร์ซสามารถใช้คำสั่ง พิเศษ:นำเข้า หน้า/เนื้อหาจากโครงการอื่น เช่น เมทาวิกิหรือคอมมอนส์ เพื่อย้ายเนื้อหาที่ผิดวัตถุประสงค์และรักษาประวัติรุ่นของหน้าไว้ ผมเสนอให้เพิ่มโครงการสำหรับเข้าถึงเครื่องมือนำเข้าดังนี้
- วิกิซอร์ซพหุภาษา (multilingual Wikisource/oldwikisource)
- วิกิพีเดียภาษาไทย
- วิกิพจนานุกรมภาษาไทย
- วิกิตำราภาษาไทย
- วิกิคำคมภาษาไทย
ปรับแต่งการนับเนมสเปซเนื้อหา
แก้ไขจำนวนหน้าเนื้อหาทั้งหมด 8,135 หน้า เป็นการนับเฉพาะหน้าที่อยู่ในเนมสเปซหลักเท่านั้น ไม่ได้รวมหน้าในเนมสเปซเนื้อหาอื่นอย่างผู้สร้างสรรค์หรืองานแปลด้วย จึงทำให้สถิติของโครงการมีความคลาดเคลื่อน ผมจึงเสนอให้เพิ่มเนมสเปซผู้สร้างสรรค์และงานแปลเพื่อนับเป็นเนมสเปซเนื้อหาเช่นเดียวกับโครงการอื่นที่มีเนมสเปซทั้ง 2 นี้ครับ
ปรับแต่งหมวดหมู่ภาษาของผู้ใช้
แก้ไขmagic word {{#Babel}}
ยังไม่สามารถแสดงหมวดหมู่ภาษาของผู้ใช้ (babel) ได้เช่นเดียวกับวิกิพีเดียภาษาไทยหรือโครงการอื่น เพื่อให้ magic word ทำงานได้มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องแจ้งเปิดใช้งานหมวดหมู่ โดยผมขอยึดระดับขั้น (0-N) ตามวิกิพีเดียภาษาไทยเพื่อเป็นระเบียบเดียวกันครับ
ความเห็น
แก้ไข- เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 15:52, 31 มกราคม 2564 (+07)
- เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 20:47, 31 มกราคม 2564 (+07)
- เห็นด้วย --Bisdt (คุย) 11:58, 1 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)
- เห็นด้วย – Patsagorn Y. · T 19:51, 11 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)
- เห็นด้วย --Bitterschoko (คุย) 14:11, 15 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)
สอบถามลิขสิทธิ์
แก้ไขจากเอกสาร คำแปลอนุสัญญาเจนีวา (จัดพิมพ์ พ.ศ. 2542) ในคำนำครั้งที่ 1 ระบุว่า "คำแปลที่จัดพิมพ์นี้เป็นคำแปลทางราชการของกระทรวงการต่างประเทศ และมิได้มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำแต่อย่างใดจากต้นฉบับเดิม" แต่ไม่สามารถตรวจสอบที่มาเดิมได้ ไม่ทราบว่าจะยึดถือข้อความนี้เพื่อระบุว่าเป็น {{สาธารณสมบัติ-ไทย-ยกเว้น}} ได้ไหมครับ --Horus (คุย) 18:49, 14 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)
- คำนำ พิมพ์ครั้งที่ 2 ในหน้าถัดมา ระบุว่า "การจัดพิมพ์คำแปลอนุสัญญาเจนีวาในวาระนี้ เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ซึ่งได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงจากการจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2542" แสดงว่า เป็นฉบับปรับปรุง ไม่ใช่ฉบับดั้งเดิมของ กต. แล้ว จึงไม่เข้า {{สาธารณสมบัติ-ไทย-ยกเว้น}} นะครับ (อย่างไรก็ดี คำนำ พิมพ์ครั้งที่ 2 ข้อความเต็ม ๆ ว่า "การจัดพิมพ์คำแปลอนุสัญญาเจนีวาในวาระนี้ เป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ซึ่งได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงจากการจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2542...แต่ยังคงคำแปลทางราชการของกระทรวงการต่างประเทศไว้" อ่านแล้วขัดแย้งในตัว บอกว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงของเดิมไว้ ไม่ทราบว่ามีความหมายอย่างไรแน่) --Bitterschoko (คุย) 13:57, 15 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)
- ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 16:22, 15 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)
แหล่งเอกสาร (คดียาไอซ์)
แก้ไขสวัสดีครับ ผมไปเจอไฟล์เรื่องคดียาไอซ์ แต่ดันมีลายน้ำ ถ้าใครเจอลิงก์ต้นฉบับก็ขอระบุด้วยครับ ขอบคุณครับ --Horus (คุย) 16:37, 21 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)
ปรับแต่งแถบด้านข้าง
แก้ไขสวัสดีครับ เนื่องจากแถบด้านข้างของวิกิซอร์ซภาษาไทยไม่ได้มีการปรับปรุงใหญ่มาตั้งแต่ปี 2549 โดยระหว่างตอนนั้นถึงปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง เช่น การเพิ่มเนมสเปซดัชนี สถานีย่อย ฯลฯ ผมจึงจะเสนอปรับแต่งแถบด้านข้างให้อย่างน้อยมีลิงก์ตามวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยขอแบ่งการอภิปรายเป็น 3 วาระ ดังนี้
วาระที่ 1: การเพิ่มและการแบ่งกลุ่มลิงก์
แก้ไขลิงก์ที่จะเพิ่มมา มีอยู่ทั้งหมด 6 ลิงก์ คือ
- Central discussion - โยงมาทีเซ็นเตอร์พ้อยท์
- Subject index - โยงไปที่สถานีย่อย:สถานีย่อย
- Authors - โยงไปที่หมวดหมู่:ผู้สร้างสรรค์เรียงตามลำดับอักษร
- Random work - สุ่มงานในเนมสเปซหลัก
- Random author - สุ่มผู้สร้างสรรค์
- Random transcription - สุ่มดัชนี
และเอาลิงก์ที่ซ้อนทับออก 1 ลิงก์ คือ "สุ่มหน้า" เนื่องจากซ้อนทับกับ Random work, Random author, และ Random transcription
ส่วนการแบ่งกลุ่มลิงก์ ผมได้คิดไว้เป็น 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1: ลิงก์ทั้งหมดอยู่ในส่วนหลัก ตามวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ
|
แบบที่ 2: ลิงก์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
|
--Bebiezaza (คุย) 21:11, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
อภิปรายและลงคะแนน
แก้ไข- เห็นด้วย เลือกแบบ 1 ครับ และ ความเห็น อาจไม่ต้องใส่ วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบัน ก็ได้ เพราะส่วนใหญ่ในนั้นมีไว้รับข้อมูลข่าวสารจากทางเมทาวิกิมากกว่า ถ้าต้องการเข้าชมคิดว่ารวมในศาลาประชาคมก็ได้ครับ --Geonuch (คุย) 22:43, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
วาระที่ 2: แปล
แก้ไขวิธีการลงความเห็นและลงคะแนนของแต่ละชื่อ ให้ใส่ไปใต้แต่ละหัวข้อ ดังตัวอย่างข้างล่าง โดยทุกคนสามารถเสนอคำแปลเพิ่มได้--Bebiezaza (คุย) 21:11, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
ตัวอย่างการลงความเห็นและลงคะแนน
แก้ไข- สมมติชื่อแปล 1
- เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 16:57, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
- ไม่เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 16:57, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
- สมมติชื่อแปล 2
- ไม่เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 16:57, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
Central discussion
แก้ไข- เซ็นเตอร์พ้อยท์
เป็นกลาง อาจไม่ค่อยสื่อความหมายให้ผู้อ่านทราบว่าคืออะไร แต่จะใช้ก็ไม่ได้เสียหายอะไรครับ --Geonuch (คุย) 22:46, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
Subject index
แก้ไข- สารบัญสถานีย่อย
- สถานีกลาง
- สถานีย่อย
- เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:53, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
Authors
แก้ไข- รายชื่อผู้สร้างสรรค์
- เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
Random work
แก้ไข- สุ่มงาน
- เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
Random author
แก้ไข- สุ่มผู้สร้างสรรค์
- เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
Random transcription
แก้ไข- สุ่มดัชนี
- เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 22:51, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
วาระที่ 3: ลิงก์อื่น ๆ ที่ต้องการใส่เพิ่มเติม
แก้ไขวิธีการลงความเห็นและลงคะแนนของแต่ละข้อ ให้ใส่ไปใต้แต่ละหัวข้อ คล้ายกับตัวอย่างในวาระที่ 2 โดยทุกคนสามารถเสนอเพิ่มได้ --Bebiezaza (คุย) 23:22, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)
สรุป
แก้ไข- การแบ่งกลุ่มลิงก์จะใช้แบบแรก คือ ลิงก์ทั้งหมดอยู่ในส่วนหลัก ตามวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษ
- อาจมีการนำลิงก์วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบันออกในอนาคต ไว้เปิดอภิปรายใหม่ทีหลัง
- การแปลชื่อส่วนใหม่ จะเป็นดังนี้
- Central discussion - เซ็นเตอร์พ้อยท์
- Subject index - สถานีย่อย
- Authors - รายชื่อผู้สร้างสรรค์
- Random work - สุ่มงาน
- Random author - สุ่มผู้สร้างสรรค์
- Random transcription - สุ่มดัชนี
- ไม่มีการเพิ่มลิงก์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างบน
และขอปิดการอภิปรายตรงนี้ครับ พร้อมกับปรับแก้แถบข้างทันที --Bebiezaza (คุย) 01:42, 19 พฤษภาคม 2564 (+07)
การจัดเยื้องของย่อหน้าอัตโนมัติ
แก้ไขสวัสดีครับ เนื่องจากระหว่างการเขียนการอภิปรายการปรับแต่งแถบด้านข้าง ผมได้สังเกตเห็นว่าเวลาย่อหน้าด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) กับการย่อหน้าอัตโนมัตินั้นถอยเข้ามาไม่เท่ากัน ดังภาพด้านขวา
ผมจึงจะสอบถามความเห็นว่า จะปรับการย่อหน้าอัตโนมัติให้เข้ามาเท่ากับการย่อหน้าด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) ไหมครับ? และจะมีผลกระทบกับเนื้อหาในวิกิซอร์ซมากเพียงใด? --Bebiezaza (คุย) 00:16, 3 พฤษภาคม 2564 (+07)
- มีหลายหน้าที่จัดย่อหน้าด้วยรูปแบบอื่นผสมกับย่อหน้าอัตโนมัติ เช่น ใช้ตารางสลับกับย่อหน้าอัตโนมัติ โดยตั้ง style ให้เยื้องเข้าไปเท่ากับย่อหน้าอัตโนมัติ หรือใช้ แม่แบบ:ช่องว่าง ฯลฯ หน้าจำพวกเอกสารเก่า เอกสารโบราณ หรือต้องการรักษารูปแบบต้นฉบับ มีการใช้วิธีเหล่านี้ ฉะนั้น ถ้าย่อหน้าอัตโนมัติเปลี่ยน ก็จะทำให้ย่อหน้าทั้งหมดซิกแซ็กกัน หรือเสียรูปแบบ แต่อาจจะลองเปลี่ยนดูก่อนก็ได้ค่ะ แบบว่าถ้าไม่เวิร์กก็เปลี่ยนกลับ --Miwako Sato (คุย) 12:53, 3 พฤษภาคม 2564 (+07)
- สรุป: ไม่แก้ไขการจัดเยื้องของย่อหน้าอัตโนมัติครับ เนื่องจากอาจทำให้หน้าอาจเสียรูปแบบได้ เช่นในหน้าคุยก็ได้มีการใช้ย่อหน้าอัตโนมัติเยื้องกับย่อหน้าที่ใช้เครื่องหมายทวิภาค --Bebiezaza (คุย) 01:42, 19 พฤษภาคม 2564 (+07)
แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
แก้ไขผมไปเจอฉบับแปลของสำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ปักกิ่ง โดยไม่ทราบปีที่เผยแพร่ครั้งแรก แต่คิดว่าน่าจะก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา ปี 2519 ค่อนข้างแน่นอน ใครมีข้อมูลตรงนี้ไหมครับ --Horus (คุย) 17:08, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)
- เท่าที่ค้นข้อมูล ได้ความดังนี้ครับ
- ฉบับที่คุณ Horus เอามาลง มีชื่อว่า "ฉบับภาษาทันสมัย" (ตามเว็บนี้) เป็นฉบับที่ "วิภา ดาวมณี กตัญญู ดิเรกวุฒิกุล และจร โสภณศิริ" edit จากฉบับเดิม และจะต้องพิมพ์หลัง พ.ศ. 2541 (เพราะมีระบุในนั้นเองว่า ฉบับ edit เกิดจากการที่คนบ่นว่า ฉบับพิมพ์ซ้ำใน พ.ศ. 2541 อ่านยาก)
- ฉบับเดิมข้างต้นน่าจะได้แก่ ฉบับของชมรมหนังสืออุดมทัศน์ (มีในเว็บ มธ. แต่ต้องเป็นสมาชิก จึงจะโหลดได้) ความแตกต่างระหว่างฉบับภาษาทันสมัยกับฉบับในเว็บ มธ. เช่น
- ฉบับภาษาทันสมัยว่า "ปีศาจตนหนึ่ง ปีศาจแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังวนเวียนอยู่ในยุโรป"
- ฉบับในเว็บ มธ. ว่า "ภูตผีตนหนึ่ง ภูตผีแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังวนเวียนอยู่ในยุโรป"
- ฉบับในเว็บ มธ. ไม่มีปีที่พิมพ์ (เว็บลงว่า ม.ป.ป. ในตัวเล่มก็ไม่มีปี+คนแปล) ค้นกูเกิลก็ไม่เจอ เจอแต่ว่าเป็นหนังสือต้องห้ามตามประกาศ มท. ใน พ.ศ. 2523 แสดงว่า อย่างน้อยฉบับนี้ก็มีแล้วใน พ.ศ. 2523 เนื่องจากข้อมูลมีเท่านี้ ถ้าจะเอาฉบับนี้มาลงได้ คงต้องรอพ้น พ.ศ. 2573 (เพื่อให้เกิน 50 ปี)
- --Bitterschoko (คุย) 18:03, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)
- คือผมค่อนข้างแน่ใจว่ามีกล่าวถึงในบทความ 6 ตุลาต่าง ๆ แล้ว ([1]) คิดว่าถ้าจะให้แน่ใจอาจจะไว้ลงหลังปี 2569 ครับ --Horus (คุย) 18:23, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)
ขอความเห็นกับการออกแบบหน้าหลักใหม่
แก้ไขสวัสดีครับ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้ออกแบบหน้าหลักขึ้นมาใหม่ จนได้แบบออกมาทั้งการแสดงผลบนเดสก์ท็อปและการแสดงผลบนมือถือแล้ว
สำหรับหน้าต่าง ๆ มีดังนี้
จึงขอนำเรื่องมาอภิปรายเพื่อขอความเห็นเพิ่มเติมครับ --Bebiezaza (คุย) 23:03, 24 พฤษภาคม 2564 (+07)
ส่วนสำหรับการการนำหน้าที่ออกแบบไว้มาปรับใช้จะเปิดอภิปรายอีกครั้งภายหลังครับ --Bebiezaza (คุย) 18:00, 25 พฤษภาคม 2564 (+07)
ความเห็น
แก้ไข- ส่วน ประกาศ คิดว่าไม่จำเป็น (เพราะเป็นเรื่องภายในและอาจยังไม่เหมาะกับผู้ใช้ใหม่) และส่วน งานใหม่ที่น่าสนใจ อาจจะเพิ่มเป็น 2 งาน เพื่อนำเสนองานที่ proofread 1 งาน และงานแปล 1 งาน ครับ --Horus (คุย) 05:47, 26 พฤษภาคม 2564 (+07)
- เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 14:55, 1 มิถุนายน 2564 (+07)
- มีความเห็นดังนี้ครับ
- เห็นพ้องกับคุณ Horus ตามข้างต้นครับ และการที่มี section งานแปล จะทำให้บุคคลทั่วไปรับทราบว่า แปลมาลงก็ได้ (นอกเหนือไปจากลงงานต้นฉบับ) ก็น่าจะทำให้วิกิซอร์ซคึกคักขึ้น
- ถ้าเพิ่ม section ที่เชิญชวนให้คนมาทำงานใน วิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคม ก็จะดีครับ (ดังที่หน้าอังกฤษมี "Current Collaborations" หรือหน้าฝรั่งเศสมี "Mission 7500") section นี้จะมีประโยชน์ คือ อาจช่วยดึงดูดคน และพอมีคนมาทำเพิ่มขึ้น ก็อาจช่วยให้วิกิซอร์ซเป็นมาตรฐานไวขึ้น (เพราะไฟล์ส่วนใหญ่ที่อัปโหลด เป็นต้นฉบับของหน้ามากมายที่มีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มาตรฐาน และหลาย ๆ หน้าปล่อยทิ้งไว้มาเกินกว่าทศวรรษ) นอกจากนี้ ยังอาจช่วยให้วิกิซอร์ซไทยกลายเป็น hub ของเนื้อหาต้นฉบับที่เข้าถึงได้ง่าย (โดยเฉพาะด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งน่าจะยังไม่มีในเมืองไทย เพราะเว็บส่วนใหญ่เน้นร้อยกรอง วรรณกรรม ฯลฯ และเข้าถึงยาก ต้องสมัคร ต้องอะไรต่าง ๆ)
- ใน section "สำรวจวิกิซอร์ซ" มีหลายหน้าควรลบ (เช่น หมวดหมู่:งานแบ่งตามที่มา ที่ใส่หมวดหมู่เป็นโรงพิมพ์ หน่วยงาน ฯลฯ) เพราะปัจจุบันใช้ "สถานีย่อย" (ตัวอย่างหน้าโรงพิมพ์ en:Portal:Oxford University Press) แต่เรื่องนี้ยังไม่สำคัญหรือเร่งร้อนในเวลานี้ ควรปล่อยไปก่อน เอ่ยถึงเผื่อเป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงในอนาคต (และกันลืม) เฉย ๆ ครับ
- --Bitterschoko (คุย) 22:33, 28 พฤษภาคม 2564 (+07)
- เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 14:55, 1 มิถุนายน 2564 (+07)
- @Bitterschoko: สำหรับข้อ 2 สนใจที่จะแนะนำชื่อหัวข้อที่จะแสดงในหน้าหลักไหมครับ? --Bebiezaza (คุย) 01:03, 2 มิถุนายน 2564 (+07)
- ขออภัยครับ ไม่มีชื่อใดเสนอครับ --Bitterschoko (คุย) 20:59, 3 มิถุนายน 2564 (+07)
- @Bitterschoko: สำหรับข้อ 2 สนใจที่จะแนะนำชื่อหัวข้อที่จะแสดงในหน้าหลักไหมครับ? --Bebiezaza (คุย) 01:03, 2 มิถุนายน 2564 (+07)
- เห็นด้วย --Bebiezaza (คุย) 14:55, 1 มิถุนายน 2564 (+07)
- ความเห็นของ --YURi (คุย) 18:59, 2 มิถุนายน 2564 (+07)
- เปลี่ยนทาง วิกิซอร์ซ:บทความที่ต้องการ ไปยัง วิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคม แล้วใช้ชื่อหัวข้อ "Current Collaborations" ว่า "งานที่ต้องการ" หรือ "งานที่ชวนให้คุณร่วมทำ", "งานที่คุณร่วมทำได้", "งานที่คุณร่วมสร้างสรรค์ได้" อะไรทำนองนี้ ดีไหมคะ
- ที่เสนอให้เปลี่ยนทาง เพราะจุดประสงค์ของทั้ง 2 หน้าก็เหมือนกัน คือ ต้องการให้คนมาร่วมทำ แต่หน้าหลังมีดัชนี/ไฟล์เรียบร้อย และมีความเคลื่อนไหว (อัปเดต) เป็นระยะ ๆ ซึ่งทำให้ผู้สนใจสามารถเริ่มทำได้ทันที ขณะที่หน้าแรกเป็นรายชื่อเปล่า ๆ และแทบจะไม่อัปเดตเลย นอกจากนี้ ถึงแม้ในภาษาอังกฤษ ทั้งสองหน้าจะเป็นคนละหน้า แต่ภาษาไทยเราก็บริหารจัดการในท้องถิ่นเราได้ตามเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่กระทบกระเทือนกัน
- สำหรับหน้าหลักที่ออกแบบใหม่ ผมเลือกใช้ "งานที่คุณร่วมทำได้" นะครับ --Bebiezaza (คุย) 00:55, 6 มิถุนายน 2564 (+07)
- ที่เสนอให้เปลี่ยนทาง เพราะจุดประสงค์ของทั้ง 2 หน้าก็เหมือนกัน คือ ต้องการให้คนมาร่วมทำ แต่หน้าหลังมีดัชนี/ไฟล์เรียบร้อย และมีความเคลื่อนไหว (อัปเดต) เป็นระยะ ๆ ซึ่งทำให้ผู้สนใจสามารถเริ่มทำได้ทันที ขณะที่หน้าแรกเป็นรายชื่อเปล่า ๆ และแทบจะไม่อัปเดตเลย นอกจากนี้ ถึงแม้ในภาษาอังกฤษ ทั้งสองหน้าจะเป็นคนละหน้า แต่ภาษาไทยเราก็บริหารจัดการในท้องถิ่นเราได้ตามเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่กระทบกระเทือนกัน
- งานแปล ทำเป็นรายชื่อ ดีไหมคะ โดยใช้หัวข้อว่า "งานแปลใหม่" เฉย ๆ แล้วแบบ มีลิงก์ไปหน้ารายชื่อ (เหมือนในหัวข้อ "งานใหม่")
- เหตุผล เพราะงานแปล น่าจะมีมาเรื่อย ๆ แต่ถ้าลงไว้อันเดียว ก็จะเป็นจุดที่แช่ไว้ ไม่ค่อยอัปเดต (แบบ คนอาจกลัวว่า ฉันเปลี่ยนได้ไหม ถึงเวลาเปลี่ยนได้หรือยัง เพราะเราก็ไม่ได้ข้อกำหนดเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว แต่ถ้าทำเป็นรายชื่อ มันก็จะไหลไปตามลำดับเก่าใหม่ และทำให้คนทั่วไปรู้ว่า มีความเคลื่อนไหวอยู่นะ)
- ได้ลองสร้าง วิกิซอร์ซ:งานแปล/งานใหม่ ซึ่งยังเป็นรายชื่อคร่าว ๆ แต่ว่าจะลองสร้างแม่แบบเพื่อแสดงข้อมูลบางอย่าง เช่น ผู้สร้างสรรค์ดั้งเดิม, ภาษาดั้งเดิม, ปี ฯลฯ (คล้าย ๆ ในหน้า วิกิซอร์ซ:งาน/2564) ค่ะ แม่แบบน่าจะทำให้การเพิ่มงานแปลสะดวกขึ้น
- เห็นด้วย และผมจะเพิ่มลิงก์ไปยังหน้าดังกล่าวสำหรับหน้าหลักที่ออกแบบใหม่ด้วยนะครับ --Bebiezaza (คุย) 00:55, 6 มิถุนายน 2564 (+07)
- เปลี่ยนทาง วิกิซอร์ซ:บทความที่ต้องการ ไปยัง วิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคม แล้วใช้ชื่อหัวข้อ "Current Collaborations" ว่า "งานที่ต้องการ" หรือ "งานที่ชวนให้คุณร่วมทำ", "งานที่คุณร่วมทำได้", "งานที่คุณร่วมสร้างสรรค์ได้" อะไรทำนองนี้ ดีไหมคะ
ประกาศการลบหน้าจำนวนมาก (18 มิถุนายน 2564)
แก้ไขชื่อหัวข้อใหม่ที่จะใช้ก่อนได้รับความเห็นพ้องจากชุมชน: ประกาศการจะลบหน้าจำนวนมาก
สวัสดีครับ หลังจากผมได้ลบหน้าที่ได้รับแจ้งลบจำนวนมาก (29 พฤษภาคม 2564) ไปจำนวน 7,103 หน้าแล้วนั้น ผมได้ตรวจเช็คเพิ่มเติม และลบหน้าเกี่ยวกับพระไตรปิฎกที่เป็นทางตันต่าง ๆ ไปแล้วกว่า 800 หน้า และยังไม่มีท่าทีว่าจะหมดเร็ว ๆ นี้ จึงมาขอความเห็นพ้องกับชุมชนเรื่องการลบจำนวนมากในครั้งนี้
เหตุผลที่ตั้งการอภิปรายนี้
แก้ไขหน้านำทางพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่เป็นทางตันที่ผมลบไปก่อนหน้านี้กว่า 800 หน้า ผมได้ตรวจเช็คแต่ละหน้าต่อจากทางตันไปอย่างละเอียดแล้วพบว่าส่วนมากจะโดนลบเพราะวิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ#การแจ้งลบจำนวนมาก_(29_พฤษภาคม_2564) รองลงมาคือถูกแจ้งลบเพราะ ท6 และลบการก่อกวน และท้ายสุดคือหน้าที่ไม่เคยถูกสร้าง ทำให้ผมคิดว่าการลบต่อจากนี้ไม่ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วเพื่อความรวดเร็ว รวมถึงโรงเรียนผมจะเปิดเทอมเร็ว ๆ นี้ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบทีละหน้าและลบหน้าทั้งวันแบบที่ผมได้ทำในปัจจุบัน
เหตุผลในการลบครั้งนี้
แก้ไข- เพื่อจัดการหน้าต่าง ๆ ที่ซอยยิบย่อยมากแต่ใช้การไม่ได้ ซึ่งทำให้การแสดงจำนวนหน้าในหน้าแรกมีมากเกินจริง
- ในอดีตอาจเป็นหน้าที่ใช้การได้ แต่อาจถูกลบเพราะเหตุผลตามที่อธิบายก่อนหน้า
- เพื่อลบหน้านำทางต่าง ๆ ที่เป็นทางตันเพราะการแจ้งลบก่อนหน้านี้ เช่น พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ - เถราปทาน - ๑. พุทธวรรค
- การย่อยหน้าควรใช้ "ทับ" แทนการใช้ "ขีด" ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถรู้ได้ทันทีว่าหน้าที่อ่านอยู่เป็นหน้าย่อยของหน้าใดบ้าง
- รวมเหตุผลการลบต่าง ๆ เข้ามาเป็นเหตุผลเดียวกัน คือโยงมาที่การอภิปรายนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ผมแบ่งเหตุผลในการลบหน้าเป็น
- หน้าที่เกี่ยวข้องกับ วิกิซอร์ซ:แจ้งผู้ดูแลระบบ#การแจ้งลบจำนวนมาก_(29_พฤษภาคม_2564)
- อ1 - หน้าสุดทางไม่ได้ใช้: ข้อมูลอื่น ๆ
ขอบเขตของหน้าที่จะถูกลบ
แก้ไข- หน้านำทางพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่เป็นทางตัน โดยไม่ต้องตรวจดูว่าลิงก์แดงทุกลิงก์ในหน้านั้นถูกลบด้วยเหตุใด หรือเคยมีการสร้างไปหรือยัง
- หน้านำทางพระไตรปิฎกต่าง ๆ ที่มีลิงก์ที่ยังใช้ได้อยู่ จะมีการตรวจสอบลิขสิทธิ์รายหน้าอีกที เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าจะละเมิดลิขสิทธิ์ เว็บ 84000.org หรือพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ซึ่งถ้าลบหน้าพวกนี้จนหน้านำทางที่เกี่ยวข้องเป็นทางตันก็จะเข้ากับข้อข้างบน
Bebiezaza (คุย) 00:34, 2 มิถุนายน 2564 (+07)
ความเห็น
แก้ไข- เห็นด้วย --Bitterschoko (คุย) 20:59, 3 มิถุนายน 2564 (+07)
- เห็นด้วย --Miwako Sato (คุย) 04:22, 13 มิถุนายน 2564 (+07)
การแก้ไขหน้าวิกิซอร์ซคืออะไร
แก้ไขผมได้แก้ไขหน้า วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซคืออะไร ในส่วน "ภาษา" แต่ไม่แน่ใจว่าต้องมีการรับรองจากประชาคมหรือไม่ เพราะหน้านั้นไม่ใช่นโยบาย และเนื้อความที่แก้ไขก็เป็นเพียงสรุปแนวปฏิบัติที่มีมาแล้ว ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากเดิม
แต่ก็มาตั้งกระทู้นี้ อย่างน้อยก็เป็นการแจ้งถึงความเคลื่อนไหวที่ควรทราบกัน และท่านใดเห็นว่าจำเป็นต้องมีการรับรอง ก็โปรดพิจารณาตามสมควรครับ ขอบพระคุณครับ --Bitterschoko (คุย) 08:10, 5 มิถุนายน 2564 (+07)
- ไหน ๆ เปิดกระทู้แล้ว รวดคุยเรื่อง "เนื้อหาภาษาต่างประเทศเขียนด้วยอักษรไทย ไม่มีเนื้อหาภาษาไทยร่วมด้วย (เช่น งานที่เป็นภาษาบาลีล้วน ๆ แต่เขียนด้วยอักษรไทย)" ด้วยเลยสิครับ --Horus (คุย) 23:19, 5 มิถุนายน 2564 (+07)
- ผมมาไตร่ตรองดู ผมอาจจะผิดเองที่เขียนว่า "ยังไม่มีแนวปฏิบัติ อาจต้องอภิปรายเพิ่มเติม" ที่จริงถ้าว่าตามนโยบาย ก็ไม่อาจรับงานนั้นไว้ได้ (เพราะไม่ใช่ภาษาไทย แม้จะเขียนด้วยอักษรไทย) ตอนที่แก้หน้า "วิกิซอร์ซคืออะไร" ผมเกิดสงสัยขึ้นว่า มีแนวปฏิบัติให้รับไว้ได้หรือเปล่า เพราะมีหน้าทำนองนั้นอยู่พอสมควร (ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา เช่น หน้า "๖. ปฎิจฺจสมุปฺปาทวิภโงฺค-สัมโมหวิโนทนี") เลยเขียนไปอย่างนั้น อย่างไรก็ดี ผมได้แก้ไขหน้า "วิกิซอร์ซคืออะไร" อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็เป็นนโยบายอยู่แล้ว ไม่มีอะไรใหม่ (นอกจากนี้ เมื่อก่อนผู้ดูแลระบบก็ลบหน้าทำนองนี้ออกเป็นระยะ ๆ จะถือเป็นแนวปฏิบัติแล้วก็ได้) จึงคิดว่าไม่มีอะไรให้อภิปรายครับ แต่จะเปิดอภิปรายก็ได้ตามที่แต่ละท่านเห็นสมควรครับ --Bitterschoko (คุย) 03:43, 6 มิถุนายน 2564 (+07)
- ไหน ๆ เปิดกระทู้แล้ว รวดคุยเรื่อง "เนื้อหาภาษาต่างประเทศเขียนด้วยอักษรไทย ไม่มีเนื้อหาภาษาไทยร่วมด้วย (เช่น งานที่เป็นภาษาบาลีล้วน ๆ แต่เขียนด้วยอักษรไทย)" ด้วยเลยสิครับ --Horus (คุย) 23:19, 5 มิถุนายน 2564 (+07)
อภิปรายเกี่ยวกับหน้า วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบัน
แก้ไขสวัสดีครับ สำหรับหน้า วิกิซอร์ซ:เหตุการณ์ปัจจุบัน ผมคิดว่าเป็นชื่อที่สื่อความหมายไม่ตรงกับเนื้อหาในหน้า จึงคิดว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น วิกิซอร์ซ:ข่าวสารจากส่วนกลาง แทน และนำลิงก์ที่ไปยังหน้านี้ออกจากแถบด้านข้างออก โดยนำลิงก์ไปไว้ในหน้า วิกิซอร์ซ:ศาลาประชาคม ส่วน "ส่วนประกอบ" แทนครับ --Bebiezaza (คุย) 02:13, 6 มิถุนายน 2564 (+07)
ความเห็น
แก้ไข- เท่าที่ดูใน en:Wikisource:News ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นข่าวสารจากส่วนกลางอย่างเดียว เพราะมีให้ชุมชนเขียน newsletter ให้กันเองก็ได้ คิดว่าชื่อควรจะรวมกิจกรรมแบบนี้ด้วยครับ เช่น "ข่าวสาร", "จดหมายข่าว" ฯลฯ --Horus (คุย) 11:26, 6 มิถุนายน 2564 (+07)
- ในเมื่อเป็นหน้าให้ชุมชนเขียนข่าวได้ ก็ตามนั้นครับ (strikethrough ส่วนที่ตัดออกจากชื่อจากข้างบนเรียบร้อย) --Bebiezaza (คุย) 15:19, 6 มิถุนายน 2564 (+07)
เรียบร้อย ปิดการอภิปรายครับ --Bebiezaza (คุย) 23:41, 27 มิถุนายน 2564 (+07)
แก้ไขนโยบายการลบ
แก้ไขเสนอให้แก้ไข วิกิซอร์ซ:นโยบายการลบ ดังนี้
เดิม | ใหม่ | เหตุผล |
---|---|---|
ปรับปรุง | ||
ท6 – ละเมิดลิขสิทธิ์ ได้แก่ (1) เนื้อหาที่ปรากฏชัดและพิสูจน์ชัดว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ (2) หน้าผู้สร้างสรรค์ที่ผลงานยังมีลิขสิทธิ์อยู่ | ท6 – ละเมิดลิขสิทธิ์ ได้แก่ (1) เนื้อหาที่ปรากฏชัดและพิสูจน์ชัดว่าละเมิดลิขสิทธิ์ (2) หน้าที่เคยถูกลบเพราะละเมิดลิขสิทธิ์ (3) หน้าผู้สร้างสรรค์ที่ผลงานทั้งหมดของเขายังมีลิขสิทธิ์อยู่ และไม่มีส่วนอื่นที่ทำให้หน้าผู้สร้างสรรค์นั้นสามารถดำรงอยู่ได้ | ปรับปรุงโดยอิงหน้าอังกฤษ แต่เพิ่มข้อความ "และไม่มีส่วนอื่นที่ทำให้หน้าผู้สร้างสรรค์นั้นสามารถดำรงอยู่ได้" เข้ามา เพราะบางทีผลงานของบุคคลยังมีลิขสิทธิ์ แต่มีงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นและไม่มีลิขสิทธิ์ สามารถลิสต์ไว้ในหน้าผู้สร้างสรรค์ได้ ตัวอย่างเช่น ผู้สร้างสรรค์:วรเจตน์ ภาคีรัตน์ |
ท8 – หมวดหมู่ที่อิงตัวบุคคล ได้แก่ หมวดหมู่ผลงานของบุคคล (เป็นต้นว่า "งานเขียนของ ก", "ร้อยกรองของ ข" ฯลฯ) เว้นแต่เป็นกรณีที่ชื่อบุคคลเกี่ยวข้องกับช่วงเวลา ยุคสมัย การปกครอง ฯลฯ (เป็นต้นว่า "รัฐบาลของ ค", "รัชสมัยของ ง" ฯลฯ) | ม2 – หมวดหมู่ที่อิงตัวบุคคล เช่น หมวดหมู่ผลงานของบุคคล (เป็นต้นว่า "งานเขียนของ ก", "ร้อยกรองของ ข" ฯลฯ) แต่กรณีที่ชื่อบุคคลเกี่ยวข้องกับช่วงเวลา ยุคสมัย การปกครอง ฯลฯ (เป็นต้นว่า "รัฐบาลของ ค", "รัชสมัยของ ง" ฯลฯ) ไม่เข้าข่ายที่จะลบทันทีตามข้อนี้ |
|
บ3 – ไม่ระบุข้อมูล ได้แก่ งานที่ไม่ลงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาและการสร้างสรรค์ (ถ้ามี) | บ3 – ไม่ระบุข้อมูล ได้แก่ งานที่ไม่ลงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาและการสร้างสรรค์ (ถ้ามี) ทั้งนี้ ได้พยายามสืบค้นข้อมูลดังกล่าวแล้ว และได้ติดต่อผู้ใช้ที่เพิ่มเนื้อหานั้นเข้ามาแล้ว แต่ก็ไม่ได้ข้อมูลเช่นนั้น |
|
เพิ่มใหม่ | ||
ไม่มี | ม1 – หมวดหมู่ว่าง |
|
ไม่มี (รหัสเดิมเป็นเหตุผลอื่น) | ท8 – งานที่ไม่ได้รับการพัฒนาต่อ เช่น งานที่ไม่เสร็จสมบูรณ์และถูกทิ้งไว้เกินหกเดือน หรือหน้าร่างที่ไม่พัฒนาต่อเกินหกเดือน | นำมาจากนโยบายวิกิพีเดียไทย |
ไม่มี | บ4 – ไม่สามารถกำหนดลิขสิทธิ์ได้ เช่น งานที่ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ายังมีลิขสิทธิ์อยู่หรือไม่ | ปัจจุบันมีงานประเภทนี้อยู่มากมายในวิกิซอร์ซไทย และเป็นงานที่เราไม่ควรจะเก็บไว้ เพราะไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ได้ |
ตามที่ผู้ดูแลระบบเคยระบุไว้ใน คุยเรื่องวิกิซอร์ซ:นโยบายการลบ หลังจากอภิปรายครบ 14 วันและไม่มีการคัดค้านแล้ว จะไปแก้ไขหน้านโยบายการลบนะคะ ขอบพระคุณค่ะ --Miwako Sato (คุย) 06:20, 30 มิถุนายน 2564 (+07)
- เห็นด้วย เกณฑ์ ท6, ม2, บ3, ม1 และ บ4 ใหม่
- ความเห็น ขอออกความเห็นเพิ่มเติมดังนี้
- เรื่องการรอผู้ใช้ระบุข้อมูลแหล่งที่มาและการสร้างสรรค์ (บ3) อาจจะกำหนดไว้ตั้งแต่แรกเลยก็ได้ว่า ก่อนจะนำมาลงต้องระบุข้อมูลเหล่านี้ และถ้าไม่ระบุภายใน ... วัน ก็จะถูกลบทันที หรือถ้าใจดีก็อาจจะทำเป็นสคริปต์หรือบอตสำหรับแจ้งเตือนพฤติการณ์เหล่านี้ด้วยก็ได้
- เรื่องงานที่ไม่ได้รับการพัฒนาต่อ คิดว่าไม่จำเป็นต้องนำเกณฑ์นี้มาจากวิกิพีเดียภาษาไทย เพราะอาจมีกรณีที่นำงานมาลงแล้ว 50% แต่ผู้เขียนเกิดถอดใจขึ้นมา จะลบงานนั้นออกไปก็คิดว่ามากเกินไปหน่อย อีกทั้งในวิกิซอร์ซไม่ใช่งานที่ต้องร่างก่อน แค่คัดลอกข้อความจากต้นฉบับบวกกับใส่โค้ดและตกแต่งบ้างเท่านั้น
- เกณฑ์ บ4 อาจจะกำหนดไปด้วยก็ได้ว่า ผู้เขียนมีหน้าที่ต้องกำหนดสถานะลิขสิทธิ์ได้ ถ้าไม่ได้ก็ถูกลบภายใน ... วัน และถ้าทำผิดซ้ำซากก็เป็นเหตุให้บล็อกได้ ครับ
- เห็นด้วย ตามความเห็นคุณ Horus ครับ --Bebiezaza (คุย) 23:42, 14 กรกฎาคม 2564 (+07)
@Miwako Sato: สนใจรับเกียรติเป็นคนแก้นโยบายการลบเลยมั้ยครับ? เพราะเปิดการอภิปรายมา 3 เดือนแล้ว --Bebiezaza (คุย) 13:02, 6 กันยายน 2564 (+07)
- ขอบคุณค่ะ ลืมแล้ว 555 ได้แก้ไขแล้วค่ะ (ส่วนเรื่องเวลาใน บ3 ไม่ได้ใส่ลงไป เพราะไม่มีการอภิปรายเพิ่มเติม และผู้ดูแลระบบก็สามารถใช้ดุลพินิจได้อยู่แล้วค่ะ) --Miwako Sato (คุย) 17:22, 6 กันยายน 2564 (+07)
การอภิปราย กรกฎาคม 2564 — ธันวาคม 2564
แก้ไขข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับต่าง ๆ
แก้ไขเนื่องจากว่าระหว่างที่ผมกำลังนำเอกสาร "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดฯ สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 28)" มานั้น ผมได้พบว่ามีเอกสารที่ใช้ชื่อเดียวกัน (หรือคล้ายกัน) อยู่หลายฉบับ เช่น ฉบับเมื่อปี 2551 ฉบับเมื่อปี 2553 และ ฉบับที่ใช้ในสถานการณ์โควิด-19 ฉบับที่ 1 ที่ออกเมื่อปี 2563 ทำให้เวลาจะนำเอกสารมาลงในวิกิซอร์ซในอนาคตอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ ผมจึงมาขอความคิดเห็นว่าควรจะจัดการยังไงดีครับ --Bebiezaza (คุย) 00:52, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)
- ใส่วันที่ เหมือนที่ปรากฏการอ้างถึงใน หน้า:ข้อกำหนดโควิด (๒๗).pdf/2 ค่ะ เช่น ข้อกำหนดตามหน้านั้น ก็จะเป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" (แต่ในชื่อหน้าคงต้องย่อตามสมควรค่ะ) --Miwako Sato (คุย) 02:30, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)
- เพิ่งเห็นหน้า "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9ฯ ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563" อาจย่อประมาณนั้นก็ได้ค่ะ (ที่จริงน่าจะมีคำว่า "พระราชกำหนด" อะไรสักหน่อย แต่ดูแล้วน่าจะไม่พอ เพราะชื่อเต็ม ๆ คือ "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2563" อ่านเสร็จต้องปาดเหงื่อ 😓) --Miwako Sato (คุย) 02:59, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)
- เห็นด้วย สำหรับฉบับที่อ้างถึงข้างบน ผมย่อให้เป็น ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพรก. สถานการณ์ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 ก.ค. 2564 ครับ และถ้าไม่มีแสดงความเห็นเพิ่มเติมภายใน 2 วัน ผมจะขอปิดการอภิปรายนี้ครับ --Bebiezaza (คุย) 09:35, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)
- นโยบายว่า ชื่อหน้าก็คือชื่องาน ถ้าชื่อยาว ให้ทอนด้วยไปยาล ดังนั้น โดยส่วนตัวคิดว่า ตัดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นไปด้วยไปยาลเลยดีกว่าจะแปลงชื่อเป็นตัวย่อ เพราะการแปลงข้างต้น ชื่อยังยาวอยู่ และมีผลต่อการสร้างหน้าย่อย (โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่า งานในกลุ่มเดียวกัน ควรมีชื่อ pattern เดียวกัน และมีบางงานที่ต้องมีหน้าย่อย) จึงควรตัดสั้นอีก อีกอย่างหนึ่ง การแปลงเป็นตัวย่อดังกล่าว ทำให้ชื่อหน้าในวิกิซอร์ซลักลั่น (เช่น บางหน้าเป็น ก.ค. บางหน้าเป็น กรกฎาคม) โดยเป็นความลักลั่นที่ไม่ได้เกิดจากชื่อดั้งเดิม แต่เกิดจากการแปลงของผู้ใช้เอง
- ทีนี้ ควรตัดแบบใด ทีแรกมองว่า น่าจะตัดเป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดฯ (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" แต่คิดไปคิดมา ตัด "แห่งพระราชกำหนดฯ" ออกไปเลย เป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9ฯ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" น่าจะดีกว่า เพราะ
- การคง "แห่งพระราชกำหนดฯ" ไว้ในลักษณะนี้ อาจทำให้เข้าใจว่า "(ฉบับที่ 27)" ขยาย "พระราชกำหนด และชื่อแบบที่คงไว้ ก็ยังยาวพอสมควร
- ในชื่อโดยทั่วไป ก็ไม่อ้างถึงกฎหมายแม่ (พระราชกำหนด) เช่น ใน หน้า:ข้อกำหนดโควิด (๒๗).pdf/2 เอง ก็เรียกแค่ "ข้อกำหนด (ฉบับที่ ๒๕) ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔" เป็นต้น แสดงว่า ส่วนพระราชกำหนดสามารถตัดทอนได้
- จึงเสนอความเห็นมาเพื่อลองพิจารณาดูค่ะ --Miwako Sato (คุย) 14:34, 23 กรกฎาคม 2564 (+07)
- เรียบร้อย ตามความเห็นข้างบนครับ --Bebiezaza (คุย) 17:14, 29 สิงหาคม 2564 (+07)
- ใส่วันที่ เหมือนที่ปรากฏการอ้างถึงใน หน้า:ข้อกำหนดโควิด (๒๗).pdf/2 ค่ะ เช่น ข้อกำหนดตามหน้านั้น ก็จะเป็น "ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564" (แต่ในชื่อหน้าคงต้องย่อตามสมควรค่ะ) --Miwako Sato (คุย) 02:30, 20 กรกฎาคม 2564 (+07)
เตรียมการใช้งานหน้าหลักที่ออกแบบใหม่
แก้ไขสวัสดีครับ หลังจากที่ดองโครงงานการออกแบบหน้าหลักใหม่ไว้นาน ตอนนี้ผมพร้อมที่จะนำหน้าหลักที่ได้ออกแบบใหม่มาใช้งานจริงแล้วครับ โดยรูปแบบปัจจุบันสามารถดูได้ที่นี่ และสามารถลงคะแนนได้ที่ด้านล่าง สำหรับหลังจากใช้จริงแล้วจะมีการปรับปรุงแยกมอดูลเพื่อให้เพิ่มข้อมูลที่ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ ได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งรองรับหน้าจอแบบโทรศัพท์มือถือ --Bebiezaza (คุย) 02:01, 21 พฤศจิกายน 2564 (+07)
ความเห็น และลงคะแนน
แก้ไข- เห็นด้วย --Miwako Sato (คุย) 14:07, 21 พฤศจิกายน 2564 (+07)
- เห็นด้วย ดูดีขึ้นกว่าอันเก่าครับ —นคเรศ (คุย) 02:17, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)
- เห็นด้วย – Patsagorn Y. · T 10:11, 20 ธันวาคม 2564 (+07)
เริ่มใช้งาน
แก้ไขตอนนี้หน้าหลักที่ออกแบบใหม่ได้ใช้งานบนหน้าหลักแล้ว ถือว่าการอภิปรายนี้เสร็จสมบูรณ์ ตัวหน้าหลักยังต้องมีการปรับมอดูลต่าง ๆ เพื่อให้เพิ่มเนื้อหาได้ง่ายขึ้น พร้อมขั้นตอนเพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถร่วมเพิ่มงานขึ้นแสดงได้ --Bebiezaza (คุย) 01:00, 25 ธันวาคม 2564 (+07)
ประกาศการลบหน้าจำนวนมาก (28 พฤศจิกายน 2564)
แก้ไขสวัสดีครับ หลังจากผมได้ลบหน้าที่เกี่ยวกับพระไตรปิฎกที่ผิดลิขสิทธิ์แล้ว ผมได้ค้นพบว่ามีหน้าอรรถกถาที่มาจาก 84000.org เพิ่มเติมในหน้าแม่แบบ "พระสุตตันตปิฎกและอรรถกถา" นี้ โดยถึงปัจจุบัน ผมได้ตรวจสอบด้วยมือไปแล้ว 479 หน้า และค้นพบว่าเนื้อหาทั้งหมดก็มาจาก 84000.org เช่นกัน และยังมีอีกประมาณ 250 หน้าที่ยังหลงเหลืออยู่ จึงมาขอความเห็นพ้องกับชุมชนเรื่องการลบจำนวนมากในครั้งนี้โดยไม่ต้องตรวจสอบด้วยมือต่อไป
- เหตุผลในการลบครั้งนี้
- WS:CSD ท6 - ละเมิดลิขสิทธิ์: ค้นหาเจอว่ามาจาก https://84000.org/ โดยเว็บระบุว่า เผยแพร่เมื่อปี 2546 หรือใหม่กว่า และถ้าจะนับเว็บนี้เป็นต้นฉบับ ก็ต้องถือว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะยังไม่เกิน 50 ปีนับแต่เผยแพร่
- ขอบเขตของหน้าที่จะถูกลบ
- หน้าอรรถกถาที่เหลือในแม่แบบที่กล่าวมาข้างต้น
Bebiezaza (คุย) 13:39, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)
ความเห็น
แก้ไข- ความเห็น ไม่ทราบว่าเว็บไซต์นี้ใครคือผู้เขียนหรือมีลิขสิทธิ์แบบเต็มหรือเปล่าครับ ทั้ง ๆ ที่บางส่วนอ้างมาจากหนังสือที่เผยแพร่เป็นธรรมทาน บางอย่างอาจเป็นสาธารณสมบัติโดยเฉพาะบทสวดกับพระไตรปิฎก —นคเรศ (คุย) 14:07, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)
- ตอบ เท่าที่ผมหาได้ เว็บไซต์นี้ไม่มีข้อมูลลิขสิทธิ์ใด ๆ เลยครับ จึงไม่สามารถระบุสถานะลิขสิทธิ์ได้
- ส่วนพระไตรปิฎกบางฉบับที่เผยแพร่เป็นธรรมทานนั้น อ้างตามเหตุผลที่มีในการรับแจ้งลบจำนวนมาก (29 พฤษภาคม 2564) ก็คือบางแหล่งได้มีการเขียนไว้ว่า "เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทานเท่านั้น...ห้ามจำหน่าย" (อ้างอิง) ซึ่งไม่ผ่านวิกิซอร์ซ:นโยบายลิขสิทธิ์#เนื้อหาเสรี ทำให้ไม่สามารถรับงานไว้ได้ --Bebiezaza (คุย) 15:08, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)
- พระไตรปิฎกก็มีลิขสิทธิ์ได้ค่ะ เพราะเป็นงานแปลจากภาษาบาลี ฉบับแปลแรกสุด คือ ฉบับที่เริ่มแปลเมื่อ 2528 พิมพ์ครั้งแรก 2530 (อ้างอิง: สารานุกรมไทยฯ) ยังไม่เกิน 50 ปีเลย (ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 19, 20, 23 ที่ระบุว่า งานที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล, งานที่ไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์, งานที่สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้การควบคุมของรัฐ มีอายุลิขสิทธิ์ 50 ปีนับแต่สร้างสรรค์/เผยแพร่ครั้งแรก) ขนาดฉบับที่เก่าแก่สุดยังไม่เกิน 50 ปีเลย จึงยิ่งไม่ต้องพูดถึงฉบับถัด ๆ ลงมา
- ส่วนการที่เว็บไซต์อนุญาตให้เผยแพร่เป็นธรรมทาน ถ้าเว็บไซต์นั้นเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และจำกัดห้ามจำหน่าย ก็เอามาลงไม่ได้ เพราะไม่เสรี แต่ถ้าไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ ถึงจะจำกัดหรือไม่จำกัดการจำหน่าย ก็ไม่มีผลเป็นการปลอดลิขสิทธิ์ เพราะไม่มีอำนาจประกาศอะไรเกี่ยวกับลิขสิทธิ์อยู่แล้ว
- ส่วนอรรถกถาที่จะลบในคราวนี้ ได้ข้อมูล (จาก สารานุกรมไทยฯ เหมือนกัน) ว่า เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมหาจุฬาฯ พิมพ์ครั้งแรก 2534 ซึ่งยังไม่เกิน 50 ปี
- พระไตรปิฎกที่เป็นบาลีแท้ ๆ เลย ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะเกิดมานานแล้วกว่า 2500 ปี ลิขสิทธิ์จะเกิดได้เฉพาะงานแปลเท่านั้น --Octahedron80 (คุย) 09:17, 15 ธันวาคม 2564 (+07)
- แต่สิ่งที่ลบไปแล้วและกำลังจะลบนั้นคือพระไตรปิฎกและอรรถกถาที่เขียนในภาษาไทย ซึ่งแปลมาจากภาษาบาลีอีกที และอายุงานยังไม่ถึง 50 ปี จึงเข้าข่ายตามที่คุณ Miwako Sato ได้เขียนมาก่อนหน้านี้ ยกเว้นว่าคุณจะสามารถหาหลักฐานได้ว่ามีพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับที่ตีพิมพ์ก่อนปี พ.ศ. 2515 (เลื่อนขึ้นหนึ่งปี เนื่องจากตอนนี้ท้ายปีพ.ศ. 2564 แล้ว) มาหักล้างได้ โดยถ้ามีเอกสารต้นฉบับเพื่อมาใช้พิสูจน์อักษรด้วยจะยิ่งดี --Bebiezaza (คุย) 21:04, 19 ธันวาคม 2564 (+07)
คะแนน
แก้ไข- เห็นด้วย ได้ข้อมูลจากสารานุกรมไทยฯ ว่า อรรถกถา ผู้สร้างสรรค์ดั้งเดิม คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งแรก 2534 ยังไม่เกิน 50 ปี แม้แต่ฉบับพิมพ์ครั้งแรกก็ยังไม่หมดลิขสิทธิ์ ฉบับพิมพ์ครั้งหลัง ๆ จึงย่อมมีลิขสิทธิ์อยู่เช่นกัน --Miwako Sato (คุย) 16:16, 28 พฤศจิกายน 2564 (+07)
- ไม่เห็นด้วย งานที่ตีพิมพ์ซ้ำจากเนื้อหาที่ไม่มีลิขสิทธิ์ (พระไตรปิฎก) ไม่ทำให้เกิดลิขสิทธิ์ขึ้นใหม่ ยกเว้นงานแปล ควรดูเป็นกรณีไป ส่วนเรื่องภาษาบาลี อภิปรายในหัวข้อถัดไป --Octahedron80 (คุย) 09:34, 15 ธันวาคม 2564 (+07)
- ตอบตามข้างบนใน timestamp เดียวกัน --Bebiezaza (คุย) 21:04, 19 ธันวาคม 2564 (+07)
- เห็นด้วย พระไตรปิฎกที่เสนอแจ้งลบไม่ชัดเจนเกี่ยวกับที่มาและลิขสิทธิ์ จึงเห็นว่าสมควรที่จะทำการลบครับ --Geonuch (คุย) 08:47, 17 มกราคม 2565 (+07)
สรุป
แก้ไขตามที่ได้มีการอภิปรายมาข้างต้น สรุปว่าลบครับ และอาจมีการตั้งการอภิปรายเฉพาะกิจสำหรับงานในด้านนี้ต่อไป --Bebiezaza (คุย) 20:36, 25 กุมภาพันธ์ 2565 (+07)
ภาษาบาลีอักษรไทย
แก้ไขผมเห็นคุณ [Geonuch] ลบพระไตรปิฎกจำนวนมาก ด้วยเหตุผลว่าละเมิดลิขสิทธิ์ อยากทราบว่าภาษาบาลีมีมาแล้ว 2500 กว่าปี มันไปละเมิดลิขสิทธิ์ใครหรือครับ ถ้าเป็นงานแปลที่ไม่เกิน 50 ปี ก็เห็นด้วยที่จะลบ ถ้านานกว่านั้นไม่มีลิขสิทธิ์ครับ ถึงแม้จะมีการตีพิมพ์ใหม่ลิขสิทธิ์ก็ไม่กลับมา --Octahedron80 (คุย) 14:11, 14 ธันวาคม 2564 (+07)
- อันที่จริง งานภาษาบาลีล้วน ๆ มันลบได้ด้วยเหตุผลว่า ไม่ใช่ภาษาไทย (ถึงแม้จะเขียนด้วยอักษรไทย) เพราะควรไปอยู่ในวิกิซอร์ซที่เกี่ยวข้อง (ดังเช่นที่ปัจจุบันมีวิกิซอร์ซสันสกฤต, เทวนาครี อะไรต่าง ๆ) เรื่องนี้มีนโยบายอยู่แล้วค่ะ (วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซคืออะไร) แม้ในวิกิซอร์ซภาษาอังกฤษก็ลบพระไตรปิฎกที่เป็นภาษาบาลีอักษรโรมันล้วน ๆ ทิ้งหมดแล้ว เหลือแต่คำแปลที่เป็นภาษาอังกฤษ ดูใน en:Category:Buddhism เป็นต้น --Miwako Sato (คุย) 15:30, 14 ธันวาคม 2564 (+07)
- จริงอยู่ภาษาบาลีก็ควรจะไปอยู่วิกิซอร์ซภาษาบาลี แต่วิกิซอร์ซภาษาบาลียังไม่มีไงครับ อีกประการหนึ่ง หากมีขึ้นมาจริง ๆ คงเขียนกันมั่วมาก เพราะภาษาบาลีเขียนได้ด้วยอักษรหลายแบบ หรืออาจจะโดนจำกัดให้เขียนด้วยอักษรโรมันอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้ภาษาบาลีอักษรไทยไม่มีที่อยู่ แต่ทว่าภาษาบาลีอักษรไทย มีใช้แต่ในประเทศไทยและใช้ควบคู่กับภาษาไทย (บางคาถาถูกแต่งขึ้นในไทยเท่านั้น เช่น ชินบัญชร) วิกิซอร์ซภาษาไทยจึงควรอนุโลมให้บันทึกภาษาบาลีอักษรไทยได้ (ในตอนนี้) --Octahedron80 (คุย) 09:08, 15 ธันวาคม 2564 (+07)
- สำหรับงานภาษาบาลี วิกิซอร์ซจะรับไว้ที่วิกิซอร์ซพหุภาษาครับ สำหรับงานภาษาบาลีอักษรไทย ผมได้ไปถามที่ Scriptorium ที่ฝั่งนั้น และในดิสคอร์ดกลางของวิกิซอร์ซแล้ว(เนื้อหาที่คุยกันในดิสคอร์ด) ถ้าหมดอายุลิขสิทธิ์แล้วเขารับงานไว้ได้ครับ --Bebiezaza (คุย) 19:42, 16 ธันวาคม 2564 (+07)
- พระไตรปิฎกสยามรัฐภาษาบาลีอักษรไทย ทั้ง 45 เล่ม ตอนนี้มีอยู่ในวิกิซอร์ซพหุภาษากลุ่มภาษาบาลีแล้วครับ โดยเป็นรุ่นเดียวกันกับที่คุณ Miwako Sato ได้แนะนำไว้ในเซ็นเตอร์พ้อยท์เมื่อปีที่แล้ว --Bebiezaza (คุย) 23:17, 17 ธันวาคม 2564 (+07)
แตกประเด็นออกมาเพิ่มเติม: พระไตรปิฎกสยามรัฐภาษาบาลีอักษรไทยควรจะใส่ไว้ในวิกิซอร์ซ:ความร่วมมือของประชาคมและ "สถานีย่อย:พระไตรปิฎก" หรือไม่? --Bebiezaza (คุย) 23:17, 17 ธันวาคม 2564 (+07)
- หน้าความร่วมมือ ส่วนตัวมองว่า จะลงไว้ ก็ไม่เป็นไร เพราะที่นี่เป็นจุดศูนย์รวมของคนรู้ภาษา/อักษรไทย ย่อมเป็นจุดที่ดีที่สุดสำหรับใช้ประชาสัมพันธ์ว่า มีงานที่ชวนให้คนรู้ภาษา/อักษรไทยไปทำ
- ส่วนสถานีย่อย ส่วนตัวมองว่า ไม่น่าจะต้องใส่ไว้ เพราะ (1) สถานีย่อยเอาไว้รวมลิงก์เกี่ยวกับงานที่มี (หรือจะมี) ในวิกิซอร์ซไทย และ (2) มีฟังก์ชันอื่นให้ใช้ คือ ลิงก์ข้ามภาษาผ่านวิกิสนเทศ ตัวอย่างเช่น "สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ไทย" กับ "en:Portal:History of Thailand" มองว่า น่าจะลิงก์ข้ามภาษาในลักษณะนี้มากกว่า จะเอามาใส่ไว้ในภาษาไทย
- ความเห็น
- เรื่องลบพระไตรปิฎก เห็นว่าคุณ Bebiezaza ได้ลงลิงก์การอภิปรายก่อนหน้าซึ่งผมได้ตั้งเรื่องเสนอเกี่ยวกับเหตุผลที่ได้ทำการลบอยู่ครับ
- เรื่องงานที่ใช้ภาษาบาลีอักษรไทย ผมเห็นว่าควรอยู่ในวิกิซอร์ซพหุภาษา ถ้าจะอยู่ในวิกิซอร์ซภาษาไทยก็อาจเป็นงานที่ทำการแปลเนื้อหาจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย (เช่น ใน mul เป็น "อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ..." พอมาใน thws เขียนเป็น "พระผู้มีพระภาคเจ้า..." ประมาณนี้) อย่างไรก็ตาม ถ้าชุมชนจะยกเว้นว่างานเขียนที่ใช้อักษรไทยหรือผลิตขึ้นในประเทศไทยจะเก็บในวิกิซอร์ซภาษาไทย คิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ --Geonuch (คุย) 22:40, 18 ธันวาคม 2564 (+07)
- ถ้าเช่นนั้น ภาษาบาลีอักษรไทย ที่ไม่ใช่พระไตรปิฎกก็อย่างเช่น บทสวดมนต์ต่าง ๆ ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยหลัง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าผู้แต่งคือใคร และแต่งเมื่อใด (กลายเป็น PD) พบได้มากมายในหนังสือสวดมนต์ของพระสงฆ์ ก็น่าจะเอาลงไปที่ วิกิซอร์ซพหุภาษา ได้อยู่มั้ง --Octahedron80 (คุย) 07:41, 22 ธันวาคม 2564 (+07)
- ก็คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้นครับ --Bebiezaza (คุย) 18:49, 22 ธันวาคม 2564 (+07)
- ถ้าต้นฉบับเป็นแต่ภาษาบาลี ก็เห็นว่าควรเป็นเช่นนั้นเหมือนกันค่ะ แต่ถ้าต้นฉบับมีภาษาบาลี+ไทย ก็อาจลงที่นี่ได้ (ดูเพิ่มเติมที่ วิกิซอร์ซ:วิกิซอร์ซคืออะไร#ภาษา) เช่น เมื่อดูใน commons:Category:Buddhist prayer books from Thailand จะพบว่า มีต้นฉบับหลายอันที่ลงไว้ในไทยได้ --Miwako Sato (คุย) 21:08, 22 ธันวาคม 2564 (+07)
- ก็คิดว่าควรจะเป็นเช่นนั้นครับ --Bebiezaza (คุย) 18:49, 22 ธันวาคม 2564 (+07)
- ถ้าเช่นนั้น ภาษาบาลีอักษรไทย ที่ไม่ใช่พระไตรปิฎกก็อย่างเช่น บทสวดมนต์ต่าง ๆ ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยหลัง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าผู้แต่งคือใคร และแต่งเมื่อใด (กลายเป็น PD) พบได้มากมายในหนังสือสวดมนต์ของพระสงฆ์ ก็น่าจะเอาลงไปที่ วิกิซอร์ซพหุภาษา ได้อยู่มั้ง --Octahedron80 (คุย) 07:41, 22 ธันวาคม 2564 (+07)
- ความเห็น