ปก
ลง • สารบัญ
บ้วนฮ่วยเหลา
เล่ม ๑
ปกใน
ขึ้น • ลง • สารบัญ
บ้วนฮ่วยเหลา
เล่ม ๑
ราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ. ๑๕๐๓–๑๘๑๙)
พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ๒,๐๐๐ เล่ม
พ.ศ. ๒๕๑๓
องค์การค้าของคุรุสภา
ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์
ถนนราชดำเนินกลาง
จัดพิมพ์จำหน่าย
๒๐๗๔
หน้า ก–จ
ขึ้น • ลง • สารบัญ
คำนำ
ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทยเพื่อทบทวนงานที่ได้ดำเนินมาแล้วในปีแรก คณะกรรมการดำเนินงานได้มีมติให้เพิ่มการจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทยขึ้นอีกสามชุด คือ ชุดประชุมพงศาวดาร ชุดรามเกียรติ์ และชุดพงศาวดารจีน
ชุดพงศาวดารจีนซึ่งจัดเป็นชุดที่ยี่สิบนี้ คณะกรรมการได้มีมติให้จัดพิมพ์เฉพาะเรื่องที่นับเนื่องเป็น "พงศาวดารจีน" จริง ๆ เสียก่อน ส่วนเรื่องจีนอื่น ๆ ที่จัดว่า เป็น "เกร็ด" พงศาวดารบ้าง หรือที่แต่งเป็นแบบนวนิยายบ้าง ให้จัดพิมพ์ต่อภายหลัง
ความจริงหนังสือพงศาวดารจีนไม่ว่าประเภทใดมีผู้นิยมอ่านกันมาก ในสมัยก่อน ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปติดพงศาวดารจีนเหมือนกับการรับประทานอาหาร ฉะนั้น จึงปรากฏว่า บรรดาหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะต้องลงเรื่องจีนอย่างน้อยหนึ่งเรื่องเป็นประจำ นักอ่านจะซื้อหนังสือพิมพ์รายวันเพื่ออ่านเรื่องจีนวันต่อวัน เรื่องที่ลงพิมพ์นั้นบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่เคยพิมพ์เป็นเล่มมาแล้ว แต่หาอ่านไม่ได้ เพราะต้นฉบับเดิมหายาก และมิได้มีการพิมพ์ขึ้นใหม่ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่แปลขึ้นใหม่จากนวนิยายจีนซึ่งแต่งอิงพงศาวดาร บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่นักประพันธ์ไทยแต่งข้นเองทำนองแต่งนวนิยายอาศัยพงศาวดารจีน เรื่องอิงพงศาวดารจีนที่น่าอ่านเพราะเป็นเรื่องมีคติแก่ชีวิตและครอบครัวก็มีหลายเรื่อง เช่น เรื่องจอยุ่ยเหม็ง เป็นต้น
ส่วนเรื่องจีนที่จัดได้ว่า เป็นเรื่อง "พงศาวดาร" นั้นปรากฏจากหนังสือตำนานสามก๊ก พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลขึ้นสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น และให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก นับเป็นเริ่มแรกของการแปลพงศาวดารจีนมาเป็นภาษาไทย ในรัชกาลที่ ๒ ได้มีการแปลบ้าง แต่ปรากฏว่า ส่วนใหญ่ได้มีการแปลในรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลต่อ ๆ มา
แต่การแปลพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยในครั้งนั้นหาได้แปลตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีนไม่ เข้าใจว่า อาจเพ่งเล็งไปในความสนุกของเรื่อง หรือตามแต่จะหาต้นฉบับได้มากกว่า ทั้งผู้อ่านไม่ปรารถนาจะหาความรู้ทางประวัติศาสตร์นอกจากความสนุกเป็นสำคัญ แต่ในการพิมพ์คราวนี้ คณะกรรมการมีความคิดเห็นว่า ควรจะจัดพิมพ์ใหม่ตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีน ซึ่งบางทีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจของประวัติศาสตร์บ้าง จึงได้เรียงลำดับการพิมพ์ดังต่อไปนี้ คือ
๑. ไคเภ็ก
|
|
- เริ่มแต่ประวัติศาสตร์ยังเจือปนด้วยนิยาย
- เช่น การสร้างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ สร้างโลก ฯลฯ
- จนถึงตอนใกล้ประวัติศาสตร์ กษัตริย์องค์แรก ๆ ของจีน
- ตั้งแต่สมัยที่กษัตริย์ได้ขึ้นเสวยราชย์โดยราษฎรเป็นผู้เลือก
- จนถึงปฐมกษัตริย์สืบราชวงศ์ คือ
- กษัตริย์ราชวงศ์แฮ่ กับกษัตริย์ราชวงศ์เซียว
- (ก่อนพุทธศักราช ๒๑๕๔ ปีถึงก่อนพุทธศักราช ๑๒๔๐ ปี)
|
๒. ห้องสิน
|
|
- ราชวงศ์เซียว และราชวงศ์จิว
- (ก่อนพุทธศักราช ๑๒๔๐ ปีถึงพุทธศักราช ๒๙๗)
|
๓. เลียดก๊ก
|
๔. ไซ่ฮั่น
|
|
- ราชวงศ์จิ๋น และราชวงศ์ฮั่น
- (พ.ศ. ๒๙๘–๓๓๗)
|
๕. ไต้ฮั่น
|
๖. ตั้งฮั่น
|
๗. สามก๊ก
|
|
- ราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย ต่อราชวงศ์วุยและราชวงศ์จิ้นตอนต้น
- (พ.ศ. ๓๓๗–๘๐๗)
|
๘. ไซจิ้น
|
|
- ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์ซอ ราชวงศ์ชี
- ราชวงศ์เหลียง และราชวงศ์ตั้น
- (พ.ศ. ๘๐๘–๑๑๓๒)
|
๙. ตั้งจิ้น
|
๑๐. น่ำซ้อง
|
๑๑. ส้วยถัง
|
|
- ราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถังตอนต้น
- (พ.ศ. ๑๑๓๒–๑๑๖๑)
|
๑๒. ซุยถัง
|
๑๓. เสาปัก
|
|
- ราชวงศ์ถัง
- (พ.ศ. ๑๑๖๑–๑๔๕๐)
|
๑๔. ซิยิ่นกุ้ย
|
๑๕. ซิเตงซัน
|
๑๖. ไซอิ๋ว
|
๑๗. บูเช็กเทียน
|
๑๘. หงอโต้ว
|
|
- ราชวงศ์เหลียง ราชวงศ์จัง ราชวงศ์จิ้น
- ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิว
- (พ.ศ. ๑๔๕๐–๑๕๐๓)
|
๑๙. น่ำปักซ้อง
|
|
- ราชวงศ์ซ้อง
- (พ.ศ. ๑๕๐๓–๑๘๑๙)
|
๒๐. บ้วนฮ่วยเหลา
|
๒๑. โหงวโฮ้วเพงไซ
|
๒๒. โหงโฮ้วเพงหนำ
|
๒๓. โหงวโฮ้วเพงปัก
|
๒๔. ซวยงัก
|
๒๕. ซ้องกั๋ง
|
๒๖. เปาเล่งถูกงอั้น
|
๒๗. ง่วนเฉียว
|
|
- ราชวงศ์หงวน
- (พ.ศ. ๑๘๒๐–๑๙๑๑)
|
๒๘. เม่งเฉียว
|
|
- ราชวงศ์เหม็ง
- (พ.ศ. ๑๙๑๑–๒๑๘๖)
|
๒๙. เองเลียดต้วน
|
๓๐. ซองเต๊กอิ้วกังหนำ
|
๓๑. ไต้อั้งเผ่า
|
๓๒. เซียวอั้งเผ่า
|
๓๓. เนียหนำอิดซือ
|
๓๔. เม่งมวดเซงฌ้อ
|
|
- ราชวงศ์เช็ง
- (พ.ศ. ๒๑๘๗–๒๔๕๔)
|
๓๕. เชงเฉียว
|
รวมทั้งสิ้นเป็นหนังสือสามสิบห้าเรื่อง ซึ่งถ้าแบ่งตามขนาดหนังสือชุดภาษาไทยก็อาจจะได้ไม่ต่ำกว่าห้าสิบเล่ม ต้นฉบับพิมพ์พงศาวดารจีนตามบัญชีดังกล่าวนี้ในปัจจุบันหาอ่านกันได้ยาก เพราะส่วนใหญ่มิได้มีการพิมพ์ขึ้นใหม่ นอกจากเรื่องที่นิยมกันว่า สนุก ๆ มากเท่านั้น การพิมพ์คราวนี้ก็ต้องยืมต้นฉบับจากหลายเจ้าของด้วยกัน ซึ่งคุรุสภาต้องขอแสดงความขอบคุณท่านเจ้าของต้นฉบับทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อของท่านเท่ากับเป็นการช่วยรักษาวรรณกรรมของชาติให้คงไว้ส่วนหนึ่ง และการจัดพิมพ์นั้นได้แก้ไขเฉพาะอักขรวิธี ส่วนถ้อยคำสำนวนต่าง ๆ ได้คงไว้ตามเดิม ซึ่งท่านจะได้ทราบภาษาที่คนไทยเรานิยมใช้เมื่อร้อยปีเศษมาแล้วว่าเป็นอย่างไร
สารบัญ
ขึ้น • ลง
หน้า
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๑
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๖
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๑๔
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๓๒
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๔๐
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๔๖
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๕๒
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๕๗
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๖๕
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๗๑
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๗๕
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๗๗
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๘๑
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๘๕
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๙๑
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๙๕
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๑๐๐
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๑๐๖
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๑๑๒
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๑๑๖
|
|
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
|
๑๒๐
|
|
หน้า ๑๙๖
ขึ้น • ลง • สารบัญ
๑๑๐๒ ชีวิวัฒน์ พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ได้ทรงแต่งขึ้นในระหว่างที่ท่องทะเลจากสมุทร
ปราการไปตามหัวเมืองตะวันตก และแหลมมลายูฟากฝั่ง
ตะวันออกถึงเมืองกลันตัน ทรงแต่งเป็นแบบราย
งานเพื่อทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้ทรงเขียน
ขึ้นอย่างละเอียด ได้ความรู้เป็นตำราภูมิศาสตร์
บรรยายสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมืองปราณบุรี เขา
สามร้อยยอด เกาะพยัน เกาะสมุย เมืองกาญจนดิฐ
เมืองหลังสวน ตำบลเกาะง่าม ในแงาของชัยภูมิที่
ตำบลบ้าน จำนวนคน ผลประโยชน์ของบ้านเมือง
และการทำมาหากินของคนในที่นั้น ๆ อาหาร ทุกข์
สุขของราษฎร
หน้า ๑๙๗
ขึ้น • ลง • สารบัญ
๑๑๐๙ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าเสด็จตรวจการ
คณะสงฆ์มณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๕๗
ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิร
ญาณวโรรส เป็นรายงานคราวที่สมเด็จฯ เสด็จ
ตรวจการคณะสงฆ์และสังฆมณฑล มีคุณค่าน่า
สนใจอย่างยิ่ง เพราะเล่าถึงวิธีการปกครองคณะ
สงฆ์ของพระองค์ท่าน และแทรกด้วยข้อคิดคติธรรม
ที่พระองค์ประทานในระหว่างที่เสด็จไปตามเมือง
ต่าง ๆ ประกอบด้วยตำนานพระพุทธรูป ตำนาน
วัดต่าง ๆ เช่น ตำนานพระพุทธชินราช พระ
ศรีศาสดา ฯลฯ ตำนานวัดพระศรีรัตนมหา
ธาตุ ฯลฯ
หน้า ๑๙๘
ขึ้น • ลง • สารบัญ
๑๕๑๐ รวมเรื่องเขียนของนายสุกิจ นิมมานเหมินท์
ถ้าท่านรู้จักอาจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ ว่า
เป็นรัฐมนตรีที่คล่องแคล่วในการบริหารการศึกษา
นับว่า ท่านยังรู้จักน้อยไป ท่านผู้นี้ยังเป็นนักสอน
นักพูด นักธรรมชาติวิทยา นักคิด นักเขียน
นามกระเดื่องอีกด้วย หนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องยืน
ยันข้อเขียนของท่านว่า เป็นสารคดีพิเศษไม่ซ้ำแบบ
ใคร มีเรื่องเช่น อันน้องนี้แต่กำเนิดเกิดมา จะ
หุงข้าวหุงปลาก็มิเคย หรั่งไยไทยเปิน หรั่งเขิน
ไทยหัว ฯลฯ อาจารย์สุกิจถ้าใครรู้จักท่านดีก็ยก
ท่านไว้ในระดับนักปราชญ์ องค์การค้าของคุรุสภา
ภูมิใจที่จะเสนองานของนักปราชญ์ผู้นี้
หน้า ๑๙๙
ขึ้น • ลง • สารบัญ
๑๕๑๓–๑๔ กำเนิดนามสกุลเล่ม ๑, ๒ ของจมื่นอมร
ดรุณารักษื (แจ่ม สุนทรเวช)
คนไทยสมัยก่อนรัชกาลที่ ๖ ขึ้นไปยังไม่มี
นามสกุลอย่างปัจจุบันนี้ เพียงอ่านหนังสือสองเล่ม
นี้เท่านั้นก็จะทราบถึงที่มาของนามสกุลต่าง ๆ ใน
ปัจจุบันนี้ ทั้งนามสกุลพระราชทานและที่สืบนามสกุล
มา รวมทั้งพระราชดำริและพระราชประสงค์ของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกำหนดให้
มีนามสกุลขึ้น และวิธีการขนานนามสกุลในปี พ.ศ.
๒๔๕๖ ประโยชน์ของการมีนามสกุล พร้อมด้วย
รายชื่อสกุลต่าง ๆ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานไว้ เรียงตามลำดับอักษร สะดวกแก่ผู้
ค้นคว้า
หน้า ๒๐๐
ขึ้น • สารบัญ
๒๐๕๕ ซิยิ่นกุ้ย นามของเขาเลื่องลือระบือไกลว่า ผู้
ทรงพลังมหาศาล เป็นดาวเสือขาวจุติมาเกิด เป็น
นายทหารเอกของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ ผู้ยึดมั่น
ในความสัตย์กตัญญู จงรักภักดีต่อองค์เจ้าแผ่นดิน
ดังนั้น เมื่อจังอ๋อง เจ้าเมืองฮวน ยกทัพมารุกราน จึง
เป็นหน้าที่ของเขาที่จะฟาดฟันเหล่าอริราชศัตรู
แผ่นดิน ด้วยทวนคู่มือหนักสองร้อยชั่ง แม้กระ
นั้น ราวฟ้าดินไม่ยุติธรรม เขาถูกกีดกันมิให้ได้
ความดีความชอบ แต่ธรรมะย่อมชนะอธรรม ผู้
อ่านจะได้ความรู้ทางด้านตำราพิชัยสงคราม ใช้
อาวุธวิเศษตลอดเรื่อง สนุกตื่นเต้น คือ การปะทะ
กำลัง ปัญญา และฝีมือในการจัดตั้งกระบวนค่ายรบ
โบราณที่มีในตำราพิชัยสงครามทั้งสิบอย่าง
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว นายกำธร สถิรกุล ผู้พิมพ์และผู้โฆษณา
๑๐ กันยายน ๒๕๑๓