ซ้องกั๋ง/เล่ม ๑
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรง
สันนิษฐานว่า "ซ้องกั๋ง" เป็นหนังสือที่ดีและล้ำค่า
จัดเป็นวรรณกรรมชั้นเยี่ยม และประจวบกับผู้แปล
มีบรรดาศักดิ์เป็นถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี
สุริยวงศ์ ซึ่งนับได้ว่า ผลงานในด้านนี้เป็นเพชรอัน
ล้ำค่าจริง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านของการศึกษา
ได้เป็นอย่างดีที่สุด และเด่นกว่า "สามก๊ก" อีกด้วย
จากผลงานที่ทางสำนักพิมพ์ศิลปาบรรณคารเสนอเรื่อง "เลียดก๊ก" และ "ไคเภ็ก" ได้รับการต้อนรับจากท่านผู้อ่านอย่างอุ่นหนาฝาคั่งเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นชัดทีเดียวว่า วรรณกรรมเรื่องจีนที่กล่าวมานี้เป็นอมตะจริง ๆ และยิ่งใหญ่มาแทบทุกสมัยทีเดียว จนได้รับการชมเชยจากท่านผู้อ่านมาไม่ขาดสาย ยังความปลื้มปีติและซาบซึ้งในพระคุณของท่านผู้อ่านที่ได้เป็นกำลังอันยิ่งใหญ่ในด้านของการที่จะได้จัดเสนอเพื่อความบันเทิง ความรู้ และสติปัญญา ฯลฯ อีกต่อไป
จากความเมตตากรุณาจากท่านผู้อ่านได้ไหลมาเทมาอย่างไม่เคยได้รับมาเช่นนี้เลย จึงก่อให้เกิดพลังทางใจที่จะได้รับใช้พระเดชพระคุณจากท่านอันมีความกรุณาปรานีแก่สำนักพิมพ์มาเป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งข้อนี้แหละที่เป็นแรงดันให้เกิดเรื่อง "ซ้องกั๋ง" ขึ้น และทางสำนักพิมพ์ได้ทุ่มเทกำลังทรัพย์กำลังปัญญาเพื่อประโยชน์แด่มหาชน อันเป็นปราการที่แข็งแกร่งที่จะช่วยพยุงให้สำนักพิมพ์นี้ได้รับใช้ท่านตลอดไป
เหตุฉะนี้เอง "ซ้องกั่ง" จึงได้คัดแล้วคัดอีกก่อนที่จะได้ตีพิมพ์ออกมา และก็ได้กระทำอย่างสุดความสามารถทีเดียว จึงกล้ารับปากได้ว่า ในการจัดพิมพ์ "ซ้องกั๋ง" ครั้งนี้เป็นเรื่องที่ดีเด่นจริง ๆ และเหนือกว่า "สามก๊ก" เสียอีก กับทั้งหวังว่า "ซ้องกั๋ง" คงจะไม่ทำให้ท่านผิดหวังเป็นอันขาด
สุดท้ายนี้
จะขอนำเอาวาทะของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมากล่าว
"หนังสือสามก๊กที่แปลเป็นภาษาไทยได้อ่านกันจนนับถืออยู่แล้ว สมกับที่อ้างว่า แปลในรัชกาลที่ ๑ ใช่แต่เท่านั้น มีเค้าเงื่อนที่จะสันนิษฐานต่อไปอีกว่า ความนับถือเรื่องสามก๊กดังในพระราชนิพนธ์นั้น เป็นมูลเหตุให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ ในรัชกาลภายหลังต่อมา ข้อนี้มีอยู่ในจดหมายเหตุเป็นหลักฐานอยู่แล้ว และซ้องกั๋งก็น่าจะได้แปลมาด้วยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งผู้ที่ได้รับสั่งให้แปลก็มีบรรดาศักดิ์เป็นถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงนับได้ว่า เป็นหนังสือที่ดีจริง ๆ เล่มหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่แผ่นดิน"[1]
- ศิลปาบรรณาคาร
สารบัญ ขึ้น
ตอน | ชื่อตอน | หน้า | ||
---|---|---|---|---|
ไทย | จีน | อังกฤษ | ||
|
|
|
๑ | |
|
|
|
๘ | |
|
|
|
๒๙ | |
|
|
|
๓๙ | |
|
|
|
๔๘ | |
|
|
|
๖๐ | |
|
|
|
๖๙ | |
|
|
|
๘๓ | |
|
|
|
๙๑ | |
|
|
|
๑๐๕ | |
|
|
|
๑๑๘ | |
|
|
|
๑๓๐ | |
|
|
|
๑๓๘ | |
|
|
|
๑๔๔ | |
|
|
|
๑๕๖ | |
|
|
|
๑๖๑ | |
|
|
|
๑๗๐ | |
|
|
|
๑๘๐ | |
|
|
|
๑๙๕ | |
|
|
|
๒๐๙ | |
|
|
|
๒๑๙ | |
|
|
|
๒๓๒ | |
|
|
|
๒๓๘ | |
|
|
|
๒๔๗ | |
|
|
|
๒๖๒ | |
|
|
|
๒๖๗ | |
|
|
|
๒๗๗ | |
|
|
|
๒๘๓ | |
|
|
|
๒๘๕ | |
|
|
|
๒๙๑ |
เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ
แก้ไข- ↑ ข้อความนี้มาจาก ตำนานหนังสือสามก๊ก และต้นฉบับไม่ได้กล่าวถึงซ้องกั๋งแม้แต่น้อย ข้อความต้นฉบับมีดังนี้
"...ถึงรัชกาลที่ ๒ หนังสือสามก๊กที่แปลเป็นภาษาไทยได้อ่านกันจนนับถืออยู่แล้ว สมกับที่อ้างว่า แปลในรัชกาลที่ ๑ ใช่แต่เท่านั้น มีเค้าเงื่อนที่จะสันนิษฐานต่อไปอีกว่า ความนับถือเรื่องสามก๊กดังในพระราชนิพนธ์นั้นเป็นมูลเหตุให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ ในรัชกาลภายหลังต่อมา ข้อนี้มีจดหมายเหตุเป็นหลักฐานอยู่ในบานแพนกว่า ถึงรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้แปลเรื่องเลียดก๊กอีกเรื่องหนึ่ง...เพราะทรงพระราชดำริเห็นว่า เป็นหนังสืออันสมควรแปลไว้เพื่อประโยชน์ราชการบ้านเมือง เช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้แปลเรื่องไซ่ฮั่นแลสามก๊ก ยังมีหนังสือเรื่องห้องสินกับเรื่องตั้งฮั่นอีกสองเรื่อง ฉบับพิมพ์ที่ปรากฏอยู่ไม่มีบานแพนกบอกว่าแปลเมื่อใด แต่สำนวนแต่งเห็นเป็นสำนวนเก่า อาจแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๒ ก็เป็นได้ ด้วยเรื่องห้องสินอยู่ข้างหน้าต่อเรื่องเลียดก๊ก และเรื่องตั้งฮั่นอยู่ในระหว่างเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊ก...บรรดาหนังสือเรื่องพงศาวดารจีนที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ นอกจากสี่เรื่องที่ได้ออกชื่อมาแล้ว เป็นหนังสือแปลตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ มาทั้งนั้น..."
นอกจากนี้ ซ้องกั๋งแปลในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ ไม่ใช่รัชกาลที่ ๕ กับทั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไม่ได้แปล แต่สั่งให้แปล ผู้แปลจะเป็นใครไม่ปรากฏ
- ↑ สารบัญเพิ่มโดยวิกิซอร์ซ ต้นฉบับไม่ได้แบ่งเป็นตอน ๆ เช่นนี้ ส่วนตอนที่ปรากฏนี้ วิกิซอร์ซเทียบเอากับต้นฉบับจีน เพื่อประโยชน์ในการอ่าน